ไชน่าเดลี (22 มี.ค.) - ตามรายงานสำรวจการนอนหลับของชาวเน็ตจีน ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา พบกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เกิดหลัง ปี 1990 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด มีปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับยาก
ตามการสำรวจออนไลน์ชาวเน็ตจีนที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 50 ปีใน 10 เมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ กรุงปักกิ่งเซี่ยงไฮ้กวางโจวและเซินเจิ้น ราว 2,000 คน พบว่านอนเฉลี่ย 7.1 ชั่วโมงต่อวัน แต่ 56 เปอร์เซ็นต์ประสบปัญหาหลับไม่สนิท หลับยาก
รายงานของสมาคมวิจัยการนอนหลับของจีนซึ่งทำการสำรวจนี้ ยังระบุว่า คนทำงานด้านไอทีส่วนใหญ่ มีอาการนอนไม่หลับ โดยร้อยละ 16 อ้างว่า มีปัญหาไชน่าเดลี (22 มี.ค.) - ตามรายงานสำรวจการนอนหลับของชาวเน็ตจีน ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา พบกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เกิดหลัง ปี 1990 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด มีปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับยาก ตามด้วยพนักงานบริษัท พนักงานขายและผู้ทำงานที่ปรึกษาฯ ต่างๆ
ร้อยละ 12 ของคนที่เกิดหลังจากปี 1990 มีประสบการณ์การนอนไม่หลับ และร้อยละ 75 ให้ข้อมูลว่า อารมณ์ต่างๆ เช่นความวิตกกังวลและความเศร้า มีผลต่อการนอนหลับของพวกเขา
ผู้ตอบแบบสำรวจ ประมาณ 31% ระบุว่าต้องใช้เวลากว่าจะนอนหลับมากกว่า 30 นาที และร้อยละ 0.9 กล่าวว่าต้องใช้ยานอนหลับ
รายงานระบุว่าผู้ที่เกิดหลังจากปี 1990 โดยเฉพาะผู้ที่เกิดหลังจากปี 1995 มักจะใช้สมาร์ทโฟนของตนก่อนนอน และเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เกิดหลังจากปี 1995 ใช้สมาร์ทโฟนของตนนานถึง 80 นาทีก่อนนอน โดยปกติแล้วจะแชทและดูวิดีโอออนไลน์
กลุ่มชาวจีนที่เกิดหลังจากปี 1990 ได้กลายเป็นผู้บริโภคหลักของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการนอนหลับ เช่นปลั๊กอุดหูเพื่อตัดเสียงรบกวน แผ่นปิดตา ฯลฯ
เย่ว์ จิงอิ่ง ศาสตราจารย์แพทย์โรคสมอง โรงพยาบาลเป่ยจิง ชิงหวา กล่าวว่าการนอนไม่หลับอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรค เช่นโรคสมองเสื่อม
"นอนหลับดีเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องเซลล์ประสาทของสมอง" และการมีปัญหานอนไม่หลับ ไม่สนิท หลับยาก ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ" เธอกล่าว
การเล่นบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ก่อนนอน สามารถขัดขวางและลดคุณภาพการนอนหลับได้
รายงานฉบับนี้กล่าวว่า คนทุกวัยรวมทั้งคนหนุ่มสาวควรรักษาวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ให้เข้านอนและตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด และหลีกเลี่ยงการนอนดึกจนเกินไป
หังฟาง ประธานของสมาคมวิจัยการนอนหลับของจีน กล่าวว่ากว่า 50 ล้านคนในประเทศจีน มีอาการนอนไม่หลับ แต่น้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ได้รับการวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากการขาดแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ