xs
xsm
sm
md
lg

หลอมรวมความคิด ขยายความร่วมมือ เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


หลู่ย์ เจี้ยน (吕健)
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย


1. เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 ขึ้นที่กรุงพนมเปญของกัมพูชา ผู้นำทั้ง 6 ประเทศได้ร่วมกันทบทวนความสำเร็จของ ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ที่ประชุมได้ประกาศ “แผนปฏิบัติการ 5 ปีความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (2018-2022)” และ “ปฏิญญาพนมเปญ”และ ซึ่งได้ชี้ชัดถึงแผนพัฒนาในอีก 10 ข้างหน้า

ระหว่างการประชุม นายหลี่ เค่อเฉียงได้ให้ข้อเสนอ 5 ประการ ดังนี้

1) เพิ่มความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ จัดทำ “แผนปฏิบัติการความร่วมมือทรัพยากรน้ำฉบับ 5 ปี” สร้างเวทีความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
2) เพิ่มความร่วมมือด้านศักยภาพการผลิต ร่วมกันหารือและสร้างแผนเชื่อมโยงระหว่างประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง สนับสนุนให้ประเทศลุ่มน้ำโขงก่อสร้างระบบชลประทาน ได้แก่ สถานีผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ เขื่อน ระบบส่งน้ำเพื่อนการเกษตร และน้ำประปาเพื่อการบริโภค เป็นต้น ร่วมทั้งเปิดความร่วมมือด้านศักยภาพการผลิตโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการขนส่งและการสื่อสาร
3) ขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เปิดความร่วมมือด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
4) ยกระดับความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อการศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาชีพ
5) ส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขอนามัยและการรักษาพยาบาล ร่วมกันสร้างระบบป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ทั้งนี้ ฝ่ายจีนยินดีให้ความช่วยเหลือด้านระบบรักษาพยาบาลแก่ประเทศที่มีความต้องการ สร้างหน่วยงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลขึ้นมาจำนวนหนึ่ง

ในปี 2018 ประเทศจีนจะสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับการอบรมระยะสั้นและการศึกษาหลักสูตรปริญญาแก่ผู้ปฏิบัติงานในสาขาอาชีพรวม 2,000 ทุน ทุนการศึกษาสำหรับการเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 100 ทุน เพื่อเชิญชวนเจ้าหน้าที่ระดับกลางและระดับสูงมาเรียนรู้ความรู้ด้านการเกษตร การแพทย์ สาธารณสุข และระบบชลประทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยังจะดำเนินโครงการ “โครงการบรรเทาความยากจนเพื่อประชาชนประเทศลุ่มแม่น้ำ” โดยมีแผนจัดโครงการความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ประเทศแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงใน 3 ปีข้างหน้ารวม 100 โครงการ

2. แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นเหมือนสายใยธรรมชาติที่เชื่อมต่อ 6 ประเทศเข้าด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้น เมื่อระบบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงถูกกล่าวขึ้นมา ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากแต่ละประเทศ เมื่อปี 2016 การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่ซานย่า ทำให้ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ สองปีมานี้ ประเทศแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้คิดในสิ่งเดียวกันและทำในเรื่องเดียวกัน เปลี่ยนความปรารถนาเป็นการปฏิบัติจริงทีละก้าว ๆ จนสร้างเป็นรูปแบบ “แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงโมเดล” ที่ยึดวัฒนธรรมที่เน้นเสมอภาค ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเน้นการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพที่เห็นความก้าวหน้าในทุก ๆ วัน และยึดโครงการความร่วมมือเป็นสำคัญ

เราได้สร้างกลไกการประชุม 4 ระดับ ได้แก่ที่ประชุมระดับผู้นำ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง และที่ประชุมผู้ปฏิบัติงาน แต่ละระดับได้จัดตั้งสำนักเลขาธิการของตนเอง และได้ร่วมกันก่อตั้งคณะทำงานร่วม 6 คณะได้แก่ คณะทำงานเพื่อการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน คณะทำงานเพื่อศักยภาพทางการผลิต คณะทำงานเพื่อระบบเศรษฐกิจข้ามพรมแดน คณะทำงานด้านทรัพยากรน้ำ และคณะทำงานเพื่อบรรเทาความยากจน ซึ่งศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ ศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และศูนย์วิจัยแม่น้ำโขงทั่วโลกถูกก่อตั้งขึ้นและเริ่มดำเนินงานแล้ว ฝ่ายจีนยังได้ให้เงินกู้เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมรวมกว่า 20 โครงการ เช่นโครงการรถไฟจีนลาว โครงการรถไฟจีนไทย โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหย่งซินในเวียดนาม โครงการสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบขั้นบันไดแม่น้ำอูในลาว โครงการก่อสร้างสนามบินเสียมเรียบแห่งใหม่ของกัมพูชา ฯลฯ เราได้ดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง เช่นโครงการ “สัญจรเพื่อแสงสว่างบนแม่น้ำโขง” ได้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกเกือบ 800 คนจากกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ได้มองเห็นแสงสว่างอีกครั้ง มีนักเรียนจากประเทศลุ่มน้ำโขงได้รับทุนรัฐบาลจีนให้ไปเรียนในประเทศจีนรวมกว่า 12,000 คน และมีผู้ปฏิบัติงานอีกกว่า 3,000 คนได้รับทุนฝึกอบระยะสั้นในประเทศจีน มีการเปิดฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่มณฑลยูนนาน โดยได้ผลิตบุคลากรเฉพาะทางให้แก่ 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงรวมกว่า 10,000 คน

ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้ช่วยขับเคลื่อนฝีก้าวของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศลุ่มน้ำโขง ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม และเป็นคู่ค้าอันดับสองของลาว ในปี 2017 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับ 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงเท่ากับ 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าการลงทุนสะสม 4.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่การประชุมผู้นำครั้งแรกเมื่อปี 2016 เป็นต้นมา จีนและ 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงได้เปิดเที่ยวบินใหม่รวมกว่า 330 เที่ยวบิน ปี 2017 มีผู้เดินทางข้ามพรมแดนราว 30 ล้านคน

3. แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่ทอดยาวถึง 5,000 กิโลเมตรเป็นเหมือนของขวัญจากธรรมชาติที่มอบให้พวกเราได้พึ่งพาอาศัยร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนศูนย์กลางความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของพวกเราตามธรรมชาติ ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเกิดขึ้นได้เพราะสายน้ำ ดังนั้นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าจึงเป็นความร่วมมือที่สำคัญเป็นอันดับแรก

แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมีปริมาณน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ สิ่งสำคัญคือต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเข้าใจและสนับสนุนซึ่งกันและกันจะช่วยเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศต้นน้ำและปลายน้ำ และการดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน ร่วมกันจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสม ประเทศจีนได้แสดงความจริงใจด้วยการให้ข้อมูลด้านอุทกวิทยาในฤดูน้ำหลากของแม่น้ำล้านช้างแก่ประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องมาถึง 15 ปีแล้ว สิ่งนี้ยืนยันได้ว่าการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบขั้นบันไดบนแม่น้ำล้านช้างจะไม่ทำให้สูญเสียทรัพยากรน้ำ ขณะเดียวกันยังสามารถควบคุมปริมาณน้ำให้มีความสม่ำเสมอตลอดปี ทำให้ประเทศปลายน้ำสามารถป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำหลากและสามารถป้องกันภัยแล้งในฤดูแล้งได้

ใน “ปฏิญญาพนมเปญ” ทั้ง 6 ประเทศได้มีความเห็นตรงกันในเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำ โดยได้เน้นถึงการเพิ่มการวางแผนระดับสูงและระดับนโยบายเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำ รวมทั้งได้เสนอแนวปฏิบัติจำนวนหนึ่ง เช่นการจัด forum ความร่วมมือทรัพยากรน้ำบนแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง การผลักดันการก่อสร้างศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำแห่งแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง โครงการศึกษาวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ เพิ่มระบบบริหารจัดการฉุกเฉินเกี่ยวกับอุทกภัยบนแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เป็นต้น จากความร่วมมือและการหารือร่วมการ พวกเราจะบรรลุเป้าหมายเรื่องการบริหารทรัพยากรน้ำตามหลักวิทยาศาสตร์และการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

4. ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นความร่วมมือในลักษณะเปิดกว้างและยอมรับซึ่งกันและกัน เราจะไม่มีการแทนที่ระบบความร่วมมืออื่น ๆ ที่มีอยู่แต่เดิม และเราสามารถทำงานสนับสนุนและพัฒนาไปพร้อมพร้อมกับระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ได้เป็นอย่างดี

สามเสาหลักของความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงและสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน มีความสอดคล้องต้องกันในเชิงลึก ซึ่งจะช่วยลดระยะห่างในการพัฒนาภายในอาเซียนด้วยกัน และช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของประชาคมอาเซียนอีกด้วย บนพื้นฐานของจุดเริ่มต้นใหม่นี้พวกเราควรตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น ก้าวอย่างปรองดองยิ่งขึ้น มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คว้าโอกาส เพิ่มความร่วมมือ ผลักดันความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในอนุภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา(South – South cooperation) ทำให้ความร่วมมือเหล่านี้สร้างประโยชน์ต่อประชาชนทั้ง 6 ประเทศมากยิ่งขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น