กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน (Ministry of Culture (Taiwan)) และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office in Thailand) ร่วมกับโรงภาพยนตร์ ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต จัด “เทศกาลภาพยนตร์ไต้หวัน ประจำปี 2561” (Taiwan Film Festival in Bangkok) วันที่ 17 - 23 มกราคม 2561 โดยจัดฉายหนังสัญชาติไต้หวันคุณภาพ 8 เรื่อง 8 รส รวมถึงหนังไทย 2 เรื่องเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไต้หวันและไทย
เริ่มจากภาพยนตร์ไต้หวันเปิดเทศกาลฯ เรื่อง Hang in There, Kids! (只要我長大) เรื่องราวของเด็กชนพื้นเมือง 3 คนที่เติบโตท่ามกลางภูเขาและป่าไม้ แต่ละคนมีปัญหาที่บ้านต่างกันไป แต่พวกเขาก็ยังมองโลกในแง่ดี และเปี่ยมล้นด้วยพลังของวัยเด็ก วันหนึ่งเด็กๆ แอบได้ฟังเสียงร้องเพลงอันไพเราะของครูสาวขาพิการจากเทปที่ครูแอบซ่อนไว้ พวกเขาจึงตัดสินใจนำเทปนี้เข้าสู่เมืองหลวงไทเป ผลงานกำกับของ Chen Chieh-Yao (陳潔瑤) ผู้กำกับหญิงชนพื้นเมืองคนแรกในไต้หวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวแทนของไต้หวันในการส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2016

ถัดมาสู่ภาพยนตร์เรื่อง A Fish out of Water (上岸的魚) ภาพยนตร์ชีวิต เรื่องราวของครอบครัวคู่สามีภรรยาที่กำลังระหองระแหงเนื่องจากพ่อสามีป่วยหนักจนดูแลตัวเองไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ลูกชายวัยอนุบาลของพวกเขาก็ยังเรียกร้องให้ออกตามหาพ่อแม่จาก ‘ชาติก่อน’ ที่อาศัยในหมู่บ้านประมงริมทะเล ผลงานกำกับของ Lai Kuo-An (賴國安) ผู้กำกับโฆษณาและมิวสิควิดีโอที่ผันตัวมาจับงานภาพยนตร์เรื่องแรก ภาพยนตร์ฉายเปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต

ต่อมาคือภาพยนตร์แนวชีวิตแฝงตลกร้ายเรื่อง Godspeed (一路順風) เรื่องราวของชายหนุ่มที่ใช้ชีวิตเสเพล คอยลักขโมยของประทังชีวิตไปเรื่อย วันหนึ่งเขาตัดสินใจทำงานอันมั่นคงงานแรกคืองานส่งของ แต่โชคก็เล่นตลกเมื่อของนั้นคือเฮโรอีนราคาแพง ตอนเช้าของทุกวัน เขาต้องนั่งแท็กซี่ไปส่งของให้ถึงมือเพื่อนสนิทของเจ้านายแล้วขึ้นรถแท็กซี่คันเดิมกลับ เรื่องเริ่มยุ่งเหยิงขึ้น เมื่อวันหนึ่งเขากับคนขับแท็กซี่ถูกลากเข้าไปพัวพันกับการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มอันธพาล นำแสดงโดย Na-Dou Lin (納豆) กับ Michael Hui (許冠文) นักแสดงและตลกสัญชาติฮ่องกง สมทบด้วย วิทยา ปานศรีงาม นักแสดงชาวไทย กำกับโดย Chung Mong-Hong (鍾孟宏)

Missing Johnny (強尼.凱克) เรื่องราวชวนหัวของคนแปลกหน้าสามคน หญิงเลี้ยงนกแก้วที่ได้รับสายจากคนโทรผิดอย่างต่อเนื่อง ชายหนุ่มที่รถสุดที่รักของเขาพัง และวัยรุ่นออทิสติกที่พยายามเป็นอิสระจากแม่ของเขา หลังจากนกแก้วของหญิงสาวหายไป ก็เกิดเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงคนทั้งสามเข้าด้วยกัน ภาพยนตร์ได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์ไทเป โดยผู้กำกับหญิง Huang Xi (黃熙) หันมากำกับภาพยนตร์เองเป็นเรื่องแรก หลังร่วมงานกับผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Hou Hsiao-Hsien (侯孝賢) มาหลายครั้ง

เปลี่ยนแนวมาที่ภาพยนตร์สารคดี Ode to Time (四十年) ที่จะพาสำรวจการกลับมารวมตัวกันของนักดนตรีวงโฟล์กร็อกที่เคยโด่งดังสุดขีดในยุค 70 เพื่อจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกในรอบ 40 ปี พวกเขาแต่งเพลงที่สะท้อนความสัมพันธ์ของไต้หวันกับจีนในยุคนั้นผสมกับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกา บ้างก็พูดถึงจิตวิญญาณของชนพื้นเมือง บทเพลงซึ่งพวกเขาเขียนขึ้นในวัยรุ่นครั้งหนึ่งเคยเปลี่ยนโฉมหน้าวัฒนธรรมเพลงป๊อปของไต้หวัน เพลงเหล่านี้จะยังคงเชื่อมโยงกับยุคสมัยปัจจุบันและขับเคลื่อนพลังในตัวคนรุ่นใหม่ได้อยู่หรือไม่ ผลงานกำกับของ Hou Chi-Jan (侯季然) จาก One Day และ When a Wolf Falls in Love with a Sheep ภาพยนตร์ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว

สำหรับภาพยนตร์เรื่องที่หก คือ White Ant (白蟻─慾望謎網) เรื่องราวของชายหนุ่มผู้มีความหมกมุ่นส่วนตัวในการสวมใส่ชุดชั้นในผู้หญิง วันหนึ่งเขาได้รับซีดีที่บันทึกภาพเขาขณะขโมยชุดชั้นในคนข้างบ้าน หลังจากนั้นชีวิตเขาก็เริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่อยๆ ผลงานการกำกับของ Chu Hsien-Jer (朱賢哲) ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการสารคดีมามากกว่า 20 ปี ก่อนจะหันมากำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีในแง่การสำรวจจิตใจอันมืดหม่นของมนุษย์ รวมถึงถูกคัดไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน สิงคโปร์ ฮ่องกง และไทเป

ต่อมาคือภาพยนตร์แนวตลกแอ็คชั่นเรื่อง The Laundryman (青田街一號) เมื่อนักฆ่ามือดีถูกผีเหยื่อในอดีตของเขาตามหลอกหลอน เจ้านายสุดสวยของเขาที่เปิดร้านซักรีดบังหน้าจึงแนะนำคนทรงหญิงที่สามารถช่วยกำจัดผีให้เขาได้ แต่แล้วคนทรงหญิงก็ดันรู้เข้าว่าร้านซักรีดอาจไม่ใช่แค่ร้านซักรีดธรรมดา มันเก็บความลับไว้มากกว่าที่เธอคิด ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Lee Chung (李中) นำแสดงโดย Chang Hsiao-chuan (Joseph Chang - 張孝全) จากเรื่อง Girlfriend Boyfriend และ Eternal Summer, Sonia Sui (隋棠) และ Wan Qian (万茜)

และนอกเหนือจากภาพยนตร์ใหม่ ๆ แล้ว ทางเทศกาลฯ ขอเสนอภาพยนตร์สุดคลาสสิกปี 1991 ของเอ็ดเวิร์ด หยาง (楊德昌) ชื่อ A Brighter Summer Day (牯嶺街少年殺人事件) ที่เพิ่งได้รับการบูรณะมาใหม่ ภาพยนตร์ความยาวสี่ชั่วโมงได้รับแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จริงในวัยเด็กของผู้กำกับเรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตวัยรุ่นไต้หวันช่วงต้นยุค 60 เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างแก๊งค์คู่อริสองกลุ่ม เนื่องจากแฟนสาวของเด็กหนุ่มวัย 14 ปีได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหัวหน้าของกลุ่มอริด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจน ความขัดแย้งนี้ได้นำทุกคนไปสู่จุดจบที่รุนแรง ภาพยนตร์สุดอมตะเรื่องนี้ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมากจากผู้ชมทั่วโลก


นอกจากภาพยนตร์คุณภาพจากไต้หวัน ยังมีภาพยนตร์ไทยที่เทศกาลฯ นำมาฉายคือเรื่อง นิรันดร์ราตรี (Phantom of Illumination) ภาพยนตร์สารคดีจากผู้กำกับฝีมือแรง วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย เรื่องราวการสูญสิ้นของโรงหนังสแตนด์อโลนในประเทศไทย ส่งผลให้ทักษะของคนฉายหนังของกลายเป็นสิ่งไร้ค่า สารคดีได้รับรางวัลชมเชยในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และได้รับการคัดเลือกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ เทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายา รวมถึงเทศกาลภาพยนตร์ไทเปอีกด้วย

และภาพยนตร์ไทยสุดอมตะปี พ.ศ. 2527 เรื่อง น้ำพุ (The Story of Nampu) เรื่องราวที่สร้างจากหนังสือซึ่งอ้างอิงจากประสบการณ์จริง เด็กชายชื่อ น้ำพุ เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา เขาเลือกเส้นทางชีวิตผิดพลาดหลังหันเข้าหายาเสพติด กว่าแม่ของน้ำพุจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว ภาพยนตร์นำแสดงโดย อำพล ลำพูน วรรษมน วัฒโรดม กำกับโดยยุทธนา มุกดาสนิท ภาพยนตร์สะท้อนสังคมเรื่องนี้เป็นตัวแทนของประเทศไทยการส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนั้น

เทศกาลภาพยนตร์ไต้หวัน มีขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม 2561 ณ โรงภาพยนตร์ ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ในราคา 160 บาท ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง “A Brighter Summer Day” จะจำหน่ายในราคา 250 บาท เนื่องจากภาพยนตร์มีความยาวถึง 4 ชั่วโมง ภาพยนตร์ไต้หวันทุกเรื่องจัดฉายพร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษและไทยทุกเรื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ผู้สนใจสามารถตรวจสอบรอบฉายและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.majorcineplex.com

เริ่มจากภาพยนตร์ไต้หวันเปิดเทศกาลฯ เรื่อง Hang in There, Kids! (只要我長大) เรื่องราวของเด็กชนพื้นเมือง 3 คนที่เติบโตท่ามกลางภูเขาและป่าไม้ แต่ละคนมีปัญหาที่บ้านต่างกันไป แต่พวกเขาก็ยังมองโลกในแง่ดี และเปี่ยมล้นด้วยพลังของวัยเด็ก วันหนึ่งเด็กๆ แอบได้ฟังเสียงร้องเพลงอันไพเราะของครูสาวขาพิการจากเทปที่ครูแอบซ่อนไว้ พวกเขาจึงตัดสินใจนำเทปนี้เข้าสู่เมืองหลวงไทเป ผลงานกำกับของ Chen Chieh-Yao (陳潔瑤) ผู้กำกับหญิงชนพื้นเมืองคนแรกในไต้หวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวแทนของไต้หวันในการส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2016
ถัดมาสู่ภาพยนตร์เรื่อง A Fish out of Water (上岸的魚) ภาพยนตร์ชีวิต เรื่องราวของครอบครัวคู่สามีภรรยาที่กำลังระหองระแหงเนื่องจากพ่อสามีป่วยหนักจนดูแลตัวเองไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ลูกชายวัยอนุบาลของพวกเขาก็ยังเรียกร้องให้ออกตามหาพ่อแม่จาก ‘ชาติก่อน’ ที่อาศัยในหมู่บ้านประมงริมทะเล ผลงานกำกับของ Lai Kuo-An (賴國安) ผู้กำกับโฆษณาและมิวสิควิดีโอที่ผันตัวมาจับงานภาพยนตร์เรื่องแรก ภาพยนตร์ฉายเปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต
ต่อมาคือภาพยนตร์แนวชีวิตแฝงตลกร้ายเรื่อง Godspeed (一路順風) เรื่องราวของชายหนุ่มที่ใช้ชีวิตเสเพล คอยลักขโมยของประทังชีวิตไปเรื่อย วันหนึ่งเขาตัดสินใจทำงานอันมั่นคงงานแรกคืองานส่งของ แต่โชคก็เล่นตลกเมื่อของนั้นคือเฮโรอีนราคาแพง ตอนเช้าของทุกวัน เขาต้องนั่งแท็กซี่ไปส่งของให้ถึงมือเพื่อนสนิทของเจ้านายแล้วขึ้นรถแท็กซี่คันเดิมกลับ เรื่องเริ่มยุ่งเหยิงขึ้น เมื่อวันหนึ่งเขากับคนขับแท็กซี่ถูกลากเข้าไปพัวพันกับการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มอันธพาล นำแสดงโดย Na-Dou Lin (納豆) กับ Michael Hui (許冠文) นักแสดงและตลกสัญชาติฮ่องกง สมทบด้วย วิทยา ปานศรีงาม นักแสดงชาวไทย กำกับโดย Chung Mong-Hong (鍾孟宏)
Missing Johnny (強尼.凱克) เรื่องราวชวนหัวของคนแปลกหน้าสามคน หญิงเลี้ยงนกแก้วที่ได้รับสายจากคนโทรผิดอย่างต่อเนื่อง ชายหนุ่มที่รถสุดที่รักของเขาพัง และวัยรุ่นออทิสติกที่พยายามเป็นอิสระจากแม่ของเขา หลังจากนกแก้วของหญิงสาวหายไป ก็เกิดเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงคนทั้งสามเข้าด้วยกัน ภาพยนตร์ได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์ไทเป โดยผู้กำกับหญิง Huang Xi (黃熙) หันมากำกับภาพยนตร์เองเป็นเรื่องแรก หลังร่วมงานกับผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Hou Hsiao-Hsien (侯孝賢) มาหลายครั้ง
เปลี่ยนแนวมาที่ภาพยนตร์สารคดี Ode to Time (四十年) ที่จะพาสำรวจการกลับมารวมตัวกันของนักดนตรีวงโฟล์กร็อกที่เคยโด่งดังสุดขีดในยุค 70 เพื่อจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกในรอบ 40 ปี พวกเขาแต่งเพลงที่สะท้อนความสัมพันธ์ของไต้หวันกับจีนในยุคนั้นผสมกับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกา บ้างก็พูดถึงจิตวิญญาณของชนพื้นเมือง บทเพลงซึ่งพวกเขาเขียนขึ้นในวัยรุ่นครั้งหนึ่งเคยเปลี่ยนโฉมหน้าวัฒนธรรมเพลงป๊อปของไต้หวัน เพลงเหล่านี้จะยังคงเชื่อมโยงกับยุคสมัยปัจจุบันและขับเคลื่อนพลังในตัวคนรุ่นใหม่ได้อยู่หรือไม่ ผลงานกำกับของ Hou Chi-Jan (侯季然) จาก One Day และ When a Wolf Falls in Love with a Sheep ภาพยนตร์ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว
สำหรับภาพยนตร์เรื่องที่หก คือ White Ant (白蟻─慾望謎網) เรื่องราวของชายหนุ่มผู้มีความหมกมุ่นส่วนตัวในการสวมใส่ชุดชั้นในผู้หญิง วันหนึ่งเขาได้รับซีดีที่บันทึกภาพเขาขณะขโมยชุดชั้นในคนข้างบ้าน หลังจากนั้นชีวิตเขาก็เริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่อยๆ ผลงานการกำกับของ Chu Hsien-Jer (朱賢哲) ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการสารคดีมามากกว่า 20 ปี ก่อนจะหันมากำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีในแง่การสำรวจจิตใจอันมืดหม่นของมนุษย์ รวมถึงถูกคัดไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน สิงคโปร์ ฮ่องกง และไทเป
ต่อมาคือภาพยนตร์แนวตลกแอ็คชั่นเรื่อง The Laundryman (青田街一號) เมื่อนักฆ่ามือดีถูกผีเหยื่อในอดีตของเขาตามหลอกหลอน เจ้านายสุดสวยของเขาที่เปิดร้านซักรีดบังหน้าจึงแนะนำคนทรงหญิงที่สามารถช่วยกำจัดผีให้เขาได้ แต่แล้วคนทรงหญิงก็ดันรู้เข้าว่าร้านซักรีดอาจไม่ใช่แค่ร้านซักรีดธรรมดา มันเก็บความลับไว้มากกว่าที่เธอคิด ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Lee Chung (李中) นำแสดงโดย Chang Hsiao-chuan (Joseph Chang - 張孝全) จากเรื่อง Girlfriend Boyfriend และ Eternal Summer, Sonia Sui (隋棠) และ Wan Qian (万茜)
และนอกเหนือจากภาพยนตร์ใหม่ ๆ แล้ว ทางเทศกาลฯ ขอเสนอภาพยนตร์สุดคลาสสิกปี 1991 ของเอ็ดเวิร์ด หยาง (楊德昌) ชื่อ A Brighter Summer Day (牯嶺街少年殺人事件) ที่เพิ่งได้รับการบูรณะมาใหม่ ภาพยนตร์ความยาวสี่ชั่วโมงได้รับแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จริงในวัยเด็กของผู้กำกับเรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตวัยรุ่นไต้หวันช่วงต้นยุค 60 เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างแก๊งค์คู่อริสองกลุ่ม เนื่องจากแฟนสาวของเด็กหนุ่มวัย 14 ปีได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหัวหน้าของกลุ่มอริด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจน ความขัดแย้งนี้ได้นำทุกคนไปสู่จุดจบที่รุนแรง ภาพยนตร์สุดอมตะเรื่องนี้ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมากจากผู้ชมทั่วโลก
นอกจากภาพยนตร์คุณภาพจากไต้หวัน ยังมีภาพยนตร์ไทยที่เทศกาลฯ นำมาฉายคือเรื่อง นิรันดร์ราตรี (Phantom of Illumination) ภาพยนตร์สารคดีจากผู้กำกับฝีมือแรง วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย เรื่องราวการสูญสิ้นของโรงหนังสแตนด์อโลนในประเทศไทย ส่งผลให้ทักษะของคนฉายหนังของกลายเป็นสิ่งไร้ค่า สารคดีได้รับรางวัลชมเชยในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และได้รับการคัดเลือกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ เทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายา รวมถึงเทศกาลภาพยนตร์ไทเปอีกด้วย
และภาพยนตร์ไทยสุดอมตะปี พ.ศ. 2527 เรื่อง น้ำพุ (The Story of Nampu) เรื่องราวที่สร้างจากหนังสือซึ่งอ้างอิงจากประสบการณ์จริง เด็กชายชื่อ น้ำพุ เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา เขาเลือกเส้นทางชีวิตผิดพลาดหลังหันเข้าหายาเสพติด กว่าแม่ของน้ำพุจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว ภาพยนตร์นำแสดงโดย อำพล ลำพูน วรรษมน วัฒโรดม กำกับโดยยุทธนา มุกดาสนิท ภาพยนตร์สะท้อนสังคมเรื่องนี้เป็นตัวแทนของประเทศไทยการส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนั้น
เทศกาลภาพยนตร์ไต้หวัน มีขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม 2561 ณ โรงภาพยนตร์ ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ในราคา 160 บาท ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง “A Brighter Summer Day” จะจำหน่ายในราคา 250 บาท เนื่องจากภาพยนตร์มีความยาวถึง 4 ชั่วโมง ภาพยนตร์ไต้หวันทุกเรื่องจัดฉายพร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษและไทยทุกเรื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ผู้สนใจสามารถตรวจสอบรอบฉายและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.majorcineplex.com