xs
xsm
sm
md
lg

จีนพร้อมเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายซีอัน-เฉิงตู ลดเวลาเดินทางจาก 16 ชม. เหลือเพียง ราว 3 ชม.!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จ้าวความเร็วรถไฟหัวกระสุนวิ่งผ่านช่วงเทือกเขาฉินหลิง ระหว่างทดลองเดินรถบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมซีอัน และเฉิงตู เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ขบวนรถไฟอัตราความเร็ว 250 กม./ ชม. จะย่นเวลาเดินทางระหว่างสองเมืองระยะทาง 643 กม.จากเดิม 16 ชม. เหลือเพียงราว 3 ชม. (ภาพ ซินหวา)
ซินหวา--จีนกำลังนับถอยหลังเปิดบริการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างนครเฉิงตู และนครซีอัน ซึ่งจะประหยัดเวลาในการเดินทางระหว่างสองเมืองดังกล่าว กว่า 10 ชั่วโมง คาดกระตุ้นการท่องเที่ยวถิ่นแพนด้าและเมืองหุ่นดินเผานักรบจิ๋นซีฮ่องเต้

เมื่อวานนี้(22 พ.ย.) จีนได้ทดลองการเดินรถรถไฟหัวกระสุนจากนครเฉิงตูในมณฑลเสฉวนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ไปยังนครซีอันในมณฑลส่านซีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง 643 กม. ย่นเวลาการเดินทางระหว่างสองหัวเมืองใหญ่นี้จากปัจจุบัน 16 ชั่วโมง เหลือเพียงราว 3 ชั่วโมงเท่านั้น! เป็นเส้นทางรถไฟสายแรกที่ตัดผ่านเทือกเขาฉินหลิง

นางซย่า หย่งจิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลข่าวสารของไชน่า เรลเวย์ เฉิงตู กรุ๊ป กล่าวคาดการณ์ว่าเส้นทางรถไฟความเร็วสูงซีอัน-เฉิงตู จะเปิดให้บริการผู้โดยสารอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 พ.ย. อัตราความเร็วขบวนรถไฟที่วิ่งในเส้นทางนี้ เท่ากับ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะวิ่งผ่านเต๋อหยาง เหมียนหยาง และกว่างหยวนในมณฑลเสฉวน และหนิงเฉียง, ฮั่นจงในมณฑลส่านซี
จ้าวความเร็วรถไฟหัวกระสุนวิ่งข้ามสะพานระหว่างการทดลองเดินรถบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมซีอัน มณฑลส่านซี และเฉิงตู มณฑลเสฉวน เมื่อวันที่ 22 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
หลี่ หลิน ผู้จัดการเอเจนซีจัดทริปท่องเที่ยวในเฉิงตู คาดหวังว่าการเปิดบริการขบวนรถไฟจ้าวความเร็วเส้นทางนี้จะกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวคึกคักขึ้น

“ในอดีต แทบไม่มีใครในเสฉวนคิดจะมาเที่ยวซีอัน ทั้งที่ซีอันอุดมด้วยแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ หุ่นดินเผานักรบโบราณยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ และแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญอื่นๆ เช่น วัดเจดีย์ห่านขาว และวังเต๋อหมิง มาชิมอาหารที่ขึ้นชื่ออย่าง เมนูแพะ และซุปขนมปัง” หลี่ กล่าว

นครซีอันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จักรพรรดิจีนถึง 13 ราชวงศ์ เป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เป็นเวลายาวนานกว่า 1,100 ปี หุ่นดินเผานักรบจิ๋นซีฮ่องเต้ ทำให้ซีอันเป็นที่รู้จักทั่วโลก

สำหรับเมืองกว่างหยวน ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก เป็นที่ตั้งของเส้นทางเก่าแก่นับพันปี คือ “เส้นทางสู ” (蜀道/Shu Path)
จ้าวความเร็วรถไฟหัวกระสุนวิ่งข้ามสะพานในเมืองหลงถิง ระหว่างการทดลองเดินรถบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมซีอัน มณฑลส่านซี และเฉิงตู มณฑลเสฉวน เมื่อวันที่ 22 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
จาง หู หัวหน้าฝ่ายยื่นคำร้องขอสถานภาพมรดกโลกของสำนักงานการพัฒนาและบ้านที่อยู่อาศัยในมณฑลเสฉวน กล่าวว่าในยุคโบราณ เสฉวนมีชื่อว่า “สู” เส้นทางนี้ มีระบบคมนาคมทางบกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นเขตธรณีวิทยาที่ซับซ้อน เส้นทางอันตรายที่สุด อีกทั้งอุดมด้วยแหล่งประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่ง

การบุกเบิกก่อสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างเสฉวนและส่านซีนี้ เริ่มในสมัยราว 316 ปี ก่อนค.ศ. เป็นเส้นทางที่ทอดยาวไปบนเทือกเขา กวีชื่อก้องของจีน หลี่ ไป๋ (ค.ศ.701-762) ได้เขียนบทกวีถึงเส้นทางนี้ “รอนแรมไปบนเส้นทางสู ยากเข็นดั่งปีนป่ายมหาภูผาสู่สรวงสรรค์”
รถไฟหัวกระสุน 55861มาถึงสถานีรถไฟฮั่นจง ระหว่างทำการทดลองเดินรถเมื่อวันที่ 22 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
สต๊าฟประจำขบวนรถไฟกำลังฝึกการต้อนรับ ที่สถานีรถไฟฮั่นจงในวันที่ 22 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
พนักงานต้อนรับประจำขบวนรถไฟความเร็วสูงกำลังฝึกซ้อมการต้อนรับผู้โดยสารในเฉิงตู ภาพวันที่ 21 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
พนักงานต้อนรับประจำขบวนรถไฟความเร็วสูงกำลังฝึกซ้อมในเฉิงตู ภาพวันที่ 21 พ.ย. (ภาพ ซินหวา)
กำลังโหลดความคิดเห็น