xs
xsm
sm
md
lg

19 ปีแห่งความหลัง ปิดท่าอากาศยานไคตั๊ก 1 ใน 6 หวาดเสียวสุดในโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพในปี 1998 ปีสุดท้ายของเครื่องบินพาณิชย์ ที่บินเหนือย่านชุมชน สู่สนามบินไคตั๊ก ฮ่องกง(ภาพเอเอฟพี)
เอเจนซี - ย้อนรำลึกภาพอดีต ท่าอากาศยานไคตั๊ก ในการให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง มาตลอดนับแต่ปีค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ.1998 หนึ่งปีหลังเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ถูกส่งมอบคืนสู่จีนจากการปกครองของสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1997

ท่าอากาศยานไคตั๊ก ซึ่งเคยเป็นท่าอากาศยานหลักของอาณานิคมบริติชฮ่องกงของจักรวรรดิอังกฤษ ตั้งแต่ปีค.ศ.1925-1998 นี้ ได้รับการโจษขานมาตลอดว่าเป็น "หนึ่งในหกสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก" และอยู่ในเขตชุมชน ซึ่งก่อปัญหาการอยู่อาศัยและความปลอดภัยการบิน ด้วยความที่เป็นสนามบินซึ่งมีรันเวย์สั้น ขึ้น-ลง อันตราย ทำให้ในช่วงปี 1990 เป็นต้นมา รัฐบาลฮ่องกงประกาศปรับเวลายุติเที่ยวบินกลางคืน และเมื่อปัญหามลภาวะและเสียงรุนแรงขึ้นในเขตเกาลูน ทำให้รัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ จำเป็นต้องหาทำเลสร้างท่าอากาศยานนานาชาตฮ่องกงแห่งใหม่ (เช็ค แลป ก็อก) แทน สนามบินไคตั๊ก ซึ่งพ้นสมัยแล้ว

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยเป็นฐานการบินหลักของ คาเธย์แปซิฟิก, ดราก้อนแอร์ ,ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์, ฮ่องกงแอร์ไลน์ และ แอร์ฮ่องกง
เครื่องบินโบอิ้ง 747 สายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ลื่นไถลหลุดจากรันเวย์ สนามบินไคตั๊ก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1993 แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ภาพเอเอฟพี)
วันที่ 6 กรกฎาคม 1998 เวลา 01:28 น. หลังจากเครื่องบินลำสุดท้ายได้ทะยานออกไป ท่าอากาศยานไคตั๊ก จึงถูกปิดอย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากเปิดให้บริการแก่ประชาชนชาวฮ่องกง และทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 77 ปี โดยข้อมูลระบุว่า เที่ยวบินขาเข้าสุดท้ายของท่าอากาศยานไคตั๊กคือ สายการบินดรากอนแอร์ เที่ยวบิน KA841 มาจาก ฉงชิ่ง เวลา 23.38 น.

พิธีปิดสนามบินไคตั๊ก ทำขึ้นอย่างเรียบง่าย หลังจากส่งเที่ยวบิน ขาออกเที่ยวสุดท้ายของสนามบินประวัติศาสตร์แห่งนี้ คือ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เที่ยวบิน CX251 ไป ลอนดอน ออกเวลา 00.02 น. พนักงานบนหอบังคับการบินได้พูดคำสุดท้ายขณะปิดไฟรันเวย์ว่า " ลาก่อนไคตั๊ก, ขอบคุณ"
ชาวฮ่องกง และนักท่องเที่ยวยืนชมเครื่องโบอิ้ง 747-400 สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก ขณะร่อนลงสนามบินไคตั๊ก (ภาพเอเอฟพี)
หลังจากปิดท่าอากาศยานไคตั๊ก ก็เป็นสถานที่รกร้าง ก่อนจะได้รับการปรับพื้นที่เปลี่ยนให้เป็นท่าเรือสำราญ "ไคตั๊กครูสเทอมินอล" (Kai Tak Cruise Terminal) ด้วยงบประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ท่าอากาศยานไคตั๊ก ปี ค.ศ.1947 (ภาพเอเอฟพี)



เครื่องโบอิ้ง 747-400 สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก ขณะกางล้อร่อนผ่านเขตชุมชน สู่สนามบินไคตั๊ก (ภาพเอเอฟพี)




กำลังโหลดความคิดเห็น