xs
xsm
sm
md
lg

แอปเปิลเปิดศูนย์วิจัยในจีนเพิ่ม ทิม คุกไม่พูดย้ายฐานฯ แต่ป้องโลกาภิวัตน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ทิม คุก ประธานบริหารฯ แอปเปิล ขณะร่วมงานประชุมสัมนาเศรษฐกิจ China Development Forum ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา (ภาพรอยเตอร์ส)
แอปเปิลอินไซเดอร์ รายงาน (20 มี.ค.) ว่าแอปเปิล ประกาศสร้างศูนย์วิจัยในจีน 2 แห่ง ใช้งบประมาณอย่างน้อย 3,500 ล้านหยวน (507 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทิม คุก กล่าวในงานสัมนาเศรษฐกิจ China Development Forum ระหว่างวันที่ 18 - 20 มีนาคม ซึ่งจัดโดยรัฐบาลจีน ที่กรุงปักกิ่งว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดีกับโลก

แอปเปิลระบุในเว็บไซต์ว่า ศูนย์วิจัยพัฒนาใหม่ทั้ง 2 แห่งของแอปเปิล ซึ่งตั้งอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ และซูโจว จะทำงานร่วมกับศูนย์วิจัยในกรุงปักกิ่งและเซินเจิ้น ซึ่งสร้างก่อนหน้าแล้ว และทั้ง 4 ศูนยน์ จะเริ่มเปิดในปลายปีนี้

แอปเปิลกล่าวคาดการณ์ว่าศูนย์เหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานของบริษัทกับหุ้นส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครบวงจร และคัดสรรบุคลากรจากสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีทุนการศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่

การประกาศแผนดังกล่าว มีขึ้นในเวลาเดียวกับที่ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล เดินทางมาร่วมงานสัมนาเศรษฐกิจ China Development Forum ระหว่างวันที่ 18 - 20 มีนาคม ซึ่งจัดโดยรัฐบาลจีน ที่กรุงปักกิ่ง 

ทิม คุก กล่าวในงานฯ ว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ดีกับโลก เพียงแต่ในหลายๆ ประเทศ ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถกระจายผลประโยชน์วงกว้าง อย่างไรก็ตาม คุกได้เตือนถึงการแก้ปัญหาด้วยการถอนตัว ตัดขาดจากระบบการค้าโลกาภิวัตน์ เช่นกัน

"ผมคิดว่า การถอนตัวฯ จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย เพราะจะไม่ช่วยใครเลย ความจริงก็ปรากฏให้เห็น ถึงประเทศที่แยกตัดขาดโดดเดี่ยวตนเอง ซึ่งไม่เป็นผลดีกับประชาชนในประเทศนั้นๆ เลย"

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ ได้ประกาศเป้าหมายถึงงานจากนอกประเทศกลับไปให้คนอเมริกันทำ และยังได้เรียกร้องให้แอปเปิล ถอนตัวคืนฐานผลิตไอโฟน กลับไปอเมริกา ซึ่งกลายเป็นประเด็นขัดแย้งการค้าโลกาภิวัตน์ ที่ฐานผลิตหลักของแอปเปิล รวมตลอดจนกินการระดับโลกต่างๆ ตั้งอยู่

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (18 มี.ค.) ทิม คุก ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่าจะถอนตัว ย้ายฐานผลิตกลับสหรัฐฯ หรือไม่ แต่กลับได้กล่าวปกป้องกระบวนการค้าโลกาภิวัตน์ ซึ่งนักวิเคราะห์ กล่าวว่า คงเป็นการยากลำบากสำหรับไอโฟน ในการจะผลิตที่สหรัฐฯ เพราะความต่างของต้นทุนการผลิตการจัดการ


กำลังโหลดความคิดเห็น