xs
xsm
sm
md
lg

ชมเสน่ห์งามซึ้งชุดกี่เพ้าในภาพวาดจากศิลปินเซี่ยงไฮ้ผู้โด่งดังในนิวยอร์ก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ชื่อภาพ: Dress Up ปิดขายในงาน China Guardian 2013 Autumn Auctions ที่ราคา 207,000 หยวน หรือประมาณ 1,035,000 บาท [ภาพ: english.cguardian.com]
ไชน่า เดลี/เอเจนซี- ชม 10 ภาพวาดสีน้ำมันชุดฉีเผา ผลงานศิลปินเซี่ยงไฮ้ “เฉิน อี้ว์หมิง” ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากตะวันตก ในฐานะผู้ที่ใช้ทักษะวาดภาพแบบตะวันตกผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันออกได้อย่างลงตัวมากที่สุดคนหนึ่ง
เฉิน อี้ว์หมิง เป็นชาวเซี่ยงไฮ้โดยกำเนิด เกิดปี 1951 ก่อนจะข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนและทำงานกับแกลอรีส์แฮมเมอร์ (Hammer galleries ) ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กว่า 15 ปีมาแล้ว ผลงานภาพเขียนสีน้ำมันของเขา ส่วนใหญ่เป็นรูปฉีเผา (กี่เพ้า) และหญิงสาวจีน ที่แสดงถึงความอ่อนโยน สุขุม ในรูปแบบสมัยเก่า

อี้ว์หมิง เป็นน้องชายของเฉิน อี้ว์เฟย สุดยอดศิลปินภาพเขียนสีน้ำมันของวัฒนธรรมจีนร่วมสมัยผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยผลงานรูปแบบใกล้เคียงกัน อี้ว์หมิงก็จัดเป็นศิลปินเอเชียศตวรรษที่ 20 ที่มีผลงานศิลปะร่วมสมัยด้วยเช่นกัน งานของเขาเป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักสะสมทั้งชาวญี่ปุ่น แคนาดา อเมริกา แมกซิโก และชาวยุโรป แต่กลับไม่ได้รับกล่าวขวัญในจีน

ปีเตอร์ เดรค คณบดีสถาบันศิลปะแห่งนิวยอร์ค (New York Academy of Art) เคยกล่าวถึงงานของเขาไว้ว่า งานของอี้ว์หมิงมีความวิจิตรบรรจง งดงามและ “ลงตัวด้วยทักษะการเขียนรูปแบบตะวันที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันออก”

ทั้งนี้ งานของเฉิน อี้ว์หมิง ถูกนำเข้าประมูลในบริษัทจัดการประมูลชั้นนำของโลกทั้ง ซัทเทบีส์ (Sotheby’s) และคริสตี้ส์ (CHRISTIE'S)

อนึ่ง “ฉีเผา” (旗袍) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า “กี่เพ้า” เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีจีนลักษณะเหมือนเสื้อยาว คลุมท่อนขา ขนาดพอดีตัว และมีตะเข็บผ่าด้านข้างเพื่อความสะดวกในการเดินก้าวขา

ตามประวัติ ฉีเผา มาจากคำว่า ฉี (旗 แปลว่า ธง) ผสมคำว่า เผา(袍 แปลว่า เสื้อ) ใช้เรียกเครื่องแต่งกายของหญิงแมนจู ในช่วงที่แมนจูเข้าปกครองจีนในราชวงศ์ชิง ซึ่งในตอนนั้นมีการแบ่งระดับชนชั้นทางสังคมขึ้นระหว่างชาวแมนจูและชาวฮั่น ต่อมา ในปี ค.ศ. 1636 มีการออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนแต่งกายและตัดผมแบบแมนจู ทำให้มีการยกเลิกการแต่งกายแบบชาวฮั่น หรือที่เรียกว่า “ฮั่นฝู” (華服) ทิ้งไป

อย่างไรก็ดี ชุดฉีเผาในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงจากแบบชุดฉีเผาที่ชาวเชี่ยงไฮ้สาวมใส่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 เพื่อให้มีรูปทรงแนบกับสรีระ เน้นทรวดทรงของผู้สวมใส่ และเป็นแฟชั่นที่นิยมในสังคมคนชั้นสูงของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ชื่อภาพ: Gloden time ปิดขายในงาน Beijing Polly 2014 Spring Auctions ที่ราคา 920,000 หยวน หรือประมาณ 4,600,000 บาท [ภาพ: artron.net]
ชื่อภาพ: Lady with Flowers ปิดขายในงาน China Guardian 2007 Spring Auctions ที่ราคา 672,000 หยวน หรือประมาณ 3,360,000 บาท [ภาพ: english.cguardian.com]
ชื่อภาพ: Fan with Embroidery ปิดขายในงาน China Guardian 2009 Autumn Auctions ที่ราคา 694,400 หยวน หรือประมาณ 3,472,000 [ภาพ: english.cguardian.com]
ชื่อภาพ: Fond Memories [ภาพ: english.cguardian.com]
ภาพนี้ปิดขายในงาน Shanghai Daoming 2012 Autumn Auctions ที่ราคา 805,000 หยวน หรือประมาณ 4,025,000 บาท [ภาพ: artron.net]
ชื่อภาพ: Lady of Quality ปิดขายในงาน China Guardian 2006 Spring Auctions ที่ราคา 638,000 หยวน หรือประมาณ 3,190,000 บาท [ภาพ: english.cguardian.com]
ภาพนี้ปิดขายในงาน Beijing Hanhai 2007 Spring Auctions ที่ราคา 392,000 หยวน หรือ ประมาณ 1,960,000 บาท [ภาพ: artron.net]
ภาพนี้ปิดขายในงาน  ZD International 2010 Autumn Auctions ที่ราคา 280,000 หยวน หรือ ประมาณ 1,400,000 บาท [ภาพ: artron.net]
ชื่อภาพ: Elapsing Time ปิดขายในงาน China Guardian 2008 Spring Auctions  ที่ราคา 672,000 หยวน หรือ ประมาณ 3,360,000 บาท [ภาพ: english.cguardian.com]

กำลังโหลดความคิดเห็น