เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- ฮ่องกงติดเลื่อนชั้น ติดอันดับ 5 ของโลก เมืองที่น่าอยู่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
จากรายงานประจำปีการจัดอันดับเมืองน่าอยู่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคอกโครัลลีไซมอนส์ (Quacquarelli Symonds หรือ QS) บริษัทเอกชนชั้นนำที่ทำธุรกิจในด้านการศึกษา พบว่า ปีนี้ ฮ่องกงเลื่อนชั้นจากอันดับที่ 7 ขึ้นมาติดอันดับ 5 ของตาราง ตามหลังเพียงแค่ ปารีส เมลเบิร์น ลอนดอน และซิดนีย์ ตามลำดับ
ในการจัดอันดับฯ ทางคอกโครัลฯ ใช้ 5 ตัวชี้วัด จากดัชนีต่างๆ ทั้ง การสำรวจเมืองที่น่าอยู่โดยดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (the Economist Intelligence Unit หรือ EIU) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารชื่อดังระดับโลก “THE ECONOMIST” ดัชนีเรื่องโอกาสซึ่งจัดทำขึ้นโดยบริษัทไพร์ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers) บริษัทออดิทที่ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก และดัชนีค่าครองชีพของเมอร์เซอร์ (Mercer cost of living index) โดยฮ่องกงสามารถทำคะแนนได้ 387 แต้ม ห่างซิดนีย์เพียงแต้มเดียว ในขณะที่ปารีส ทำคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 412 แต้ม
นอกจากนี้ การเลื่อนชั้นของฮ่องกงยังเข้าไปแทนที่สิงคโปร์ ซึ่งเคยเป็นเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียสำหรับนักศึกษาในปีที่แล้ว หลังจากที่สิงคโปร์ล่วงจากอันดับ 3 ลงไปอยู่อันดับที่ 15 ของตารางในปีนี้ เพราะฮ่องกงสามารถจัดการศึกษาที่ตอบสนองผู้เรียนได้ดีกว่าทั้งในด้านค่าเล่าเรียน ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต
ส่วนเมืองอื่นๆ ของเอเชียที่ติดอยู่ในตาราง 10 อันดับด้วย ก็คือ โตเกียว และโซลซึ่งรั้งอันดับ 7 และ 10 ของตาราง ตามลำดับ ในขณะที่ไต้หวันครองอันดับที่ 25 ส่วนปักกิ่งติดอันดับที่ 26 และเซี่ยงไฮ้อยู่ในลำดับที่ 32
เบน โซว์เตอร์ หัวหน้าคณะวิจัย QS ระบุว่า การสำรวจเมืองน่าอยู่ที่สุดของทาง QS จะเป็นเครื่องมือช่วยให้นักศึกษาเลือกมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับได้ง่ายขึ้น “ที่สุดแล้ว การเลือกมหาวิทยาลัยก็เป็นเรื่องของที่ตั้งซะเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการเลือกของนักศึกษาต่างชาติ”
ด้านนายอิพ คิน-หยุน ฝ่ายการศึกษาของสภานิติบัญญัติฮ่องกง พึงพอใจกับผลการจัดอันดับที่ได้ แต่กระนั้น ก็ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและทางมหาวิทยาลัยทำงานให้มากขึ้นด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างเด็กฮ่องกับเด็กต่างชาติ
“การสร้างความเป็นสากลเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ” นายอิพ กล่าว “บางครั้ง เราจะเห็นเลยว่า เด็กของเราไม่ค่อยสนใจผูกมิตรกับเพื่อนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม”
อนึ่ง ฮ่องกงเริ่มเดินหน้านโยบายดึงดูดเด็กต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2554 โดยมีการผ่อนปรนเรื่องการเข้าเมืองและเงื่อนไขการจ้างงานสำหรับนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดใจพวกเขาด้วย
ในปีการศึกษา 2555-2556 ฮ่องกงมีนักศึกษาต่างชาติมากถึง 26,600 คน จาก 70 ประเทศที่เข้ามาเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย รัฐบาลฮ่องกง ระบุ
จากรายงานประจำปีการจัดอันดับเมืองน่าอยู่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคอกโครัลลีไซมอนส์ (Quacquarelli Symonds หรือ QS) บริษัทเอกชนชั้นนำที่ทำธุรกิจในด้านการศึกษา พบว่า ปีนี้ ฮ่องกงเลื่อนชั้นจากอันดับที่ 7 ขึ้นมาติดอันดับ 5 ของตาราง ตามหลังเพียงแค่ ปารีส เมลเบิร์น ลอนดอน และซิดนีย์ ตามลำดับ
ในการจัดอันดับฯ ทางคอกโครัลฯ ใช้ 5 ตัวชี้วัด จากดัชนีต่างๆ ทั้ง การสำรวจเมืองที่น่าอยู่โดยดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (the Economist Intelligence Unit หรือ EIU) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารชื่อดังระดับโลก “THE ECONOMIST” ดัชนีเรื่องโอกาสซึ่งจัดทำขึ้นโดยบริษัทไพร์ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers) บริษัทออดิทที่ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก และดัชนีค่าครองชีพของเมอร์เซอร์ (Mercer cost of living index) โดยฮ่องกงสามารถทำคะแนนได้ 387 แต้ม ห่างซิดนีย์เพียงแต้มเดียว ในขณะที่ปารีส ทำคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 412 แต้ม
นอกจากนี้ การเลื่อนชั้นของฮ่องกงยังเข้าไปแทนที่สิงคโปร์ ซึ่งเคยเป็นเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียสำหรับนักศึกษาในปีที่แล้ว หลังจากที่สิงคโปร์ล่วงจากอันดับ 3 ลงไปอยู่อันดับที่ 15 ของตารางในปีนี้ เพราะฮ่องกงสามารถจัดการศึกษาที่ตอบสนองผู้เรียนได้ดีกว่าทั้งในด้านค่าเล่าเรียน ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต
ส่วนเมืองอื่นๆ ของเอเชียที่ติดอยู่ในตาราง 10 อันดับด้วย ก็คือ โตเกียว และโซลซึ่งรั้งอันดับ 7 และ 10 ของตาราง ตามลำดับ ในขณะที่ไต้หวันครองอันดับที่ 25 ส่วนปักกิ่งติดอันดับที่ 26 และเซี่ยงไฮ้อยู่ในลำดับที่ 32
เบน โซว์เตอร์ หัวหน้าคณะวิจัย QS ระบุว่า การสำรวจเมืองน่าอยู่ที่สุดของทาง QS จะเป็นเครื่องมือช่วยให้นักศึกษาเลือกมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับได้ง่ายขึ้น “ที่สุดแล้ว การเลือกมหาวิทยาลัยก็เป็นเรื่องของที่ตั้งซะเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการเลือกของนักศึกษาต่างชาติ”
ด้านนายอิพ คิน-หยุน ฝ่ายการศึกษาของสภานิติบัญญัติฮ่องกง พึงพอใจกับผลการจัดอันดับที่ได้ แต่กระนั้น ก็ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและทางมหาวิทยาลัยทำงานให้มากขึ้นด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างเด็กฮ่องกับเด็กต่างชาติ
“การสร้างความเป็นสากลเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ” นายอิพ กล่าว “บางครั้ง เราจะเห็นเลยว่า เด็กของเราไม่ค่อยสนใจผูกมิตรกับเพื่อนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม”
อนึ่ง ฮ่องกงเริ่มเดินหน้านโยบายดึงดูดเด็กต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2554 โดยมีการผ่อนปรนเรื่องการเข้าเมืองและเงื่อนไขการจ้างงานสำหรับนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดใจพวกเขาด้วย
ในปีการศึกษา 2555-2556 ฮ่องกงมีนักศึกษาต่างชาติมากถึง 26,600 คน จาก 70 ประเทศที่เข้ามาเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย รัฐบาลฮ่องกง ระบุ