เอเจนซี- สถานการณ์การเมืองฮ่องกงกับแผ่นดินใหญ่เริ่มประทุและทวีวงกว้าง หลังนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกงได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีอังกฤษ จนจีนต้องออกโรงเตือนย้ำจุดยืน "เป็นเรื่องภายใน คนนอกไม่เกี่ยว" ด้านอังกฤษขู่เบาๆ จีนโดนนานาชาติอัดแน่หากฉีกสัญญา “หนึ่งประเทศ สองระบบ”
แรงกดดันทางการเมืองระหว่างฮ่องกงกับแผ่นดินใหญ่ ประทุอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีบุคคลที่สามอย่างอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยสองคนสำคัญของฮ่องกงนายแอนสัน ชานและมาร์ติน ลีได้เข้าพบนายนิค เคลก รองนายกรัฐมนตรีอังกฤษระหว่างที่พวกเขาเดินทางไปอังกฤษ ทำให้จีนออกคำเตือนอย่างเป็นทางการแก่อังกฤษทันทีในวันต่อมา (16 ก.ค.)
แหล่งข่าวระบุว่า นายเคลกได้พบกับ นายแอนสัน ชาน ผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปไตยฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลฮ่องกง และมาร์ติน ลี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา(15 ก.ค.) โดยทั้งสองได้หารือกับนายเคลกเรื่องปัญหาการใช้กฎหมายจีนในฮ่องกง และตั้งคำถามต่อพันธกิจของอังกฤษที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในฮ่องกงด้วย
ในขณะที่สื่อบางสำนักเผย นายเคลกกล่าวกับนักเคลื่อนไหวทั้งสองว่า เขาวิตกกังวลกับสมุดปกขาวที่ปักกิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนก่อน (ส.ค.) เช่นกัน และยังย้ำว่า อังกฤษจะเคลื่อนไหวต่อต้านบนเวทีระหว่างประเทศ หากจีนฉีกสัญญา “หนึ่งประเทศ สองระบบ”
นอกจากนี้ ในวันพุธ (16 ก.คง) นักเคลื่อนไหวทั้งสองยังเข้าพบคณะกรรมการสภาสูงของอังกฤษ เรียกร้องให้รัฐบาลแดนผู้ดีสนใจสถานการณ์ประชาธิปไตยในฮ่องกง หลังจากที่เมื่อเดือนก่อน นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้นกล่าวในรายงานรัฐสภา ระบุ กรอบการทำงานรัฐธรรมนูญที่มีเอกลักษณ์ของฮ่องกงเป็นไปด้วยดีอยู่แล้ว และเห็นว่าไม่มี “โมเดลที่สมบูรณ์แบบ” สำหรับการปฏิรูปการเลือกตั้ง(ในฮ่องกง)”
การพบปะดังกล่าวทำให้จีนต้องออกคำเตือนอย่างเป็นทางการแก่อังกฤษทันทีในวันต่อมา (16 ก.ค.) ซินหวารายงาน
“สิ่งที่อังกฤษทำลงไปถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีน ทั้งนี้จีนต่อต้านเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมา” นายหง เล่ย โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนแถลง
“กิจการภายในของฮ่องกงกลายเป็นเรื่องกิจการภายในของจีนแล้ว จีนยืนยันต่อต้านการแทรกแซงใดๆที่เกิดขึ้นในกิจการภายในของฮ่องกง ไม่ว่าจะโดยประเทศใด หรือข้ออ้างใดก็แล้วแต่” นายหง กล่าว
อนึ่ง กระแสความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว เริ่มต้นจากการที่ชาวฮ่องกงจำนวนมากไม่พอใจวิธีการเลือกตั้งที่ปักกิ่งจะใช้สำหรับการเลือกตั้งพ่อเมืองของพวกเขาในปี 2560 ในขณะเดียวกัน จีนก็เข้ามาควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง ทั้งเสรีภาพในการพูดวิจารณ์รัฐบาลและสิทธิในการต่อต้าน ซึ่งชาวฮ่องกงจำนวนมากเห็นว่าขัดแย้งกับหลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ที่ปักกิ่งสัญญาจะเดินตาม เมื่อรับมอบเกาะฮ่องกงคืนจากอังกฤษ อีกทั้ง ปักกิ่งยังออกหนังสือปกขาว ยืนยันชัดเจนว่า แผ่นดินใหญ่มีอำนาจเด็ดขาดเหนือเกาะแห่งนี้
ด้านนายเหลียง เจิ้นอิง พ่อเมืองฮ่องกง ก็มีท่าทีลู่ตามปักกิ่ง ทำให้ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งไม่พอใจ เรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่ง
ส่วนฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยเต็มใบในฮ่องกงออกมาเคลื่อนไหว ทั้งจัดการลงประชามติหาแนวทางการเลือกตั้งพ่อเมืองที่ประชาชนเป็นผู้เสนอผู้สมัครรับการเลือกตั้ง และระดมมวลชนหลายแสนคนประท้วงรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยถือเป็นการประท้วงรัฐบาลครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการส่งมอบเกาะคืนในปี 2540 ทั้งนี้ ปักกิิ่งสัญญาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกหัวหน้าคณะบริหารเขตปกครองพิเศษฮ่่องกงในปี 2560 แต่ผู้สมัครรับการเลือกตั้งก็ยังมาจากผู้นำจีน
แรงกดดันทางการเมืองระหว่างฮ่องกงกับแผ่นดินใหญ่ ประทุอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีบุคคลที่สามอย่างอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยสองคนสำคัญของฮ่องกงนายแอนสัน ชานและมาร์ติน ลีได้เข้าพบนายนิค เคลก รองนายกรัฐมนตรีอังกฤษระหว่างที่พวกเขาเดินทางไปอังกฤษ ทำให้จีนออกคำเตือนอย่างเป็นทางการแก่อังกฤษทันทีในวันต่อมา (16 ก.ค.)
แหล่งข่าวระบุว่า นายเคลกได้พบกับ นายแอนสัน ชาน ผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปไตยฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลฮ่องกง และมาร์ติน ลี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา(15 ก.ค.) โดยทั้งสองได้หารือกับนายเคลกเรื่องปัญหาการใช้กฎหมายจีนในฮ่องกง และตั้งคำถามต่อพันธกิจของอังกฤษที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในฮ่องกงด้วย
ในขณะที่สื่อบางสำนักเผย นายเคลกกล่าวกับนักเคลื่อนไหวทั้งสองว่า เขาวิตกกังวลกับสมุดปกขาวที่ปักกิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนก่อน (ส.ค.) เช่นกัน และยังย้ำว่า อังกฤษจะเคลื่อนไหวต่อต้านบนเวทีระหว่างประเทศ หากจีนฉีกสัญญา “หนึ่งประเทศ สองระบบ”
นอกจากนี้ ในวันพุธ (16 ก.คง) นักเคลื่อนไหวทั้งสองยังเข้าพบคณะกรรมการสภาสูงของอังกฤษ เรียกร้องให้รัฐบาลแดนผู้ดีสนใจสถานการณ์ประชาธิปไตยในฮ่องกง หลังจากที่เมื่อเดือนก่อน นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้นกล่าวในรายงานรัฐสภา ระบุ กรอบการทำงานรัฐธรรมนูญที่มีเอกลักษณ์ของฮ่องกงเป็นไปด้วยดีอยู่แล้ว และเห็นว่าไม่มี “โมเดลที่สมบูรณ์แบบ” สำหรับการปฏิรูปการเลือกตั้ง(ในฮ่องกง)”
การพบปะดังกล่าวทำให้จีนต้องออกคำเตือนอย่างเป็นทางการแก่อังกฤษทันทีในวันต่อมา (16 ก.ค.) ซินหวารายงาน
“สิ่งที่อังกฤษทำลงไปถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีน ทั้งนี้จีนต่อต้านเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมา” นายหง เล่ย โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนแถลง
“กิจการภายในของฮ่องกงกลายเป็นเรื่องกิจการภายในของจีนแล้ว จีนยืนยันต่อต้านการแทรกแซงใดๆที่เกิดขึ้นในกิจการภายในของฮ่องกง ไม่ว่าจะโดยประเทศใด หรือข้ออ้างใดก็แล้วแต่” นายหง กล่าว
อนึ่ง กระแสความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว เริ่มต้นจากการที่ชาวฮ่องกงจำนวนมากไม่พอใจวิธีการเลือกตั้งที่ปักกิ่งจะใช้สำหรับการเลือกตั้งพ่อเมืองของพวกเขาในปี 2560 ในขณะเดียวกัน จีนก็เข้ามาควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง ทั้งเสรีภาพในการพูดวิจารณ์รัฐบาลและสิทธิในการต่อต้าน ซึ่งชาวฮ่องกงจำนวนมากเห็นว่าขัดแย้งกับหลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ที่ปักกิ่งสัญญาจะเดินตาม เมื่อรับมอบเกาะฮ่องกงคืนจากอังกฤษ อีกทั้ง ปักกิ่งยังออกหนังสือปกขาว ยืนยันชัดเจนว่า แผ่นดินใหญ่มีอำนาจเด็ดขาดเหนือเกาะแห่งนี้
ด้านนายเหลียง เจิ้นอิง พ่อเมืองฮ่องกง ก็มีท่าทีลู่ตามปักกิ่ง ทำให้ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งไม่พอใจ เรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่ง
ส่วนฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยเต็มใบในฮ่องกงออกมาเคลื่อนไหว ทั้งจัดการลงประชามติหาแนวทางการเลือกตั้งพ่อเมืองที่ประชาชนเป็นผู้เสนอผู้สมัครรับการเลือกตั้ง และระดมมวลชนหลายแสนคนประท้วงรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยถือเป็นการประท้วงรัฐบาลครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการส่งมอบเกาะคืนในปี 2540 ทั้งนี้ ปักกิิ่งสัญญาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกหัวหน้าคณะบริหารเขตปกครองพิเศษฮ่่องกงในปี 2560 แต่ผู้สมัครรับการเลือกตั้งก็ยังมาจากผู้นำจีน