xs
xsm
sm
md
lg

สี จิ้นผิงร่วมเปิดโรงงานบ่อแก๊สอันดับสองของโลกในตูร์เมนิสถาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประธานาธิบดีกูรบันกูลี เบอร์ดีมูฮาเมดอฟแห่งตูร์เมนิสถาน(ขวา) และประธานาธิบดี สี จิ้นผิงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ซ้าย) ร่วมกันเปิดปฏิบัติการการผลิตของบ่อแก๊ส Galkynysh เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2556 Galkynysh เป็นบ่อแก๊สใหญ่อันสองของโลก ห่างจากกรุงอาชกาบัต 500 กิโลเมตร (เอเอฟพี)
เอเจนซี--ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ร่วมเปิดปฏิบัติการการผลิตบ่อแก๊สธรรมชาติในตูร์เมนิสสถาน ซึ่งมีแหล่งแก๊สใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก

เมื่อวานนี้(4 ก.ย.) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจับมือประธานาธิบดีกูรบันกูลี เบอร์ดีมูฮาเมดอฟแห่งตูร์เมนิสถาน กดปุ่มอันเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มปฏิบัติการการผลิตจากบ่อแก๊สธรรมชาติGalkynysh ซึ่งเป็นบ่อแก๊สใหญ่อันดับสองของโลก การผลิตแก๊สธรรมชาติจากบ่อ Galkynysh นี้ นับเป็นการพัฒนาใหญ่ของตูร์เมนิสถาน ซึ่งกำลังหาทางลดการพึ่งพิงท่อขนส่งไปยังรัสเซีย และผลิตแก๊สกลับมาขาย

“การบรรลุโครงการนี้เป็นการพิสูจน์ความร่วมมือระหว่างสองชาติในภาคพลังงาน โรงงานผลิตแก๊สแห่งนี้เป็นโรงงานใหญ่ที่สุดในอาณาบริเวณ ด้วยความสามารถในการผลิต 30,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี”

ด้านประธานาธิบดีสี กล่าวในพิธีเปิดฯ ว่า “นี่เป็นตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือภาคพลังงานระหว่างจีนและตูร์เมน โครงการนี้จะเป็นแรงกระตุ้นที่ทรงพลังในความร่วมมือทวิภาคีต่อไป”
ภาพโรงงานแปรรูปแก๊สธรรมชาติระหว่างพิธีเปิดปฏิบัติการการผลิตที่บ่อแก๊ส Galkynysh ในตูร์เมนิสถานวันที่ 4 ก.ย.2556 (ภาพ รอยเตอร์)
สำหรับโรงงานผลิตแก๊สจากบ่อ Galkynysh ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมกลางทะเลทรายตูร์เมน ห่างจากกรุงอาชกาบัต 500 กิโลเมตร รายงานการประเมินระบุ บ่อแก๊ส Galkynysh มีแก๊สถึง 21.2 ล้านล้านคิวบิกเมตร และน้ำมันอีกมากกว่า 300 ล้านตัน

ตามข้อมูลของสำนักตรวจสอบบัญชี Gaffney, Cline and Associates แห่งอังกฤษ ระบุว่า Galkynysh เป็นแหล่งแก๊สใหญ่อันดับสองของโลก

ตูร์เมนิสถานได้ส่งออกแก๊สไปยังประเทศจีน ผ่านท่อขนส่ง นอกจากนี้ ในวันอังคาร(3 ก.ย.) สี และ เบอร์ดีมูฮาเมดอฟ ยังได้ตกลงสัญญาหลายฉบับ รวมทั้งการอัดฉีดแก๊สให้แก่จีน ซึ่งมีแผนค่อยๆขยายซับพลายแก๊สจากตูร์เมนิสถาน ถึง 65,000 คิวบิคเมตร/ปี

ทั้งนี้ พญามังกรเล็งแหล่งแก๊สและน้ำมันอันไพศาลในเอเชียกลางในอดีตรัฐของโซเวียต เพื่อรักษาการเติบโตเศรษฐกิจภายในที่กำลังขยายอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ก็เป็นการขยายอิทธิพลการเมืองในอาณาบริเวณด้วย.
ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2556 แสดงหมู่เกาะที่มนุษย์สร้างขึ้น ในKashagan เขตบ่อน้ำมันนอกฝั่ง  ในทะเลคาสเปี้ยน ฝั่งตะวันตกของคาซัคสถาน ทั้งนี้ ผู้นำจีนเล็งแหล่งแก๊สและน้ำมันอันไพศาลในเอเชียกลางในอดีตรัฐของโซเวียต เพื่อรักษาการเติบโตเศรษฐกิจภายในที่กำลังขยายอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ก็เป็นการขยายอิทธิพลการเมืองในอาณาบริเวณด้วย.(รอยเตอร์)
ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2556 แสดงหมู่เกาะที่มนุษย์สร้างขึ้น ในKashagan เขตบ่อน้ำมันนอกฝั่ง  ในทะเลคาสเปี้ยน ฝั่งตะวันตกของคาซัคสถาน ทั้งนี้ ผู้นำจีนเล็งแหล่งแก๊สและน้ำมันอันไพศาลในเอเชียกลางในอดีตรัฐของโซเวียต เพื่อรักษาการเติบโตเศรษฐกิจภายในที่กำลังขยายอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ก็เป็นการขยายอิทธิพลการเมืองในอาณาบริเวณด้วย.(รอยเตอร์)
กำลังโหลดความคิดเห็น