เจียงเจ๋อ เจ๋อหหมิน (江泽民) ถ่ายโอนอำนาจทางการเมือง การบริหาร และการทหารให้กับหู จิ่นเทา (胡锦涛) ผ่านการลาออกและส่งมอบตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปีพ.ศ. 2545 ตำแหน่งประธานแห่งรัฐในปีพ.ศ. 2546 และตำแหน่งประธานคณะกรรมการทหารของคณะกรรมการกลางพรรคฯ ในปีพ.ศ. 2547 ด้วยเหตุผลที่ว่า หัวขบวนผู้นำรุ่นที่ 4 มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่เติ้ง เสี่ยวผิง (邓小平) และผู้นำอาวุโสรุ่นที่ 2 ได้วางไว้เมื่อครั้งการประชุมครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 11 คือ มีความเป็นนักปฏิวัติ มีอายุน้อย มีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาชีพ
หู จิ่นเทาถูกดึงตัวให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคฯ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหัว (清华大学) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บ่มเพาะนักศึกษารุ่นน้องที่จะขึ้นมาเป็นสมาชิกพรรคต่อไป หลังสำเร็จการศึกษาเขาถูกจัดสรรให้เข้าร่วมเป็น ‘แรงงาน’ สร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้าหลิวจยาสยา (刘家峡水电站) มณฑลกานซู่ (甘肃省) เขยิบเป็น ‘ช่าง’ สร้างเขื่อนพลังงานน้ำปาผานสยา (把盘峡水电站) เริ่มเข้าสู่งานราชการในตำแหน่งเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนามณฑล เลื่อนขึ้นเป็นรองประธานคณะกรรมการพัฒนามณฑลกานซู่ และเลขาธิการคณะกรรมการองค์การสันนิบาตเยาวชนลัทธิคอมมิวนิสต์มณฑลกานซู่ตามลำดับ ผลจากการอุทิศตนด้วยความมุมานะบากบั่น ณ ดินแดนไกลปืนเที่ยงตลอดเวลา 14 ปี ส่งผลให้ หู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสำนักเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนฯ ในปีพ.ศ. 2525 ด้วยแรงสนับสนุนจากหู เย่าปัง (胡耀邦) เลขาธิการใหญ่พรรคฯ
ภายหลังเดินหน้า ‘ชำระ’ อุดมการณ์ในหมู่เยาวชนได้ 3 ปี หู จิ่นเทาก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯ มณฑลกุ้ยโจว (贵州省) ในปีพ.ศ. 2528 อันเป็นเหตุให้เขามีโอกาสใกล้ชิดกับ หู เย่าปัง ผู้ให้ความสำคัญกับการตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามชนบทในภาคตะวันตก ภายใต้หลักการ ‘ชาวนาคือวีรบุรุษ’ และ ‘ได้ยินร้อยครั้ง มิสู้เห็นหนึ่งครั้ง’ พร้อมกับเวิน จยาเป่า (温家宝) ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกลางพรรคฯ ในขณะนั้นบุคลิกที่ซื่อตรงและสมถะ รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของ หู เย่าปัง ที่แสดงออกผ่านการประนีประนอม ปฏิเสธสินน้ำใจและระบบอภิสิทธิ์ทั้งปวง ตลอดจนท่าทีประนีประนอมที่มีต่อการเคลื่อนไหวของปัญญาชนหัวเสรี อันมีผลให้เขาถูกปลดจากตำแหน่งทางการเมืองในปีพ.ศ. 2530 ได้สร้างความประทับใจให้กับทั้งสองว่าที่แกนนำรุ่นที่ 4 เป็นอย่างมาก

ดังเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่หู จิ่นเทา ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกรมการเมืองเปล่งวาจาเรียก ‘ท่านเลขาฯ’ ในขณะที่ไม่มีผู้ใดกล้า เมื่อครั้งเดินทางไปเคารพสุสานหู เย่าปังที่เจียงซี ในปีพ.ศ. 2536 และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งรัฐหู จิ่นเทาก็เสนอหลักการ ‘แปดเกียรติ แปดละอาย’ (八个为荣,八个为耻) ซึ่งได้แก่ ถือการรักชาติเป็นเกียรติ ถือการทำลายชาติเป็นละอาย ถือการรับใช้ประชาชนเป็นเกียรติ ถือการหนีห่างประชาชนเป็นละอาย ถือความศรัทธาในวิทยาศาสตร์เป็นเกียรติ ถือไสยศาสตร์เป็นละอาย ถือความมานะบากบั่นเป็นเกียรติ ถือการผลักภาระเป็นละอาย ถือความสามัคคีเป็นเกียรติ ถือความเห็นแก่ตัวเป็นละอาย ถือความสัตย์เป็นเกียรติ ถือความเห็นแก่ได้เป็นละอาย ถือความเคารพกฎหมายเป็นเกียรติ ถือการฝ่าฝืนกฎหมายเป็นละอาย ถือการต่อสู้เป็นเกียรติ ถือความขี้เกียจเป็นละอาย
เมื่อครั้งโอกาสครบรอบการเสียชีวิต 21 ปีของหู เย่าปังในวันที่ 15 เม.ย. 2553 เวิน จยาเป่า นายกรัฐมนตรี ได้เขียนบทความ ‘รำลึกถึงหู เย่าปัง’ 《再回兴义忆耀邦》 ลงหนังสือพิมพ์ประชาชน ความว่า “......หลังจากที่ผมเข้ารับตำแหน่งในสำนักงานกลางพรรคฯ ตั้งแต่เดือนต.ค. 2528 ก็ได้มีโอกาสทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับสหายเย่าปังเกือบ 2 ปี ผมสัมผัสได้ถึงความเอาใจใส่ประชาชนของสหายเย่าปัง ท่านเป็นผู้มีน้ำใจและไม่เห็นแก่ตัว ปฏิบัติภารกิจด้วยความโปร่งใส จริยธรรมสูงส่ง หลายครั้งที่ท่านตรากตรำจนล้มป่วย ทุกกริยาวาจาของท่านทำให้ผมมิอาจหย่อนคล้อย แนวทางการประพฤติตนของท่านส่งผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการใช้ชีวิตของผม แม้ในเดือนม.ค. 2530 ท่านจะหลุดจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคฯ ไป ผมก็ยังหมั่นไปเยี่ยมท่านเสมอ ......แม้ยามที่ท่านอำลาโลกไป ผมก็ไปเคารพภาพถ่ายท่านที่บ้านทุกเทศกาลตรุษจีน แววตาที่มุ่งมั่นของท่าน เป็นกำลังใจให้ผมมีแรงที่จะต่อสู้เพื่อรับใช้ประชาชน.....”
นอกจาก ‘ศรัทธา’ ในอุดมการณ์ของ หู เย่าปัง นักปฏิรูปหัวเสรีแล้ว สิ่งที่ผู้นำรุ่นที่ 4 มี ‘หน้าที่’สานต่อ ก็คือ การใส่เกียร์เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจตาม ‘ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง’ และหลัก ‘ตัวแทน 3 ประการ’ ภายใต้บทบาทคุมบังเหียนของขิงแก่เจียง เจ๋อหมิน หัวหน้ากลุ่ม ‘ผู้สนับสนุนเบื้องหลัง’ ที่ล้วงลูกด้วยการส่งลูกหม้อเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการกรมการเมืองถึง 7 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 9 คน ในปี 2545 และ 10 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 11 คน ในปี 2547 กระทั่ง 7 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 11 คน ในปี 2550

ผู้นำรุ่นที่ 4 เด็ดเดี่ยว ไม่โลเลต่อนโยบายเปิดประเทศปฏิรูป โดยระบุ 7 พันธกิจใหม่ไว้ในแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2549 - 2553) ดังนี้ 1) สร้างชนบทใหม่แบบสังคมนิยม 2) ขับเคลื่อนการเพิ่มขีดขั้นของการให้โครงสร้างอุตสาหกรรมอยู่เหนือสิ่งอื่น 3) ส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคอย่างสมดุล 4) สร้างสังคมในรูปแบบประหยัดทรัพยากรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) ปฎิรูประบบอย่างซึมลึก และยกระดับการเปิดประเทศต่อโลกภายนอก 6) ดำเนินยุทธศาสตร์การทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองด้วยวิทยาศาสตร์และการศึกษา 7) ขับเคลื่อนการสร้างสังคมสมานฉันท์แบบสังคมนิยม
ด้วยการนำขบวนของ หู จิ่นเทา ภายใต้บรรยากาศของการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยต่อหัว (GDP) เพิ่มขึ้นจาก 1,135 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2545 เป็น 5,432 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554... จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเพิ่มขึ้นจาก 38% ในปี 2545 เป็น 50% ในปี 2554... จากที่ยังไม่มีรถไฟความเร็วสูงในปี 2545 กลายเป็นผู้ครองตำแหน่งรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลกในปี 2554... ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน ในปี 2545 เป็น 600 ล้านคนในปี 2554...
นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสูงสุดอันดับ 1 และการส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีเงินทุนสำรองเป็นอันดับหนึ่งของโลก อันส่งผลให้มูลค่าการผลิตทางเศรษฐกิจจีนที่ห้อยอยู่ในลำดับที่ 6 ของโลก ขยับขึ้นเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี กระทั่งมั่นใจที่จะประกาศเพิ่มรายได้ต่อหัวอีกหนึ่งเท่า (1 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ/คน/ปี) ภายในปี 2563 เมื่อครั้งกล่าวรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนครั้งที่ 18 หรือ สมัชชาฯ 18 เมื่อปลายปีที่แล้ว(2555)

ผู้นำรุ่นที่ 4 ตอกย้ำความสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงระอบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน บนเส้นทางการพัฒนาสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก ผ่านความยิ่งใหญ่ของงานโอลิมปิก ณ มหานครเป่ยจิง (ปักกิ่ง) ปี 2551 งานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2552 งานมหกรรมโลก ณ มหานครซ่างไฮ่ (เซี่ยงไฮ้) และมหกรรมกีฬาคนพิการเอเชียนพาราเกมส์ ณ นครก่วงโจว ปี 2553
ครอบคลุมไปถึงการขึ้นมามีบทบาทในฐานะประเทศมหาอำนาจใหม่ เช่น การแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเจรจา 6 ฝ่าย เพื่อแกไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลี คัดค้านสหรัฐฯ และพันธมิตรในการทำสงครามโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน ของอิรัก การเข้ากุมยุทธศาสตร์ทางทะเลในเอเชียใต้ การขยายบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนพยายามสร้างกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ กับทั่วโลก แม้แต่ประเทศยากจนในแอฟริกาที่สหรัฐไม่ได้ให้ความสนใจ เป็นต้น
หู จิ่นเทาถูกดึงตัวให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคฯ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหัว (清华大学) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บ่มเพาะนักศึกษารุ่นน้องที่จะขึ้นมาเป็นสมาชิกพรรคต่อไป หลังสำเร็จการศึกษาเขาถูกจัดสรรให้เข้าร่วมเป็น ‘แรงงาน’ สร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้าหลิวจยาสยา (刘家峡水电站) มณฑลกานซู่ (甘肃省) เขยิบเป็น ‘ช่าง’ สร้างเขื่อนพลังงานน้ำปาผานสยา (把盘峡水电站) เริ่มเข้าสู่งานราชการในตำแหน่งเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนามณฑล เลื่อนขึ้นเป็นรองประธานคณะกรรมการพัฒนามณฑลกานซู่ และเลขาธิการคณะกรรมการองค์การสันนิบาตเยาวชนลัทธิคอมมิวนิสต์มณฑลกานซู่ตามลำดับ ผลจากการอุทิศตนด้วยความมุมานะบากบั่น ณ ดินแดนไกลปืนเที่ยงตลอดเวลา 14 ปี ส่งผลให้ หู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสำนักเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนฯ ในปีพ.ศ. 2525 ด้วยแรงสนับสนุนจากหู เย่าปัง (胡耀邦) เลขาธิการใหญ่พรรคฯ
ภายหลังเดินหน้า ‘ชำระ’ อุดมการณ์ในหมู่เยาวชนได้ 3 ปี หู จิ่นเทาก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯ มณฑลกุ้ยโจว (贵州省) ในปีพ.ศ. 2528 อันเป็นเหตุให้เขามีโอกาสใกล้ชิดกับ หู เย่าปัง ผู้ให้ความสำคัญกับการตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามชนบทในภาคตะวันตก ภายใต้หลักการ ‘ชาวนาคือวีรบุรุษ’ และ ‘ได้ยินร้อยครั้ง มิสู้เห็นหนึ่งครั้ง’ พร้อมกับเวิน จยาเป่า (温家宝) ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกลางพรรคฯ ในขณะนั้นบุคลิกที่ซื่อตรงและสมถะ รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของ หู เย่าปัง ที่แสดงออกผ่านการประนีประนอม ปฏิเสธสินน้ำใจและระบบอภิสิทธิ์ทั้งปวง ตลอดจนท่าทีประนีประนอมที่มีต่อการเคลื่อนไหวของปัญญาชนหัวเสรี อันมีผลให้เขาถูกปลดจากตำแหน่งทางการเมืองในปีพ.ศ. 2530 ได้สร้างความประทับใจให้กับทั้งสองว่าที่แกนนำรุ่นที่ 4 เป็นอย่างมาก
ดังเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่หู จิ่นเทา ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกรมการเมืองเปล่งวาจาเรียก ‘ท่านเลขาฯ’ ในขณะที่ไม่มีผู้ใดกล้า เมื่อครั้งเดินทางไปเคารพสุสานหู เย่าปังที่เจียงซี ในปีพ.ศ. 2536 และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งรัฐหู จิ่นเทาก็เสนอหลักการ ‘แปดเกียรติ แปดละอาย’ (八个为荣,八个为耻) ซึ่งได้แก่ ถือการรักชาติเป็นเกียรติ ถือการทำลายชาติเป็นละอาย ถือการรับใช้ประชาชนเป็นเกียรติ ถือการหนีห่างประชาชนเป็นละอาย ถือความศรัทธาในวิทยาศาสตร์เป็นเกียรติ ถือไสยศาสตร์เป็นละอาย ถือความมานะบากบั่นเป็นเกียรติ ถือการผลักภาระเป็นละอาย ถือความสามัคคีเป็นเกียรติ ถือความเห็นแก่ตัวเป็นละอาย ถือความสัตย์เป็นเกียรติ ถือความเห็นแก่ได้เป็นละอาย ถือความเคารพกฎหมายเป็นเกียรติ ถือการฝ่าฝืนกฎหมายเป็นละอาย ถือการต่อสู้เป็นเกียรติ ถือความขี้เกียจเป็นละอาย
เมื่อครั้งโอกาสครบรอบการเสียชีวิต 21 ปีของหู เย่าปังในวันที่ 15 เม.ย. 2553 เวิน จยาเป่า นายกรัฐมนตรี ได้เขียนบทความ ‘รำลึกถึงหู เย่าปัง’ 《再回兴义忆耀邦》 ลงหนังสือพิมพ์ประชาชน ความว่า “......หลังจากที่ผมเข้ารับตำแหน่งในสำนักงานกลางพรรคฯ ตั้งแต่เดือนต.ค. 2528 ก็ได้มีโอกาสทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับสหายเย่าปังเกือบ 2 ปี ผมสัมผัสได้ถึงความเอาใจใส่ประชาชนของสหายเย่าปัง ท่านเป็นผู้มีน้ำใจและไม่เห็นแก่ตัว ปฏิบัติภารกิจด้วยความโปร่งใส จริยธรรมสูงส่ง หลายครั้งที่ท่านตรากตรำจนล้มป่วย ทุกกริยาวาจาของท่านทำให้ผมมิอาจหย่อนคล้อย แนวทางการประพฤติตนของท่านส่งผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการใช้ชีวิตของผม แม้ในเดือนม.ค. 2530 ท่านจะหลุดจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคฯ ไป ผมก็ยังหมั่นไปเยี่ยมท่านเสมอ ......แม้ยามที่ท่านอำลาโลกไป ผมก็ไปเคารพภาพถ่ายท่านที่บ้านทุกเทศกาลตรุษจีน แววตาที่มุ่งมั่นของท่าน เป็นกำลังใจให้ผมมีแรงที่จะต่อสู้เพื่อรับใช้ประชาชน.....”
นอกจาก ‘ศรัทธา’ ในอุดมการณ์ของ หู เย่าปัง นักปฏิรูปหัวเสรีแล้ว สิ่งที่ผู้นำรุ่นที่ 4 มี ‘หน้าที่’สานต่อ ก็คือ การใส่เกียร์เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจตาม ‘ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง’ และหลัก ‘ตัวแทน 3 ประการ’ ภายใต้บทบาทคุมบังเหียนของขิงแก่เจียง เจ๋อหมิน หัวหน้ากลุ่ม ‘ผู้สนับสนุนเบื้องหลัง’ ที่ล้วงลูกด้วยการส่งลูกหม้อเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการกรมการเมืองถึง 7 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 9 คน ในปี 2545 และ 10 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 11 คน ในปี 2547 กระทั่ง 7 คน จากคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 11 คน ในปี 2550
ผู้นำรุ่นที่ 4 เด็ดเดี่ยว ไม่โลเลต่อนโยบายเปิดประเทศปฏิรูป โดยระบุ 7 พันธกิจใหม่ไว้ในแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2549 - 2553) ดังนี้ 1) สร้างชนบทใหม่แบบสังคมนิยม 2) ขับเคลื่อนการเพิ่มขีดขั้นของการให้โครงสร้างอุตสาหกรรมอยู่เหนือสิ่งอื่น 3) ส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคอย่างสมดุล 4) สร้างสังคมในรูปแบบประหยัดทรัพยากรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) ปฎิรูประบบอย่างซึมลึก และยกระดับการเปิดประเทศต่อโลกภายนอก 6) ดำเนินยุทธศาสตร์การทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองด้วยวิทยาศาสตร์และการศึกษา 7) ขับเคลื่อนการสร้างสังคมสมานฉันท์แบบสังคมนิยม
ด้วยการนำขบวนของ หู จิ่นเทา ภายใต้บรรยากาศของการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยต่อหัว (GDP) เพิ่มขึ้นจาก 1,135 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2545 เป็น 5,432 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554... จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเพิ่มขึ้นจาก 38% ในปี 2545 เป็น 50% ในปี 2554... จากที่ยังไม่มีรถไฟความเร็วสูงในปี 2545 กลายเป็นผู้ครองตำแหน่งรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลกในปี 2554... ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน ในปี 2545 เป็น 600 ล้านคนในปี 2554...
นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสูงสุดอันดับ 1 และการส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีเงินทุนสำรองเป็นอันดับหนึ่งของโลก อันส่งผลให้มูลค่าการผลิตทางเศรษฐกิจจีนที่ห้อยอยู่ในลำดับที่ 6 ของโลก ขยับขึ้นเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี กระทั่งมั่นใจที่จะประกาศเพิ่มรายได้ต่อหัวอีกหนึ่งเท่า (1 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ/คน/ปี) ภายในปี 2563 เมื่อครั้งกล่าวรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนครั้งที่ 18 หรือ สมัชชาฯ 18 เมื่อปลายปีที่แล้ว(2555)
ผู้นำรุ่นที่ 4 ตอกย้ำความสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงระอบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน บนเส้นทางการพัฒนาสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก ผ่านความยิ่งใหญ่ของงานโอลิมปิก ณ มหานครเป่ยจิง (ปักกิ่ง) ปี 2551 งานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2552 งานมหกรรมโลก ณ มหานครซ่างไฮ่ (เซี่ยงไฮ้) และมหกรรมกีฬาคนพิการเอเชียนพาราเกมส์ ณ นครก่วงโจว ปี 2553
ครอบคลุมไปถึงการขึ้นมามีบทบาทในฐานะประเทศมหาอำนาจใหม่ เช่น การแสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเจรจา 6 ฝ่าย เพื่อแกไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลี คัดค้านสหรัฐฯ และพันธมิตรในการทำสงครามโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน ของอิรัก การเข้ากุมยุทธศาสตร์ทางทะเลในเอเชียใต้ การขยายบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนพยายามสร้างกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ กับทั่วโลก แม้แต่ประเทศยากจนในแอฟริกาที่สหรัฐไม่ได้ให้ความสนใจ เป็นต้น