เอเยนซี- โรงอาบน้ำคู่ชีวิตชาวหนานจิงกว่า 600 ปี ซึ่งได้รับการประกาศจากเทศบาลมณฑลเจียงซู ให้เป็นหนึ่งในมรดกสถาน มาวันนี้กำลังถูกไล่ที่แล้ว

ณ เมืองหนานจิง มีโรงอาบน้ำที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 600 ปี ได้รับการประกาศจากเทศบาลมณฑลเจียงซู ให้เป็นหนึ่งในมรดกสถาน เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2006 สำหรับชาวบ้านรุ่นเก่าที่อาศัยอยู่บริเวณเฉิงหนานของเมืองหนานจิงนั้น โรงโอ่ง หรือ เวิ่งถัง (瓮堂) เปรียบเสมือน “สหายเก่า” เคียงข้างชีวิต ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกันตลอดชั่วคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ทว่า โครงการบูรณะเมืองทำให้ชะตาชีวิตของสหายผู้นี้กำลังสิ้นสุดลง หนึ่งในผู้ให้บริการปรารภกับผู้สื่อข่าวว่า “หลังเทศกาลตรุษจีนโรงอาบน้ำแห่งนี้ คงต้องปิดประตูอำลาแขกเสียแล้ว” เร็วๆ นี้ จึงมีแขกจำนวนไม่น้อยแข่งกับเวลาเพื่อมาอาบน้ำให้ทันเฮือกสุดท้าย
โรงอาบน้ำโอ่งเป็นสุดยอดภูมิปัญญาการออกแบบของบรรพบุรุษยุค กว่า 600 ปี แบบของโรงอาบน้ำเป็นรูปโอ่งคว่ำ ด้านบนสุดของห้องโถงมีหน้าต่างบานใหญ่เปิดให้แสงส่องเข้ามา เนื่องจากภายในห้องอาบน้ำอวลไปด้วยละอองน้ำ เมื่อละอองอุ่นๆทะยานขึ้นสูงแล้ว ก็ผนึกตัวเป็นหยดน้ำที่เพดาน ไหลรินลงมาตามกำแพง โดยที่ไม่หยดร่วงลงมาจากเพดานโดยตรง มาโดนตัวของลูกค้า
อากงแซ่ ไต้ วัย 68 ปี เป็นลูกค้าประจำของโรงอาบน้ำนี้ ก่อนหน้าที่บ้านไม่มีห้องอาบน้ำแบบฝักบัว โรงโอ่งจึงเป็น “ห้องอาบน้ำหน้าบ้าน” ต่อมาเมื่อที่บ้านใหม่ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว กระนั้น โรงอาบน้ำโอ่ง วัฒนธรรมคู่ชีวิตชาวจีน ก็ยังติดตรึงในความทรงจำ ดั่งสหายเก่าที่มิอาจลืมเลือน


ณ เมืองหนานจิง มีโรงอาบน้ำที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 600 ปี ได้รับการประกาศจากเทศบาลมณฑลเจียงซู ให้เป็นหนึ่งในมรดกสถาน เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2006 สำหรับชาวบ้านรุ่นเก่าที่อาศัยอยู่บริเวณเฉิงหนานของเมืองหนานจิงนั้น โรงโอ่ง หรือ เวิ่งถัง (瓮堂) เปรียบเสมือน “สหายเก่า” เคียงข้างชีวิต ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกันตลอดชั่วคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ทว่า โครงการบูรณะเมืองทำให้ชะตาชีวิตของสหายผู้นี้กำลังสิ้นสุดลง หนึ่งในผู้ให้บริการปรารภกับผู้สื่อข่าวว่า “หลังเทศกาลตรุษจีนโรงอาบน้ำแห่งนี้ คงต้องปิดประตูอำลาแขกเสียแล้ว” เร็วๆ นี้ จึงมีแขกจำนวนไม่น้อยแข่งกับเวลาเพื่อมาอาบน้ำให้ทันเฮือกสุดท้าย
โรงอาบน้ำโอ่งเป็นสุดยอดภูมิปัญญาการออกแบบของบรรพบุรุษยุค กว่า 600 ปี แบบของโรงอาบน้ำเป็นรูปโอ่งคว่ำ ด้านบนสุดของห้องโถงมีหน้าต่างบานใหญ่เปิดให้แสงส่องเข้ามา เนื่องจากภายในห้องอาบน้ำอวลไปด้วยละอองน้ำ เมื่อละอองอุ่นๆทะยานขึ้นสูงแล้ว ก็ผนึกตัวเป็นหยดน้ำที่เพดาน ไหลรินลงมาตามกำแพง โดยที่ไม่หยดร่วงลงมาจากเพดานโดยตรง มาโดนตัวของลูกค้า
อากงแซ่ ไต้ วัย 68 ปี เป็นลูกค้าประจำของโรงอาบน้ำนี้ ก่อนหน้าที่บ้านไม่มีห้องอาบน้ำแบบฝักบัว โรงโอ่งจึงเป็น “ห้องอาบน้ำหน้าบ้าน” ต่อมาเมื่อที่บ้านใหม่ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว กระนั้น โรงอาบน้ำโอ่ง วัฒนธรรมคู่ชีวิตชาวจีน ก็ยังติดตรึงในความทรงจำ ดั่งสหายเก่าที่มิอาจลืมเลือน