เอเยนซี- เว็บไซต์ china.org เปิดโผ 10 อันดับภาพยนตร์จีนอมตะ ที่คับแน่นด้วยเนื้อหา และเปี่ยมล้นด้วยเทคนิคถ่ายทำ โดยผ่านการรับประกันคุณภาพจากทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ศักยภาพการแข่งขันภาพยนตร์จีนสูงขึ้นอย่างต่อ ในฐานะสื่อสะท้อนสังคมจีนตลอดระยะเวลา 107 ปีที่ผ่านมา
จีนมีประวัติการสร้างภาพยนตร์ที่น่าภูมิใจ ภาพยนตร์จีนเริ่มสร้างครั้งแรกในปี 1905 หลังการเกิดภาพยนตร์ในฝรั่งเศสเพียง 10 ปี ในช่วง 20ปี ให้หลังมานี้ ภาพยนตร์จีนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ตามหัวเมืองใหญ่ของจีนเต็มไปด้วยบริษัทผู้สร้างมากกว่าร้อยแห่ง และเซี่ยงไฮ้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ในทศวรรษที่ 30 และ 40 แม้ว่าจีนจะเข้าสู่ยุคความวุ่นวายทางการเมือง แต่วงการภาพยนตร์จีนก็มิได้หยุดเติบโต ช่วงเวลานั้นผู้สร้างต่างมีมุมมองในการผลิตไปในทางประจักษ์นิยมและเริ่มสร้างภาพยนตร์ในแนวทางวิพากษ์สังคม โดยมีเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการสร้างสรรค์งาน ภาพยนตร์ในตำนานหลายเรื่องถูกสร้าง ณ เมืองท่าแห่งนี้ อาทิ Crossroads (1937), Angles on the road (1937), A spring river flows east(1947).
ยุค 50 ฮ่องกงและไต้หวันเริ่มมีบทบาทในวงการมากยิ่งขึ้น เวลาต่อมาฮ่องกงกลายเป็นเมืองหลวงของวงการภาพยนตร์จีน หลายฝ่ายต่างกล่าวขานว่าฮ่องกงเป็น “ฮอลลีวูดแห่งโลกตะวันออก” เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 90 ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของวงการภาพยนตร์รองจากฮอลลีวูด ว่ากันว่าหนังฮ่องกงพบได้ทุกมุมโลกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่
กลับกันวงการภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ยุค 50 การจัดสร้างและตลาดภาพยนตร์ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ จนถึงปลายยุค 70 การสนับสนุนวงการภาพยนตร์โดยรัฐบาลได้ยุติลง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปและเปิดกว้าง ผู้สร้างต่างหันมาสู่รูปแบบการพาณิชย์มากกว่าก่อน ประชาชนทั่วไปกลับสู่โรงภาพยนตร์อีกครั้ง ในปี 2011 ภาพยนตร์กว่า 560 เรื่องสร้างขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่ มีรายได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่ามาตรฐานคุณภาพยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยาวนานของวงการภาพยนตร์จีนได้สร้างผู้กำกับชั้นครูไว้หลายท่าน พวกเค้าสร้างพลงานที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา เช่นสิบอมตะภาพยนตร์ที่เวบไซต์ของทางการจีนจัดอันดับไว้ ดังต่อไปนี้
อันดับ 10 วีรบุรุษ (Hero/英雄)
กล่าวถึงยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 475 - 221 ก่อนคริสตกาล) ประเทศจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 อาณาเขต นานนับทศวรรษที่แคว้นต่างๆ ได้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ยังผลให้เหล่าประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในฐานะผู้ครองรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด ราชาแห่งรัฐฉินตกเป็นเป้าสังหาร ทำให้ต้องประกาศสอบหาจอมยุทธ์คู่ใจ ครั้นได้พบกับจอมยุทธ์นิรนามผู้เปี่ยมด้วยความสามารถถึงขั้นเอาชนะมือสังหารชั้นยอดได้ทั้ง 3 คน ก็ยังความสงสัยว่ามีจุดประสงค์แอบแฝงใดหรือไม่จึงมายืนอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ เรื่องราวอบอวลไปด้วยตำนานแห่งความรัก ความจงรักภักดี และหน้าที่ ท่ามกลางการประลองด้วยเล่ห์เพทุบาย
จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จางอี้โหมว กลายเป็นบุคคลที่ต้องพูดถึงทุกครั้งที่สนทนาถึงภาพยนตร์จีน จาง สร้างวีรบุรุษ ซึ่งเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องแรกของเขาภายใต้กระบวนการผลิตแบบฮอลลีวูด ทุ่มทุนสร้างกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นหนังจีนที่ใช้ทุนสร้างมากสุดในเวลานั้น และเป็นแรงฉุดตลาดภาพยนตร์จีนให้กลับมาคึกคักในระดับนานาชาติ ทันทีที่เข้าฉายในปี 2002 วีรบุรุษก็ได้รับการตอบรับอย่างสวยงาม นักวิจารณ์และผู้จัดมั่นใจในศักยภาพของหนังว่าสามารถทำเงินได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สามารถเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกาเหนือ มีรายรับกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่ใคร่ใส่ใจในส่วนของการ “เล่าเรื่อง” เท่าที่ควร แม้ว่าจะคว้าถึง 14 รางวัลจากภาพยนตร์ทองคำฮ่องกงในปี 2003 ก็ตาม
อันดับที่ 9 ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (大话西游หรือ A Chinese Odyssey Duology)
ภาพยนตร์ตลกฮ่องกง กำกับโดย Jeffrey Lau มี Stephen Chow, Karen Mok และ Man Tat Ng แสดงนำ ภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองภาค คือ “กล่องแสงจันทร์” (月光宝盒หรือ pandora‘s box)”กับ “เกือกบุพเพ” (仙履奇缘 หรือ Cinderella )Jeffrey และ Stephen ใช้พล็อตหลักจากหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนอย่าง “ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก” (西游记หรือ Journey to the west) ซึ่งแต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย หวู่ฉิงเอิน กล่าวถึงเรื่องราวการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) โดยมีสัตว์ 4 ตัวเป็นเพื่อน ได้แก่ วานรซุนวู่คง (ซุนหงอคง) สุกรจูปาเจี้ย (จูกังเลี่ย หรือ ตือโป๊ยก่าย) ปลาซาเหอซ่าง (ซัวเจ๋ง) และเสี่ยวป๋ายหลง (ม้ามังกรขาว) คณะศิษย์อาจารย์ทั้ง 5 ใช้เวลา 14 ปี ผจญเภทภัยเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดประการ
เมื่อครั้งเปิดตัวในปี 1995 ไม่มีใครคาดคิดว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์อมตะเหนือการเวลา แต่เพราะจุดเด่นในการนำความรัก การเดินทาง และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ภายหลังเปิดตัวได้ 3-5 ปี หนังเรื่องนี้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่น สำนวนและรูปประโยคที่ตัวละครใช้ได้ถูกหยิบยืมมาใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่นักวิชาการเริ่มจัดหนังเรื่องนี้เป็นงานชิ้นเอกของ “การถอดรื้อหลังสมัยใหม่” (Post-modern deconstructionist classics) ทว่า เมื่อมองจากยุคปัจจุบันหลายคนอาจตำหนิในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำที่ดูล้าสมัย แต่กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันน่าตื่นตาเพียงไรในยุคที่ยังไม่สามารถดาว์นโหลดหนังได้ทางอินเตอร์เนต
อันดับที่ 8 สองคนสองคม (无间道หรือ Infernal Affairs)
ภาพยนตร์ฮ่องกงแนวแอ็คชั่น ดราม่า ออกฉายในปี 2002 กำกับโดย แอนดริว เลา และ อลัน มักเหลียงเฉาเหว่ย, เฉินฮุ้ยหลิน ตีแผ่วงการตำรวจอย่างถึงแก่น ผ่านการปะทะกันของมาเฟียหานเซิน (แสดงโดย เจิ้งจื่อเหว่ย) และสารวัตรหวง (แสดงโดย หวงซิวเซิน) โดยมีสายสืบจากผ่ายตำรวจ คือ เหริน (แสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย) และสายสืบจากฝ่ายมาเฟีย (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) เป็นตัวดำเนินเรื่อง สายสืบทั้งคู่ได้พบปะกันโดยที่ไม่รู้ว่าต่างฝ่ายต่างก็เป็นสายให้ฝ่ายตรงข้าม ต่อมาจึงได้เอะใจ และหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน โดยที่ต้องปิดบังสถานะที่แท้จริงของตัวเอง
ด้วยเรื่องราวที่คลาสสิคหักมุม ทำให้ผู้ชมต้องประหลาดใจครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้ง คับคั่งไปด้วยนักแสดงคุณภาพ ส่งผลให้ สองคนสองคม เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฮ่องกงและทุกประเทศที่เข้าฉาย รวมทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาด้วย โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์มาเฟียฮ่องกงที่ดีที่สุด มีชั้นเชิงที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี นับจาก โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ) หนังเรื่องนี้ได้รับประกันคุณภาพอย่างมากมาย อาทิ 4 รางวัลชนะเลิศ จากภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยมครั้งที่ 22 6 รางวัลชนะเลิศจากม้าทองคำครั้งที่ 40 5 รางวัลชนะเลิศจากดอกชงโคทองคำ ครั้งที่ 8 นอกจากนี้ เพราะบทอาชญากรที่ชาญฉลาดทำให้ ฮอลลีวูดต้องนำมาทำซ้ำในรูปของ “The Departed” กำกับโดยมาร์ติน เสกาตส์ ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลวิช่วลแอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากออสการ์ ในปี 2007
อันดับที่ 7 เสือซุ่ม มังกรซ่อน (卧虎藏龙 หรือ Crouching Tiger, Hidden Dragon)
เสื่อซุ่ม มังกรซ่อน เป็นสุภาษิตจีน หมายความถึง บุคคลมีความสามารถแต่เก็บตัวหรือไม่ถูกค้นพบ ภาพยนตร์ที่กำกับโดยลูกครึ่งจีนอเมริกันอย่างอังลีเรื่องนี้ จึงเป็นการกล่าวถึงจอมยุทธ์หลี่มู่ป๋าย (แสดงโดย โจวเหวินฟา) บรรลุธรรมต้องการปลีกวิเวก จึงมอบหมายให้หยูซิ่วเหลียน (แสดงโดย หยางจื่อฉง) ส่งดาบคู่ใจส่งไปยังเมืองหลวง แทนสัญลักษณ์อำลาวงการ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ดาบกลับตกไปอยู่ในมือของหวางเหวินหลง (แสดงโดย จางจึหยี) หญิงสาวดุดันเอาแต่ใจเสียก่อน เรื่องราวดำเนินสลับไปมาระหว่างความแค้นที่รอวันชำระกับหนทางแห่งการดับทุกข์ด้วยการละโทสะวางอุเบกขา ทั้งสอดแทรกความรักที่ต้องจบลงด้วยการพลีชีพ
นับแต่เข้าฉายในปี 2000 เสือซุ่ม มังกรซ่อน กวาดรายได้จากตั๋วที่ขายในอเมริกาเหนือมีมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ และดันจางจึหยี “โกอินเตอร์” ทั้งได้รับการรับประกันคุณภาพจากตะวันตกด้วย 4 รางวัลออสการ์ในปี 2001 ในทางประเทศจีนนั้น ผลงานกำกับของหลี่อัน นอกจากจะได้รับการยกย่องเรื่องเสื้อผ้า การแต่งกาย เทคนิคถ่ายทำ และเพลงประกอบแล้ว การทำประเด็นถวิลหาความสันโดษของจอมยุทธ์ให้ชัดขึ้น ยังเป็นจุดเด่นของเขาอีกด้วย แม้บางส่วนจะมองว่าทักษะการแสดงและการใช้ภาษาที่ยังไม่ตรงใจเท่าที่ควรเมื่อเทียบชั้นกับเจ้าพ่อวงการกำลังภายในอย่างเหลียงหยูเชิงหรือจินยงก็ตาม
อันดับที่ 6 วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้า (阿飞正传หรือ Days of Being Wild)
บางคนมองว่าชื่อ阿飞正传 มาจากหนังสือเรื่อง阿Q正传 (ประวัติจริงของอาคิว) ที่หลู่ซวิ่นเขียนขึ้นมาเพื่อให้ชาวจีนหันมาตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตนเองในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ทว่า วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้าซึ่งกำกับและเขียนบทโดยเจ้าพ่อหนังอาร์ทจากเกาะฮ่องกง หว่องกาไว (หวังเจียเว่ย) เข้าฉายในปี 1990 นี้ กลับเป็นการพยายามพูดเรื่องถิ่นฐานที่ตัวละครอาศัยอยู่และผูกพัน โดยมียกไจ๋ (แสดงโดย เลสลี่ จาง) หนุ่มหน้าตาดี คารมเยี่ยม มีรถเก๋งขับ อยู่แฟลตส่วนตัว เป็นตัวเดินเรื่อง ด้วยคุณสมบัติเพียบพร้อมเช่นนี้ ทำให้ผู้หญิงหลายคนหลงรักไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะเป็นโซวไหล่เจิน (แสดงโดย จางม่านอวี้) พนักงานขายน้ำในสนามกีฬา หรือมี่มี่ (แสดงโดย หลิวเจียหลิง) นักเต้นในไนท์คลับ แต่เพราะเขาคิดเสมอว่าตัวเองเป็นนกไร้ขา ต้องการมีชีวิตอิสระ ที่หัวใจเรียกร้องให้ “บิน” ไปตลอดชีวิต หรือบางทีอาจจะตายไปแล้ว โดยไม่เคยบินไปไหน จึงไม่พร้อมมีพันธะในความสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับตำรวจหนุ่ม (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) ที่มีความฝันที่จะเป็นกะลาสีเรือ แต่เพราะมีแม่ที่ต้องดูแล เขาจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความจริง และพร้อมที่เป็นกำลังใจให้ใครก็ตามโดยไม่คาดหวัง คล้ายกับแดนนี่ (แสดงโดย จางเซียะโหย่ว) ที่เป็นสุภาพบุรุษพอที่จะแสดงความรักโดยไม่ยัดเยียดและถือครอง
ความแปลกแยกของเนื้อหา การเจาะเน้นเรื่องราว ของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่อยู่ด้วยความสับสน และเปลี่ยวเหงา ภาวะจิตใจ ที่ไร้การยึดเหนี่ยวและการค้นหาตัวตน คือจุดเด่นของหว่องกาไว จึงทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลอาทิ นักแสดงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกาศรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกง ครั้งที่10 ในปี 1991 และถูกจัดให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของฮ่องกงหลายครั้ง นอกจากนี้ การกำกับการแสดงของเขา ผสมฝีมือการกับภาพของคริสโตเฟอร์ ดอยล์ เป็นเอกลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์ของเค้าทั้งคู่อีกหลายเรื่องต่อมาไม่ว่าจะเป็น Chungking Express, Ashes of Time, Fallen Angels , Happy Together , In the Mood for Love และ "2046" ที่มีธงไชย แมคอินไตย์ ร่วมแสดงด้วย
อันดับที่ 5 อาดูรแห่งแผ่นดิน (悲情城市หรือ A City of Sadness)
ควบคุมการสร้างโดยโหวเซี่ยวเสียน ปรมาจารย์จอเงินแห่งไต้หวัน เข้าฉายในปี 1989 โหวใช้ศิลปะการแสดงแบบเรียบง่ายแต่ทรงพลังในการเล่าเรื่องเหตุการณ์ความตระหนกสีขาว (白色恐怖หรือ White Terror) ในยุคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไต้หวัน ผ่านการฉายภาพโศกนาฏกรรมของครอบครัวหนึ่งที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นไต้หวันและรัฐบาลคณะชาติจากจีนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสะท้อนผลกระทบของเหตุการณ์ที่มีต่อปัจเจกชนหรือคนกลุ่มเล็กๆ อันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่พูดถึงเหตุการณ์ 28/2 ในปี 1947 ที่มีบรรดา นักศึกษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ถูกสังหารหมู่ไปนับหมื่นคน ส่วนที่เหลือหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่า บ้างถูกจับและจับกุมคุมขังอยู่จนกระทั่งกลางยุค 80
นักวิเคราะห์หนังเจอรี่ ไวท์ กล่าวว่า จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ คือ เทคนิคการเสกโศกนาฏกรรมจากความว่างเปล่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของโหวเซี่ยวเสียน เขาใช้การส่งสัญญาณ บอกใบ้ แก่คนดูผ่านฝีภาพยาว (long take) บ้าง ภาพวิถีไกล (long shot) ของตัวเมืองรกร้างบ้าง เพื่อแสดงความวิปโยคของภาวะสงครามกลางเมืองแทนที่เสียงกระสุนหรือกองเลือด ทำให้คนดูอาจขาดอารมณ์ร่วม และถูกจัดวางในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่นิ่งสุขุมเท่านั้นภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลสิงโตทองคำ (The Golden Lion) พร้อมกับรับรางวัล UNESCO จากงานเทศกาลหนังนานาชาติเวนิส ( Venice International Film Festival) ในปี 1989 นับเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้
อันดับ 4 หนึ่งหนึ่ง (一一หรือ A One and a Two)
ภาพยนตร์ดราม่าไต้หวันจากผลงานการกำกับของเอ็ดเวิร์ด ยาง ในปี 2000 เล่าเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลางแห่งไทเป 3 ช่วงอายุคน คือ ช่วงปลาย ช่วงกลาง และช่วงต้น ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยด้วยปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ผ่านตระกูลเจียนซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 5 คน คือ คุณย่าที่ต้องเผชิญกับความร่วงโรยของวัย พ่อและแม่ที่ต้องเผชิญกับภาระหน้าที่การงานและสมานความสัมพันธ์ครอบครัว ลูกสาวและลูกชายที่ต้องเผชิญกับภาระการเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อนฝูง หนังดำเนินเรื่องไปอย่างช้าๆ จนดูเหมือนว่าจะขาดจุด “climax” ไป ราวกับการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
การใช้ตัวหนังบอกเล่าทัศนคติของตัวเองที่มีต่อผู้คนด้วยความเป็นกลาง ไม่พิพากษาตัดสิน ส่งผลให้ยาง ได้รับรางวัลมากมายจากทั่วโลก อาทิ รางวัลกำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลหนังคานส์ ในปี 2000 รางวัลภาพยนตร์ต่างชาติยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส ในปี 2001 รางวัลจากสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิส ในปี 2000 และรางวัลจากวงการณ์วิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ค ในปี 2000 และนอกจากจะถูกจัดอันดับเป็นหนัง 1 ใน 10 ภาพและเสียงยอดเยี่ยมในรอบ 25 ปีแล้ว หนึ่งหนึ่งยังได้รับการกล่าวขานในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปี 2001 จากหลายสำนักพิมพ์ อาทิ USA Today, the New York Times, Newsweek and Film Commentและ the British Film Institute's magazine ในปี 2002
อันดับ 3 หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (霸王别姬หรือ Farewell My Concubine)
ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 1993 เรื่องนี้ใช้ชื่อเดียวกับการแสดงอุปรากรจีน (京剧หรือ Peking Opera ) ชุดหนึ่ง เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และศาลาโบตั๋น โดยปรับบทจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Lilian Lee อันเป็นงานเขียนต้องห้ามของพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตที่ขึ้นลงของ 2 นักแสดงอุปรากรจีนชายคือ เฉิงเตี้ยอี้ (แสดงโดย เลสลีจาง) ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับต้วนเสี่ยวโหลว (แสดงโดย จางเฟิงอี้) เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องเขามาตั้งแต่เด็ก พร้อมปมความสัมพันธ์แบบสามเส้าเมื่อมีตัวละครนางโลมจูเสียน (แสดงโดย กงลี่) เพิ่มขึ้นมา ภาพยนตร์จบลงที่โศกนาฎกรรมจากความตายของเฉิงเตี้ยอี้ที่ใช้ดาบเชือดคอตัวเอง
นอกจากการนำเสนอห้วงวันเวลาที่อลหม่านของสังคมและการเมืองระหว่างปี 1920 ถึง1970 นับแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวความรักที่ผิดจารีตประเพณีซึ่งหาได้ยากยิ่ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นทั้งเพชรยอดมงกุฎของวงการหนังจีน และเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993 นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้กำกับชื่อก้อง เฉินข่ายเก๋อ
อันดับ 2 รอวันรัก…3 หัวใจ (小城之春หรือ Spring in a Small Town)
ผลงานเรื่องล่าสุดของ เถียนจวงจวง และทีมผู้สร้างเสือซุ่ม มังกรซ่อน กำกับโดย เฟ่ยมู่ เข้าฉายในปี 1984 อิงจากเรื่องราวของหลี่เทียนจี้ ถ่ายทอดความรักสามเส้า บอกเล่าความสับสนในมิตรภาพระหว่างเพื่อน การโหยหาคนรักที่ใฝ่ฝัน และบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ณ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แม้ว่าจะปราศจากโครงเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็ได้รับการชื่นชมว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ที่เปราะบางออกมาได้เป็นอย่างดี และถูกยกย่องเป็นหนังภาษากวีรุ่นบุกเบิก
ภาพยนตร์ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ เช่น ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังอมตะตลอดกาล จากคณะกรรมการภาพยนตร์จีน ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังจีนที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมา จากสมาคมจัดอันดับภาพยนตร์ฮ่องกง ในปี 2005 ถูกจัดเป็น 1 ใน 10 สุดยอดหนังจีนจากหนังสือพิมพ์แคนนาดา Winnipeg Free Press ในปี 2012 หรือแม้แต่ผู้กำกับชื่อก้อง จางอี้โหมวก็ยังกล่าวว่าเป็นหนังที่เค้าชื่อชอบที่สุด
อันดับ 1 แม่น้ำฤดูใบไม้ผลิไหลสู่ทิศตะวันออก (江春水向东流หรือ A Spring River Flows East)
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 1947 เขียนบทและกำกับโดยไช่ฉู่เซิง และเจิ้งจุนลี่เรื่องราวยาวกว่า 3 ชั่วโมงถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ พรัดจากแปดปี (八年离乱) กับวันฟ้าสว่าง (天亮前后) กล่าวถึงเรื่องราวของหวางซู่เฟิน พนักงานโรงงานทอผ้าพบรักกับอาจารย์หนุ่มจางจงเหลียง ซึ่งสอนอยู่ที่การศึกษานอกโรงเรียน ทั้งคู่ตกลงใจแต่งงานกัน ทว่า เหตุการณ์ต่อต้านญี่ปุ่น 813 ทำให้ครอบครัวแตกกระสานซ่านเซน จางจงเหลียงต้องไปช่วยผู้บาดเจ็บที่เซี่ยงไฮ้ ส่วนหวางซู่เฟินพาลูกชายและแม่สะใภ้กลับบ้านนอก พ่อสะใภ้ถูกทหารญี่ปุ่นทารุณกรรมจนเสียชีวิต หวางซู่เฟินจึงตัดสินใจพาแม่สะใภ้กลับเซี่ยงไฮ้เพื่อรอคอยการกลับมาพร้อมหน้ากันอีกครั้ง แม้จะต้องอยู่อย่างรันทดเพียงใดก็ตาม ในขณะที่พระเอกซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นขับไล่ไปอยู่ฉงชิ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่ยั่วยวน ตกเป็นสามีจำแลงของหวางลี่เจิน ลูกสาวโรงงานส่งออก ต่อมาจางจงเหลียงย้ายไปประจำที่สำนักพิมพ์พี่เขยของหวางลี่เจิน พบกับหวางซู่เฟินที่มาเป็นพนักงานรับใช้ที่บังเอิญ แต่เพราะความโลภในสมบัติจึงไม่ยอมรับในสถานะและกลบมาใช้ชีวิตครอบครัวเหมือนกัน ทำให้หวางซุ่เฟินเศร้าโศรกเสียใจจนปลิดชีวิตลงที่แม่น้ำแยงซี
ด้วยศิลปะในการผสมผสานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับการถ่ายทอดโศกนาฏกรรมจากชีวิตจริง ผ่านการพรักพรากที่ปวดร้าวและกระแสคอรัปชั่นขายชาติในช่วงสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ณ เมืองเซี่องไฮ้ในยุคทศวรรษ 30 และ 40 ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและฉายอยู่นานกว่า 3 เดือนทันทีที่ออกฉาย ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ กล่าวกันว่ามีผู้ชมมากว่า 700,000 คน และ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเมือง
จีนมีประวัติการสร้างภาพยนตร์ที่น่าภูมิใจ ภาพยนตร์จีนเริ่มสร้างครั้งแรกในปี 1905 หลังการเกิดภาพยนตร์ในฝรั่งเศสเพียง 10 ปี ในช่วง 20ปี ให้หลังมานี้ ภาพยนตร์จีนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ตามหัวเมืองใหญ่ของจีนเต็มไปด้วยบริษัทผู้สร้างมากกว่าร้อยแห่ง และเซี่ยงไฮ้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ในทศวรรษที่ 30 และ 40 แม้ว่าจีนจะเข้าสู่ยุคความวุ่นวายทางการเมือง แต่วงการภาพยนตร์จีนก็มิได้หยุดเติบโต ช่วงเวลานั้นผู้สร้างต่างมีมุมมองในการผลิตไปในทางประจักษ์นิยมและเริ่มสร้างภาพยนตร์ในแนวทางวิพากษ์สังคม โดยมีเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการสร้างสรรค์งาน ภาพยนตร์ในตำนานหลายเรื่องถูกสร้าง ณ เมืองท่าแห่งนี้ อาทิ Crossroads (1937), Angles on the road (1937), A spring river flows east(1947).
ยุค 50 ฮ่องกงและไต้หวันเริ่มมีบทบาทในวงการมากยิ่งขึ้น เวลาต่อมาฮ่องกงกลายเป็นเมืองหลวงของวงการภาพยนตร์จีน หลายฝ่ายต่างกล่าวขานว่าฮ่องกงเป็น “ฮอลลีวูดแห่งโลกตะวันออก” เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 90 ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของวงการภาพยนตร์รองจากฮอลลีวูด ว่ากันว่าหนังฮ่องกงพบได้ทุกมุมโลกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่
กลับกันวงการภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ยุค 50 การจัดสร้างและตลาดภาพยนตร์ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ จนถึงปลายยุค 70 การสนับสนุนวงการภาพยนตร์โดยรัฐบาลได้ยุติลง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปและเปิดกว้าง ผู้สร้างต่างหันมาสู่รูปแบบการพาณิชย์มากกว่าก่อน ประชาชนทั่วไปกลับสู่โรงภาพยนตร์อีกครั้ง ในปี 2011 ภาพยนตร์กว่า 560 เรื่องสร้างขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่ มีรายได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่ามาตรฐานคุณภาพยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยาวนานของวงการภาพยนตร์จีนได้สร้างผู้กำกับชั้นครูไว้หลายท่าน พวกเค้าสร้างพลงานที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา เช่นสิบอมตะภาพยนตร์ที่เวบไซต์ของทางการจีนจัดอันดับไว้ ดังต่อไปนี้
อันดับ 10 วีรบุรุษ (Hero/英雄)
กล่าวถึงยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 475 - 221 ก่อนคริสตกาล) ประเทศจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 อาณาเขต นานนับทศวรรษที่แคว้นต่างๆ ได้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ยังผลให้เหล่าประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในฐานะผู้ครองรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด ราชาแห่งรัฐฉินตกเป็นเป้าสังหาร ทำให้ต้องประกาศสอบหาจอมยุทธ์คู่ใจ ครั้นได้พบกับจอมยุทธ์นิรนามผู้เปี่ยมด้วยความสามารถถึงขั้นเอาชนะมือสังหารชั้นยอดได้ทั้ง 3 คน ก็ยังความสงสัยว่ามีจุดประสงค์แอบแฝงใดหรือไม่จึงมายืนอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ เรื่องราวอบอวลไปด้วยตำนานแห่งความรัก ความจงรักภักดี และหน้าที่ ท่ามกลางการประลองด้วยเล่ห์เพทุบาย
จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จางอี้โหมว กลายเป็นบุคคลที่ต้องพูดถึงทุกครั้งที่สนทนาถึงภาพยนตร์จีน จาง สร้างวีรบุรุษ ซึ่งเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องแรกของเขาภายใต้กระบวนการผลิตแบบฮอลลีวูด ทุ่มทุนสร้างกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นหนังจีนที่ใช้ทุนสร้างมากสุดในเวลานั้น และเป็นแรงฉุดตลาดภาพยนตร์จีนให้กลับมาคึกคักในระดับนานาชาติ ทันทีที่เข้าฉายในปี 2002 วีรบุรุษก็ได้รับการตอบรับอย่างสวยงาม นักวิจารณ์และผู้จัดมั่นใจในศักยภาพของหนังว่าสามารถทำเงินได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สามารถเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกาเหนือ มีรายรับกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่ใคร่ใส่ใจในส่วนของการ “เล่าเรื่อง” เท่าที่ควร แม้ว่าจะคว้าถึง 14 รางวัลจากภาพยนตร์ทองคำฮ่องกงในปี 2003 ก็ตาม
อันดับที่ 9 ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (大话西游หรือ A Chinese Odyssey Duology)
ภาพยนตร์ตลกฮ่องกง กำกับโดย Jeffrey Lau มี Stephen Chow, Karen Mok และ Man Tat Ng แสดงนำ ภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองภาค คือ “กล่องแสงจันทร์” (月光宝盒หรือ pandora‘s box)”กับ “เกือกบุพเพ” (仙履奇缘 หรือ Cinderella )Jeffrey และ Stephen ใช้พล็อตหลักจากหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนอย่าง “ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก” (西游记หรือ Journey to the west) ซึ่งแต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย หวู่ฉิงเอิน กล่าวถึงเรื่องราวการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) โดยมีสัตว์ 4 ตัวเป็นเพื่อน ได้แก่ วานรซุนวู่คง (ซุนหงอคง) สุกรจูปาเจี้ย (จูกังเลี่ย หรือ ตือโป๊ยก่าย) ปลาซาเหอซ่าง (ซัวเจ๋ง) และเสี่ยวป๋ายหลง (ม้ามังกรขาว) คณะศิษย์อาจารย์ทั้ง 5 ใช้เวลา 14 ปี ผจญเภทภัยเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดประการ
เมื่อครั้งเปิดตัวในปี 1995 ไม่มีใครคาดคิดว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์อมตะเหนือการเวลา แต่เพราะจุดเด่นในการนำความรัก การเดินทาง และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ภายหลังเปิดตัวได้ 3-5 ปี หนังเรื่องนี้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่น สำนวนและรูปประโยคที่ตัวละครใช้ได้ถูกหยิบยืมมาใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่นักวิชาการเริ่มจัดหนังเรื่องนี้เป็นงานชิ้นเอกของ “การถอดรื้อหลังสมัยใหม่” (Post-modern deconstructionist classics) ทว่า เมื่อมองจากยุคปัจจุบันหลายคนอาจตำหนิในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำที่ดูล้าสมัย แต่กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันน่าตื่นตาเพียงไรในยุคที่ยังไม่สามารถดาว์นโหลดหนังได้ทางอินเตอร์เนต
อันดับที่ 8 สองคนสองคม (无间道หรือ Infernal Affairs)
ภาพยนตร์ฮ่องกงแนวแอ็คชั่น ดราม่า ออกฉายในปี 2002 กำกับโดย แอนดริว เลา และ อลัน มักเหลียงเฉาเหว่ย, เฉินฮุ้ยหลิน ตีแผ่วงการตำรวจอย่างถึงแก่น ผ่านการปะทะกันของมาเฟียหานเซิน (แสดงโดย เจิ้งจื่อเหว่ย) และสารวัตรหวง (แสดงโดย หวงซิวเซิน) โดยมีสายสืบจากผ่ายตำรวจ คือ เหริน (แสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย) และสายสืบจากฝ่ายมาเฟีย (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) เป็นตัวดำเนินเรื่อง สายสืบทั้งคู่ได้พบปะกันโดยที่ไม่รู้ว่าต่างฝ่ายต่างก็เป็นสายให้ฝ่ายตรงข้าม ต่อมาจึงได้เอะใจ และหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน โดยที่ต้องปิดบังสถานะที่แท้จริงของตัวเอง
ด้วยเรื่องราวที่คลาสสิคหักมุม ทำให้ผู้ชมต้องประหลาดใจครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้ง คับคั่งไปด้วยนักแสดงคุณภาพ ส่งผลให้ สองคนสองคม เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฮ่องกงและทุกประเทศที่เข้าฉาย รวมทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาด้วย โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์มาเฟียฮ่องกงที่ดีที่สุด มีชั้นเชิงที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี นับจาก โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ) หนังเรื่องนี้ได้รับประกันคุณภาพอย่างมากมาย อาทิ 4 รางวัลชนะเลิศ จากภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยมครั้งที่ 22 6 รางวัลชนะเลิศจากม้าทองคำครั้งที่ 40 5 รางวัลชนะเลิศจากดอกชงโคทองคำ ครั้งที่ 8 นอกจากนี้ เพราะบทอาชญากรที่ชาญฉลาดทำให้ ฮอลลีวูดต้องนำมาทำซ้ำในรูปของ “The Departed” กำกับโดยมาร์ติน เสกาตส์ ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลวิช่วลแอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากออสการ์ ในปี 2007
อันดับที่ 7 เสือซุ่ม มังกรซ่อน (卧虎藏龙 หรือ Crouching Tiger, Hidden Dragon)
เสื่อซุ่ม มังกรซ่อน เป็นสุภาษิตจีน หมายความถึง บุคคลมีความสามารถแต่เก็บตัวหรือไม่ถูกค้นพบ ภาพยนตร์ที่กำกับโดยลูกครึ่งจีนอเมริกันอย่างอังลีเรื่องนี้ จึงเป็นการกล่าวถึงจอมยุทธ์หลี่มู่ป๋าย (แสดงโดย โจวเหวินฟา) บรรลุธรรมต้องการปลีกวิเวก จึงมอบหมายให้หยูซิ่วเหลียน (แสดงโดย หยางจื่อฉง) ส่งดาบคู่ใจส่งไปยังเมืองหลวง แทนสัญลักษณ์อำลาวงการ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ดาบกลับตกไปอยู่ในมือของหวางเหวินหลง (แสดงโดย จางจึหยี) หญิงสาวดุดันเอาแต่ใจเสียก่อน เรื่องราวดำเนินสลับไปมาระหว่างความแค้นที่รอวันชำระกับหนทางแห่งการดับทุกข์ด้วยการละโทสะวางอุเบกขา ทั้งสอดแทรกความรักที่ต้องจบลงด้วยการพลีชีพ
นับแต่เข้าฉายในปี 2000 เสือซุ่ม มังกรซ่อน กวาดรายได้จากตั๋วที่ขายในอเมริกาเหนือมีมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ และดันจางจึหยี “โกอินเตอร์” ทั้งได้รับการรับประกันคุณภาพจากตะวันตกด้วย 4 รางวัลออสการ์ในปี 2001 ในทางประเทศจีนนั้น ผลงานกำกับของหลี่อัน นอกจากจะได้รับการยกย่องเรื่องเสื้อผ้า การแต่งกาย เทคนิคถ่ายทำ และเพลงประกอบแล้ว การทำประเด็นถวิลหาความสันโดษของจอมยุทธ์ให้ชัดขึ้น ยังเป็นจุดเด่นของเขาอีกด้วย แม้บางส่วนจะมองว่าทักษะการแสดงและการใช้ภาษาที่ยังไม่ตรงใจเท่าที่ควรเมื่อเทียบชั้นกับเจ้าพ่อวงการกำลังภายในอย่างเหลียงหยูเชิงหรือจินยงก็ตาม
อันดับที่ 6 วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้า (阿飞正传หรือ Days of Being Wild)
บางคนมองว่าชื่อ阿飞正传 มาจากหนังสือเรื่อง阿Q正传 (ประวัติจริงของอาคิว) ที่หลู่ซวิ่นเขียนขึ้นมาเพื่อให้ชาวจีนหันมาตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตนเองในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ทว่า วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้าซึ่งกำกับและเขียนบทโดยเจ้าพ่อหนังอาร์ทจากเกาะฮ่องกง หว่องกาไว (หวังเจียเว่ย) เข้าฉายในปี 1990 นี้ กลับเป็นการพยายามพูดเรื่องถิ่นฐานที่ตัวละครอาศัยอยู่และผูกพัน โดยมียกไจ๋ (แสดงโดย เลสลี่ จาง) หนุ่มหน้าตาดี คารมเยี่ยม มีรถเก๋งขับ อยู่แฟลตส่วนตัว เป็นตัวเดินเรื่อง ด้วยคุณสมบัติเพียบพร้อมเช่นนี้ ทำให้ผู้หญิงหลายคนหลงรักไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะเป็นโซวไหล่เจิน (แสดงโดย จางม่านอวี้) พนักงานขายน้ำในสนามกีฬา หรือมี่มี่ (แสดงโดย หลิวเจียหลิง) นักเต้นในไนท์คลับ แต่เพราะเขาคิดเสมอว่าตัวเองเป็นนกไร้ขา ต้องการมีชีวิตอิสระ ที่หัวใจเรียกร้องให้ “บิน” ไปตลอดชีวิต หรือบางทีอาจจะตายไปแล้ว โดยไม่เคยบินไปไหน จึงไม่พร้อมมีพันธะในความสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับตำรวจหนุ่ม (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) ที่มีความฝันที่จะเป็นกะลาสีเรือ แต่เพราะมีแม่ที่ต้องดูแล เขาจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความจริง และพร้อมที่เป็นกำลังใจให้ใครก็ตามโดยไม่คาดหวัง คล้ายกับแดนนี่ (แสดงโดย จางเซียะโหย่ว) ที่เป็นสุภาพบุรุษพอที่จะแสดงความรักโดยไม่ยัดเยียดและถือครอง
ความแปลกแยกของเนื้อหา การเจาะเน้นเรื่องราว ของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่อยู่ด้วยความสับสน และเปลี่ยวเหงา ภาวะจิตใจ ที่ไร้การยึดเหนี่ยวและการค้นหาตัวตน คือจุดเด่นของหว่องกาไว จึงทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลอาทิ นักแสดงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกาศรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกง ครั้งที่10 ในปี 1991 และถูกจัดให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของฮ่องกงหลายครั้ง นอกจากนี้ การกำกับการแสดงของเขา ผสมฝีมือการกับภาพของคริสโตเฟอร์ ดอยล์ เป็นเอกลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์ของเค้าทั้งคู่อีกหลายเรื่องต่อมาไม่ว่าจะเป็น Chungking Express, Ashes of Time, Fallen Angels , Happy Together , In the Mood for Love และ "2046" ที่มีธงไชย แมคอินไตย์ ร่วมแสดงด้วย
อันดับที่ 5 อาดูรแห่งแผ่นดิน (悲情城市หรือ A City of Sadness)
ควบคุมการสร้างโดยโหวเซี่ยวเสียน ปรมาจารย์จอเงินแห่งไต้หวัน เข้าฉายในปี 1989 โหวใช้ศิลปะการแสดงแบบเรียบง่ายแต่ทรงพลังในการเล่าเรื่องเหตุการณ์ความตระหนกสีขาว (白色恐怖หรือ White Terror) ในยุคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไต้หวัน ผ่านการฉายภาพโศกนาฏกรรมของครอบครัวหนึ่งที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นไต้หวันและรัฐบาลคณะชาติจากจีนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสะท้อนผลกระทบของเหตุการณ์ที่มีต่อปัจเจกชนหรือคนกลุ่มเล็กๆ อันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่พูดถึงเหตุการณ์ 28/2 ในปี 1947 ที่มีบรรดา นักศึกษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ถูกสังหารหมู่ไปนับหมื่นคน ส่วนที่เหลือหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่า บ้างถูกจับและจับกุมคุมขังอยู่จนกระทั่งกลางยุค 80
นักวิเคราะห์หนังเจอรี่ ไวท์ กล่าวว่า จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ คือ เทคนิคการเสกโศกนาฏกรรมจากความว่างเปล่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของโหวเซี่ยวเสียน เขาใช้การส่งสัญญาณ บอกใบ้ แก่คนดูผ่านฝีภาพยาว (long take) บ้าง ภาพวิถีไกล (long shot) ของตัวเมืองรกร้างบ้าง เพื่อแสดงความวิปโยคของภาวะสงครามกลางเมืองแทนที่เสียงกระสุนหรือกองเลือด ทำให้คนดูอาจขาดอารมณ์ร่วม และถูกจัดวางในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่นิ่งสุขุมเท่านั้นภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลสิงโตทองคำ (The Golden Lion) พร้อมกับรับรางวัล UNESCO จากงานเทศกาลหนังนานาชาติเวนิส ( Venice International Film Festival) ในปี 1989 นับเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้
อันดับ 4 หนึ่งหนึ่ง (一一หรือ A One and a Two)
ภาพยนตร์ดราม่าไต้หวันจากผลงานการกำกับของเอ็ดเวิร์ด ยาง ในปี 2000 เล่าเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลางแห่งไทเป 3 ช่วงอายุคน คือ ช่วงปลาย ช่วงกลาง และช่วงต้น ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยด้วยปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ผ่านตระกูลเจียนซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 5 คน คือ คุณย่าที่ต้องเผชิญกับความร่วงโรยของวัย พ่อและแม่ที่ต้องเผชิญกับภาระหน้าที่การงานและสมานความสัมพันธ์ครอบครัว ลูกสาวและลูกชายที่ต้องเผชิญกับภาระการเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อนฝูง หนังดำเนินเรื่องไปอย่างช้าๆ จนดูเหมือนว่าจะขาดจุด “climax” ไป ราวกับการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
การใช้ตัวหนังบอกเล่าทัศนคติของตัวเองที่มีต่อผู้คนด้วยความเป็นกลาง ไม่พิพากษาตัดสิน ส่งผลให้ยาง ได้รับรางวัลมากมายจากทั่วโลก อาทิ รางวัลกำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลหนังคานส์ ในปี 2000 รางวัลภาพยนตร์ต่างชาติยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส ในปี 2001 รางวัลจากสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิส ในปี 2000 และรางวัลจากวงการณ์วิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ค ในปี 2000 และนอกจากจะถูกจัดอันดับเป็นหนัง 1 ใน 10 ภาพและเสียงยอดเยี่ยมในรอบ 25 ปีแล้ว หนึ่งหนึ่งยังได้รับการกล่าวขานในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปี 2001 จากหลายสำนักพิมพ์ อาทิ USA Today, the New York Times, Newsweek and Film Commentและ the British Film Institute's magazine ในปี 2002
อันดับ 3 หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (霸王别姬หรือ Farewell My Concubine)
ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 1993 เรื่องนี้ใช้ชื่อเดียวกับการแสดงอุปรากรจีน (京剧หรือ Peking Opera ) ชุดหนึ่ง เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และศาลาโบตั๋น โดยปรับบทจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Lilian Lee อันเป็นงานเขียนต้องห้ามของพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตที่ขึ้นลงของ 2 นักแสดงอุปรากรจีนชายคือ เฉิงเตี้ยอี้ (แสดงโดย เลสลีจาง) ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับต้วนเสี่ยวโหลว (แสดงโดย จางเฟิงอี้) เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องเขามาตั้งแต่เด็ก พร้อมปมความสัมพันธ์แบบสามเส้าเมื่อมีตัวละครนางโลมจูเสียน (แสดงโดย กงลี่) เพิ่มขึ้นมา ภาพยนตร์จบลงที่โศกนาฎกรรมจากความตายของเฉิงเตี้ยอี้ที่ใช้ดาบเชือดคอตัวเอง
นอกจากการนำเสนอห้วงวันเวลาที่อลหม่านของสังคมและการเมืองระหว่างปี 1920 ถึง1970 นับแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวความรักที่ผิดจารีตประเพณีซึ่งหาได้ยากยิ่ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นทั้งเพชรยอดมงกุฎของวงการหนังจีน และเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993 นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้กำกับชื่อก้อง เฉินข่ายเก๋อ
อันดับ 2 รอวันรัก…3 หัวใจ (小城之春หรือ Spring in a Small Town)
ผลงานเรื่องล่าสุดของ เถียนจวงจวง และทีมผู้สร้างเสือซุ่ม มังกรซ่อน กำกับโดย เฟ่ยมู่ เข้าฉายในปี 1984 อิงจากเรื่องราวของหลี่เทียนจี้ ถ่ายทอดความรักสามเส้า บอกเล่าความสับสนในมิตรภาพระหว่างเพื่อน การโหยหาคนรักที่ใฝ่ฝัน และบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ณ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แม้ว่าจะปราศจากโครงเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็ได้รับการชื่นชมว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ที่เปราะบางออกมาได้เป็นอย่างดี และถูกยกย่องเป็นหนังภาษากวีรุ่นบุกเบิก
ภาพยนตร์ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ เช่น ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังอมตะตลอดกาล จากคณะกรรมการภาพยนตร์จีน ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังจีนที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมา จากสมาคมจัดอันดับภาพยนตร์ฮ่องกง ในปี 2005 ถูกจัดเป็น 1 ใน 10 สุดยอดหนังจีนจากหนังสือพิมพ์แคนนาดา Winnipeg Free Press ในปี 2012 หรือแม้แต่ผู้กำกับชื่อก้อง จางอี้โหมวก็ยังกล่าวว่าเป็นหนังที่เค้าชื่อชอบที่สุด
อันดับ 1 แม่น้ำฤดูใบไม้ผลิไหลสู่ทิศตะวันออก (江春水向东流หรือ A Spring River Flows East)
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 1947 เขียนบทและกำกับโดยไช่ฉู่เซิง และเจิ้งจุนลี่เรื่องราวยาวกว่า 3 ชั่วโมงถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ พรัดจากแปดปี (八年离乱) กับวันฟ้าสว่าง (天亮前后) กล่าวถึงเรื่องราวของหวางซู่เฟิน พนักงานโรงงานทอผ้าพบรักกับอาจารย์หนุ่มจางจงเหลียง ซึ่งสอนอยู่ที่การศึกษานอกโรงเรียน ทั้งคู่ตกลงใจแต่งงานกัน ทว่า เหตุการณ์ต่อต้านญี่ปุ่น 813 ทำให้ครอบครัวแตกกระสานซ่านเซน จางจงเหลียงต้องไปช่วยผู้บาดเจ็บที่เซี่ยงไฮ้ ส่วนหวางซู่เฟินพาลูกชายและแม่สะใภ้กลับบ้านนอก พ่อสะใภ้ถูกทหารญี่ปุ่นทารุณกรรมจนเสียชีวิต หวางซู่เฟินจึงตัดสินใจพาแม่สะใภ้กลับเซี่ยงไฮ้เพื่อรอคอยการกลับมาพร้อมหน้ากันอีกครั้ง แม้จะต้องอยู่อย่างรันทดเพียงใดก็ตาม ในขณะที่พระเอกซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นขับไล่ไปอยู่ฉงชิ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่ยั่วยวน ตกเป็นสามีจำแลงของหวางลี่เจิน ลูกสาวโรงงานส่งออก ต่อมาจางจงเหลียงย้ายไปประจำที่สำนักพิมพ์พี่เขยของหวางลี่เจิน พบกับหวางซู่เฟินที่มาเป็นพนักงานรับใช้ที่บังเอิญ แต่เพราะความโลภในสมบัติจึงไม่ยอมรับในสถานะและกลบมาใช้ชีวิตครอบครัวเหมือนกัน ทำให้หวางซุ่เฟินเศร้าโศรกเสียใจจนปลิดชีวิตลงที่แม่น้ำแยงซี
ด้วยศิลปะในการผสมผสานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับการถ่ายทอดโศกนาฏกรรมจากชีวิตจริง ผ่านการพรักพรากที่ปวดร้าวและกระแสคอรัปชั่นขายชาติในช่วงสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ณ เมืองเซี่องไฮ้ในยุคทศวรรษ 30 และ 40 ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและฉายอยู่นานกว่า 3 เดือนทันทีที่ออกฉาย ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ กล่าวกันว่ามีผู้ชมมากว่า 700,000 คน และ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเมือง