xs
xsm
sm
md
lg

จับตาความเหลื่อมล้ำที่ถีบตัวสูงขึ้นในแดนมังกร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คนรวยคนจนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจริงหรือ?
เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ - จากการสำรวจพบว่าช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนของจีนมีช่องว่างห่างกันมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ปี 2010 ประเทศจีนมีความร่ำรวยอย่างไม่เท่าเทียมกันอยู่ที่ 0.61 สูงกว่าระดับเฉลี่ยทั่วโลกที่ 0.44 และสูงกว่าค่า 0.5 ที่เป็นระดับชี้วัดอันตรายที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อความสงบในสังคม พร้อมกับอัตราการว่างงานในระดับ 8.05 % ในขณะที่ผู้นำจีนคนใหม่ให้สัญญาว่าจะจัดการกับเรื่องทุจริต เร่งการปฏิรูปเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

ศูนย์สำรวจรายได้ครัวเรือนแห่งชาติจีน (The Survey and Research Centre for China Household Finance) ใช้การสำรวจสัมประสิทธิ์จินี่ (Gini-Coefficient) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสถิติที่นิยมใช้ในการชี้วัดความเลื่อมล้ำของการกระจายความมั่งคั่ง (ศูนย์ คือ ไม่มีความเลื่อมล้ำสมบูรณ์ หนึ่ง คือ มีความเลื่อมล้ำสมบูรณ์) พบว่า ประเทศจีนมีความร่ำรวยอย่างไม่เท่าเทียมกันอยู่ที่ 0.61 (ปี 2010) สูงกว่าระดับเฉลี่ยทั่วโลกที่ 0.44 และสูงกว่าค่า 0.5 ที่เป็นระดับชี้วัดอันตรายที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อความสงบในสังคม

สถิติชุดนี้สูงจากการสำรวจครั้งแรกในปี 2000 ซึ่งอยู่ที่ 0.412 และสูงกว่าปี 2005 ที่ธนาคารโลกระบุว่าอยู่ที่ 0.425 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการสำรวจนี้มิได้รวมกับเกาะฮ่องกงที่มีสถิติอยู่ที่ 0.537 ในปี 2011 สูงกว่าเมื่อ 10 ที่แล้วที่ 0.525

ศาสตราจารย์หลี่ ชือ คณบดีศูนย์วิจัยการกระจายรายได้แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎปักกิ่ง (Beijing Normal university’s China Institute of Income Distribution) ได้ทำการสำรวจในปี 2007 พบว่าค่าจินี่ของจีนอยู่ที่ 0.48 จากกลุ่มสำรวจ 20,000 ครัวเรือน

กาน ลี่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยประมวลผลแห่งกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า “ตัวเลขจินี่ที่สูงขึ้น เป็นปรากฏการอันเนื่องมาจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนด้วยการจัดสรรทรัพยากรตามการตลาด ทว่าการดำเนินนโยบายตามพลังการตลาดอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถทำให้ช่องว่างนี้ ลดลงได้ จีนต้องปรับโครงสร้างการกระจายรายได้และจัดการเคลื่อนย้ายตัวทางการเงินขนาดใหญ่จึงจะสามารถทำให้ช่องว่าที่แตกต่างนี้แคบลง เพื่อที่จะแก้ปัญหาควรจะนำรายได้ที่สูงขึ้นของรัฐบาลและกำไรที่ได้จากรัฐวิสาหกิจไปสนับสนุนการศึกษาเพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันทางโอกาสของผู้มีรายได้ต่ำ

ผาน เจี้ยนเฉิง จากสถาบันวิเคราะห์สถิติแห่งชาติจีน (The National Bureau of Statistics’China Economic Monitoring and Analysis Centre) กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ต้องใช้กระบวนการพัฒนาเมืองใหญ่ (Urbanisation) และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ (Economic restructuring)

นอกจากนี้ การสำรวจเดือนกรกฎาคมมี่ผ่านมา ยังพบอัตราการว่างงานในระดับ 8..05% มากกว่าเกือบสองเท่าของตัวเลขจากทางการของรัฐ อีกทั้งตัวเลขผู้ว่างงานของแรงงานต่างถิ่นได้เพิ่มจาก 3.4 % ในปีที่แล้วเป็นเกือบ 6 % ในปีนี้ ในขณะที่การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 29,500 คน กับ 8,438 ครัวเรือน ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือของสถาบันวิจัยการเงินของธนาคารแห่งชาติจีนและมหาวิทยาลัยการคลังและเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเฉียงใต้ พบข้อมูลที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา (Fresh Graduate) มีระดับผู้ว่างงานถึง 16.4 %

อย่างไรก็ดี ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงจะทำให้มหานครปักกิ่งเป็นศูนย์กลาง ความเลื่อมล้ำของประเทศที่อาจทำให้สังคมเกิดความวุ่นวายได้นั้น ประธานาธิบดี หูจิ่นเทา ได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2020 รายได้ประชาชาติต้องเพิ่มขึ้นสองเท่า ส่วนสีจิ้นผิง ผู้นำจีนคนใหม่ให้สัญญาว่าจะจัดการกับเรื่องทุจริต เร่งการปฏิรูปเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

อนึ่ง จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ประเทศไทยมีปัญหาความเลื่อมล้ำรุนแรงกว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน ในปี 2011 ตัวเลขจินี่ของไทยอยู่ที่ 0.536 มาเลเซีย 0.462 กัมพูชา 0.444 ฟิลิปปินส์ 0.440 อินโดนีเซีย 0.363 เวียดนาม 0.376 ลาว 0.367 เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_income.jsp
ภาพคฤหาสของเศรษฐีจีน
ภาพคนจนไร้ที่อยู่




กำลังโหลดความคิดเห็น