xs
xsm
sm
md
lg

จีนเผย ดัชนี PMI การผลิต ก.ย.ขยับขึ้น แต่ยังไม่ฟื้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คนงานในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่ง ที่มณฑลอานฮุย - ล่าสุด แม้ความต้องการของตลาดบริโภค สินค้าและอาหารรวมถึงยาสูบและคอมพิวเตอร์มีสูงขึ้น แต่ความต้องการวัตถุดิบการผลิตต่างๆ อาทิ เหล็ก โลหะ และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอื่นๆ ยังคงหดตัว บ่งชี้การชะลอตัวต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่านี้ โดยอาจรวมถึงมาตรการปรับลดดอกเบี้ยอีกรอบ (ภาพจากแฟ้มรอยเตอร์ส)
เอเยนซี - สหพันธ์พลาธิ​การ​และ​การจัดซื้อของจีน (CFLP) ​เผยดัชนี​ผู้จัด​การฝ่ายจัดซื้อ ภาค​การผลิตของจีน​เดือนก.ย. เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 49.8 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจยังชะลอตัวอยู่

สหพันธ์พลาธิ​การ​และ​การจัดซื้อของจีน (China Federation of Logistics and Purchasing - CFLP) เผยตัวเลขดัชนี​ผู้จัด​การฝ่ายจัดซื้อ (purchasing managers' index - PMI) ภาค​การผลิตอย่างเป็นทางการ ของจีน​เดือนก.ย. เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 49.8 สูงขึ้นมาจากเดือน ส.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.2 อันเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับแต่เดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว และยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 บ่งชี้ภาวะล่าสุดของจีน ว่ายังคงเผชิญกับเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอและหดตัว ทั้งในภาคการส่งออกและภาคผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

นายปรากาศ สัคพาล จากบริษัทไอเอ็นจี (สิงคโปร์) ซึ่งทำนายว่า ไตรมาสสาม และสี่ ของปีนี้ เศรษฐกิจจีนจะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 กล่าวว่า ตัวเลขที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 เหล่านี้ กำลังจะตอกย้ำในสิ่งที่เราทำนายเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนซึ่งอาจจะทรุดหนัก

"แม้ว่าเดือนกันยายน ตัวเลขจะขยับขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่เป็นสัญญาณว่าจะดีกว่าเดือนทีแล้วเท่าไหร่นัก"

ก่อนหน้านี้ เอชเอสบีซี ได้เผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนี PMI เดือนกันยายนนี้ อยู่ที่ราว 47.9 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ที่ 47.6 อันเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และยังทำสถิติต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเวลาติดต่อกันยาวนานที่สุด นับตั้งแต่เอชเอสบีซี เริ่มมีการทำการสำรวจนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว สะท้อนว่า จีนสามารถรั้งการทรุดของเศรษฐกิจได้ แต่ยังไม่สามารถฟื้นตัว ขณะที่ภาคการผลิตโดยรวม หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 แล้ว

รายงานข่าวกล่าวว่า แม้ความต้องการของตลาดบริโภค สินค้าและอาหารรวมถึงยาสูบและคอมพิวเตอร์มีสูงขึ้น แต่ความต้องการวัตถุดิบการผลิตต่างๆ อาทิ เหล็ก โลหะ และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอื่นๆ ยังคงหดตัว บ่งชี้การชะลอตัวต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่านี้ โดยอาจรวมถึงมาตรการปรับลดดอกเบี้ยอีกรอบ
กำลังโหลดความคิดเห็น