ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ (帝)ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์”
เมื่อราชวงศ์ซางสืบทอดอำนาจแทนราชวงศ์เซี่ยแล้ว ก็ถือเป็นยุคสมัยที่สองของประเทศจีนที่มีสืบทอดอำนาจแบบสันตติวงศ์ จากสมัยของรัชสมัยไท่อี่(太乙)หรือซางทัง (商汤)จนถึง ตี้ซิ่ง(帝幸)หรือซางโจ้ว (商纣)ทั้งสิ้น 17 รุ่น 31 รัชกาล รวมระยะเวลากว่า 600 ปี
หลังจากที่ซางทังก่อตั้งประเทศแล้ว เนื่องจากได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์เซี่ย จึงเลิกการกดขี่บังคับราษฎรเช่นอย่างในสมัยของเซี่ยเจี๋ย (夏桀)โดยหันมาใช้หลักเมตตาธรรมในการปกครอง [宽以治民] ทำให้การเมืองภายในของราชวงศ์ซางค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ไม่ค่อยมีความขัดแย้ง สภาพทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพ กำลังทหารก็เข้มแข็งมากขึ้น จึงเริ่มทำสงครามกับแว่นแคว้นรอบนอก ซึ่งโดยมากก็ประสบชัยชนะ ดังในบันทึกของเมิ่งจื่อ(孟子)เมธีแห่งสำนักปรัชญาของขงจื้อ(儒) ระบุไว้ว่า ‘ทังสู่สนามรบโดยไร้ผู้ต่อต้าน’ สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การปกครองของซางทัง จีนได้กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งทางการทหาร
“ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซางทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์”
ในรัชสมัยของซางทังผู้ปกครองพระองค์แรก มีเสนาบดีที่ฉลาดปราดเปรื่องคอยช่วยเหลืออยู่ถึง 2 คน ได้แก่ อีหยิ่น(伊尹)และจ้งฮุย(仲虺)จากหลักฐานบันทึกว่า พวกเขาทั้งสองมีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดินไม่น้อยทีเดียว โดยหลังจากพวกเขาดำรงตำแหน่งเสนาบดีซ้ายขวาแล้ว ก็มีผลงานดีเด่นในการบริหารบ้านเมือง รักษาความสงบ และพัฒนาการผลิต เป็นต้น หลังจากจ้งฮุยเสียชีวิต บทบาททางการเมืองของอีหยิ่นก็ยิ่งโดดเด่นมากขึ้น จนกลายเป็นเสนาบดีเก่าแก่คนสำคัญในรัชสมัยซางทังจนถึงไท่เจี่ย(太甲)
หลังจากซางทังสิ้นพระชนม์ เนื่องจากบุตรชายคนโตไท่ติง(太丁)ได้เสียชีวิตไปก่อน ดังนั้นราชบัลลังก์จึงตกเป็นของบุตรชายคนรองชื่อไว่ปิ่ง(外丙)เมื่อไว่ปิ่งเสียชีวิต น้องชายของเขาจงเหยิน (中壬)ก็สืบตำแหน่งต่อมา เมื่อจงเหยินสิ้นชีวิตลง ราชบัลลังก์ก็ส่งผ่านไปยังบุตรชายของไท่ติง อันได้แก่ ไท่เจี่ย (太甲)ซึ่งก็ถือว่าเป็นรุ่นหลานของซางทัง
จากบันทึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยชนเผ่ายิน กล่าวว่า “ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซางทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์ จากนั้น ไท่เจี่ยก็ปกครองแผ่นดินด้วยเมตตาธรรม กระทั่งเหล่าขุนนางยอมสยบ ไพร่ฟ้าอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นี่เป็นเรื่องเล่าที่แสดงว่า อีหยิ่นเป็นผู้ธำรงการปกครองโดยหลักธรรม ทำให้ราชวงศ์ซางสามารถปกครองแผ่นดินด้วยความสงบร่มเย็นมาเป็นเวลานาน และได้กลายเป็นเรื่องเล่าขานต่อมา จนทำให้ชื่อเสียงของอีหยิ่น ได้รับการเชิดชูและนำมาใช้เรียก ผู้ที่มีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงส่ง (大仁、大义)
จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิง(盘庚)นับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซาง อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ราชวงศ์ซางก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง จนสุดท้ายในรัชสมัยผานเกิงได้ย้ายเมืองหลวงไปเมืองยิน(殷)
ทว่า การปกครองด้วยการแบ่งชนชั้น ย่อมไม่อาจสลายความละโมบในอำนาจและการแก่งแย่งผลประโยชน์ภายในวังหลวงได้ บันทึกประวัติศาสตร์ของชนเผ่ายิน ระบุไว้ว่า “นับแต่รัชสมัยจ้งติง(仲丁)เป็นต้นมา ผู้ปกครองได้ละทิ้งความชอบธรรม แต่งตั้งเชิดชูแต่พวกพ้อง เหล่าญาติมิตรต่างพากันแบ่งฝักฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจ เกิดความวุ่นวายไม่หยุดหย่อน เป็นเหตุให้เหล่าขุนนางกบฏก่อศึกล้มล้างราชบัลลังก์”
จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิง(盘庚)นับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซาง อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง
มีหลักฐานระบุว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง ได้แก่ รัชสมัยจ้งติงย้ายจากเมืองป๋อ(亳)ไปเมืองอ๋าว (嚣)รัชสมัยเหอตั้นเจี่ยย้ายจากอ๋าวไปเมืองเซี่ยง (相)รัชสมัยจู่อี่ย้ายไปเมืองปี้ (庇)รัชสมัยหนันเกิงย้ายไปเมืองอั่น(庵)และรัชสมัยผานเกิงย้ายจากเมืองอั่นไปเมืองเป่ยเหมิงหรือเมืองยิน(殷)
ทว่าในปัจจุบัน นักโบราณคดียังค้นพบหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ของสมัยซางเพียง4แห่ง ได้แก่ ร่องรอยโบราณสถานเอ้อหลี่โถว(二里头)ที่เมืองเหยี่ยนซือ เมืองซางโบราณที่เมืองเจิ้นโจวและเมืองเหยี่ยนซือ อีกทั้งซากเมืองยินโบราณที่อันหยางเท่านั้น ร่องรอยของนครโบราณที่ค้นพบมีอาณาบริเวณที่กว้างขวางมาก โดยมีพื้นที่เฉลี่ยมากกว่า 30,0000 - 40,000 ตารางเมตร สำหรับซากทางโบราณคดีที่ขุดพบได้แก่ ร่องรอยของฐานรากพระราชวัง สุสานและโรงงานหัตถกรรม เป็นต้น ในบริเวณซากเมืองโบราณเอ้อหลี่โถว ยังพบร่องรอยพระราชวังครอบคลุมพื้นที่ถึง 10,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ที่เมืองเหยี่ยนซือและเจิ้งโจวยังค้นพบกำแพงเมืองขนาดใหญ่ สำหรับซากเมืองยินที่เมืองอันหยาง ก็พบลานบูชาเทพเจ้าขนาดมหึมาในบริเวณสุสานกษัตริย์อีกด้วย
จากจารึกหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณนี้ได้ทราบว่า ในสมัยซางได้มีการจัดระเบียบโครงสร้างของรัฐอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีการแบ่งเป็นหน่วยงานราชการ การตระเตรียมคลังอาวุธยุทโธปกรณ์ มีระบบการปกครอง การกำหนดกฎหมายและการลงโทษ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีเพียงแต่ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจากเมืองต่างๆดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่อาจแกะรอยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของเหตุการณ์จากหลักฐานเหล่านี้ จะมีก็เพียงข้อสันนิษฐานว่า ซากเมืองยินที่อันหยางเป็นนครหลวงของราชวงศ์ซาง ตั้งแต่รัชสมัยของผานเกิงและผู้ปกครองในยุคต่อมาจวบจนสิ้นราชวงศ์เท่านั้น ที่ค่อนข้างเป็นที่น่าเชื่อถือได้
ในรัชสมัยของอู่ติง ถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของยุคสำริดเลยทีเดียว ได้พบว่ามีร่องรอยการใช้เทคนิคในการแยกหลอมอย่างแพร่หลาย มีการหลอมสร้าง ‘โอ่วฟางอี๋’(偶方彝)ที่เป็นภาชนะใส่เหล้าในสมัยโบราณและ ‘ติ่ง’(鼎)ซึ่งมีรูปร่างเป็นหม้อโลหะขนาดใหญ่ มีสามขาใช้ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าและใช้แสดงศักดิ์ฐานะทางสังคม ที่เป็นเครื่องใช้โลหะขนาดใหญ่ได้แล้ว
การโยกย้ายนครหลวงของราชวงศ์ซางดังกล่าว ทำให้นักโบราณคดีตั้งข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน ทว่าจากบันทึกซ่างซูในสมัยผานเกิง 《尚书•盘庚篇》จะพบว่าการย้ายนครหลวงกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ถึงแม้ว่าในบันทึกผานเกิงได้กล่าวถึงสาเหตุการย้ายเมืองหลวงว่า ‘เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร’ทว่า สำหรับผู้ที่ไม่ยอมฟังคำสั่งแล้วเขาได้กล่าวไว้ว่า ‘ข้าฯจะประหารให้สิ้น มิให้เชื้อร้ายลามสู่นครหลวงแห่งใหม่’ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงการต่อสู้ภายในที่ดุเดือด หลังจากย้ายนครหลวงมาที่นครยินแล้ว การขัดแย้งภายในราชวังหลวงก็ผ่อนคลายลง จึงเริ่มมีการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น รัชสมัยของผานเกิงจึงถือเป็นยุคฟื้นฟู และได้วางรากฐานในการเข้าสู่ยุคทองในรัชสมัยอู่ติง(武丁)
อู่ติงเป็นบุตรของเซี่ยวอี่ (小乙)ซึ่งเป็นน้องของผานเกิง ดังนั้นอู่ติงจึงเป็นหลานของผานเกิงนั่นเอง เมื่อผานเกิงยังเยาว์วัยนั้น เซี่ยวอี่ผู้เป็นบิดาได้ส่งให้เขาไปใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านระยะหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงทราบดีถึงความลำบากยากแค้นของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้น เมื่อเขาขึ้นสู่อำนาจจึงมุ่งมั่นบริหารแผ่นดินด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ในรัชสมัยนี้ อู่ติงได้ยกทัพปราบปรามชนเผ่ารอบข้างไม่น้อย การใช้กำลังทหารมีตั้งแต่การใช้กำลังพลนับพัน จนถึงที่เป็นทัพใหญ่บางครั้งถึงหมื่นคน การปราบปรามครั้งนี้ ราชวงศ์ซางได้ขยายดินแดนออกไปไม่น้อย กวาดต้อนตัวประกันกลับมาจำนวนมาก ดังนั้นจึงพบความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่จากการขุดพบเป็นจำนวนมาก เช่น จากซากพระราชวัง สุสานและโรงงาน เป็นต้น
ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ (帝)ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์”
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนากำลังการผลิตที่เป็นเครื่องมือสำริดในยุคนี้อีกด้วย ที่โดดเด่นคือ ได้พบว่ามีร่องรอยการใช้เทคนิคในการแยกหลอมอย่างแพร่หลาย จากการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากโลหะ เช่นทองแดง ตะกั่ว และดีบุก อีกทั้งปริมาณการผลิตเครื่องมือสำริดก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีการหลอมสร้าง ‘โอ่วฟางอี๋’(偶方彝)ที่เป็นภาชนะใส่เหล้าในสมัยโบราณและ ‘ติ่ง’(鼎)ซึ่งมีรูปร่างเป็นหม้อโลหะขนาดใหญ่ มีสามขาใช้ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าและใช้แสดงศักดิ์ฐานะทางสังคม ที่เป็นเครื่องใช้โลหะขนาดใหญ่ได้แล้ว ในรัชสมัยของอู่ติงนี้ ถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของยุคสำริดเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการทอ การแพทย์ การคมนาคมและดาราศาสตร์ เป็นต้น ความเจริญในยุคอู่ติงนี้ ยังเป็นรากฐานความรุ่งเรืองทางสังคมในปลายราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวตะวันตกในยุคต่อมา
ในปี 1899 ได้มีการค้นพบจารึกอักษรจารบนกระดูก(甲骨文)ของสมัยซางโดยบังเอิญ การค้นพบครั้งนี้ ทำให้ข้อถกเถียงเรื่องการคงอยู่ของราชวงศ์ซาง เป็นที่รับรองโดยทั่วไป และถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซางเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์อีกด้วย สำหรับอักษรจารกว่า 150,000 ชิ้นที่พบบริเวณซากเมืองยินในอันหยางนั้นเนื้อหาประกอบด้วย จารึกเสี่ยงทาย (甲骨卜辞)ซึ่งเป็นบันทึกสภาพสังคมและเรื่องราวต่าง ๆในสมัยราชวงศ์ซางโดยทั่วไป เมื่อผ่านการเรียบเรียงและทำการศึกษาวิจัยแล้ว พบว่า จารึกเหล่านี้ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการเปิดเส้นทางการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์ซาง
การบูชาเทพเจ้ามีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในประเทศจีน ซึ่งนักโบราณคดีต่างก็ได้ค้นพบหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สังคมเกษตรกรรมเป็นต้นมา ผู้คนก็พากันร้องขอให้เทพประทานลมฝนที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมาให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดามาก การเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือการนับถือผี ก็มีที่มาจากความต้องการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วในครอบครัว จึงเกิดการสมมติเป็นภาพจากที่เคยพบเห็น ผู้คนเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ก็เพื่ออ้อนวอนขอให้บรรพบุรุษให้ความคุ้มครองปกปักษ์รักษา ในสมัยเซี่ย ได้เริ่มมีการสักการะฟ้าเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการนับถือศาสนา เนื่องจากผู้ปกครองสูงสุดในขณะนั้น ต้องการปกป้องอำนาจของตน จึงนำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและลัทธิการบูชาธรรมชาติมารวมกัน เกิดเป็น ‘ฟ้า’ หรือ ‘ฮ่องเต้’ ซึ่งมีลักษณะของเทพเจ้าขึ้นมา
จากหลักฐานดังกล่าว ได้พบว่า ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่พบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ (帝)ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์” โดยใช้คำขวัญว่า “ฟ้ากำหนด” เพื่อกระตุ้นความฮึกหาญของกองทัพและเหล่าผู้ร่วมสวามิภักดิ์และเป็นการแสวงหาความชอบธรรมเมื่อก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ โดยเชื่อว่า เทพแห่งฟ้า(上帝)และเทพแห่งดิน(下帝)หรือซางอ๋อง(商王)นั้นเป็นสิ่งคู่กัน เพื่อปฏิบัติภารกิจจากฟ้า เทพแห่งดินจึงต้องใช้พิธีกรรมในการติดต่อกับฟ้า ดังนั้น ขณะที่ซางอ๋องเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จึงใช้เครื่องบูชาทั้ง 5 สิ่ง เพื่อทำพิธีที่บริเวณลานเซ่นไหว้ในเขตสุสานหลวงบริเวณเมืองยินหรืออันหยางในปัจจุบัน นักโบราณคดีได้ขุดพบร่องรอยการบูชาในหลุมฝังศพนับพันแห่ง และพบว่าในสมัยอู่ติง (武丁)นั้น ถึงกับมีการใช้คนหลายร้อยคนเป็นเครื่องสังเวยในพิธีบูชาดังกล่าวอีกด้วย ทำให้เห็นว่าในสมัยซางนั้นให้ความสำคัญต่อการเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นอย่างมาก เนื่องจากฮ่องเต้ก็คือเทพเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเทพที่เป็นบรรพบุรุษนั่นเอง
หลังจากอู่ติงสิ้นพระชนม์ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองก็สิ้นสุดลงภายในเวลาไม่นานนัก เมื่อมาถึงรัชสมัยของจู่เกิง(祖庚)และจู่เจี่ย(祖甲) จวบกระทั่งรัชสมัยตี้อี่(帝乙)และตี้ซิ่ง(帝幸)นั้น ศึกขัดแย้งทางการเมืองภายในก็ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก ขุนนางรอบข้างต่างลุกฮือขึ้นต่อต้าน แม้ว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงนี้ แต่ซางโจ้ว(商紂)หรือตี้ซิ่ง (帝幸)กลับไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ทั้งไม่รับฟังคำตักเตือนจากผู้หวังดี ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งยิ่งโหมกระพือความขัดแย้งภายในเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ก็เปิดศึกกับเผ่าตงอี๋ (東夷)เพิ่มภาระอันหนักอึ้งให้กับประชาชน และทำให้สูญเสียกำลังทหารภายในประเทศอีกด้วย ดังนั้น เมื่อโจวอู่หวัง (周武王)ยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน ซางโจ้วจึงได้แต่รวบรวมกำลังพล เพื่อออกไปรับศึก ผลสุดท้ายกำลังทหารฝ่ายซางขาดกำลังใจในการรบ กลับเป็นฝ่ายยอมแพ้เปิดทางให้กับโจวอู่หวัง เมื่อเห็นดังนั้น ซางโจ้วจึงหอบทรัพย์สมบัติหลบหนีไปยังเมืองลู่ไถ สุดท้ายเสียชีวิตที่นั่น ราชวงศ์ซางจึงถึงกาลสิ้นสุด.