ราชวงศ์เซี่ยถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่เริ่มระบบการปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับยุคสมัยเซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่ (夏禹)ถึงลวี่กุ่ย(履癸)หรือเซี่ยเจี๋ย(夏桀)ในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน
การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว เป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่(夏启)บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา(禹) ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่าง ๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของเขา
กลุ่มฮู่ซื่อ(扈氏)ไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบ การคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กาน(甘)ฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น

ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อย ๆพัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาดประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้
ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คัง(太康)ได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้(羿)ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง(穷氏)สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋ว(寒浞)สังหารแล้ว เส้าคัง (少康)(ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี (有虞氏 )ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา
นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันว่า ‘ไท่คังเสียเมือง (太康失国)อี้ยึดครองเซี่ย (后羿代夏)และเส้าคังฟื้นฟูเซี่ย (少康中兴)’

เมื่อถึงปลายราชวงศ์เซี่ย ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวาย ภายนอกก่อหวอดไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย (夏桀)ได้ขึ้นครองบัลลังก์(ช่วงก่อนคริสศักราช 1763 ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย ร่ำดื่มสุรานารีทุกคืนวัน โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์
ไพร่ฟ้าจึงพากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง (商汤)ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้าง ‘ฟ้ากำหนด’ กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว (鸣条)ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนันเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน

รัฐที่ยิ่งใหญ่มากว่า 400 ปี ต้องถูกรัฐเล็ก ๆล้มล้าง ย่อมเป็นเหตุให้ผู้คนให้ความสนใจและทำการศึกษาหาเหตุผล ภายหลังจึงมีคำกล่าวว่า ‘ชาวยิน(หรือซาง)ได้ยึดอำนาจการปกครองจากราชวงศ์เซี่ย และให้ลูกหลานของชาวยินยึดถือการสิ้นชาติของชาวเซี่ยเป็นบทเรียนเตือนใจ [殷鉴不远,在夏后之世]’ ต่อมาจึงมีการใช้วลีนี้ในความหมายว่า เหตุการณ์ความพ่ายแพ้หรือความล้มเหลวของคนรุ่นก่อน เป็นอุทาหรณ์เตือนใจคนรุ่นหลัง
เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์เซี่ยมีหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อยมาก ดังนั้น ที่แท้แล้วในประวัติศาสตร์มีราชวงศ์เซี่ยอยู่จริงหรือไม่ ยังคงไม่ได้รับการยืนยัน ทว่า การเรียงลำดับรุ่นของราชวงศ์เซี่ยในหนังสือ ‘บันทึกประวัติศาสตร์ ตอน ราชวงศ์เซี่ย’ 《史记• 夏本记》นั้น มีการเรียงลำดับยุคผู้ปกครองที่ชัดเจน เช่นเดียวกับใน “บันทึกชาวยิน” 《殷本记》ซึ่งระบุลำดับรัชสมัยของราชวงศ์ซางนั้นได้รับการยืนยันความถูกต้องจากการขุดพบจารึกบนกระดองเต่าที่เมืองอันหยางแล้ว
ดังนั้น บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงราชวงศ์เซี่ย จึงน่าจะเป็นที่เชื่อถือได้ นักประวัติศาสตร์จีนโดยมากจึงให้ความเชื่อถือต่อ ‘บันทึกประวัติศาสตร์ ตอน ราชวงศ์เซี่ย’《史记• 夏本记》เล่มนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ นักโบราณคดีที่ได้ทำการศึกษาโบราณวัตถุในยุคสมัยซาง ซึ่งขุดค้นได้จากเมืองอันหยางและเจิ้นโจว ก็มีพื้นฐานในการศึกษาที่ดีขึ้น หากกล่าวถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมเซี่ยแล้ว ก็ได้แต่หวังว่าจะสามารถอาศัยการค้นคว้าทางโบราณคดีเป็นเครื่องมือในการค้นหาวัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่ของสมัยเซี่ย เพื่อฟื้นฟูปรับปรุงประวัติศาสตร์สมัยเซี่ย

นักประวัติศาสตร์ได้อ้างถึงหลักฐานที่เป็นบันทึก เพื่อศึกษาและยืนยันพื้นที่สองแห่งซึ่งชาวเซี่ยใช้ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ หนึ่งคือ ที่ราบเมืองลั่วหยางและเขตพื้นที่อำเภอหวี่และเติงเฟิงละแวกเขาซงซานทางทิศตะวันตกของมณฑลเหอหนัน อีกแห่งคือเขตพื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเฝินสุ่ยที่อยู่ทางตอนใต้ของมณฑลซานซี สืบเนื่องจากคำเล่าขานที่กล่าวว่าเมืองสำคัญในสมัยเซี่ย และหลักฐานโบราณวัตถุที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ได้มา ล้วนมีส่วนเกี่ยวพันกับทั้งสองพื้นที่นี้
ในปี 1959 ได้เริ่มทำการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดย 40 กว่าปีที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่าง ๆในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนันและทิศใต้ของซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว (二里头文化)จากหลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซาน (龙山文化)ในเขตตะวันตกของเหอหนันนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเซี่ยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี.
การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว เป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่(夏启)บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา(禹) ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่าง ๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของเขา
กลุ่มฮู่ซื่อ(扈氏)ไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบ การคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กาน(甘)ฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น
ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อย ๆพัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาดประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้
ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คัง(太康)ได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้(羿)ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง(穷氏)สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋ว(寒浞)สังหารแล้ว เส้าคัง (少康)(ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี (有虞氏 )ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา
นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันว่า ‘ไท่คังเสียเมือง (太康失国)อี้ยึดครองเซี่ย (后羿代夏)และเส้าคังฟื้นฟูเซี่ย (少康中兴)’
เมื่อถึงปลายราชวงศ์เซี่ย ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวาย ภายนอกก่อหวอดไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย (夏桀)ได้ขึ้นครองบัลลังก์(ช่วงก่อนคริสศักราช 1763 ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย ร่ำดื่มสุรานารีทุกคืนวัน โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์
ไพร่ฟ้าจึงพากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง (商汤)ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้าง ‘ฟ้ากำหนด’ กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว (鸣条)ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนันเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน
รัฐที่ยิ่งใหญ่มากว่า 400 ปี ต้องถูกรัฐเล็ก ๆล้มล้าง ย่อมเป็นเหตุให้ผู้คนให้ความสนใจและทำการศึกษาหาเหตุผล ภายหลังจึงมีคำกล่าวว่า ‘ชาวยิน(หรือซาง)ได้ยึดอำนาจการปกครองจากราชวงศ์เซี่ย และให้ลูกหลานของชาวยินยึดถือการสิ้นชาติของชาวเซี่ยเป็นบทเรียนเตือนใจ [殷鉴不远,在夏后之世]’ ต่อมาจึงมีการใช้วลีนี้ในความหมายว่า เหตุการณ์ความพ่ายแพ้หรือความล้มเหลวของคนรุ่นก่อน เป็นอุทาหรณ์เตือนใจคนรุ่นหลัง
เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์เซี่ยมีหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อยมาก ดังนั้น ที่แท้แล้วในประวัติศาสตร์มีราชวงศ์เซี่ยอยู่จริงหรือไม่ ยังคงไม่ได้รับการยืนยัน ทว่า การเรียงลำดับรุ่นของราชวงศ์เซี่ยในหนังสือ ‘บันทึกประวัติศาสตร์ ตอน ราชวงศ์เซี่ย’ 《史记• 夏本记》นั้น มีการเรียงลำดับยุคผู้ปกครองที่ชัดเจน เช่นเดียวกับใน “บันทึกชาวยิน” 《殷本记》ซึ่งระบุลำดับรัชสมัยของราชวงศ์ซางนั้นได้รับการยืนยันความถูกต้องจากการขุดพบจารึกบนกระดองเต่าที่เมืองอันหยางแล้ว
ดังนั้น บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงราชวงศ์เซี่ย จึงน่าจะเป็นที่เชื่อถือได้ นักประวัติศาสตร์จีนโดยมากจึงให้ความเชื่อถือต่อ ‘บันทึกประวัติศาสตร์ ตอน ราชวงศ์เซี่ย’《史记• 夏本记》เล่มนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ นักโบราณคดีที่ได้ทำการศึกษาโบราณวัตถุในยุคสมัยซาง ซึ่งขุดค้นได้จากเมืองอันหยางและเจิ้นโจว ก็มีพื้นฐานในการศึกษาที่ดีขึ้น หากกล่าวถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมเซี่ยแล้ว ก็ได้แต่หวังว่าจะสามารถอาศัยการค้นคว้าทางโบราณคดีเป็นเครื่องมือในการค้นหาวัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่ของสมัยเซี่ย เพื่อฟื้นฟูปรับปรุงประวัติศาสตร์สมัยเซี่ย
นักประวัติศาสตร์ได้อ้างถึงหลักฐานที่เป็นบันทึก เพื่อศึกษาและยืนยันพื้นที่สองแห่งซึ่งชาวเซี่ยใช้ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ หนึ่งคือ ที่ราบเมืองลั่วหยางและเขตพื้นที่อำเภอหวี่และเติงเฟิงละแวกเขาซงซานทางทิศตะวันตกของมณฑลเหอหนัน อีกแห่งคือเขตพื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเฝินสุ่ยที่อยู่ทางตอนใต้ของมณฑลซานซี สืบเนื่องจากคำเล่าขานที่กล่าวว่าเมืองสำคัญในสมัยเซี่ย และหลักฐานโบราณวัตถุที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ได้มา ล้วนมีส่วนเกี่ยวพันกับทั้งสองพื้นที่นี้
ในปี 1959 ได้เริ่มทำการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดย 40 กว่าปีที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่าง ๆในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนันและทิศใต้ของซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว (二里头文化)จากหลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซาน (龙山文化)ในเขตตะวันตกของเหอหนันนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเซี่ยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี.