เรื่องกวางสียังมีจุดที่น่าสนใจอีกมาก แต่จะพักไว้ก่อน เพราะผมได้รับเชิญไปพูดที่จังหวัดบุรีรัมย์เกี่ยวกับเรื่องชาวจีนฮักกาหรือจีนแคะในวันศุกร์ที่ 10 นี้ ก็เลยอยากจะเล่าถึงชาวจีนแคะไว้ในคอลัมน์นี้ด้วย
ผมเคยเล่าไว้ในคอลัมน์นี้หลายตอนแล้วว่า ชนชาติจีน (ศัพท์ทางการเรียกว่า “ชนชาติฮั่น” ศัพท์โบราณเรียกว่าชาว “หัวเซี่ย”) เป็นประชาชาติที่เกิดจากการหลอมรวมชนเผ่าต่างๆ มากมาย ประสมประสานกันมาตลอดระยะห้าพันปี อย่าไปนึกหาว่าใครเป็นคนจีนบริสุทธิ์เลยครับ มันไม่มีหรอก เช่นเดียวกับคนสยามหรือคนไทย ก็ก่อตัวจากการหลอมรวมประสมประสานหลายเผ่าเช่นกัน
ชนชาติฮั่น ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจริงๆ ในช่วงตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้และราชวงศ์ฮั่น ชนชาติฮั่นรุ่งเรืองเข้มแข็งสร้างรัฐที่เจริญก้าวหน้าขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง
ส่วนทางภาคใต้ ใต้แม่น้ำแยงซีเกียงนั้น ยังเป็นดินแดนของชนเผ่าที่กระจัดกระจาย การก่อตั้งเป็นรัฐยังไม่ก้าวหน้าเท่ากับแดนตงง้วน พวกชนชาติฮั่นในตงง้วนจึงมองพวกเผ่าอื่นๆ เป็นพวกป่าเถื่อนล้าหลัง เรียกว่า “เยวี่ย” (เวียด) บ้าง “หมาน” บ้าง (คำว่า “หมิ่น” ที่หมายถึงแดนฮกเกี้ยนก็แปลงมาจากคำว่า “หมาน” ที่หมายถึงคนเถื่อน)
เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้รุกรานแดนใต้ลงมาถึงกวางตุ้งนั้น ได้เกณฑ์ทหารและราษฎรนับแสนลงมาอยู่ในดินแดนภาคใต้ปะปนกับคนพื้นเมือง นับเป็นฉากเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ลงใต้ของชาชาติฮั่น
ชาวฮั่นในตงง้วนต้องอพยพลงใต้ครั้งใหญ่ในช่วงปลายของราชวงศ์จิ้น ต้นคริสตวรรษที่ห้า (ลูกหลานสุมาอี้) เนื่องจากชนเผ่าวัฒนธรรมเลี้ยงสัตว์เคลื่อนที่ (จีนโบราณเรียกว่าชาว “หู”) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคเหนือของจีน รุกรานเข้ามายึดครองดินแดนตงง้วน ดินแดนตงง้วนนั้นถูกครอบครองโดยชนเผ่าเหล่านี้ถึงสามครั้ง ได้แก่ครั้งนี้ ยุคราชวงศ์หยวน และยุคราชวงศ์ชิง และทุกครั้งก็จะมีชาวฮั่นอพยพหลบภัยจากตงง้วนลงไปภาคใต้
แต่ภาคใต้ของจีนก็มีชนพื้นเมืองอยู่แล้ว ชาวฮั่นที่เคลื่อนที่ลงใต้หลายระลอกนั้นกระจายกันไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ต่างๆ กัน มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนหลอมรวมวัฒนธรรมกับชนพื้นเมือง ก่อตัวเป็นชนชาติฮั่นสาขาย่อยที่มีอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
ชาวจีน (หัวเฉียว) ที่อพยพมาอยู่เมืองสยามมีหลายกลุ่ม ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน
ชาวจีนสาขาย่อยอื่นๆ นั้น ถูกเรียกชื่อกลุ่มตามชื่อดินแดนที่อยู่อาศัยก่อนที่จะอพยพอยู่เมืองสยาม เช่นอยู่ที่แต้จิ๋วก็เรียกว่า จีนแต้จิ๋ว อยู่กวางตุ้งก็เรียกว่าจีนกวางตุ้ง อยู่ไหหลำก็เรียกว่าจีนไหหลำ
มีแปลกอยู่ที่กลุ่มฮักกานี่แหละ ที่ไม่สามารถระบุบอกถิ่นที่มาได้
คำว่า “ฮัก” หรือ “แคะ” สำเนียงจีนกลางว่า “เค่อ” มีความหมายตรงกับคำว่า “แขก” หรือ อาคันตุกะ ผู้มาจากที่อื่น ในภาษาไทย
ชาวไตในยูนนานเรียกชาวฮั่น (คนจีน) ว่า “แข่” ซึ่งก็คือว่า “แขก” นั่นเอง
ส่วนคำว่า “กา” นั้น สำเนียงจีนกลางว่า “เจีย” แปลว่า พวก หมู่
ชาวแคะ คือใคร โดยความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปแล้ว จะตอบว่า ชาวแคะคือชาวฮั่นที่อพยพเคลื่อนย้ายจากตงง้วน ลงไปอยู่ในภาคใต้ และเนื่องจากมิใช่คนพื้นเมือง ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “แคะ” หรือ “พวกแคะ” (ฮักกา) ในพงศาวลี (บันทึกประวัติของตระกูลแซ่) ของทุกแซ่ มีบันทึกเล่าถึงการอพยพไว้ชัดเจน นักวิชาการปัจจุบันสรุปได้ว่ามีการเคลื่อนที่อพยพครั้งใหญ่ๆ หกระลอก
แต่การอธิบายเพียงเท่านั้นยังไม่พอเพียง
เพราะคนฮั่นที่อพยพลงภาคใต้นั้นมีหลายสายหลายครั้ง คนฮั่นที่ไปอยู่แต้จิ๋วก็เป็นสายฮั่นจากตงง้วนเหมือนกัน คนฮั่นที่อพยพไปอยู่กวางตุ้งก็ทำนองเดียวกัน คนฮั่นที่ไปไหหลำก็ทำนองเดียวกัน
แต่เหตุใดจึงไม่ถูกเรียกว่า ชาว “ฮักกา” หรือ “แคะ”
เรื่องนี้ “สำเนียงภาษา” และบันทึกในพงศาวลี พอช่วยเราได้บ้าง
สำเนียงในภาษาทุกภาษานั้นมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คำศัพท์คำหนึ่งในยุคราชวงศ์ฮั่นออกเสียงอย่างหนึ่ง มาถึงยุคราชวงศ์ถังเสียงกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง มาถึงปัจจุบันเสียงก็กลายไปอีก อย่างสำเนียงจีนกลางหรือแมนดารินนั้นเป็นสำเนียงหลวง (ปักกิ่ง) ในยุคราชวงศ์ชิง ก่อนหน้านั้นสำเนียงของชาวฮั่นในตงง้วนเป็นอย่างไร
นักภาษาศาสตร์จีนบอกว่า สำเนียงจีนแคะนี่แหละเป็นฟอสซิลของสำเนียงชาวฮั่นในราชวงศ์ถัง
สำเนียงจีนแคะใกล้เคียงกับสำเนียงชาวเจิ้งโจวและจงโจวในมณฑลเหอหนานมาก
การเคลื่อนที่อพยพนั้น ในประวัติศาสตร์แม้จะมีประวัติการอพยพหลายระลอก แต่โดยทั่วไปแล้ว ใครจะอพยพไปอยู่ในแถบไหน ก็มักจะมุ่งไปจุดที่มีคนเมืองเดียวกันไปล่วงหน้าแล้ว เป็นต้นว่าคนจากเจิ้งโจว จงโจว เดือดร้อนจำเป็นต้องอพยพกัน ก็ย่อมจะมุ่งไปหาถิ่นที่มีคนเจิ้งโจว จงโจว อพยพไปอยู่ล่วงหน้าแล้ว
ดินแดนที่เป็นถิ่นของชาวแคะคือสามเหลี่ยมแดนต่อแดนของ ภาคใต้ของมณฑลเจียงซี ภาคตะวันตกของมณฑลฮกเกี้ยน และภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง แถบนี้มีอำเภอที่มีประชากรเป็นชาวจีนแคะถึง 29 อำเภอ แน่นอนว่าในมณฑลอื่นๆ ก็มีชาวจีนแคะ แต่ดินแดนสามเหลี่ยมตรงนี้สามารถกำหนดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวจีนแคะ
เมื่อชาวจีนแคะมาอยู่ในแดนภาคใต้ที่มีชนพื้นเมืองอยู่แล้ว นานไปๆ ก็ผสมผสานแลกเปลี่ยนซึมซับเอาวัฒนธรรมและภาษาของชนพื้นเมืองเข้าไป ประกอบกับท้องถิ่นที่ชาวจีนแคะพำนักนั้น มักเป็นหุบเขาภูดอยที่มีที่ราบน้อย การคมนาคมไม่สะดวก ภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ก่อให้ชาวแคะมีวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มคน ที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมตงง้วนดั้งเดิม
ข้อสรุปว่าชาวจีนแคะเป็นใครมาจากไหน จึงพอสรุปได้ว่า จีนแคะเป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของชนชาติฮั่น ที่บรรพชนของพวกเขาโยกย้ายจากแถบ เจิ้งโจว จงโจว ในมณฑลเหอหนาน ลงมาอยู่แถบดินแดนรอยต่อของภาคใต้มณฑลเจียงซี ภาคตะวันตกของมณฑลฮกเกี้ยน ภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง แล้วเคลื่อนย้ายกระจายต่อไปยังมณฑลอื่นๆ ชาวจีนแคะมีวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง แก่นแกนของวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมชาวฮั่นในตงง้วนดั้งเดิม มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในภาคใต้ จนก่อตัวมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างไปจาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตงง้วน
ผมเคยเล่าไว้ในคอลัมน์นี้หลายตอนแล้วว่า ชนชาติจีน (ศัพท์ทางการเรียกว่า “ชนชาติฮั่น” ศัพท์โบราณเรียกว่าชาว “หัวเซี่ย”) เป็นประชาชาติที่เกิดจากการหลอมรวมชนเผ่าต่างๆ มากมาย ประสมประสานกันมาตลอดระยะห้าพันปี อย่าไปนึกหาว่าใครเป็นคนจีนบริสุทธิ์เลยครับ มันไม่มีหรอก เช่นเดียวกับคนสยามหรือคนไทย ก็ก่อตัวจากการหลอมรวมประสมประสานหลายเผ่าเช่นกัน
ชนชาติฮั่น ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจริงๆ ในช่วงตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้และราชวงศ์ฮั่น ชนชาติฮั่นรุ่งเรืองเข้มแข็งสร้างรัฐที่เจริญก้าวหน้าขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง
ส่วนทางภาคใต้ ใต้แม่น้ำแยงซีเกียงนั้น ยังเป็นดินแดนของชนเผ่าที่กระจัดกระจาย การก่อตั้งเป็นรัฐยังไม่ก้าวหน้าเท่ากับแดนตงง้วน พวกชนชาติฮั่นในตงง้วนจึงมองพวกเผ่าอื่นๆ เป็นพวกป่าเถื่อนล้าหลัง เรียกว่า “เยวี่ย” (เวียด) บ้าง “หมาน” บ้าง (คำว่า “หมิ่น” ที่หมายถึงแดนฮกเกี้ยนก็แปลงมาจากคำว่า “หมาน” ที่หมายถึงคนเถื่อน)
เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้รุกรานแดนใต้ลงมาถึงกวางตุ้งนั้น ได้เกณฑ์ทหารและราษฎรนับแสนลงมาอยู่ในดินแดนภาคใต้ปะปนกับคนพื้นเมือง นับเป็นฉากเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ลงใต้ของชาชาติฮั่น
ชาวฮั่นในตงง้วนต้องอพยพลงใต้ครั้งใหญ่ในช่วงปลายของราชวงศ์จิ้น ต้นคริสตวรรษที่ห้า (ลูกหลานสุมาอี้) เนื่องจากชนเผ่าวัฒนธรรมเลี้ยงสัตว์เคลื่อนที่ (จีนโบราณเรียกว่าชาว “หู”) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคเหนือของจีน รุกรานเข้ามายึดครองดินแดนตงง้วน ดินแดนตงง้วนนั้นถูกครอบครองโดยชนเผ่าเหล่านี้ถึงสามครั้ง ได้แก่ครั้งนี้ ยุคราชวงศ์หยวน และยุคราชวงศ์ชิง และทุกครั้งก็จะมีชาวฮั่นอพยพหลบภัยจากตงง้วนลงไปภาคใต้
แต่ภาคใต้ของจีนก็มีชนพื้นเมืองอยู่แล้ว ชาวฮั่นที่เคลื่อนที่ลงใต้หลายระลอกนั้นกระจายกันไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ต่างๆ กัน มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนหลอมรวมวัฒนธรรมกับชนพื้นเมือง ก่อตัวเป็นชนชาติฮั่นสาขาย่อยที่มีอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
ชาวจีน (หัวเฉียว) ที่อพยพมาอยู่เมืองสยามมีหลายกลุ่ม ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน
ชาวจีนสาขาย่อยอื่นๆ นั้น ถูกเรียกชื่อกลุ่มตามชื่อดินแดนที่อยู่อาศัยก่อนที่จะอพยพอยู่เมืองสยาม เช่นอยู่ที่แต้จิ๋วก็เรียกว่า จีนแต้จิ๋ว อยู่กวางตุ้งก็เรียกว่าจีนกวางตุ้ง อยู่ไหหลำก็เรียกว่าจีนไหหลำ
มีแปลกอยู่ที่กลุ่มฮักกานี่แหละ ที่ไม่สามารถระบุบอกถิ่นที่มาได้
คำว่า “ฮัก” หรือ “แคะ” สำเนียงจีนกลางว่า “เค่อ” มีความหมายตรงกับคำว่า “แขก” หรือ อาคันตุกะ ผู้มาจากที่อื่น ในภาษาไทย
ชาวไตในยูนนานเรียกชาวฮั่น (คนจีน) ว่า “แข่” ซึ่งก็คือว่า “แขก” นั่นเอง
ส่วนคำว่า “กา” นั้น สำเนียงจีนกลางว่า “เจีย” แปลว่า พวก หมู่
ชาวแคะ คือใคร โดยความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปแล้ว จะตอบว่า ชาวแคะคือชาวฮั่นที่อพยพเคลื่อนย้ายจากตงง้วน ลงไปอยู่ในภาคใต้ และเนื่องจากมิใช่คนพื้นเมือง ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “แคะ” หรือ “พวกแคะ” (ฮักกา) ในพงศาวลี (บันทึกประวัติของตระกูลแซ่) ของทุกแซ่ มีบันทึกเล่าถึงการอพยพไว้ชัดเจน นักวิชาการปัจจุบันสรุปได้ว่ามีการเคลื่อนที่อพยพครั้งใหญ่ๆ หกระลอก
แต่การอธิบายเพียงเท่านั้นยังไม่พอเพียง
เพราะคนฮั่นที่อพยพลงภาคใต้นั้นมีหลายสายหลายครั้ง คนฮั่นที่ไปอยู่แต้จิ๋วก็เป็นสายฮั่นจากตงง้วนเหมือนกัน คนฮั่นที่อพยพไปอยู่กวางตุ้งก็ทำนองเดียวกัน คนฮั่นที่ไปไหหลำก็ทำนองเดียวกัน
แต่เหตุใดจึงไม่ถูกเรียกว่า ชาว “ฮักกา” หรือ “แคะ”
เรื่องนี้ “สำเนียงภาษา” และบันทึกในพงศาวลี พอช่วยเราได้บ้าง
สำเนียงในภาษาทุกภาษานั้นมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คำศัพท์คำหนึ่งในยุคราชวงศ์ฮั่นออกเสียงอย่างหนึ่ง มาถึงยุคราชวงศ์ถังเสียงกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง มาถึงปัจจุบันเสียงก็กลายไปอีก อย่างสำเนียงจีนกลางหรือแมนดารินนั้นเป็นสำเนียงหลวง (ปักกิ่ง) ในยุคราชวงศ์ชิง ก่อนหน้านั้นสำเนียงของชาวฮั่นในตงง้วนเป็นอย่างไร
นักภาษาศาสตร์จีนบอกว่า สำเนียงจีนแคะนี่แหละเป็นฟอสซิลของสำเนียงชาวฮั่นในราชวงศ์ถัง
สำเนียงจีนแคะใกล้เคียงกับสำเนียงชาวเจิ้งโจวและจงโจวในมณฑลเหอหนานมาก
การเคลื่อนที่อพยพนั้น ในประวัติศาสตร์แม้จะมีประวัติการอพยพหลายระลอก แต่โดยทั่วไปแล้ว ใครจะอพยพไปอยู่ในแถบไหน ก็มักจะมุ่งไปจุดที่มีคนเมืองเดียวกันไปล่วงหน้าแล้ว เป็นต้นว่าคนจากเจิ้งโจว จงโจว เดือดร้อนจำเป็นต้องอพยพกัน ก็ย่อมจะมุ่งไปหาถิ่นที่มีคนเจิ้งโจว จงโจว อพยพไปอยู่ล่วงหน้าแล้ว
ดินแดนที่เป็นถิ่นของชาวแคะคือสามเหลี่ยมแดนต่อแดนของ ภาคใต้ของมณฑลเจียงซี ภาคตะวันตกของมณฑลฮกเกี้ยน และภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง แถบนี้มีอำเภอที่มีประชากรเป็นชาวจีนแคะถึง 29 อำเภอ แน่นอนว่าในมณฑลอื่นๆ ก็มีชาวจีนแคะ แต่ดินแดนสามเหลี่ยมตรงนี้สามารถกำหนดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวจีนแคะ
เมื่อชาวจีนแคะมาอยู่ในแดนภาคใต้ที่มีชนพื้นเมืองอยู่แล้ว นานไปๆ ก็ผสมผสานแลกเปลี่ยนซึมซับเอาวัฒนธรรมและภาษาของชนพื้นเมืองเข้าไป ประกอบกับท้องถิ่นที่ชาวจีนแคะพำนักนั้น มักเป็นหุบเขาภูดอยที่มีที่ราบน้อย การคมนาคมไม่สะดวก ภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ก่อให้ชาวแคะมีวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มคน ที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมตงง้วนดั้งเดิม
ข้อสรุปว่าชาวจีนแคะเป็นใครมาจากไหน จึงพอสรุปได้ว่า จีนแคะเป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของชนชาติฮั่น ที่บรรพชนของพวกเขาโยกย้ายจากแถบ เจิ้งโจว จงโจว ในมณฑลเหอหนาน ลงมาอยู่แถบดินแดนรอยต่อของภาคใต้มณฑลเจียงซี ภาคตะวันตกของมณฑลฮกเกี้ยน ภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง แล้วเคลื่อนย้ายกระจายต่อไปยังมณฑลอื่นๆ ชาวจีนแคะมีวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง แก่นแกนของวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมชาวฮั่นในตงง้วนดั้งเดิม มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในภาคใต้ จนก่อตัวมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างไปจาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตงง้วน