ก่อนลงมือเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนชงใบไม้ชนิดหนึ่งดื่ม ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่ามันคือใบอะไร
ชีวิตคนมักเป็นอย่างนี้เสมอ
เราเชื่อมิตรของเรา
มิตรผู้หนึ่งเดินทางจากภาคเหนือมาร่วมงาน “รำลึก 30 ปีหกตุลา” ที่ธรรมศาสตร์ เขาติดใบไม้นั้นมาฝากมิตรในกรุงเทพ เขาเรียกมันว่า “ซาเลียงผา”
และบอกแต่เพียงว่ามันเอามาชงน้ำร้อนกินอร่อย ชาวม้งบนดอยผาจิ (จังหวัดพะเยา) เห็นตัวเยืองหรือเลียงผากินใบไม้ชนิดนี้ เขาจึงลองกินบ้าง แล้วทดลองชงน้ำร้อนกิน ปรากฎว่าอร่อยใบไม้ชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักของนักรบปลดแอกประชาชนบนดอยผาจิ
ผู้เขียนไม่เคยอยู่ที่ดอยผาจิ จึงไม่รู้จัก ไม่เคยได้ดื่ม
มาดื่มครั้งแรกวันนี้ ทีแรกไม่รู้สึกอะไร แต่ต่อมาริมฝีปากรู้สึกร้อนชานิดๆ และหวานต่อมาลิ้นและภายในปากรู้สึกหวาน
อือมม ผู้คนคงจะชอบความรู้สึกนี้นั่นเอง สำหรับความรู้สึกร้อนและชานั้น มันคล้ายๆ รสกานพลู แต่อ่อนกว่ามาก
แล้วเรื่องนี้มันจะเกี่ยวพันกับเรื่องจีนอย่างไรหนอ
มันทำให้ผู้เขียนนึกถึงเทพในตำนานองค์หนึ่งของจีน คือ “เสินหนง” 《神农》
คำว่าเสิน 神 แปลว่าเทพ คำว่า 农 แปลว่าเกี่ยวกับกสิกรรม การเพาะปลูก
“เสินหนง” เป็นเทพที่มีตำนานสับสนมากองค์หนึ่ง แต่โดยสรุปคือ เป็นผู้ทดลองชิมพืชชนิดต่างๆ ทำให้มนุษย์รู้ว่า พืชชนิดใดกินได้ ชนิดใดมีพิษกินไม่ได้ และสอนมนุษย์ให้รู้จักเพาะปลูกพืช อีกทั้งยังสอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชรักษาโรคต่างๆ ด้วย นับว่าเป็นเทพที่สำคัญมากๆ สำหรับวิถีชีวิตของมนุษย์โบราณ
อันที่จริงมนุษยชาติต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ยาวนาน กว่าที่จะรู้จักเลือกสรรว่าพืชอะไรกินได้ แล้วรู้จักธรรมชาติของมัน จนสามารถนำ
มันมาเพาะปลูก เริ่มทำการกสิกรรมเป็น
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญมาก
คือมนุษย์ส่วนหนึ่ง เมื่อจับกฎเกณฑ์ธรรมชาติของพืชบางอย่างได้ ก็สามารถนำมันมาเพาะปลูกเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล มนุษย์ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเดินทางหมุนเวียนไปเพื่อเก็บพืชมากินอีกต่อไป จุดนี้ทำให้มนุษย์สามารถตั้งถิ่นฐานที่อยู่ถาวรได้ แล้วจึงสร้างสรรค์อารยธรรมแบบหนึ่งขึ้นมา คืออารยธรรมแบบชาวกสิกรรม
แต่มนุษย์ในบางท้องที่ ไม่นิยมตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวร ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขาทำมาหากินกับสัตว์เป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องต้อนสัตว์หมุนเวียนไปตามฤดูกาล พวกเขาสร้างสรรค์อารยธรรมชาวปศุสัตว์ร่อนเร่ขึ้น
ว่ากันถึงต้นกำเนิดของชาวจีนดั้งเดิม อยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห สร้างอารยธรรมกสิกรรมก็จริง แต่อาหารหลักคือพืชประเภท ข้าวเดือย ข้าวฟ่าง 粟 (ซู่) หรือ millet เกาเหลียง และเมล็ดงา
ข้าวสาลีนั้นแพร่หลายจากแถบเมโสโปเตเมีย
ส่วนข้าว ที่พวกเรากินเป็นอาหารหลักนั้น เป็นธัญพืชหลักในแถบใต้ คือใต้แม่น้ำแยงซีเกียงลงมา
นักโบราณคดีหัวใหม่ของจีน เขาพิสูจน์แล้วว่า ข้าวเป็นพืชที่แพร่หลายจากแถบใต้คือตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ขึ้นไปสู่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห แล้วก็ไปถึงเกาหลี ญี่ปุ่น
วัฒนธรรมจีนภาคใต้จึงเป็นวัฒนธรรมข้าว (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว)
ส่วนวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหจึงเป็นวัฒนธรรมแป้งหมี่ (ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวบาเล่ย์ ข้าวสาลี)
ส่วนวัฒนธรรมในดินแดนเหนือขึ้นไปและทางตะวันตก เป็นวัฒนธรรมเลี้ยงปศุสัตว์ร่อนเร่
“ความเป็นจีน” ทุกวันนี้เกิดจากการ หล่อหลอม รวมประสานกันของวัฒนธรรมสามสายดังกล่าวข้างต้น
ย้อนกลับไปหาเรื่อง “เสินหนง” ชาวจีนนับถือยกย่องท่านเป็น “กสิกรรมเทพ” เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักเพาะปลูก บางตำนานว่าท่านเป็นคนเดียวกับ “เหยียนตี้” 炎帝
เหยียนตี้ ท่านเป็นคู่กับ หวงตี้ (จักรพรรดิเหลือง) เดิมเป็นพันธมิตรกันปราบปรามเผ่าเหมียวหมาน ต่อมาแตกกันเอง แล้ว “หวงตี้” เป็นฝ่ายได้ครองอำนาจแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง หวงตี้จึงได้รับการยกย่องเป็นบรรพบุรุษของชาวจีน (หัวเซี่ย)
เรื่องนี้ยิ่งเล่าก็ยิ่งสับสนครัรรบ ไปอ่านเอาจากเรื่อง “รากเหง้าเผ่าจีน” ของคุณอดุลย์ รัตนมั่นเกษม เถิด
เรื่องของ “เสินหนง” ที่น่ายกย่องมีอยู่จุดหนึ่ง ตรงที่ตามตำนานนั้น ท่านทดลองชิมพืชชนิดต่างๆ ชิมน้ำลำธารต่างๆ ว่า ชนิดไหนปลอดภัย ชนิดไหนมีอันตราย นี่เท่ากับว่า กล้าหาญเอาตัวเองเป็นตัวทดลอง ต้องเสี่ยงกับความเจ็บป่วยความตาย จิตใจของเสินหนงเป็นสิ่งที่ต้องยกย่อง
ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ การสอนให้ไม่ลืมบุญคุณของบรรพชน คนรุ่นก่อนที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญไว้ให้แก่พวกเรา ได้สอนวิชาความรู้ต่างๆ ไว้ให้พวกเรา
น่าเสียดายที่คนไทยเรา ละทิ้งมรดกความรู้มากมายของบรรพชนไทยไป เป็นต้นว่า ความรู้ทางด้านการแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับพืชและสัตว์ต่างๆ หรือ “ธรรมชาติวิทยา” ที่บรรพชนของเราเสียสละเรียนรู้มานับพันๆ ปี ปรากฏว่าคนรุ่นเราและก่อนเราในรอบศตวรรษเดียว ทอดทิ้งทำลายมรดกเหล่านี้หายสูญปี้ป่นไปแทบหมดสิ้น
เพิ่งจะมาตื่นตัวอนุรักษ์กันตอนนี้ ก็แทบจะสายเกินไปแล้ว
ผู้ดื่มน้ำที่ชงจากใบไม้ที่ไม่รู้จัก.....
สิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึก นึกคิด ออกมาคือ อารมณ์สดุดี “จิตใจแบบเสินหนง”
ชีวิตคนมักเป็นอย่างนี้เสมอ
เราเชื่อมิตรของเรา
มิตรผู้หนึ่งเดินทางจากภาคเหนือมาร่วมงาน “รำลึก 30 ปีหกตุลา” ที่ธรรมศาสตร์ เขาติดใบไม้นั้นมาฝากมิตรในกรุงเทพ เขาเรียกมันว่า “ซาเลียงผา”
และบอกแต่เพียงว่ามันเอามาชงน้ำร้อนกินอร่อย ชาวม้งบนดอยผาจิ (จังหวัดพะเยา) เห็นตัวเยืองหรือเลียงผากินใบไม้ชนิดนี้ เขาจึงลองกินบ้าง แล้วทดลองชงน้ำร้อนกิน ปรากฎว่าอร่อยใบไม้ชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักของนักรบปลดแอกประชาชนบนดอยผาจิ
ผู้เขียนไม่เคยอยู่ที่ดอยผาจิ จึงไม่รู้จัก ไม่เคยได้ดื่ม
มาดื่มครั้งแรกวันนี้ ทีแรกไม่รู้สึกอะไร แต่ต่อมาริมฝีปากรู้สึกร้อนชานิดๆ และหวานต่อมาลิ้นและภายในปากรู้สึกหวาน
อือมม ผู้คนคงจะชอบความรู้สึกนี้นั่นเอง สำหรับความรู้สึกร้อนและชานั้น มันคล้ายๆ รสกานพลู แต่อ่อนกว่ามาก
แล้วเรื่องนี้มันจะเกี่ยวพันกับเรื่องจีนอย่างไรหนอ
มันทำให้ผู้เขียนนึกถึงเทพในตำนานองค์หนึ่งของจีน คือ “เสินหนง” 《神农》
คำว่าเสิน 神 แปลว่าเทพ คำว่า 农 แปลว่าเกี่ยวกับกสิกรรม การเพาะปลูก
“เสินหนง” เป็นเทพที่มีตำนานสับสนมากองค์หนึ่ง แต่โดยสรุปคือ เป็นผู้ทดลองชิมพืชชนิดต่างๆ ทำให้มนุษย์รู้ว่า พืชชนิดใดกินได้ ชนิดใดมีพิษกินไม่ได้ และสอนมนุษย์ให้รู้จักเพาะปลูกพืช อีกทั้งยังสอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชรักษาโรคต่างๆ ด้วย นับว่าเป็นเทพที่สำคัญมากๆ สำหรับวิถีชีวิตของมนุษย์โบราณ
อันที่จริงมนุษยชาติต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ยาวนาน กว่าที่จะรู้จักเลือกสรรว่าพืชอะไรกินได้ แล้วรู้จักธรรมชาติของมัน จนสามารถนำ
มันมาเพาะปลูก เริ่มทำการกสิกรรมเป็น
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญมาก
คือมนุษย์ส่วนหนึ่ง เมื่อจับกฎเกณฑ์ธรรมชาติของพืชบางอย่างได้ ก็สามารถนำมันมาเพาะปลูกเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล มนุษย์ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเดินทางหมุนเวียนไปเพื่อเก็บพืชมากินอีกต่อไป จุดนี้ทำให้มนุษย์สามารถตั้งถิ่นฐานที่อยู่ถาวรได้ แล้วจึงสร้างสรรค์อารยธรรมแบบหนึ่งขึ้นมา คืออารยธรรมแบบชาวกสิกรรม
แต่มนุษย์ในบางท้องที่ ไม่นิยมตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวร ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขาทำมาหากินกับสัตว์เป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องต้อนสัตว์หมุนเวียนไปตามฤดูกาล พวกเขาสร้างสรรค์อารยธรรมชาวปศุสัตว์ร่อนเร่ขึ้น
ว่ากันถึงต้นกำเนิดของชาวจีนดั้งเดิม อยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห สร้างอารยธรรมกสิกรรมก็จริง แต่อาหารหลักคือพืชประเภท ข้าวเดือย ข้าวฟ่าง 粟 (ซู่) หรือ millet เกาเหลียง และเมล็ดงา
ข้าวสาลีนั้นแพร่หลายจากแถบเมโสโปเตเมีย
ส่วนข้าว ที่พวกเรากินเป็นอาหารหลักนั้น เป็นธัญพืชหลักในแถบใต้ คือใต้แม่น้ำแยงซีเกียงลงมา
นักโบราณคดีหัวใหม่ของจีน เขาพิสูจน์แล้วว่า ข้าวเป็นพืชที่แพร่หลายจากแถบใต้คือตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ขึ้นไปสู่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห แล้วก็ไปถึงเกาหลี ญี่ปุ่น
วัฒนธรรมจีนภาคใต้จึงเป็นวัฒนธรรมข้าว (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว)
ส่วนวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหจึงเป็นวัฒนธรรมแป้งหมี่ (ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวบาเล่ย์ ข้าวสาลี)
ส่วนวัฒนธรรมในดินแดนเหนือขึ้นไปและทางตะวันตก เป็นวัฒนธรรมเลี้ยงปศุสัตว์ร่อนเร่
“ความเป็นจีน” ทุกวันนี้เกิดจากการ หล่อหลอม รวมประสานกันของวัฒนธรรมสามสายดังกล่าวข้างต้น
ย้อนกลับไปหาเรื่อง “เสินหนง” ชาวจีนนับถือยกย่องท่านเป็น “กสิกรรมเทพ” เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักเพาะปลูก บางตำนานว่าท่านเป็นคนเดียวกับ “เหยียนตี้” 炎帝
เหยียนตี้ ท่านเป็นคู่กับ หวงตี้ (จักรพรรดิเหลือง) เดิมเป็นพันธมิตรกันปราบปรามเผ่าเหมียวหมาน ต่อมาแตกกันเอง แล้ว “หวงตี้” เป็นฝ่ายได้ครองอำนาจแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง หวงตี้จึงได้รับการยกย่องเป็นบรรพบุรุษของชาวจีน (หัวเซี่ย)
เรื่องนี้ยิ่งเล่าก็ยิ่งสับสนครัรรบ ไปอ่านเอาจากเรื่อง “รากเหง้าเผ่าจีน” ของคุณอดุลย์ รัตนมั่นเกษม เถิด
เรื่องของ “เสินหนง” ที่น่ายกย่องมีอยู่จุดหนึ่ง ตรงที่ตามตำนานนั้น ท่านทดลองชิมพืชชนิดต่างๆ ชิมน้ำลำธารต่างๆ ว่า ชนิดไหนปลอดภัย ชนิดไหนมีอันตราย นี่เท่ากับว่า กล้าหาญเอาตัวเองเป็นตัวทดลอง ต้องเสี่ยงกับความเจ็บป่วยความตาย จิตใจของเสินหนงเป็นสิ่งที่ต้องยกย่อง
ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ การสอนให้ไม่ลืมบุญคุณของบรรพชน คนรุ่นก่อนที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญไว้ให้แก่พวกเรา ได้สอนวิชาความรู้ต่างๆ ไว้ให้พวกเรา
น่าเสียดายที่คนไทยเรา ละทิ้งมรดกความรู้มากมายของบรรพชนไทยไป เป็นต้นว่า ความรู้ทางด้านการแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับพืชและสัตว์ต่างๆ หรือ “ธรรมชาติวิทยา” ที่บรรพชนของเราเสียสละเรียนรู้มานับพันๆ ปี ปรากฏว่าคนรุ่นเราและก่อนเราในรอบศตวรรษเดียว ทอดทิ้งทำลายมรดกเหล่านี้หายสูญปี้ป่นไปแทบหมดสิ้น
เพิ่งจะมาตื่นตัวอนุรักษ์กันตอนนี้ ก็แทบจะสายเกินไปแล้ว
ผู้ดื่มน้ำที่ชงจากใบไม้ที่ไม่รู้จัก.....
สิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึก นึกคิด ออกมาคือ อารมณ์สดุดี “จิตใจแบบเสินหนง”