ลัทธิมาร์กซ์ยืนยงมานานกว่าศตวรรษครึ่งแล้ว และมีแนวโน้มยืนยงไปอีกนานเท่านาน ในรูปของแนวคิดทฤษฎีปฏิวัติ(ในรัฐทุนนิยม)และพัฒนา(ในรัฐสังคมนิยม) ซึ่งจะนำสังคมโลกก้าวไปสู่สังคมอุดมการณ์ในบั้นปลาย
ลัทธิมาร์กซ์ถือกำเนิดขึ้นมาในบริบทแห่งการปฏิวัติใหญ่ในยุโรป ช่วงที่ชนชั้นนายทุนดำเนินการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจปกครองของเจ้าศักดินา อันเป็นกระบวนการต่อเนื่องของการขับเคลื่อนทางสังคมในยุโรป การผลิตสมัยใหม่แบบอุตสาหกรรมเคลื่อนตัวเข้าแทนที่การผลิตแบบเกษตร-หัตถกรรม อำนาจทุนและชนชั้นนายทุนก้าวขึ้นมาแทนที่อำนาจที่ดินและชนชั้นเจ้าศักดินา
การก่อตัวขึ้นของระบอบทุนนิยมในยุโรป ดำเนินไปในท่ามกลางการทำลายระบอบศักดินา ใช้การปฏิวัติล้มล้างระบอบศักดินา แล้วสถาปนาระบอบทุนนิยมขึ้นแทนที่ ดำเนินการปกครองในรูปของรัฐชาติ ด้วยระบบการเมืองประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน เชิดชูคำขวัญอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ให้คุณค่าของความเป็นคนในรูปของปัจเจกชน
กระนั้น ระบอบทุนนิยมในความเป็นจริง กลับไม่ได้ให้คำตอบสุดท้ายแก่มนุษยชาติ มีการแยกขั้วอย่างรวดเร็ว การกดขี่ขูดรีดดำเนินไปอย่างป่าเถื่อน ล่อนจ้อน สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลถูกลิดรอนไปในท่ามกลางการใช้แรงงาน การใช้แรงงานกลายเป็นสิ่งแปลกแยกของชีวิต บั่นทอนคุณค่าแห่งชีวิต เกิดการโหยหวนหาอดีตกันทั่วไป
ในทัศนะของลัทธิมาร์กซ์ การหวนกลับสู่อดีตมิใช่คำตอบ สังคมทุนนิยมก้าวหน้ากว่าสังคมศักดินา แต่ก็มิใช่สังคมอุดมการณ์ของมวลมนุษยชาติ มันเป็นเพียง “ทางผ่าน”ของกระบวนการพัฒนาทางสังคมของมวลมนุษยชาติเท่านั้น ทางที่ดีคือมนุษย์ต้องเร่งตัวเองให้ก้าวพ้นสังคมทุนนิยม เข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์
ทั้งนี้ ลัทธิมาร์กซ์อธิบายพัฒนาการของสังคมมนุษย์ ว่าเป็นไปตามการพัฒนาของพลังการผลิต หรือทักษะความชำนาญในการผลิต สามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาบำรุงเลี้ยงตนเองให้อยู่รอดและสะดวกสบายขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการผลิตที่เป็นไปตามความสัมพันธ์ทางการผลิตในแต่ละห้วงเวลาของการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ จะเป็นตัวกำหนดบทบาทของกลุ่มคนที่อยู่ในแต่ละภาคส่วนของความสัมพันธ์ทางการผลิต ก่อตัวเป็นรูปลักษณ์ที่เป็นพลวัตทางการปกครอง มีการใช้อำนาจตามสถานภาพจัดสรรโภคทรัพย์ในสังคม ทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่เป็นผลิตผลจากการใช้แรงงานของสมาชิกในสังคม
คาร์ล มาร์กซ์ได้ประมวลไว้ว่า เมื่อการผลิตของมวลมนุษย์ทยอยกันก้าวพ้นจากยุคล่าสัตว์เข้าสู่ยุคเกษตรกรรม สังคมมนุษย์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมชนชั้น เริ่มด้วยชนชั้นทาสกับนายทาส (ยุคสังคมทาส) และชนชั้นเจ้าที่ดินกับไพร่ ชาวนาชาวไร่ติดที่ดิน (ยุคสังคมศักดินา)
การขับเคลื่อนของสังคมทาสและสังคมศักดินาเป็นไปอย่างเชื่องช้า กินเวลานับพันปีทั้งในยุโรปและเอเชีย จนกระทั่งเกิดการฟื้นฟูทางศิลปะวรรณคดี การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป มนุษยชาติจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่แตกต่างไปจากยุคก่อนหน้านั้นอย่างสิ้นเชิง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ ผนึกรวมเป็นพลังการผลิตยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมโลกเข้าสู่ยุคทันสมัยอย่างทะมัดทะแมง เป็นครั้งแรกที่มวลมนุษย์สามารถดำเนินการผลิตได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคนและสัตว์ แต่เป็นเครื่องจักรทรงพลัง ที่เป็นผลผลิตของการประดิษฐ์คิดสร้างจากมันสมองของมนุษย์อีกที
การปฏิวัติทางพลังการผลิต นำไปสู่การปฏิวัติทางสังคม กลุ่มคนผู้มีทุนและครอบครองพลังการผลิตสมัยใหม่ ได้ก่อตัวเป็นชนชั้นนายทุน ร่วมกันโค่นล้มอำนาจปกครองของชนชั้นศักดินา สถาปนาอำนาจรัฐทุนนิยม เริ่มตั้งแต่หมู่เกาะอังกฤษไปจนถึงแผ่นดินใหญ่ทวีปยุโรป และแผ่ข้ามไปยังดินแดนโพ้นทะเล พาสังคมโลกก้าวเข้าสู่ยุค “โลกาภิวัตน์”เป็นเบื้องต้น
กระนั้น ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ สังคมโลกยุคทุนนิยมยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาของมวลมนุษยชาติ รูปแบบความสัมพันธ์ทางการผลิตของระบอบทุนนิยม กำหนดให้ชนชั้นนายทุนสามารถใช้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนส่วนใหญ่ได้เช่นเดียวกับชนชั้นนายทาสและศักดินา ขณะที่ผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบรอบด้าน ชีวิตยังด้อยค่า มีฐานะเป็นเพียง “สินค้า” ถูกลิดรอนโอกาสและอิสระ เสรีภาพในการพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์รอบด้าน ทั้งทางกาย ทางใจ และทางปัญญา
ณ วันนี้ ความเป็น “มนุษย์”ที่สมบูรณ์ยังไม่เกิด ไม่ว่าคุณจะเป็นนายทุนหรือผู้ใช้แรงงาน และจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในยุคทุนนิยมครอบโลก
ชาวลัทธิมาร์กซ์จึงได้ยืนหยัดตลอดมาว่า พัฒนาการของสังคมมนุษย์ยังจะดำเนินต่อไป ตามการพัฒนาของพลังการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การแปรเปลี่ยนของความสัมพันธ์ทางการผลิต รูปแบบการผลิตและลักษณะของสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชนชั้นต่างๆในสังคม
ตามวิสัยทัศน์ของพวกเขา พัฒนาการขั้นต่อไปของสังคมมนุษย์ก็คือสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นภาวะที่พลังการผลิตของสังคมได้ก้าวเข้าสู่ขั้นเจริญสุดขีด สามารถสนองความต้องการของมวลมนุษย์ได้อย่างทั่วถึง
ในภาวะเช่นนั้น สมาชิกในสังคมจะหลุดพ้นจากภาวะ “กดขี่-ขูดรีด”และ “ถูกกดขี่-ขูดรีด” ต่างก็เป็นเงื่อนไขให้แก่การพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านของกันและกัน
การพัฒนาอย่างรอบด้านของคนเรา จึงเป็นอุดมการณ์สูงสุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปหรือกระทั่งปฏิวัติระบบระบอบสังคมหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตใดๆ ล้วนแต่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านของสมาชิกสังคมทั้งสิ้น
ด้วยทัศนะเช่นนี้ พลพรรคและสาวกของคาร์ล มาร์กซ์ทั้งหลายทั้งปวง จึงเชื่อมั่นตลอดเวลาว่า กระบวนการพัฒนาของสังคมมนุษย์ที่กำลังดำเนินไปอย่างเป็นพลวัตยิ่งเวลานี้ ถึงที่สุดแล้วก็จะนำสังคมโลกก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์
สังคมคอมมิวนิสต์เป็นจุดหมายปลายทางของการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ ที่จะนำมวลมนุษย์บรรลุสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แสดงออกที่สามารถพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน มีอิสระ เสรีภาพ ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข อย่างแท้จริง
ด้วยทัศนะเช่นนี้ ณ วันนี้ ชาวลัทธิมาร์กซ์จึงมองเห็นทุกอย่างที่กำลังดำเนินไป ล้วนแต่เป็นสิ่ง “ชั่วคราว” ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในห้วง “ระยะผ่าน”ของกระบวนการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ พร้อมเสมอที่จะเสริมเพิ่ม “เหตุปัจจัย”ให้แก่กระบวนการขับเคลื่อนให้ดำเนินต่อไปได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะด้วยการปฏิวัติสังคม (ในยุคสงครามและปฏิวัติ) หรือด้วยการพัฒนา (ในยุคสันติภาพและการพัฒนา)
โดยนัยดังกล่าว ชาวลัทธิมาร์กซ์ “แท้” จึงไม่เคยท้อแท้กับสิ่งต่างๆที่กำลังดำเนินไป ตรงกันข้าม กลับตระหนักชัดในทุกย่างก้าวของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมโลก ว่ากำลังดำเนินตามทิศทางที่สังคมมนุษย์จำต้องเป็นไป ตามการพัฒนาของพลังการผลิตโดยรวมของมวลมนุษยชาติ
หน้าที่ของพวกเขาก็คือ ในยามสงครามและปฏิวัติ รวบรวมพลพรรค นำประชาชนผู้ใช้แรงงานก่อการปฏิวัติให้เห็นผล จัดรูปแบบสังคมและความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใหม่ ปฏิรูประบบ โครงสร้างและกลไกต่างๆอย่างต่อเนื่อง ปลดปล่อยพลังการผลิตและพัฒนาพลังการผลิตอย่างรอบด้าน ทีละขั้นๆ เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านทีละขั้นๆ ของทุกๆคนในสังคมรวม
ในยามสันติภาพและการพัฒนา พร้อมใจกันดำเนินการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูประบบ โครงสร้าง กลไกต่างๆ ทั้งในรัฐสังคมนิยมและในรัฐทุนนิยม เพื่อให้เอื้อต่อการปลดปล่อยพลังการผลิต พัฒนาพลังการผลิต ทำลายการกดขี่ขูดรีด กำจัดการแยกขั้วในสังคม และบรรลุสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันในที่สุด
ปฏิบัติการทางสังคมดังกล่าว จึงจะสะท้อนจุดยืน ทัศนะ และวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์แบบมาร์กซิสม์
หาก “เข้าใจ”ในสิ่งที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้น ก็พอจะร้อง “อ้อ”กับตัวเอง ทั้งในเรื่องที่จีนกำลังพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ และในเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของประชาชนในประเทศต่างๆทั่วโลก
และอาจทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น ในเรื่องการเคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โค่นล้ม “ระบอบทักษิณ”ที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
---------------------------
ลัทธิมาร์กซ์ถือกำเนิดขึ้นมาในบริบทแห่งการปฏิวัติใหญ่ในยุโรป ช่วงที่ชนชั้นนายทุนดำเนินการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจปกครองของเจ้าศักดินา อันเป็นกระบวนการต่อเนื่องของการขับเคลื่อนทางสังคมในยุโรป การผลิตสมัยใหม่แบบอุตสาหกรรมเคลื่อนตัวเข้าแทนที่การผลิตแบบเกษตร-หัตถกรรม อำนาจทุนและชนชั้นนายทุนก้าวขึ้นมาแทนที่อำนาจที่ดินและชนชั้นเจ้าศักดินา
การก่อตัวขึ้นของระบอบทุนนิยมในยุโรป ดำเนินไปในท่ามกลางการทำลายระบอบศักดินา ใช้การปฏิวัติล้มล้างระบอบศักดินา แล้วสถาปนาระบอบทุนนิยมขึ้นแทนที่ ดำเนินการปกครองในรูปของรัฐชาติ ด้วยระบบการเมืองประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน เชิดชูคำขวัญอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ให้คุณค่าของความเป็นคนในรูปของปัจเจกชน
กระนั้น ระบอบทุนนิยมในความเป็นจริง กลับไม่ได้ให้คำตอบสุดท้ายแก่มนุษยชาติ มีการแยกขั้วอย่างรวดเร็ว การกดขี่ขูดรีดดำเนินไปอย่างป่าเถื่อน ล่อนจ้อน สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลถูกลิดรอนไปในท่ามกลางการใช้แรงงาน การใช้แรงงานกลายเป็นสิ่งแปลกแยกของชีวิต บั่นทอนคุณค่าแห่งชีวิต เกิดการโหยหวนหาอดีตกันทั่วไป
ในทัศนะของลัทธิมาร์กซ์ การหวนกลับสู่อดีตมิใช่คำตอบ สังคมทุนนิยมก้าวหน้ากว่าสังคมศักดินา แต่ก็มิใช่สังคมอุดมการณ์ของมวลมนุษยชาติ มันเป็นเพียง “ทางผ่าน”ของกระบวนการพัฒนาทางสังคมของมวลมนุษยชาติเท่านั้น ทางที่ดีคือมนุษย์ต้องเร่งตัวเองให้ก้าวพ้นสังคมทุนนิยม เข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์
ทั้งนี้ ลัทธิมาร์กซ์อธิบายพัฒนาการของสังคมมนุษย์ ว่าเป็นไปตามการพัฒนาของพลังการผลิต หรือทักษะความชำนาญในการผลิต สามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาบำรุงเลี้ยงตนเองให้อยู่รอดและสะดวกสบายขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการผลิตที่เป็นไปตามความสัมพันธ์ทางการผลิตในแต่ละห้วงเวลาของการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ จะเป็นตัวกำหนดบทบาทของกลุ่มคนที่อยู่ในแต่ละภาคส่วนของความสัมพันธ์ทางการผลิต ก่อตัวเป็นรูปลักษณ์ที่เป็นพลวัตทางการปกครอง มีการใช้อำนาจตามสถานภาพจัดสรรโภคทรัพย์ในสังคม ทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่เป็นผลิตผลจากการใช้แรงงานของสมาชิกในสังคม
คาร์ล มาร์กซ์ได้ประมวลไว้ว่า เมื่อการผลิตของมวลมนุษย์ทยอยกันก้าวพ้นจากยุคล่าสัตว์เข้าสู่ยุคเกษตรกรรม สังคมมนุษย์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมชนชั้น เริ่มด้วยชนชั้นทาสกับนายทาส (ยุคสังคมทาส) และชนชั้นเจ้าที่ดินกับไพร่ ชาวนาชาวไร่ติดที่ดิน (ยุคสังคมศักดินา)
การขับเคลื่อนของสังคมทาสและสังคมศักดินาเป็นไปอย่างเชื่องช้า กินเวลานับพันปีทั้งในยุโรปและเอเชีย จนกระทั่งเกิดการฟื้นฟูทางศิลปะวรรณคดี การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป มนุษยชาติจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่แตกต่างไปจากยุคก่อนหน้านั้นอย่างสิ้นเชิง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ ผนึกรวมเป็นพลังการผลิตยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมโลกเข้าสู่ยุคทันสมัยอย่างทะมัดทะแมง เป็นครั้งแรกที่มวลมนุษย์สามารถดำเนินการผลิตได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคนและสัตว์ แต่เป็นเครื่องจักรทรงพลัง ที่เป็นผลผลิตของการประดิษฐ์คิดสร้างจากมันสมองของมนุษย์อีกที
การปฏิวัติทางพลังการผลิต นำไปสู่การปฏิวัติทางสังคม กลุ่มคนผู้มีทุนและครอบครองพลังการผลิตสมัยใหม่ ได้ก่อตัวเป็นชนชั้นนายทุน ร่วมกันโค่นล้มอำนาจปกครองของชนชั้นศักดินา สถาปนาอำนาจรัฐทุนนิยม เริ่มตั้งแต่หมู่เกาะอังกฤษไปจนถึงแผ่นดินใหญ่ทวีปยุโรป และแผ่ข้ามไปยังดินแดนโพ้นทะเล พาสังคมโลกก้าวเข้าสู่ยุค “โลกาภิวัตน์”เป็นเบื้องต้น
กระนั้น ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ สังคมโลกยุคทุนนิยมยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาของมวลมนุษยชาติ รูปแบบความสัมพันธ์ทางการผลิตของระบอบทุนนิยม กำหนดให้ชนชั้นนายทุนสามารถใช้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนส่วนใหญ่ได้เช่นเดียวกับชนชั้นนายทาสและศักดินา ขณะที่ผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบรอบด้าน ชีวิตยังด้อยค่า มีฐานะเป็นเพียง “สินค้า” ถูกลิดรอนโอกาสและอิสระ เสรีภาพในการพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์รอบด้าน ทั้งทางกาย ทางใจ และทางปัญญา
ณ วันนี้ ความเป็น “มนุษย์”ที่สมบูรณ์ยังไม่เกิด ไม่ว่าคุณจะเป็นนายทุนหรือผู้ใช้แรงงาน และจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในยุคทุนนิยมครอบโลก
ชาวลัทธิมาร์กซ์จึงได้ยืนหยัดตลอดมาว่า พัฒนาการของสังคมมนุษย์ยังจะดำเนินต่อไป ตามการพัฒนาของพลังการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การแปรเปลี่ยนของความสัมพันธ์ทางการผลิต รูปแบบการผลิตและลักษณะของสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชนชั้นต่างๆในสังคม
ตามวิสัยทัศน์ของพวกเขา พัฒนาการขั้นต่อไปของสังคมมนุษย์ก็คือสังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นภาวะที่พลังการผลิตของสังคมได้ก้าวเข้าสู่ขั้นเจริญสุดขีด สามารถสนองความต้องการของมวลมนุษย์ได้อย่างทั่วถึง
ในภาวะเช่นนั้น สมาชิกในสังคมจะหลุดพ้นจากภาวะ “กดขี่-ขูดรีด”และ “ถูกกดขี่-ขูดรีด” ต่างก็เป็นเงื่อนไขให้แก่การพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านของกันและกัน
การพัฒนาอย่างรอบด้านของคนเรา จึงเป็นอุดมการณ์สูงสุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปหรือกระทั่งปฏิวัติระบบระบอบสังคมหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตใดๆ ล้วนแต่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านของสมาชิกสังคมทั้งสิ้น
ด้วยทัศนะเช่นนี้ พลพรรคและสาวกของคาร์ล มาร์กซ์ทั้งหลายทั้งปวง จึงเชื่อมั่นตลอดเวลาว่า กระบวนการพัฒนาของสังคมมนุษย์ที่กำลังดำเนินไปอย่างเป็นพลวัตยิ่งเวลานี้ ถึงที่สุดแล้วก็จะนำสังคมโลกก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์
สังคมคอมมิวนิสต์เป็นจุดหมายปลายทางของการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ ที่จะนำมวลมนุษย์บรรลุสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แสดงออกที่สามารถพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน มีอิสระ เสรีภาพ ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข อย่างแท้จริง
ด้วยทัศนะเช่นนี้ ณ วันนี้ ชาวลัทธิมาร์กซ์จึงมองเห็นทุกอย่างที่กำลังดำเนินไป ล้วนแต่เป็นสิ่ง “ชั่วคราว” ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในห้วง “ระยะผ่าน”ของกระบวนการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ พร้อมเสมอที่จะเสริมเพิ่ม “เหตุปัจจัย”ให้แก่กระบวนการขับเคลื่อนให้ดำเนินต่อไปได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะด้วยการปฏิวัติสังคม (ในยุคสงครามและปฏิวัติ) หรือด้วยการพัฒนา (ในยุคสันติภาพและการพัฒนา)
โดยนัยดังกล่าว ชาวลัทธิมาร์กซ์ “แท้” จึงไม่เคยท้อแท้กับสิ่งต่างๆที่กำลังดำเนินไป ตรงกันข้าม กลับตระหนักชัดในทุกย่างก้าวของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมโลก ว่ากำลังดำเนินตามทิศทางที่สังคมมนุษย์จำต้องเป็นไป ตามการพัฒนาของพลังการผลิตโดยรวมของมวลมนุษยชาติ
หน้าที่ของพวกเขาก็คือ ในยามสงครามและปฏิวัติ รวบรวมพลพรรค นำประชาชนผู้ใช้แรงงานก่อการปฏิวัติให้เห็นผล จัดรูปแบบสังคมและความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใหม่ ปฏิรูประบบ โครงสร้างและกลไกต่างๆอย่างต่อเนื่อง ปลดปล่อยพลังการผลิตและพัฒนาพลังการผลิตอย่างรอบด้าน ทีละขั้นๆ เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านทีละขั้นๆ ของทุกๆคนในสังคมรวม
ในยามสันติภาพและการพัฒนา พร้อมใจกันดำเนินการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูประบบ โครงสร้าง กลไกต่างๆ ทั้งในรัฐสังคมนิยมและในรัฐทุนนิยม เพื่อให้เอื้อต่อการปลดปล่อยพลังการผลิต พัฒนาพลังการผลิต ทำลายการกดขี่ขูดรีด กำจัดการแยกขั้วในสังคม และบรรลุสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันในที่สุด
ปฏิบัติการทางสังคมดังกล่าว จึงจะสะท้อนจุดยืน ทัศนะ และวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์แบบมาร์กซิสม์
หาก “เข้าใจ”ในสิ่งที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้น ก็พอจะร้อง “อ้อ”กับตัวเอง ทั้งในเรื่องที่จีนกำลังพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ และในเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของประชาชนในประเทศต่างๆทั่วโลก
และอาจทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น ในเรื่องการเคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โค่นล้ม “ระบอบทักษิณ”ที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
---------------------------