ท่านผู้อาวุโส ณ วันนี้ มีวัยล่วงเลยถึงขนาดเป็นคุณปู่ คุณทวดของเหล่าหมิงซิงเอาะๆ...ดาราดาวเด่นหลายต่อหลายคนได้สวมบทบาทตัวละครจากงานประพันธ์ของผู้เฒ่า จนโด่งดังสะท้านพิภพ…
ท่านผู้อาวุโส เป็นหนอนหนังสือพันธุ์แท้ เกิดมาเพื่ออ่านหนังสือ ทำหนังสือ และเขียนหนังสือ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่...การอุทิศเหล่านี้ของท่านเป็นที่ประจักษ์เลื่องลือ จนได้รับรางวัลเกียรติยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยาวเหยียดเป็นหางว่าว จากประเทศชั้นนำในปฐพี ไม่ว่าแดนผู้ดี, แดนศิลปะโลก...
ท่านผู้อาวุโสยังสร้างความฮือฮาแก่วงการ ด้วยการเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ในวัย 81 ปี...
ท่านผู้อาวุโสเป็นพ่อผู้ให้กำเนิด ก๊วยเจ็ง อึ้งย้ง เอี้ยก้วย เสียวเล้งนึ้ง อึ้งเอ๊ะสือ จิวแป๊ะทง อาวเอี๊ยงทง อุ้ยเสี่ยวป้อ...ฯลฯ อา!---กิมย้ง...นั่นเอง...
***************
กิมย้งซึ่งมีเสียงในภาษาจีนกลางว่า จินยงเป็นนามปากกาจาเหลียงยงนักเขียนแดนฮ่องกง ที่เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในตั้งแต่ช่วงวัยหนุ่ม 31 ปี และได้แขวนปากกาล้างมือในอ่างทองคำไปแล้วเมื่ออายุ 48 ปี แต่นิยายของท่านก็ยังเป็นดาวเด่นเหนือบรรณพิภพและโลกบันเทิงมาถึงครึ่งศตวรรษ นิยายของกิมย้งได้รับการแปลเป็นฉบับพากษ์ภาษาเกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย นอกจากนี้ ยังมีการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์จอเงิน และภาพยนตร์จอแก้วอย่างนับไม่ถ้วน
ขณะนี้ นิยายกำลังภายในของกิมย้งได้พิชิตยอดขายถึง 300 ล้านเล่มจากทั่วโลก (อาจถึง 1,000 ล้านเล่มด้วยซ้ำ หากนับรวมฉบับที่อยู่ในกองหนังสือเถื่อนหรือละเมิดลิขสิทธิ์)
แม้กิมย้งเองได้จัดให้งานเขียนของตนอยู่ในประเภทนิยายบันเทิงประโลมโลกธรรมดาๆ อย่างไรก็ตาม หลายคนในวงการก็ยกย่องงานประพันธ์ของกิมย้งมีคุณค่าเชิงวรรณกรรมอย่างสมบูรณ์ และประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับสามก๊ก ซ้องกั๋ง ไซอิ๋ว ด้วยเนื้อเรื่องดี แต่งดี เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างยาวนาน
นอกจากได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในมือหนึ่งของโลก กิมย้งยังได้ชื่อว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนบทบรรณาธิการ บทวิพากษ์วิจารณ์สังคมมือหนึ่งแห่งฮ่องกงอีกด้วย ชาวฮ่องกงชอบอ่านบทวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมืองของเขา กระทั่งผู้นำในกรุงวอชิงตันก็ติดตามบทวิพากษ์วิจารณ์ของเขา เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล เพื่อวิเคราะห์มองสังคมจีน
...กิมย้งเล่าเรื่องชีวิตตัว...
เมื่อเร็วๆนี้ กิมย้งได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติชีวิตของท่านว่า เริ่มอ่านหนังสืออย่างดุเดือดตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ ก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด และนิยายแปลของต่างประเทศ ในวัยเยาว์ได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกทั้ง 4 เรื่องของจีน ได้แก่ สามก๊ก (三国演义) ซ้องกั๋ง(水许传) ไซอิ๋ว(西游记) และความฝันในหอแดง (红楼梦)
กิมย้งเล่าถึงวิธีอ่านหนังสือของตนว่า อ่านแบบละเอียดยิบทุกตัวอักษร โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ เมื่อเจอตัวที่ไม่รู้ความหมายก็จะเปิดพจนานุกรมทันที ถ้ายังไม่เจอ ก็จะรีบหาพจนานุกรมเล่มใหญ่มาค้นดู...ให้ถึงที่สุด ซึ่งเปลืองเวลาและเรี่ยวแรงมาก “มันดูเป็นวิธีอ่านหนังสือที่โง่ แต่นานเข้าๆ การอ่านหนังสือก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายหมูๆ”
กิมย้งแจงประโยชน์จากการอ่านหนังสือมีมากมาย ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ ยังเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ยามที่รู้สึกโดดเดี่ยวเหงา ทุกข์ยากกลัดกลุ้มใจ และไม่มีใครเลย เมื่ออ่านหนังสือก็จะรู้สึกดีขึ้น การอ่านหนังสือทำให้จิตใจดีงาม “ผมหวังว่านิยายของผม จะให้เยาวชนมีสำนึกช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม มีความคิดความอ่านรู้จักผิดชอบชั่วดี”
เนื่องจากมีผู้อ่านจำนวนมากชอบเรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อ กิมย้งได้เตือนว่า “อย่าเอาอย่างอุ้ยเซี่ยวป้อ ผมสร้างตัวละครนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนยุคสมัย ไม่ได้สะท้อนความชอบคนบุคลิกแบบนี้” และยังได้กล่าวขอโทษ เกี่ยวกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนในบางจุด โดยเฉพาะเรื่องของอิ่นจื้อผิง (尹志平)ที่ให้ภาพลักษณ์ไม่ดี และส่งผลด้านลบแก่สำนึกคิดเต๋า ในฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ได้ตัดตัวอิ่นจื้อผิงออกไป
นอกจากนี้ กิมย้งยังแสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อการนำนิยายของเขาไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ที่หลายๆครั้งมักขาดชีวิตขาดอารมณ์ กลายเป็นเรื่องที่แข็งกระด้างไป กิมย้งกล่าวว่า งานของเขานั้น แก้ให้น้อยดีกว่า ไม่ปรับเปลี่ยนเลยก็จะดีที่สุด
หันมาพูดถึงโชคความสุขในชีวิต กิมย้งบอกว่า “โชคดีที่สุดในชีวิตของผมคือ พ่อแม่ไม่ตาย พวกเราได้ฝ่าฟันยุคสงครามกันมา ต้องนอนคว่ำหน้าบนพื้นกันหลายครั้ง ล้อมๆตัวมีแต่ระเบิด ปืนกลตระเวนส่องไปมา ตอนที่ต้องระหกระเหินพเนจร สวมเพียงรองเท้าหญ้าฟาง หนาวมากๆ ทั้งไม่มีข้าวกิน ทุกวันนี้ เมื่อคิดถึงชีวิตที่ลำบากเหล่านี้ รู้สึกเป็นการฝึกการต่อสู้ที่ดีมาก ผมไม่กลัวตายเลย”
ความสนใจส่วนตัวทุกวันนี้ ก็ยังเป็นการอ่านหนังสือ “หากมีทางเลือก 2 ทาง คือให้ติดคุก 10 ปี แต่มีเสรีภาพในการอ่านหนังสือ กับอีกทางคือ มีเสรีภาพในโลกภายนอก แต่ไม่สามารถอ่านหนังสือ ผมขอเลือกทางแรกคือขอติดคุกดีกว่า”
อ่านต่อหน้าสอง: ชีวิต...งาน...เกียรติยศ
....ชีวิต...งาน....เกียรติยศ...
“จินตนาการไม่ออกเลยว่า หากไม่มีนิยายกำลังภายในของกิมย้ง โลกวรรณกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 คงจะจืดชืดไปถนัด คุณจาได้พิสูจน์มุมมองทฤษฎีอย่างหนึ่งของวรรณกรรมบริสุทธิ์ .....ว่าสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เขียนอะไร แต่อยู่ที่เขียนอย่างไร” อี่ว์ฮุ่ย (宇慧)
ข้อมูลส่วนตัว:
ชื่อ: จินยง (กิมย้ง)
ชื่อเดิม: จาเหลียงยง
ชื่อภาษอังกฤษ: Louis Cha
วันเดือนปีเกิด: 6 มิถุนายน ค.ศ.1924 ( พ.ศ. 2467), ปีจอ, ราศีลัคนาปลาคู่* ปัจจุบัน (ปี 2006) อายุ 82 ปี
(*ในทางโหราศาสตร์ ผู้เกิดเดือนมิถุนายน ที่มีลัคนาอยู่ในราศีมีนซึ่งมีสัญลักษณ์ปลาคู่ หมายถึงว่าเวลาที่ผู้คนนั้น ถือกำเนิดออกมา กลุ่มดาวปลาคู่กำลังขึ้นอยู่ที่ริมขอบฟ้าด้านตะวันออก)
ศาสนา: พุทธ
บ้านเกิด: เขตไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียงแห่งภาคตะวันออกของจีน
ครอบครัว: เป็นบุตรคนที่สองของตระกูลที่มีฐานะ และมีการศึกษา
สิ่งที่ชอบที่สุด:
นักเขียน: ในประเทศ เสิ่นฉงเหวิน, ต่างประเทศ อเล็กซานเดอร์ ดูมาส์
กวี: ซูตงปอ
บุคคลในประวัติศาสตร์: ฟ่านหลี่ และจางเหลียง
อาหาร: ขนมหวาน
ดนตรีที่ชอบ: เพลงอุปรากรจีนหรืองิ้วผิงจี้ว์ (评剧)ซึ่งงิ้วของชาวจีนในฮวาเป่ย ตงเป่ย อยู่บริเวณเหนือปักกิ่งขึ้นไป
ประเภทภาพยนตร์: ภาพยนตร์เพลงยุคเก่า ภาพยนตร์เพลง-เต้นรำ
ยุคสมัย: ราชวงศ์ถัง
เมืองที่อยากไปอยู่ที่สุด: หังโจว
สิ่งที่อยากทำ: เรียนต่อ, เป็นนักวิชาการ
การศึกษา:
เริ่มการศึกษาปี ค.ศ. 1929 ที่โรงเรียนเจียเซียง ไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง, ปี ค.ศ.1944 เข้าเรียนในภาควิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งรัฐบาลกลาง (中央政治大学) ต่อมาปีค.ศ. 1946ได้ย้ายมาเรียนที่ภาควิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยตงอู๋แห่งเซี่ยงไฮ้ เอกกฎหมายระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2005 ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และขณะนี้ (สิงหาคม 2006) กำลังศึกษาปริญญาเอก ในภาควิชาการศึกษาตะวันออก เอกประวัติศาสตร์จีน ที่ เซนต์ จอห์น คอลเลจ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
อาชีพการงาน:
- ปี ค.ศ. 1947 เริ่มเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ที่เซี่ยงไฮ้ เป็นผู้สื่อข่าวและนักแปลประจำหนังสือพิมพ์ต้ากงเป้า (大公报) ต่อมาได้ย้ายไปประจำที่ฮ่องกง โดยนั่งตำแหน่งก็อปปี้อีดิเตอร์ และปีค.ศ. 1955 เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ ซินหวั่นเป้า (新晚报)ที่นี่เอง จาได้พบกับเฉินเหวินถง? ได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทกัน เฉินได้สร้างแรงบันดาลใจแก่จา
- ปี 1955 เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องแรกเป็นตอนๆลงในซินหวั่นเป้าคือเรื่อง “จอมใจจอมยุทธ” (书剑仇恩录โดยใช้นามปากกาจินยงหรือกิมย้ง
- ปี ค.ศ. 1957 เขาได้ลาออกจากงานหนังสือพิมพ์ มาเป็นผู้กำกับด้านฉาก และผู้เขียนบท ที่ เกรทวอลล์ มูวีฟ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ และบริษัทโฟนิกซ์ ฟิลม์ ระหว่างนี้ ก็ยังเขียนนิยายกำลังภายในเป็นตอนๆ
- ปี ค. ศ. 1959 หวนกลับสู่วงการน้ำหมึก จาได้จับมือกับเสิ่นเป่าซินเพื่อนร่วมชั้นเรียนระดับมัธยม ก่อตั้งหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในฮ่องกง โดยที่จานั่งตำแหน่งบรรณาธิการใหญ่เป็นเวลาหลายปี เขียนบทบรรณาธิการ และนิยายเป็นตอนๆ หมิงเป้าสร้างชื่อเป็นหนังสือพิมพ์ชั้นนำยอดนิยมแห่งฮ่องกง
- ปี ค.ศ.1972 จาเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องสุดท้ายคือ (鹿鼎纪)อุ้ยเซี่ยวป้อ พร้อมประกาศวางปากกาอย่างเป็นทางการ
จากนั้น ได้ใช้เวลาหลายปีในการทบทวนและแก้ไขปรับปรุงงานเขียนของตน
ระหว่างนี้ นิยายกำลังภายในภายใต้นามปากกากิมย้ง ได้รับความนิยมอย่างระเบิดเถิดเทิงในหมู่คนที่พูดภาษาจีนในดินแดนต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็ได้รับการนำไปสร้างภาพยนตร์ ละครทีวีนำเสนอเป็นตอนๆ ตลอดจนละครวิทยุ งิ้วในฮ่องกง ไต้หวัน และแผ่นดินใหญ่
- ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 จาได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกิจกรรมการเมืองในฮ่องกง เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎหมายแม่บทซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฮ่องกง(เบสิก ลอว์) แม้ว่าภายหลังเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่จตุรัสเทียนเหมินในปี ค.ศ.1989 จาได้ลาออกจากสังเวียนการเมือง แต่ก็ยังเข้าร่วมการคณะกรรมาธิการเตรียมการที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 เพื่อดูแลการถ่ายโอนอำนาจปกครองดินแดนฮ่องกงสู่รัฐบาลกลางแห่งปักกิ่ง
- ปี ค.ศ. 1993 จาอำลางานหนังสือพิมพ์ ขายหุ้นในหมิงเป้า จามีสินทรัพย์จากการขายหุ้นหมิงเป้าและค่าลิขสิทธิ์หรือค่าโรยัลตี้จากงานของเขา รวมประมาณ 600 ล้านเหรียญฮ่องกง
เกียรติภูมิ:
จาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมายจากประเทศชั้นนำของโลก มี
รางวัลเกียรติยศจากฝรั่งเศส ได้แก่ Chevalier de la Legion d’Honneur (1992)
Commandeur de l’Ordre des Arts et des Letteres (2004)
และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากอังกฤษ OBE – Order of the British Empire ตลอดจนได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2005
จายังได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์จากกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง, มหาวิทยาลัยหนันคาย, มหาวิทยาลัยชูโจว, มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, มหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหัว, มหาวิทยาลัยฮ่องกง, มหาวิทยาลัยบริชติชโคลัมเบีย, มหาวิทยาลัยเสฉวน มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของเซนต์ แอนโทนี่ คอลเลจ, ออกซ์ฟอร์ด& โรบินสัน คอลเลจ, แคมบริดจ์ และ Wynflete Fellow ของ แมกดาเลน คอลเลจ, ออกซ์ฟอร์ด
อ่านต่อหน้า สาม: นิยายกำลังภายใน 15 เรื่อง ผลงานชิ้นเอกของกิมย้ง
...นิยายกำลังภายใน 15 เรื่อง จากดาบปากกา…
จาได้รังสรรค์งานเขียนทั้งหมด 15 เรื่องด้วยกัน โดยเป็นนิยายกำลังภายใน 14 เรื่อง มีเพียง “เยี่ยว์หนู่เจี้ยน” (越女剑)เรื่องเดียวเป็นเรื่องสั้น นอกไปจากนี้ ยังมีงานเขียนประเภทอื่นๆได้แก่บทบรรณาธิการ บทวิพากษ์วิจารณ์สังคม, ปกิณกะ, เรื่องแปล และบทภาพยนตร์
สำหรับนิยายกำลังภายใน ที่สร้างชื่อให้แก่จา ได้แก่
*(เรียงตามลำดับการเขียน และการเผยแพร่)
1. ซูเจี้ยนเอินโฉวลู่-书剑恩仇录 ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดอะ นิวส์ อีฟนิ่ง โพสต์ปี 1955 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จอมใจจอมยุทธ” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับภาพยนตร์โทรทัศน์
2. ปี้เสี่ยว์ซัน 碧血剑 ตีพิมพ์ครั้งแรกในฮ่องกง คอมเมอร์เชียล เดลี่ ปี 1956 ฉบับพากษ์ไทยของจำลอง พิศนาคะ และน.นพรัตน์ รวมทั้งบทภาพยนตร์ ซึ่งถอดเสียงจากชื่อเรื่องภาษาจีน(แต้จิ๋ว) “เพ็กฮวยเกี่ยม”
3. เส้อเตียวอิงสงจ้วน 射雕英雄传 ตีพิมพ์ครั้งแรกในฮ่องกง คอมเมอร์เชียล เดลี่ ปี 1957 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยก ภาค 1” ส่วนฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อ “ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ”
4. เสี่ยว์ซันเฟยหู 雪山飞狐 เริ่มตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในปี 1959 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จิ้งจอกภูเขาหิมะ” ส่วนภาพยนตร์โทรทัศน์ไทยก็ใช้ชื่อเดียวกันนี้
5. เสินเตียวเสียหลู่ 神雕侠侣 เริ่มตีพิมพ์ ในปี 1959 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยก ภาค 2” ส่วนฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ “เอี้ยก้วย เจ้าอินทรี” และว.ณ.เมืองลุงใช้ “อินทรีเจ้ายุทธจักร”
6. เฟยหูไหว่จ้วน飞狐外传 เริ่มตีพิมพ์ในปี 1960 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จิ้งจอกอหังการ”
7. ไป๋หม่าเซี่ยวซีเฟิง白马啸西风 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “เทพธิดาม้าขาว”
8. ยวนยัง เตา鸳鸯刀ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “อวงเอียตอ” สำหรับ “อวงเอียตอ”ฉบับภาษาไทยนี้ รวมเล่มเดียวกับ “กระบี่นางพญา”
9. อี่เทียนถู่หลงจี้ 倚天屠龙记ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยกภาคสามและสี่” สำหรับฉบับแปลโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “ดาบมังกรหยก
10. เหลียนเฉิงเจี๋ยว์ 连城诀 ตีพิมพ์ครั้งแรกในเซาท์ อีสต์ เอเชียวีคลีปี 1963 ฉบับแปลพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “หลั่งเลือดมังกร” ต่อมาผู้แปลคนเดียวกันใช้ชื่อเรื่องใหม่ว่า “กระบี่ใจพิสุทธิ์” ส่วนภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ชื่อ “มังกรสะท้านบู๊ลิ้ม”
11. เทียนหลงปาปู้ 天龙八部 ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1963 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า” ส่วนฉบับแปลโดยจำลอง พิศนาคะชื่อเรื่อง “มังกรหยกภาคห้า” หรือ “มังกรหยกภาคสมบูรณ์”
12. เสียเค่อสิง 侠客行 ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1965 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “เทพบุตรทลายฟ้า”
13. เซี่ยวอาวเจียงหู 笑傲江湖 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1967 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร”
14. ลู่ติ๋งจี้ 鹿鼎记 ตีพิมพ์ปี 1969-1972 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “อุ้ยเซี่ยวป้อ”
15. เยี่ยว์หนี่ว์เจี้ยน 越女剑 ตีพิมพ์ 1970 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “กระบี่นางพญา” สำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ชื่อเรื่องเดียวกันนี้ สำหรับ “กระบี่นางพญา”ฉบับภาษาไทยนี้ รวมเล่มเดียวกันกับ “อวงเอียตอ” และ “เทพธิดาม้าขาว”
*ชื่อเรื่องแปลว่า จอมยุทธสาวแห่งแคว้นเยี่ยว์ (แคว้นเยี่ยว์แห่งยุคชุนชิวจ้านกั่ว 770-221 ก่อนคริสต์ศักราช อยู่บริเวณที่เป็นมณฑลเจ้อเจียงปัจจุบัน ในยุคนั้น เป็นดินแดนของคนที่พูดภาษาตระกูลไท)
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึงค.ศ. 1980 กิมย้งได้ปรับปรุงแก้ไขงานประพันธ์ของตนทั้งหมด และได้ระบุกำกับเป็น “ฉบับปรับปรุงใหม่” และระหว่างปี ค.ศ.1999 ถึง ค.ศ.2006 ยังได้ปรับปรุงแก้ไขนิยายเหล่านี้ เป็นครั้งที่สอง (อาจเป็นครั้งสุดท้าย) และเสร็จเรียบร้อยในต้นปี ค.ศ. 2006
*สำหรับเรื่อง ลูติ่งจี้ หรืออุ้ยเสียวป้อ หากใครที่อ่านภาษาจีน อยากหาซื้อฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด สังเกตคำว่า 世纪新修版 (ฉบับปรับปรุงใหม่แห่งศตวรรษ ) หรือ 新修版 หรือ新新修版 ไม่ใช่ 新版 ฉบับแก้ไขปรับปรุงล่าสุดนี้ กิมย้งได้ตอบกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ในงานชิ้นนี้ของเขาไว้ด้วย
...มีอะไรในดงอักษรของกิมย้ง …
สำหรับสารัตถะของนิยายของกิมย้ง มักมุ่งไปที่ลัทธิชาตินิยมจีน นิยายหลายเรื่องของเขาให้ความสำคัญอย่างมากแก่อัตลักษณ์ของชาวฮั่น(จีน) งานหลายชิ้น เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ในช่วงที่ฮั่นถูกคุกคามหรือยึดครองโดยชนชาติจากดินแดนเหนือ อาทิ คีตัน, หนี่ว์เจิน, มองโกล หรือแมนจู อย่างไรก็ตาม จินยงก็ค่อยๆผนวกลัทธิชาตินิยมจีนเข้ากับแนวคิดของนักลัทธิผสมผสาน (inclusionist) ซึ่งได้รวมฮั่นเข้ากับชนส่วนน้อย กิมย้งยังได้แสดงความชื่นชมต่อความโดดเด่นทางบุคลิกของชนเผ่าอื่นอย่างมองโกล และแมนจู อาทิ ในมังกรหยกภาคหนึ่ง กิมย้งได้กำหนดเจงกิสข่านและบุตรชาย เป็นผู้ทรงความสามารถ เป็นผู้นำทหารที่ปราดเปรื่อง ต่อสู้กับคอรัปชั่น และข้ารัฐการที่ไร้น้ำยาของฮั่นในยุคราชวงศ์ซ่ง ในอุ้ยเซี่ยวป้อ เขายังฉายภาพลักษณ์ของจักรพรรดิคังซีแห่งแมนจู เป็นผู้ปกครองที่ทรงพระเมตตาและปรีชาสามารถ
นอกจากนี้ นิยายของกิมย้งยังมักได้รับสมญาว่าเป็นเอ็นไซโครพีเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี จารีตขนบธรรมเนียมของชนชาติจีน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านยาแผนจีน การฝังเข็ม ศิลปะการต่อสู้ ดนตรี ลายสือศิลป์ ชา รวมทั้งเรื่องราวของสำนักคิดต่างๆ อย่างขงจื่อ พุทธ และเต๋า ตลอดจนประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน บุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ถูกผสมผสานเข้กับบุคคลที่จินตนาการขึ้น
งานประพันธ์ของกิมย้งยกย่องเชิดชูคุณค่าประเพณีจีนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของขงจื่อ ที่ชี้แนะความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างผู้ปกครองและประชาชน พ่อกับลูก ผู้อาวุโสและผู้น้อย อาจารย์กับศิษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางครั้ง เขาก็ได้ตั้งคำถามกับคุณค่าเหล่านี้ในเงื่อนไขของสังคมยุคสมัยใหม่ ดังที่สะท้อนในมังกรหยกภาคสอง จากชีวิตที่ถูกขับออกจากสังคมและความรักแสนโรแมนติกระหว่างหยังกั้ว (เอี้ยก้วย) และเสี่ยวหลงหนี่ว์ (เสียวเล้งนึ้ง) ซึ่งถือว่าขัดต่อจารีตสังคมที่ถูกครอบงำด้วยความคิดขงจื่ออย่างรุนแรง กิมย้งยังได้ให้ความสำคัญอย่างมากแก่คุณค่าเก่าอาทิ หน้าตาและเกียรติยศ
แต่ที่สุด กิมย้งก็แหกกฎเกณฑ์ทั้งหมดในงานชิ้นสุดท้ายของเขา คือ “อุ้ยเซี่ยวป้อ” โดยกำหนดให้บุคลิกต่อต้านวีรบุรุษแก่ตัวเอกหรือตัวชูโรง
อุ้ยเซี่ยวป้อ เป็นเด็กชายผู้ต่ำต้อยถ่อยสามานย์ที่เกิดในซ่องโสเภณี โลภ ขี้เกียจ ฉ้อฉล เป็นรอยมลทินของประเพณีอันดีงามของสังคม #
ท่านผู้อาวุโส เป็นหนอนหนังสือพันธุ์แท้ เกิดมาเพื่ออ่านหนังสือ ทำหนังสือ และเขียนหนังสือ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่...การอุทิศเหล่านี้ของท่านเป็นที่ประจักษ์เลื่องลือ จนได้รับรางวัลเกียรติยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยาวเหยียดเป็นหางว่าว จากประเทศชั้นนำในปฐพี ไม่ว่าแดนผู้ดี, แดนศิลปะโลก...
ท่านผู้อาวุโสยังสร้างความฮือฮาแก่วงการ ด้วยการเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ในวัย 81 ปี...
ท่านผู้อาวุโสเป็นพ่อผู้ให้กำเนิด ก๊วยเจ็ง อึ้งย้ง เอี้ยก้วย เสียวเล้งนึ้ง อึ้งเอ๊ะสือ จิวแป๊ะทง อาวเอี๊ยงทง อุ้ยเสี่ยวป้อ...ฯลฯ อา!---กิมย้ง...นั่นเอง...
***************
กิมย้งซึ่งมีเสียงในภาษาจีนกลางว่า จินยงเป็นนามปากกาจาเหลียงยงนักเขียนแดนฮ่องกง ที่เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในตั้งแต่ช่วงวัยหนุ่ม 31 ปี และได้แขวนปากกาล้างมือในอ่างทองคำไปแล้วเมื่ออายุ 48 ปี แต่นิยายของท่านก็ยังเป็นดาวเด่นเหนือบรรณพิภพและโลกบันเทิงมาถึงครึ่งศตวรรษ นิยายของกิมย้งได้รับการแปลเป็นฉบับพากษ์ภาษาเกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย นอกจากนี้ ยังมีการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์จอเงิน และภาพยนตร์จอแก้วอย่างนับไม่ถ้วน
ขณะนี้ นิยายกำลังภายในของกิมย้งได้พิชิตยอดขายถึง 300 ล้านเล่มจากทั่วโลก (อาจถึง 1,000 ล้านเล่มด้วยซ้ำ หากนับรวมฉบับที่อยู่ในกองหนังสือเถื่อนหรือละเมิดลิขสิทธิ์)
แม้กิมย้งเองได้จัดให้งานเขียนของตนอยู่ในประเภทนิยายบันเทิงประโลมโลกธรรมดาๆ อย่างไรก็ตาม หลายคนในวงการก็ยกย่องงานประพันธ์ของกิมย้งมีคุณค่าเชิงวรรณกรรมอย่างสมบูรณ์ และประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับสามก๊ก ซ้องกั๋ง ไซอิ๋ว ด้วยเนื้อเรื่องดี แต่งดี เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างยาวนาน
นอกจากได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในมือหนึ่งของโลก กิมย้งยังได้ชื่อว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนบทบรรณาธิการ บทวิพากษ์วิจารณ์สังคมมือหนึ่งแห่งฮ่องกงอีกด้วย ชาวฮ่องกงชอบอ่านบทวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมืองของเขา กระทั่งผู้นำในกรุงวอชิงตันก็ติดตามบทวิพากษ์วิจารณ์ของเขา เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล เพื่อวิเคราะห์มองสังคมจีน
...กิมย้งเล่าเรื่องชีวิตตัว...
เมื่อเร็วๆนี้ กิมย้งได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติชีวิตของท่านว่า เริ่มอ่านหนังสืออย่างดุเดือดตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ ก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด และนิยายแปลของต่างประเทศ ในวัยเยาว์ได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกทั้ง 4 เรื่องของจีน ได้แก่ สามก๊ก (三国演义) ซ้องกั๋ง(水许传) ไซอิ๋ว(西游记) และความฝันในหอแดง (红楼梦)
กิมย้งเล่าถึงวิธีอ่านหนังสือของตนว่า อ่านแบบละเอียดยิบทุกตัวอักษร โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ เมื่อเจอตัวที่ไม่รู้ความหมายก็จะเปิดพจนานุกรมทันที ถ้ายังไม่เจอ ก็จะรีบหาพจนานุกรมเล่มใหญ่มาค้นดู...ให้ถึงที่สุด ซึ่งเปลืองเวลาและเรี่ยวแรงมาก “มันดูเป็นวิธีอ่านหนังสือที่โง่ แต่นานเข้าๆ การอ่านหนังสือก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายหมูๆ”
กิมย้งแจงประโยชน์จากการอ่านหนังสือมีมากมาย ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ ยังเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ยามที่รู้สึกโดดเดี่ยวเหงา ทุกข์ยากกลัดกลุ้มใจ และไม่มีใครเลย เมื่ออ่านหนังสือก็จะรู้สึกดีขึ้น การอ่านหนังสือทำให้จิตใจดีงาม “ผมหวังว่านิยายของผม จะให้เยาวชนมีสำนึกช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม มีความคิดความอ่านรู้จักผิดชอบชั่วดี”
เนื่องจากมีผู้อ่านจำนวนมากชอบเรื่องอุ้ยเซี่ยวป้อ กิมย้งได้เตือนว่า “อย่าเอาอย่างอุ้ยเซี่ยวป้อ ผมสร้างตัวละครนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนยุคสมัย ไม่ได้สะท้อนความชอบคนบุคลิกแบบนี้” และยังได้กล่าวขอโทษ เกี่ยวกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนในบางจุด โดยเฉพาะเรื่องของอิ่นจื้อผิง (尹志平)ที่ให้ภาพลักษณ์ไม่ดี และส่งผลด้านลบแก่สำนึกคิดเต๋า ในฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ได้ตัดตัวอิ่นจื้อผิงออกไป
นอกจากนี้ กิมย้งยังแสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อการนำนิยายของเขาไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ที่หลายๆครั้งมักขาดชีวิตขาดอารมณ์ กลายเป็นเรื่องที่แข็งกระด้างไป กิมย้งกล่าวว่า งานของเขานั้น แก้ให้น้อยดีกว่า ไม่ปรับเปลี่ยนเลยก็จะดีที่สุด
หันมาพูดถึงโชคความสุขในชีวิต กิมย้งบอกว่า “โชคดีที่สุดในชีวิตของผมคือ พ่อแม่ไม่ตาย พวกเราได้ฝ่าฟันยุคสงครามกันมา ต้องนอนคว่ำหน้าบนพื้นกันหลายครั้ง ล้อมๆตัวมีแต่ระเบิด ปืนกลตระเวนส่องไปมา ตอนที่ต้องระหกระเหินพเนจร สวมเพียงรองเท้าหญ้าฟาง หนาวมากๆ ทั้งไม่มีข้าวกิน ทุกวันนี้ เมื่อคิดถึงชีวิตที่ลำบากเหล่านี้ รู้สึกเป็นการฝึกการต่อสู้ที่ดีมาก ผมไม่กลัวตายเลย”
ความสนใจส่วนตัวทุกวันนี้ ก็ยังเป็นการอ่านหนังสือ “หากมีทางเลือก 2 ทาง คือให้ติดคุก 10 ปี แต่มีเสรีภาพในการอ่านหนังสือ กับอีกทางคือ มีเสรีภาพในโลกภายนอก แต่ไม่สามารถอ่านหนังสือ ผมขอเลือกทางแรกคือขอติดคุกดีกว่า”
อ่านต่อหน้าสอง: ชีวิต...งาน...เกียรติยศ
....ชีวิต...งาน....เกียรติยศ...
“จินตนาการไม่ออกเลยว่า หากไม่มีนิยายกำลังภายในของกิมย้ง โลกวรรณกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 คงจะจืดชืดไปถนัด คุณจาได้พิสูจน์มุมมองทฤษฎีอย่างหนึ่งของวรรณกรรมบริสุทธิ์ .....ว่าสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เขียนอะไร แต่อยู่ที่เขียนอย่างไร” อี่ว์ฮุ่ย (宇慧)
ข้อมูลส่วนตัว:
ชื่อ: จินยง (กิมย้ง)
ชื่อเดิม: จาเหลียงยง
ชื่อภาษอังกฤษ: Louis Cha
วันเดือนปีเกิด: 6 มิถุนายน ค.ศ.1924 ( พ.ศ. 2467), ปีจอ, ราศีลัคนาปลาคู่* ปัจจุบัน (ปี 2006) อายุ 82 ปี
(*ในทางโหราศาสตร์ ผู้เกิดเดือนมิถุนายน ที่มีลัคนาอยู่ในราศีมีนซึ่งมีสัญลักษณ์ปลาคู่ หมายถึงว่าเวลาที่ผู้คนนั้น ถือกำเนิดออกมา กลุ่มดาวปลาคู่กำลังขึ้นอยู่ที่ริมขอบฟ้าด้านตะวันออก)
ศาสนา: พุทธ
บ้านเกิด: เขตไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียงแห่งภาคตะวันออกของจีน
ครอบครัว: เป็นบุตรคนที่สองของตระกูลที่มีฐานะ และมีการศึกษา
สิ่งที่ชอบที่สุด:
นักเขียน: ในประเทศ เสิ่นฉงเหวิน, ต่างประเทศ อเล็กซานเดอร์ ดูมาส์
กวี: ซูตงปอ
บุคคลในประวัติศาสตร์: ฟ่านหลี่ และจางเหลียง
อาหาร: ขนมหวาน
ดนตรีที่ชอบ: เพลงอุปรากรจีนหรืองิ้วผิงจี้ว์ (评剧)ซึ่งงิ้วของชาวจีนในฮวาเป่ย ตงเป่ย อยู่บริเวณเหนือปักกิ่งขึ้นไป
ประเภทภาพยนตร์: ภาพยนตร์เพลงยุคเก่า ภาพยนตร์เพลง-เต้นรำ
ยุคสมัย: ราชวงศ์ถัง
เมืองที่อยากไปอยู่ที่สุด: หังโจว
สิ่งที่อยากทำ: เรียนต่อ, เป็นนักวิชาการ
การศึกษา:
เริ่มการศึกษาปี ค.ศ. 1929 ที่โรงเรียนเจียเซียง ไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง, ปี ค.ศ.1944 เข้าเรียนในภาควิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งรัฐบาลกลาง (中央政治大学) ต่อมาปีค.ศ. 1946ได้ย้ายมาเรียนที่ภาควิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยตงอู๋แห่งเซี่ยงไฮ้ เอกกฎหมายระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2005 ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และขณะนี้ (สิงหาคม 2006) กำลังศึกษาปริญญาเอก ในภาควิชาการศึกษาตะวันออก เอกประวัติศาสตร์จีน ที่ เซนต์ จอห์น คอลเลจ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
อาชีพการงาน:
- ปี ค.ศ. 1947 เริ่มเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ที่เซี่ยงไฮ้ เป็นผู้สื่อข่าวและนักแปลประจำหนังสือพิมพ์ต้ากงเป้า (大公报) ต่อมาได้ย้ายไปประจำที่ฮ่องกง โดยนั่งตำแหน่งก็อปปี้อีดิเตอร์ และปีค.ศ. 1955 เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ ซินหวั่นเป้า (新晚报)ที่นี่เอง จาได้พบกับเฉินเหวินถง? ได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทกัน เฉินได้สร้างแรงบันดาลใจแก่จา
- ปี 1955 เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องแรกเป็นตอนๆลงในซินหวั่นเป้าคือเรื่อง “จอมใจจอมยุทธ” (书剑仇恩录โดยใช้นามปากกาจินยงหรือกิมย้ง
- ปี ค.ศ. 1957 เขาได้ลาออกจากงานหนังสือพิมพ์ มาเป็นผู้กำกับด้านฉาก และผู้เขียนบท ที่ เกรทวอลล์ มูวีฟ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ และบริษัทโฟนิกซ์ ฟิลม์ ระหว่างนี้ ก็ยังเขียนนิยายกำลังภายในเป็นตอนๆ
- ปี ค. ศ. 1959 หวนกลับสู่วงการน้ำหมึก จาได้จับมือกับเสิ่นเป่าซินเพื่อนร่วมชั้นเรียนระดับมัธยม ก่อตั้งหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในฮ่องกง โดยที่จานั่งตำแหน่งบรรณาธิการใหญ่เป็นเวลาหลายปี เขียนบทบรรณาธิการ และนิยายเป็นตอนๆ หมิงเป้าสร้างชื่อเป็นหนังสือพิมพ์ชั้นนำยอดนิยมแห่งฮ่องกง
- ปี ค.ศ.1972 จาเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องสุดท้ายคือ (鹿鼎纪)อุ้ยเซี่ยวป้อ พร้อมประกาศวางปากกาอย่างเป็นทางการ
จากนั้น ได้ใช้เวลาหลายปีในการทบทวนและแก้ไขปรับปรุงงานเขียนของตน
ระหว่างนี้ นิยายกำลังภายในภายใต้นามปากกากิมย้ง ได้รับความนิยมอย่างระเบิดเถิดเทิงในหมู่คนที่พูดภาษาจีนในดินแดนต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็ได้รับการนำไปสร้างภาพยนตร์ ละครทีวีนำเสนอเป็นตอนๆ ตลอดจนละครวิทยุ งิ้วในฮ่องกง ไต้หวัน และแผ่นดินใหญ่
- ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 จาได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกิจกรรมการเมืองในฮ่องกง เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎหมายแม่บทซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฮ่องกง(เบสิก ลอว์) แม้ว่าภายหลังเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่จตุรัสเทียนเหมินในปี ค.ศ.1989 จาได้ลาออกจากสังเวียนการเมือง แต่ก็ยังเข้าร่วมการคณะกรรมาธิการเตรียมการที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 เพื่อดูแลการถ่ายโอนอำนาจปกครองดินแดนฮ่องกงสู่รัฐบาลกลางแห่งปักกิ่ง
- ปี ค.ศ. 1993 จาอำลางานหนังสือพิมพ์ ขายหุ้นในหมิงเป้า จามีสินทรัพย์จากการขายหุ้นหมิงเป้าและค่าลิขสิทธิ์หรือค่าโรยัลตี้จากงานของเขา รวมประมาณ 600 ล้านเหรียญฮ่องกง
เกียรติภูมิ:
จาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมายจากประเทศชั้นนำของโลก มี
รางวัลเกียรติยศจากฝรั่งเศส ได้แก่ Chevalier de la Legion d’Honneur (1992)
Commandeur de l’Ordre des Arts et des Letteres (2004)
และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากอังกฤษ OBE – Order of the British Empire ตลอดจนได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2005
จายังได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์จากกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง, มหาวิทยาลัยหนันคาย, มหาวิทยาลัยชูโจว, มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, มหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหัว, มหาวิทยาลัยฮ่องกง, มหาวิทยาลัยบริชติชโคลัมเบีย, มหาวิทยาลัยเสฉวน มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของเซนต์ แอนโทนี่ คอลเลจ, ออกซ์ฟอร์ด& โรบินสัน คอลเลจ, แคมบริดจ์ และ Wynflete Fellow ของ แมกดาเลน คอลเลจ, ออกซ์ฟอร์ด
อ่านต่อหน้า สาม: นิยายกำลังภายใน 15 เรื่อง ผลงานชิ้นเอกของกิมย้ง
...นิยายกำลังภายใน 15 เรื่อง จากดาบปากกา…
จาได้รังสรรค์งานเขียนทั้งหมด 15 เรื่องด้วยกัน โดยเป็นนิยายกำลังภายใน 14 เรื่อง มีเพียง “เยี่ยว์หนู่เจี้ยน” (越女剑)เรื่องเดียวเป็นเรื่องสั้น นอกไปจากนี้ ยังมีงานเขียนประเภทอื่นๆได้แก่บทบรรณาธิการ บทวิพากษ์วิจารณ์สังคม, ปกิณกะ, เรื่องแปล และบทภาพยนตร์
สำหรับนิยายกำลังภายใน ที่สร้างชื่อให้แก่จา ได้แก่
*(เรียงตามลำดับการเขียน และการเผยแพร่)
1. ซูเจี้ยนเอินโฉวลู่-书剑恩仇录 ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดอะ นิวส์ อีฟนิ่ง โพสต์ปี 1955 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จอมใจจอมยุทธ” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับภาพยนตร์โทรทัศน์
2. ปี้เสี่ยว์ซัน 碧血剑 ตีพิมพ์ครั้งแรกในฮ่องกง คอมเมอร์เชียล เดลี่ ปี 1956 ฉบับพากษ์ไทยของจำลอง พิศนาคะ และน.นพรัตน์ รวมทั้งบทภาพยนตร์ ซึ่งถอดเสียงจากชื่อเรื่องภาษาจีน(แต้จิ๋ว) “เพ็กฮวยเกี่ยม”
3. เส้อเตียวอิงสงจ้วน 射雕英雄传 ตีพิมพ์ครั้งแรกในฮ่องกง คอมเมอร์เชียล เดลี่ ปี 1957 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยก ภาค 1” ส่วนฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อ “ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ”
4. เสี่ยว์ซันเฟยหู 雪山飞狐 เริ่มตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในปี 1959 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จิ้งจอกภูเขาหิมะ” ส่วนภาพยนตร์โทรทัศน์ไทยก็ใช้ชื่อเดียวกันนี้
5. เสินเตียวเสียหลู่ 神雕侠侣 เริ่มตีพิมพ์ ในปี 1959 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยก ภาค 2” ส่วนฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ “เอี้ยก้วย เจ้าอินทรี” และว.ณ.เมืองลุงใช้ “อินทรีเจ้ายุทธจักร”
6. เฟยหูไหว่จ้วน飞狐外传 เริ่มตีพิมพ์ในปี 1960 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “จิ้งจอกอหังการ”
7. ไป๋หม่าเซี่ยวซีเฟิง白马啸西风 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “เทพธิดาม้าขาว”
8. ยวนยัง เตา鸳鸯刀ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “อวงเอียตอ” สำหรับ “อวงเอียตอ”ฉบับภาษาไทยนี้ รวมเล่มเดียวกับ “กระบี่นางพญา”
9. อี่เทียนถู่หลงจี้ 倚天屠龙记ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1961 ฉบับพากษ์ไทยโดยจำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อเรื่อง “มังกรหยกภาคสามและสี่” สำหรับฉบับแปลโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “ดาบมังกรหยก
10. เหลียนเฉิงเจี๋ยว์ 连城诀 ตีพิมพ์ครั้งแรกในเซาท์ อีสต์ เอเชียวีคลีปี 1963 ฉบับแปลพากษ์ไทยของน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “หลั่งเลือดมังกร” ต่อมาผู้แปลคนเดียวกันใช้ชื่อเรื่องใหม่ว่า “กระบี่ใจพิสุทธิ์” ส่วนภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ชื่อ “มังกรสะท้านบู๊ลิ้ม”
11. เทียนหลงปาปู้ 天龙八部 ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1963 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า” ส่วนฉบับแปลโดยจำลอง พิศนาคะชื่อเรื่อง “มังกรหยกภาคห้า” หรือ “มังกรหยกภาคสมบูรณ์”
12. เสียเค่อสิง 侠客行 ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1965 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “เทพบุตรทลายฟ้า”
13. เซี่ยวอาวเจียงหู 笑傲江湖 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหมิงเป้าปี 1967 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร”
14. ลู่ติ๋งจี้ 鹿鼎记 ตีพิมพ์ปี 1969-1972 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ใช้ชื่อเรื่อง “อุ้ยเซี่ยวป้อ”
15. เยี่ยว์หนี่ว์เจี้ยน 越女剑 ตีพิมพ์ 1970 ฉบับพากษ์ไทยโดยน.นพรัตน์ ใช้ชื่อเรื่อง “กระบี่นางพญา” สำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์ใช้ชื่อเรื่องเดียวกันนี้ สำหรับ “กระบี่นางพญา”ฉบับภาษาไทยนี้ รวมเล่มเดียวกันกับ “อวงเอียตอ” และ “เทพธิดาม้าขาว”
*ชื่อเรื่องแปลว่า จอมยุทธสาวแห่งแคว้นเยี่ยว์ (แคว้นเยี่ยว์แห่งยุคชุนชิวจ้านกั่ว 770-221 ก่อนคริสต์ศักราช อยู่บริเวณที่เป็นมณฑลเจ้อเจียงปัจจุบัน ในยุคนั้น เป็นดินแดนของคนที่พูดภาษาตระกูลไท)
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึงค.ศ. 1980 กิมย้งได้ปรับปรุงแก้ไขงานประพันธ์ของตนทั้งหมด และได้ระบุกำกับเป็น “ฉบับปรับปรุงใหม่” และระหว่างปี ค.ศ.1999 ถึง ค.ศ.2006 ยังได้ปรับปรุงแก้ไขนิยายเหล่านี้ เป็นครั้งที่สอง (อาจเป็นครั้งสุดท้าย) และเสร็จเรียบร้อยในต้นปี ค.ศ. 2006
*สำหรับเรื่อง ลูติ่งจี้ หรืออุ้ยเสียวป้อ หากใครที่อ่านภาษาจีน อยากหาซื้อฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด สังเกตคำว่า 世纪新修版 (ฉบับปรับปรุงใหม่แห่งศตวรรษ ) หรือ 新修版 หรือ新新修版 ไม่ใช่ 新版 ฉบับแก้ไขปรับปรุงล่าสุดนี้ กิมย้งได้ตอบกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ในงานชิ้นนี้ของเขาไว้ด้วย
...มีอะไรในดงอักษรของกิมย้ง …
สำหรับสารัตถะของนิยายของกิมย้ง มักมุ่งไปที่ลัทธิชาตินิยมจีน นิยายหลายเรื่องของเขาให้ความสำคัญอย่างมากแก่อัตลักษณ์ของชาวฮั่น(จีน) งานหลายชิ้น เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ในช่วงที่ฮั่นถูกคุกคามหรือยึดครองโดยชนชาติจากดินแดนเหนือ อาทิ คีตัน, หนี่ว์เจิน, มองโกล หรือแมนจู อย่างไรก็ตาม จินยงก็ค่อยๆผนวกลัทธิชาตินิยมจีนเข้ากับแนวคิดของนักลัทธิผสมผสาน (inclusionist) ซึ่งได้รวมฮั่นเข้ากับชนส่วนน้อย กิมย้งยังได้แสดงความชื่นชมต่อความโดดเด่นทางบุคลิกของชนเผ่าอื่นอย่างมองโกล และแมนจู อาทิ ในมังกรหยกภาคหนึ่ง กิมย้งได้กำหนดเจงกิสข่านและบุตรชาย เป็นผู้ทรงความสามารถ เป็นผู้นำทหารที่ปราดเปรื่อง ต่อสู้กับคอรัปชั่น และข้ารัฐการที่ไร้น้ำยาของฮั่นในยุคราชวงศ์ซ่ง ในอุ้ยเซี่ยวป้อ เขายังฉายภาพลักษณ์ของจักรพรรดิคังซีแห่งแมนจู เป็นผู้ปกครองที่ทรงพระเมตตาและปรีชาสามารถ
นอกจากนี้ นิยายของกิมย้งยังมักได้รับสมญาว่าเป็นเอ็นไซโครพีเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี จารีตขนบธรรมเนียมของชนชาติจีน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านยาแผนจีน การฝังเข็ม ศิลปะการต่อสู้ ดนตรี ลายสือศิลป์ ชา รวมทั้งเรื่องราวของสำนักคิดต่างๆ อย่างขงจื่อ พุทธ และเต๋า ตลอดจนประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน บุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ถูกผสมผสานเข้กับบุคคลที่จินตนาการขึ้น
งานประพันธ์ของกิมย้งยกย่องเชิดชูคุณค่าประเพณีจีนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของขงจื่อ ที่ชี้แนะความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างผู้ปกครองและประชาชน พ่อกับลูก ผู้อาวุโสและผู้น้อย อาจารย์กับศิษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางครั้ง เขาก็ได้ตั้งคำถามกับคุณค่าเหล่านี้ในเงื่อนไขของสังคมยุคสมัยใหม่ ดังที่สะท้อนในมังกรหยกภาคสอง จากชีวิตที่ถูกขับออกจากสังคมและความรักแสนโรแมนติกระหว่างหยังกั้ว (เอี้ยก้วย) และเสี่ยวหลงหนี่ว์ (เสียวเล้งนึ้ง) ซึ่งถือว่าขัดต่อจารีตสังคมที่ถูกครอบงำด้วยความคิดขงจื่ออย่างรุนแรง กิมย้งยังได้ให้ความสำคัญอย่างมากแก่คุณค่าเก่าอาทิ หน้าตาและเกียรติยศ
แต่ที่สุด กิมย้งก็แหกกฎเกณฑ์ทั้งหมดในงานชิ้นสุดท้ายของเขา คือ “อุ้ยเซี่ยวป้อ” โดยกำหนดให้บุคลิกต่อต้านวีรบุรุษแก่ตัวเอกหรือตัวชูโรง
อุ้ยเซี่ยวป้อ เป็นเด็กชายผู้ต่ำต้อยถ่อยสามานย์ที่เกิดในซ่องโสเภณี โลภ ขี้เกียจ ฉ้อฉล เป็นรอยมลทินของประเพณีอันดีงามของสังคม #