แม้ว่าในปัจจุบัน ต่างเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญอันดับต้นๆ ของโลก แต่กระนั้นค่านิยมดังกล่าวกลับไม่สามารถใช้ได้กับประเทศจีน ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะมีแผนการพัฒนาในหลายๆด้านเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลมากขึ้น แต่ปัญหาทางด้านภาษาก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่หลงเหลืออยู่ในแดนมังกรแห่งนี้
ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของ นายหลิว ผู้บังเอิญพบชายวัยกลางคน 3 รายกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำการล้วงกระเป๋าอยู่บนรถประจำทาง เขาจึงสวมวิญญาณพลเมืองดีกดโทรศัพท์เพื่อโทรแจ้ง 110 (สายด่วนถึงตำรวจรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย) และด้วยความชาญฉลาด นายหลิวได้ส่งภาษาอังกฤษฟุตฟิตฟอไฟ ผ่านสายโทรศัพท์ไปแจ้งความ เพื่อไม่ให้เหล่าโจรไหวตัวทัน
โดยไม่ได้คาดคิด นอกจากโจรจะฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องแล้ว ปลายสายโทรศัพท์ก็ฟังไม่รู้เรื่องด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่านายหลิวจะพยายามโทรไปแจ้งความถึง4 ครั้ง แต่ผลสุดท้ายก็ไม่ได้แจ้งความเพราะโดนปลายสายวางหูใส่เสียทุกที หลังผ่านเหตุระทึกดังกล่าวมาได้ นายหลิวได้แต่ส่ายหน้าระอาและบ่นกับผู้สื่อข่าวว่า “การที่ 110 ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ช่างเป็นอุปสรรคใหญ่ต่องานของตำรวจเสียจริงๆ”
เจอแจ้งความภาษาอังกฤษ 110 ถึงกับงง
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ เมืองฉงชิ่ง ในช่วงเช้าของวันที่ 17 กรกฎาคม ขณะขึ้นรถเมล์สาย 702 เพื่อไปซื้อของนายหลิว แพทย์แผนจีนดีกรีปริญญาโท ได้พบเห็นชายวัยกลางคนซึ่งนั่งอยู่ในเก้าอี้แถวหน้าถัดไปหนึ่งแถวกำลังทำการใช้ใบมีดเกี่ยวกระเป๋าสตางค์ของผู้โดยสารที่นั่งอยู่แถวหน้าเพื่อทำการขโมย
“ตอนนั้นผมได้แต่จ้องเขม็งไปที่ผู้โดยสารที่กำลังโดนขโมยกระเป๋าสตางค์ เพื่อจะบอกเค้า แต่กลับทำให้กลุ่มขโมยไหวตัวทันละหันมาขู่ผมแทน”นายหลิวเล่าถึงเหตุการณ์ระทึก เมื่อเขาพยายามจะส่งสายตาบอกผู้โชคร้ายว่าโดนขโมยสตางค์ กลับทำได้เหล่าโจรรู้ตัวและหันมาตะคอกใส่เขาว่า“มองอะไรวะ!”
ในขณะเดียวกัน ชายอีกคนหนึ่งที่นั่งอยู่แถวสุดท้ายของรถประจำทางก็เดินมาเบียดเพื่อต้อนให้นายหลิวถอยไปยืนอยู่ท้ายรถ และเปิดโอกาสให้คนที่เหลือเดินหน้าทำการล้วงกระเป๋าต่อไป
นายหลิวซึ่งกำลังตกอยู่ในสถาการณ์คับขัน พลันเกิดปฏิภาณขึ้นมาว่าต้องโทรแจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย จึงยกโทรศัพท์ขึ้นมากดหมายเลข 110 และกรอกข้อความแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษลงไปตามสายเพื่อไม่ให้โจรร้ายไหวตัวทัน
แต่ผลปรากฎว่าหลังจากพูดไปแล้วสองประโยค ปลายสายยังคงฟังเขาไม่รู้เรื่อง สุดท้ายก็ชิงวางหูโทรศัพท์ไป นายหลิว พลเมืองดีไม่ย่อท้อ เพียรโทรไปอีกสามครั้ง แต่ผลที่ได้ยังคงเหมือนเดิม
“ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี เลยได้แต่ใช้ภาษาอังกฤษที่พวกโจรฟังไม่รู้เรื่องแจ้งความไป แต่ผลสุดท้ายพวกมันก็หนีไปได้อยู่ดี ”นายหลิวโทษว่าเป็นเพราะ 110 ฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ทำให้เจ้าขโมยทั้ง 3 คนหนีลอยนวลไปได้ในที่สุด
120 ออกตัวเจ้าหน้าที่รู้ภาษาอังกฤษ
นายหลิวเล่าต่อว่า ในการโทรแจ้ง 110 ครั้งสุดท้าย เขาได้ยินคนทางปลายสายตะโกนถามกันเองว่ามีใครที่ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องบ้าง ผลปรากฎว่าไม่มีเสียงตอบใดๆ โทรศัพท์ก็ถูกวางสายไปแล้ว
“ตอนนี้ 120 (สายด่วนถึงโรงพยาบาลเพื่อกู้ชีพผู้ประสบภัย) ทุกๆ กะได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลที่เข้าใจภาษาอังกฤษมาประจำอยู่ด้วย”นายสื่อรั่วเฟยรองผู้อำนวยการศูนย์กู้ชีพประจำเมืองฉงชิ่งกล่าว และให้เหตุผลว่า เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน มาเรียน รวมทั้งเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มดังกล่าว 120 สายด่วนต่อศูนย์กู้ชีพประจำเมืองฉงชิ่ง จึงถือโอกาสในช่วงการประชุมพ่อเมืองเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 5 ของปีที่ผ่านมา เริ่มจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่สามารถติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษได้เข้ามาประจำการทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งรับรักษาพยาบาลในสถานที่ และเจ้าหน้าที่ที่ออกไปรักษาพยาบาลคนเจ็บนอกสถานที่ด้วย
110 อ้างเตรียมแผนรับแจ้งความสองภาษาไว้แล้ว
ส่วน 110 นั้นมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ที่รู้ภาษาอังกฤษประจำการหรือไม่? ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 110 ของหน่วยสันติบาลได้ความว่า
“ในช่วงเวลาดังกล่าว อาจจะพอดีกับที่เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ที่เข้าใจภาษาอังกฤษไม่ได้ประจำการพอดี”ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ 110 กล่าวและยอมรับว่า 110 นั้นมีเจ้าหน้าที่ที่เข้าใจภาษาอังกฤษเพียงไม่กี่คน ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์คนดังกล่าวให้ข้อสังเกตว่าเท่าที่จำได้ก็มีผู้โทรเข้ามาแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นภาษาอังกฤษเพียงแค่สองครั้งเท่านั้น แถมครั้งหนึ่งยังเป็นการแจ้งความเท็จอีกด้วย และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้110 ไม่มีความสามารถในการรับแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษมากนัก
อย่างไรก็ตามผู้ให้สัมภาษณ์คนดังกล่าวย้ำว่า ท่ามกลางแนวโน้มที่ระบบสันติบาลทั่วประเทศมีการรับแจ้งความสองภาษา(จีน อังกฤษ)เพิ่มขึ้นนั้น ทางศูนย์110 เมืองฉงชิ่งเองก็มีแผนการเปิดรับแจ้งความทั้งสองภาษาเช่นกัน ดังนั้นเชื่อว้าในอนาคตเหตุการณ์ผู้รับแจ้งความไม่เข้าใจภาษาอังกฤษน่าจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
เมืองใหญ่ควรมีการรับแจ้งความหลายภาษา
ศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 110 ควรมีการให้บริารรับแจ้งความในหลายภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาท้องถิ่นด้วย”เริ่นฮุ่ยหัว รองคณะบดีวิทยาลัยการสืบสวนคดีอาญา ประจำมหาวิทยาลัยการเมืองและกฏหมายแห่งซีหนันกล่าว และให้ความเห็นว่า กฏหมายการแจ้งความของประเทศจีน มิได้มีกฏห้ามการแจ้งความด้วยภาษาต่างประเทศ ดังนั้นการแจ้งความของนายหลิว นั้นถือว่าถูกต้องตามกฏหมาย
รองคณะบดี เริ่นฮุ่ยหัวยังกล่าวด้วยว่า ในประเทศพัฒนาแล้วเช่นอเมริกานั้นสามารถรับแจ้งความได้หลายภาษา ซึ่งสภาพดังกล่าวได้เป็นความนิยมในระดับสากลแล้ว เนื่องจากหากศูนย์รับแจ้งความไม่มีความสามารถมารถพอเพียง ก็จะไปลดทอนความสามารถในกิจการของตำรวจเองด้วย
เริ่นฮุ่ยหัวแนะนำว่าเมืองใหญ่ที่กำลังก้าวเข้าไปสู่ความเป็นสากลอย่างเมืองฉงชิ่งนั้น ไม่ว่าจะ 110 หรือ 120 ต่างก็จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องของภาษาด้วยกันทั้งสิ้น
“ผมรู้มาว่าแม้แต่ประเทศเยอรมันหรือรัซเซีย ต่างก็สามารถแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษได้” Eben นักศึกษาปริญญาโทชาวแคนาดาซึ่งเดินทางมาศึกษาต่อยังเมืองฉงชิ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าว
ที่มา :sohu.com
ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของ นายหลิว ผู้บังเอิญพบชายวัยกลางคน 3 รายกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำการล้วงกระเป๋าอยู่บนรถประจำทาง เขาจึงสวมวิญญาณพลเมืองดีกดโทรศัพท์เพื่อโทรแจ้ง 110 (สายด่วนถึงตำรวจรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย) และด้วยความชาญฉลาด นายหลิวได้ส่งภาษาอังกฤษฟุตฟิตฟอไฟ ผ่านสายโทรศัพท์ไปแจ้งความ เพื่อไม่ให้เหล่าโจรไหวตัวทัน
โดยไม่ได้คาดคิด นอกจากโจรจะฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องแล้ว ปลายสายโทรศัพท์ก็ฟังไม่รู้เรื่องด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่านายหลิวจะพยายามโทรไปแจ้งความถึง4 ครั้ง แต่ผลสุดท้ายก็ไม่ได้แจ้งความเพราะโดนปลายสายวางหูใส่เสียทุกที หลังผ่านเหตุระทึกดังกล่าวมาได้ นายหลิวได้แต่ส่ายหน้าระอาและบ่นกับผู้สื่อข่าวว่า “การที่ 110 ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ช่างเป็นอุปสรรคใหญ่ต่องานของตำรวจเสียจริงๆ”
เจอแจ้งความภาษาอังกฤษ 110 ถึงกับงง
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ เมืองฉงชิ่ง ในช่วงเช้าของวันที่ 17 กรกฎาคม ขณะขึ้นรถเมล์สาย 702 เพื่อไปซื้อของนายหลิว แพทย์แผนจีนดีกรีปริญญาโท ได้พบเห็นชายวัยกลางคนซึ่งนั่งอยู่ในเก้าอี้แถวหน้าถัดไปหนึ่งแถวกำลังทำการใช้ใบมีดเกี่ยวกระเป๋าสตางค์ของผู้โดยสารที่นั่งอยู่แถวหน้าเพื่อทำการขโมย
“ตอนนั้นผมได้แต่จ้องเขม็งไปที่ผู้โดยสารที่กำลังโดนขโมยกระเป๋าสตางค์ เพื่อจะบอกเค้า แต่กลับทำให้กลุ่มขโมยไหวตัวทันละหันมาขู่ผมแทน”นายหลิวเล่าถึงเหตุการณ์ระทึก เมื่อเขาพยายามจะส่งสายตาบอกผู้โชคร้ายว่าโดนขโมยสตางค์ กลับทำได้เหล่าโจรรู้ตัวและหันมาตะคอกใส่เขาว่า“มองอะไรวะ!”
ในขณะเดียวกัน ชายอีกคนหนึ่งที่นั่งอยู่แถวสุดท้ายของรถประจำทางก็เดินมาเบียดเพื่อต้อนให้นายหลิวถอยไปยืนอยู่ท้ายรถ และเปิดโอกาสให้คนที่เหลือเดินหน้าทำการล้วงกระเป๋าต่อไป
นายหลิวซึ่งกำลังตกอยู่ในสถาการณ์คับขัน พลันเกิดปฏิภาณขึ้นมาว่าต้องโทรแจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย จึงยกโทรศัพท์ขึ้นมากดหมายเลข 110 และกรอกข้อความแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษลงไปตามสายเพื่อไม่ให้โจรร้ายไหวตัวทัน
แต่ผลปรากฎว่าหลังจากพูดไปแล้วสองประโยค ปลายสายยังคงฟังเขาไม่รู้เรื่อง สุดท้ายก็ชิงวางหูโทรศัพท์ไป นายหลิว พลเมืองดีไม่ย่อท้อ เพียรโทรไปอีกสามครั้ง แต่ผลที่ได้ยังคงเหมือนเดิม
“ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี เลยได้แต่ใช้ภาษาอังกฤษที่พวกโจรฟังไม่รู้เรื่องแจ้งความไป แต่ผลสุดท้ายพวกมันก็หนีไปได้อยู่ดี ”นายหลิวโทษว่าเป็นเพราะ 110 ฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ทำให้เจ้าขโมยทั้ง 3 คนหนีลอยนวลไปได้ในที่สุด
120 ออกตัวเจ้าหน้าที่รู้ภาษาอังกฤษ
นายหลิวเล่าต่อว่า ในการโทรแจ้ง 110 ครั้งสุดท้าย เขาได้ยินคนทางปลายสายตะโกนถามกันเองว่ามีใครที่ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องบ้าง ผลปรากฎว่าไม่มีเสียงตอบใดๆ โทรศัพท์ก็ถูกวางสายไปแล้ว
“ตอนนี้ 120 (สายด่วนถึงโรงพยาบาลเพื่อกู้ชีพผู้ประสบภัย) ทุกๆ กะได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลที่เข้าใจภาษาอังกฤษมาประจำอยู่ด้วย”นายสื่อรั่วเฟยรองผู้อำนวยการศูนย์กู้ชีพประจำเมืองฉงชิ่งกล่าว และให้เหตุผลว่า เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน มาเรียน รวมทั้งเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มดังกล่าว 120 สายด่วนต่อศูนย์กู้ชีพประจำเมืองฉงชิ่ง จึงถือโอกาสในช่วงการประชุมพ่อเมืองเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 5 ของปีที่ผ่านมา เริ่มจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่สามารถติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษได้เข้ามาประจำการทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งรับรักษาพยาบาลในสถานที่ และเจ้าหน้าที่ที่ออกไปรักษาพยาบาลคนเจ็บนอกสถานที่ด้วย
110 อ้างเตรียมแผนรับแจ้งความสองภาษาไว้แล้ว
ส่วน 110 นั้นมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ที่รู้ภาษาอังกฤษประจำการหรือไม่? ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 110 ของหน่วยสันติบาลได้ความว่า
“ในช่วงเวลาดังกล่าว อาจจะพอดีกับที่เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ที่เข้าใจภาษาอังกฤษไม่ได้ประจำการพอดี”ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ 110 กล่าวและยอมรับว่า 110 นั้นมีเจ้าหน้าที่ที่เข้าใจภาษาอังกฤษเพียงไม่กี่คน ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์คนดังกล่าวให้ข้อสังเกตว่าเท่าที่จำได้ก็มีผู้โทรเข้ามาแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นภาษาอังกฤษเพียงแค่สองครั้งเท่านั้น แถมครั้งหนึ่งยังเป็นการแจ้งความเท็จอีกด้วย และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้110 ไม่มีความสามารถในการรับแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษมากนัก
อย่างไรก็ตามผู้ให้สัมภาษณ์คนดังกล่าวย้ำว่า ท่ามกลางแนวโน้มที่ระบบสันติบาลทั่วประเทศมีการรับแจ้งความสองภาษา(จีน อังกฤษ)เพิ่มขึ้นนั้น ทางศูนย์110 เมืองฉงชิ่งเองก็มีแผนการเปิดรับแจ้งความทั้งสองภาษาเช่นกัน ดังนั้นเชื่อว้าในอนาคตเหตุการณ์ผู้รับแจ้งความไม่เข้าใจภาษาอังกฤษน่าจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
เมืองใหญ่ควรมีการรับแจ้งความหลายภาษา
ศูนย์รับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 110 ควรมีการให้บริารรับแจ้งความในหลายภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาท้องถิ่นด้วย”เริ่นฮุ่ยหัว รองคณะบดีวิทยาลัยการสืบสวนคดีอาญา ประจำมหาวิทยาลัยการเมืองและกฏหมายแห่งซีหนันกล่าว และให้ความเห็นว่า กฏหมายการแจ้งความของประเทศจีน มิได้มีกฏห้ามการแจ้งความด้วยภาษาต่างประเทศ ดังนั้นการแจ้งความของนายหลิว นั้นถือว่าถูกต้องตามกฏหมาย
รองคณะบดี เริ่นฮุ่ยหัวยังกล่าวด้วยว่า ในประเทศพัฒนาแล้วเช่นอเมริกานั้นสามารถรับแจ้งความได้หลายภาษา ซึ่งสภาพดังกล่าวได้เป็นความนิยมในระดับสากลแล้ว เนื่องจากหากศูนย์รับแจ้งความไม่มีความสามารถมารถพอเพียง ก็จะไปลดทอนความสามารถในกิจการของตำรวจเองด้วย
เริ่นฮุ่ยหัวแนะนำว่าเมืองใหญ่ที่กำลังก้าวเข้าไปสู่ความเป็นสากลอย่างเมืองฉงชิ่งนั้น ไม่ว่าจะ 110 หรือ 120 ต่างก็จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องของภาษาด้วยกันทั้งสิ้น
“ผมรู้มาว่าแม้แต่ประเทศเยอรมันหรือรัซเซีย ต่างก็สามารถแจ้งความเป็นภาษาอังกฤษได้” Eben นักศึกษาปริญญาโทชาวแคนาดาซึ่งเดินทางมาศึกษาต่อยังเมืองฉงชิ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าว
ที่มา :sohu.com