ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า อักษรจีนนั้นพัฒนามาจาก “อักษรภาพ” คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำพูดในภาษาดั้งเดิมของจีนนั้น สื่อแสดงด้วยภาพเหมือนจริง แล้วต่อๆ มา มีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไป
ทุกวันนี้ ทั่วโลกกำลังนิยมเรียนภาษาจีน ขนาดปกนิตยสาร TIME ฉบับล่าสุดยังขึ้นปกเรื่องการเรียนภาษาจีน วิธีเรียนภาษาจีนให้จดจำได้ง่ายขึ้นวิธีหนึ่งคือ เริ่มต้นเรียนว่าอักษรจีนพัฒนามาจากภาพอะไร
วิธีดังกล่าวก็มีข้อดี แต่ผมไม่ได้เริ่มต้นเรียนด้วยวิธีนั้น
ผมเริ่มต้นจากศูนย์ ใช้เวลาสามเดือนในมหาวิทยาลัยที่เซี่ยงไฮ้เรียนภาษาหลักสูตรเข้มข้น (แทบบ้า) แล้วก็เริ่มต้นเรียนวิชาการด้านอื่นเลย วิธีเรียนใช้ท่องจำเป็นหลัก ท่อง และฝึกเขียนตลอดวันและตลอดคืน (ตอนยังไม่หลับ) ท่องจำบทสนทนาไปพูดหน้าชั้นให้ได้ทุกวัน มันหนักเหนื่อยเกือบเป็นบ้าจริงๆ แต่ก็ได้ผล ตัวผมและเพื่อนๆ ยืนยันได้ว่าสามารถเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐานให้ใช้งานได้ภายในสามเดือนครับ
เอาเถอะ ถ้าเรียนในเมืองไทยนี้ ก็ยากจะทำได้ขนาดนั้น
การวิเคราะห์ตัวอักษรจีน ย่อยออกมาว่า มันประกอบด้วยอักษรมีความหมายอย่างไรบ้าง นอกจากจะช่วยการจดจำแล้ว ก็ยังสามารถแตกประเด็นทำเป็นเรื่องสนุกๆ ได้ความรู้ด้านอื่นๆ อีกด้วย
ผมจะลองวิเคราะห์ตัวอักษรคำว่า “เงิน” 钱 ว่ามันสนุกอย่างไร
คำว่า “เงิน” ที่หมายถึงโลหะเงินนั้น จีน-ไท (ไม่มี ย-ยักษ์ หมายความถึงชนชาติที่ใช้ภาษาตระกูลภาษาไทที่กระจายอยู่ทั้งในจีน ไทย ลาว พม่า อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม) ใช้ร่วมกัน จีนกลางออกเสียงว่า 银 yin อิ๋น สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า “งึ้ง”
สิ่งที่เป็นเงินตรานั้น ในอดีตมีวัตถุหลายอย่างใช้เป็นเงินตรา เช่น หอยเบี้ย
หอยเบี้ยนี้แพร่หลายขึ้นไปถึงตงง้วน-จีนภาคเหนือ ส่วนในยูนนานนั้นใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตรามีหลักฐานชัดเจน เกลือ (เป็นก้อน) ก็เคยใช้เป็นเงินตรา ต่อมาใช้โลหะทำเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นเงินตรา ต่อมาอีกก็เกิดเงินกระดาขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน มาถึงสมัยนี้เป็นเงินไซเบอร์อยู่ในสมาร์ทการ์ด
ไทยเราเรียกเงินตราว่า “เบี้ย”, “เงินพดด้วง” ฯ
จีนเรียกเงินตราว่า “钱เฉียน”
คำนี้ประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหน้าคือคำว่า “金– จิน (กิม)” หมายถึง 1.โลหะ 2.ทองคำ (คำนี้ ไท-จีน ก็ใช้ร่วมกันอีกคือคำว่า “(ทอง)คำ” นั่นเอง) และคำว่า “เกอ—戈“ แปลว่า ดาบขอ เป็นอาวุธโบราณ มีปลายแหลมทั้งด้านตรงและยื่นออกไปด้านข้าง
“เงินตรา” เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นหลังจากสังคมพัฒนาขึ้นมากแล้ว พลังการผลิตคือความสามารถของมนุษย์ในการเพาะปลูก ทำสินค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จนต้องหาสิ่งของที่พกพาสะดวกมาเป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนกันยามซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าซื้อขายกันในยุคดึกดำบรรพ์นั้น คนเราต้องเอาตัวสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง อย่างเช่น เอาปลาไปแลกกับฝ้าย (สำหรับนำมาทอแห) เอาเนื้อสัตว์ไปแลกกับหม้อดิน เป็นต้น เมื่อมี “เงินตรา” แล้วการแลกเปลี่ยนสินค้าก็สะดวก ขยายตัวมากขึ้น
ใครมีหม้อดินมาก จึงไม่แน่ว่าจะรวย ใครมีปลามากก็ไม่แน่ว่าจะรวย
แต่ใครมีเงินตรามาก ย่อมร่ำรวยแน่นอน เพราะมีปลาก็ไม่แน่ว่าจะนำไปแลกกับสินค้าอื่นได้ แต่มีเงินตรามาก สามารถนำไปแลกเอาสินค้าอะไรก็ได้ แม้แต่วิญญาณมนุษย์
เงินตราเพิ่มบทบาทครอบงำจิตใจมนุษย์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเงินกลายเป็นพระเจ้าของผู้คนมากมายไปแล้ว ยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์เสรีนิยมปัจจุบันนี้ เงินตราคือพระเจ้าที่แท้จริง
ภาษิตจีนที่เกี่ยวกับเงิน มีหลายบท เช่น “มีเงินก็ใช้ผีมาโม่แป้งได้” แสบสันดีไหมล่ะ เหมือนกับเมืองไทยยุคนี้ ที่ผู้นำใช้เงินซื้อทุกอย่าง
เงินตรามันเป็นที่หมายปองของคนจำนวนมาก ตัวอักษรจีนใช้คำว่า “(ทอง) คำ” อันหมายถึงความมีค่า สูงราคา หายาก มาประกอบกับคำว่าอาวุธมีคม ก็บ่งบอกนัยที่น่าสะเทือนในเหมือนกัน
จะมองว่า การขุดค้นหาแร่ทองคำ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือขุดค้น ก็ไม่น่าเหมาะนัก เพราะสามารถใช้อักษรที่หมายถึงเครื่องมือขุดได้อย่างตรงไปตรงมา
เหตุไฉนจึงใช้อักษรว่าเกอ อันหมายถึงอาวุธ ซึ่งอาจมองได้ว่า หมายถึงดาบสองด้าม คือมีทั้งปลายแหลมด้านตรง และปลายแหลมที่ยื่นออกไปด้านขวาง
อักษร “เกอ” คงจะหมายถึงการต้องใช้อาวุธปกปักรักษาทองคำ หรือใช้อาวุธแย่งชิงทองคำ นั่นคือการบ่งบอกถึงบทบาทของ “เงินตรา” ได้ดีทีเดียว
ที่ไหนมีเงิน ที่นั่นมีการต่อสู้แย่งชิง ฆ่าฟัน
การวิเคราะห์อย่างนั้นอาจจะดูโหดร้ายไปหน่อย ลองดูการวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง
บางคนมองว่า คำว่า “เกอ” ที่ตีความได้ว่าหมายถึงดาบสองเล่มนั้น บอกนัยว่า การจะหาเงินมาได้ คนเราต้องใช้ดาบสองเล่ม ดาบนั้นไม่ใช้อาวุธ แต่บอกนัยว่ามันคือ สองสิ่งได้แก่ “ความคิด 想” กับ “การกระทำ 做”
ต้องมี “ความคิด” ที่กว้างขวาง รอบด้าน คมคาย ลึกซึ้ง หรือสรุปว่าต้องมีความคิดที่ดี ที่ถูกต้อง จึงจะได้เงินมา
ต้องมี “การกระทำ” ที่ยืนหยัดมั่นคง เอาจริงเอาจัง มีวิริยะอุตสาหะ จึงจะได้เงินมา
ส่วนคำว่า “ทองคำ 金” ก็สามารถวิเคราะห์ให้เข้าไปโยงใยกับปรัชญาการทำงานได้เหมือนกัน ข้างบนอักษร “จิน” (金) คือคำว่า “คน 人” ข้างล่างมีขีดขวาง 3 ขีด และจุดอีก 2 จุด
ขีดขวาง 3 ขีด หมายถึง คนเราต้องมีความสามารถ 3 ด้าน
ขีดตั้ง 1 ขีด หมายถึง คนเราต้องตั้งมั่นยืนหยัด ทำงานด้วยความรู้ความสามารถสามด้านข้างต้น
สองจุดนั้น หมายถึง ต้องแบกรับทำงานอย่างอดทนด้วยสองแขนสองขา อย่างขยันขันแข็ง จึงจะได้เงินมา
ความสามารถ 3 ด้าน คืออะไรหรือ
เงินตราจีนยุคที่พัฒนาขึ้นมาเป็นเหรียญโลหะแล้วนั้น ตัวเหรียญเป็นรูปกลม 圆 แต่รูภายในเหรียญเป็นรูปเหลี่ยม 方 เหลี่ยมกับกลมต้องประสานกัน ใช้อย่างถูกต้อง จึงจะประสบความสำเร็จ หาเงินมาเลี้ยงชีพได้
“กลม” ก็คือความยืดหยุ่น การปรับตัว ความใจกว้าง การเอื้ออาทร การอะลุ้มอล่วย การดำเนินชีวิตในสังคม ถ้าไม่มีด้านกลม มีแต่ความเถรตรง (เหลี่ยม) ก็ต้องกระทบกระทั่งกับคนอื่นตลอด ลัทธิขงจื๊อเน้นสั่งสอนเรื่องการวางตัวให้ดีงามเหมาะสมในสังคม เน้นความยืดหยุ่น จึงถูกมองว่าคือความกลม 圆
“เหลี่ยม 方” หมายถึง วิธีการ ซึ่งภาษาจีนออกเสียงว่า “ฟางฝ่า” 方法 และหลักเหตุผล 道理 การปฏิบัติตนของคนจีนสมัยโบราณนั้น ต่อตนเองเรียกร้องให้ซื่อตรง ละวาง เรียบง่าย ด้วยความคิดของลัทธิเต๋า 道 จึงถูกมองว่านี่คือด้าน “เหลี่ยม” (ตรง) ต่อภายนอกเรียกร้องให้ประนีประนอม อะลุ้มอล่วย เข้าได้กับสภาวะความเป็นจริงในสังคม ตามแนวคิดลัทธิขงจื้อ จึงถูกมองว่านี่คือด้าน “กลม”
ความสามารถอีกด้านหนึ่งที่คนเราต้องมี คือความคิดแบบ “พุทธ”
เขียนให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความรู้ความสามารถที่คนเราต้องมี ก็คือแนวคิดของ ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธ นั่นเอง คนเราต้องวิริยะอุตสาหะทำงานโดยมีความคิดสามประการชี้นำ แบกรับงานหนักด้วยสองแขนสองขา จึงจะได้เงินทองมา
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ อาจนึกยิ้มเยาะในใจว่า มั่นคงอยู่ในหลักธรรมของขงจื๊อ เต๋า และพุทธแล้ว จะหาเงินได้หรือ เรื่องนี้ผมเปิดเวทีให้ถกเถียงกันเองดีกว่านะครับ.
ทุกวันนี้ ทั่วโลกกำลังนิยมเรียนภาษาจีน ขนาดปกนิตยสาร TIME ฉบับล่าสุดยังขึ้นปกเรื่องการเรียนภาษาจีน วิธีเรียนภาษาจีนให้จดจำได้ง่ายขึ้นวิธีหนึ่งคือ เริ่มต้นเรียนว่าอักษรจีนพัฒนามาจากภาพอะไร
วิธีดังกล่าวก็มีข้อดี แต่ผมไม่ได้เริ่มต้นเรียนด้วยวิธีนั้น
ผมเริ่มต้นจากศูนย์ ใช้เวลาสามเดือนในมหาวิทยาลัยที่เซี่ยงไฮ้เรียนภาษาหลักสูตรเข้มข้น (แทบบ้า) แล้วก็เริ่มต้นเรียนวิชาการด้านอื่นเลย วิธีเรียนใช้ท่องจำเป็นหลัก ท่อง และฝึกเขียนตลอดวันและตลอดคืน (ตอนยังไม่หลับ) ท่องจำบทสนทนาไปพูดหน้าชั้นให้ได้ทุกวัน มันหนักเหนื่อยเกือบเป็นบ้าจริงๆ แต่ก็ได้ผล ตัวผมและเพื่อนๆ ยืนยันได้ว่าสามารถเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐานให้ใช้งานได้ภายในสามเดือนครับ
เอาเถอะ ถ้าเรียนในเมืองไทยนี้ ก็ยากจะทำได้ขนาดนั้น
การวิเคราะห์ตัวอักษรจีน ย่อยออกมาว่า มันประกอบด้วยอักษรมีความหมายอย่างไรบ้าง นอกจากจะช่วยการจดจำแล้ว ก็ยังสามารถแตกประเด็นทำเป็นเรื่องสนุกๆ ได้ความรู้ด้านอื่นๆ อีกด้วย
ผมจะลองวิเคราะห์ตัวอักษรคำว่า “เงิน” 钱 ว่ามันสนุกอย่างไร
คำว่า “เงิน” ที่หมายถึงโลหะเงินนั้น จีน-ไท (ไม่มี ย-ยักษ์ หมายความถึงชนชาติที่ใช้ภาษาตระกูลภาษาไทที่กระจายอยู่ทั้งในจีน ไทย ลาว พม่า อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม) ใช้ร่วมกัน จีนกลางออกเสียงว่า 银 yin อิ๋น สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า “งึ้ง”
สิ่งที่เป็นเงินตรานั้น ในอดีตมีวัตถุหลายอย่างใช้เป็นเงินตรา เช่น หอยเบี้ย
หอยเบี้ยนี้แพร่หลายขึ้นไปถึงตงง้วน-จีนภาคเหนือ ส่วนในยูนนานนั้นใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตรามีหลักฐานชัดเจน เกลือ (เป็นก้อน) ก็เคยใช้เป็นเงินตรา ต่อมาใช้โลหะทำเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นเงินตรา ต่อมาอีกก็เกิดเงินกระดาขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน มาถึงสมัยนี้เป็นเงินไซเบอร์อยู่ในสมาร์ทการ์ด
ไทยเราเรียกเงินตราว่า “เบี้ย”, “เงินพดด้วง” ฯ
จีนเรียกเงินตราว่า “钱เฉียน”
คำนี้ประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหน้าคือคำว่า “金– จิน (กิม)” หมายถึง 1.โลหะ 2.ทองคำ (คำนี้ ไท-จีน ก็ใช้ร่วมกันอีกคือคำว่า “(ทอง)คำ” นั่นเอง) และคำว่า “เกอ—戈“ แปลว่า ดาบขอ เป็นอาวุธโบราณ มีปลายแหลมทั้งด้านตรงและยื่นออกไปด้านข้าง
“เงินตรา” เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นหลังจากสังคมพัฒนาขึ้นมากแล้ว พลังการผลิตคือความสามารถของมนุษย์ในการเพาะปลูก ทำสินค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จนต้องหาสิ่งของที่พกพาสะดวกมาเป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนกันยามซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าซื้อขายกันในยุคดึกดำบรรพ์นั้น คนเราต้องเอาตัวสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง อย่างเช่น เอาปลาไปแลกกับฝ้าย (สำหรับนำมาทอแห) เอาเนื้อสัตว์ไปแลกกับหม้อดิน เป็นต้น เมื่อมี “เงินตรา” แล้วการแลกเปลี่ยนสินค้าก็สะดวก ขยายตัวมากขึ้น
ใครมีหม้อดินมาก จึงไม่แน่ว่าจะรวย ใครมีปลามากก็ไม่แน่ว่าจะรวย
แต่ใครมีเงินตรามาก ย่อมร่ำรวยแน่นอน เพราะมีปลาก็ไม่แน่ว่าจะนำไปแลกกับสินค้าอื่นได้ แต่มีเงินตรามาก สามารถนำไปแลกเอาสินค้าอะไรก็ได้ แม้แต่วิญญาณมนุษย์
เงินตราเพิ่มบทบาทครอบงำจิตใจมนุษย์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเงินกลายเป็นพระเจ้าของผู้คนมากมายไปแล้ว ยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์เสรีนิยมปัจจุบันนี้ เงินตราคือพระเจ้าที่แท้จริง
ภาษิตจีนที่เกี่ยวกับเงิน มีหลายบท เช่น “มีเงินก็ใช้ผีมาโม่แป้งได้” แสบสันดีไหมล่ะ เหมือนกับเมืองไทยยุคนี้ ที่ผู้นำใช้เงินซื้อทุกอย่าง
เงินตรามันเป็นที่หมายปองของคนจำนวนมาก ตัวอักษรจีนใช้คำว่า “(ทอง) คำ” อันหมายถึงความมีค่า สูงราคา หายาก มาประกอบกับคำว่าอาวุธมีคม ก็บ่งบอกนัยที่น่าสะเทือนในเหมือนกัน
จะมองว่า การขุดค้นหาแร่ทองคำ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือขุดค้น ก็ไม่น่าเหมาะนัก เพราะสามารถใช้อักษรที่หมายถึงเครื่องมือขุดได้อย่างตรงไปตรงมา
เหตุไฉนจึงใช้อักษรว่าเกอ อันหมายถึงอาวุธ ซึ่งอาจมองได้ว่า หมายถึงดาบสองด้าม คือมีทั้งปลายแหลมด้านตรง และปลายแหลมที่ยื่นออกไปด้านขวาง
อักษร “เกอ” คงจะหมายถึงการต้องใช้อาวุธปกปักรักษาทองคำ หรือใช้อาวุธแย่งชิงทองคำ นั่นคือการบ่งบอกถึงบทบาทของ “เงินตรา” ได้ดีทีเดียว
ที่ไหนมีเงิน ที่นั่นมีการต่อสู้แย่งชิง ฆ่าฟัน
การวิเคราะห์อย่างนั้นอาจจะดูโหดร้ายไปหน่อย ลองดูการวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง
บางคนมองว่า คำว่า “เกอ” ที่ตีความได้ว่าหมายถึงดาบสองเล่มนั้น บอกนัยว่า การจะหาเงินมาได้ คนเราต้องใช้ดาบสองเล่ม ดาบนั้นไม่ใช้อาวุธ แต่บอกนัยว่ามันคือ สองสิ่งได้แก่ “ความคิด 想” กับ “การกระทำ 做”
ต้องมี “ความคิด” ที่กว้างขวาง รอบด้าน คมคาย ลึกซึ้ง หรือสรุปว่าต้องมีความคิดที่ดี ที่ถูกต้อง จึงจะได้เงินมา
ต้องมี “การกระทำ” ที่ยืนหยัดมั่นคง เอาจริงเอาจัง มีวิริยะอุตสาหะ จึงจะได้เงินมา
ส่วนคำว่า “ทองคำ 金” ก็สามารถวิเคราะห์ให้เข้าไปโยงใยกับปรัชญาการทำงานได้เหมือนกัน ข้างบนอักษร “จิน” (金) คือคำว่า “คน 人” ข้างล่างมีขีดขวาง 3 ขีด และจุดอีก 2 จุด
ขีดขวาง 3 ขีด หมายถึง คนเราต้องมีความสามารถ 3 ด้าน
ขีดตั้ง 1 ขีด หมายถึง คนเราต้องตั้งมั่นยืนหยัด ทำงานด้วยความรู้ความสามารถสามด้านข้างต้น
สองจุดนั้น หมายถึง ต้องแบกรับทำงานอย่างอดทนด้วยสองแขนสองขา อย่างขยันขันแข็ง จึงจะได้เงินมา
ความสามารถ 3 ด้าน คืออะไรหรือ
เงินตราจีนยุคที่พัฒนาขึ้นมาเป็นเหรียญโลหะแล้วนั้น ตัวเหรียญเป็นรูปกลม 圆 แต่รูภายในเหรียญเป็นรูปเหลี่ยม 方 เหลี่ยมกับกลมต้องประสานกัน ใช้อย่างถูกต้อง จึงจะประสบความสำเร็จ หาเงินมาเลี้ยงชีพได้
“กลม” ก็คือความยืดหยุ่น การปรับตัว ความใจกว้าง การเอื้ออาทร การอะลุ้มอล่วย การดำเนินชีวิตในสังคม ถ้าไม่มีด้านกลม มีแต่ความเถรตรง (เหลี่ยม) ก็ต้องกระทบกระทั่งกับคนอื่นตลอด ลัทธิขงจื๊อเน้นสั่งสอนเรื่องการวางตัวให้ดีงามเหมาะสมในสังคม เน้นความยืดหยุ่น จึงถูกมองว่าคือความกลม 圆
“เหลี่ยม 方” หมายถึง วิธีการ ซึ่งภาษาจีนออกเสียงว่า “ฟางฝ่า” 方法 และหลักเหตุผล 道理 การปฏิบัติตนของคนจีนสมัยโบราณนั้น ต่อตนเองเรียกร้องให้ซื่อตรง ละวาง เรียบง่าย ด้วยความคิดของลัทธิเต๋า 道 จึงถูกมองว่านี่คือด้าน “เหลี่ยม” (ตรง) ต่อภายนอกเรียกร้องให้ประนีประนอม อะลุ้มอล่วย เข้าได้กับสภาวะความเป็นจริงในสังคม ตามแนวคิดลัทธิขงจื้อ จึงถูกมองว่านี่คือด้าน “กลม”
ความสามารถอีกด้านหนึ่งที่คนเราต้องมี คือความคิดแบบ “พุทธ”
เขียนให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความรู้ความสามารถที่คนเราต้องมี ก็คือแนวคิดของ ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธ นั่นเอง คนเราต้องวิริยะอุตสาหะทำงานโดยมีความคิดสามประการชี้นำ แบกรับงานหนักด้วยสองแขนสองขา จึงจะได้เงินทองมา
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ อาจนึกยิ้มเยาะในใจว่า มั่นคงอยู่ในหลักธรรมของขงจื๊อ เต๋า และพุทธแล้ว จะหาเงินได้หรือ เรื่องนี้ผมเปิดเวทีให้ถกเถียงกันเองดีกว่านะครับ.