ถ้านับเวลาเริ่มต้นของแนวคิดสังคมนิยม ก็นานพอๆกับแนวคิดทุนนิยม คือเริ่มมีปรากฏตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 โทมัส มัวร์นำเสนอความคิดในหนังสือ “ยูโธเปีย” ใฝ่ฝันที่จะมีรัฐสังคมนิยมที่หลีกพ้นไปจากครรลองของสังคมทุนนิยมที่กดขี่ขูดรีด ขณะที่กลุ่มทุนได้นำเสนอแนวคิดปัจเจกชนนิยม ตีฝ่าวงล้อมของความคิดศักดินาสวามิภักดิ์
นั่นหมายความว่า ขณะที่กลุ่มทุนที่ต้องการสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาทุน ดำเนินการต่อสู้อย่างรอบด้านกับระบอบศักดินา ชนชั้นกรรมกรที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาขยายตัวของทุน ถูกการผลิตในระบอบทุนกดขี่ขูดรีดก็เพรียกหาความยุติธรรม ดิ้นรนที่จะปลดปล่อยตัวเองออกจากการผลิตแบบกดขี่ขูดรีด ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการกดขี่ขูดรีด
โดยนัยนี้ แนวคิดการพัฒนาสังคมและชีวิตมนุษย์โดยรวมของชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมกร จึงแปลกแยก แตกต่างจากกันตั้งแต่เริ่มแรก ชนชั้นนายทุนนำเสนอแนวคิดปัจเจกชนนิยม เน้นอิสรภาพส่วนบุคคล ยึดถือกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเป็นหัวใจ ขณะที่ชนชั้นกรรมกรต้องการการหลุดพ้นจากการกดขี่ขูดรีด อันเป็นความต้องการรวมหมู่ ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใด
แนวคิดเสรีนิยมชนชั้นนายทุนได้รับการพัฒนาและสถาปนาแทนที่แนวคิดศักดินาสวามิภักดิ์ที่เน้นอำนาจบรรดาศักดิ์เหนือปัจเจกชน มีการนำเสนออย่างเป็นกระบวนต่อเนื่องโดยนักคิดหลากสำนัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง โดยได้รับแรงส่งอย่างดีจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำ ได้นำสังคมมนุษย์ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนกระบวนการปฏิวัติสังคม โค่นล้มระบอบศักดินาดำเนินไปอย่างทั่วถึงในทวีปยุโรป
ควบคู่ไปด้วยกัน แนวคิดสังคมนิยมได้ยกระดับจากความใฝ่ฝันมาเป็นแนวคิดวิทยาศาสตร์ ที่อิงอยู่กับกฎเกณฑ์การพัฒนาของระบอบทุนนิยม สะท้อนกฎเกฑณ์การพัฒนาของสังคมมนุษย์ในอีกขั้นหนึ่งได้อย่างชัดเจน โดยคาร์ล มาร์กซ์ กับเฟเดริค เองเกลส์ ได้ใช้หลักวัตถุนิยมและวิภาษวิธีเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์กฎเกณฑ์การพัฒนาของระบอบทุนนิยม ค้นพบความขัดแย้งหลักของระบอบทุนนิยม พร้อมนำเสนอทางออกให้แก่สังคมโลกในรูปของระบอบสังคมนิยม
การต่อสู้เบียดขับกันระหว่างแนวคิดทุนนิยมกับสังคมนิยมจึงดำเนินมาโดยไม่ขาดตอน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ภายหลังการประกาศ “แถลงการณ์คอมมิวนิสต์” (คอมมิวนิสต์ เมนิเฟสโต้)ในปี ค.ศ.1848
มองในเชิงวิวัฒนาการ สองแนวคิด หรือสองลัทธิอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-15 และพัฒนาเป็นรูปร่างสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 19 ได้ทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือ”ของมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด ในการขับเคลื่อนสังคมโลกไปสู่อนาคต เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองของมวลมนุษย์ ทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ โดยแนวคิดทุนนิยมเน้นในความเป็นปัจเจก แต่สังคมนิยมเน้นในความเป็นรวมหมู่
ในทางปฏิบัติ แนวคิดทุนนิยมได้พัฒนาขยายตัวอย่างมากตามการพัฒนาก้าวหน้าของพลังการผลิต ในรูปการผลิตแบบอุตสาหกรรมขนานใหญ่ เสริมด้วยวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์คิดสร้างแบบใหม่ๆ สามารถเชื่อมโยงสังคมโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ในรูปของตลาดและการล่าอาณานิคม
ขณะที่แนวคิดสังคมนิยมได้เริ่มปรากฏเป็นจริงในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อการปฏิวัติรัสเซียในเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 ประสำความสำเร็จ มีการสถาปนารัฐสังคมนิยมเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมา มนุษยชาติได้ใช้ “เครื่องมือ”ทั้งสอง คือทุนนิยมและสังคมนิยม พัฒนาสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางสังคมให้แก่ตนเอง เกิดการแข่งประชันกันในทีแบบไม่มีข้อยกเว้น
ในตอนเริ่มแรกของการแข่งขัน เป็นไปอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยทั้งสองฝ่ายต่างสำคัญว่า การดำรงอยู่ของตน จะเป็นไปได้ด้วยการทำลายฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป โดยหารู้ไม่ว่า เมื่อใดที่ฝ่ายหนึ่งถูกทำลายจนสิ้น อีกฝ่ายก็จะไม่อาจดำรงอยู่ได้
เมื่อไม่มีชนชั้นนายทุนก็ย่อมไม่มีชนชั้นกรรมกร
เมื่อกรรมกรอยู่ไม่ได้ นายทุนก็อยู่ไม่ได้
ตราบใดที่การผลิตยังต้องการทุน ต้องการนายทุน ก็ยังต้องมีการสะสมทุน ยังต้องมีการขูดรีดกำไรส่วนเกิน ยังต้องมีการเอารัดเอาเปรียบ เพื่อการดำรงอยู่และขยายตัวของทุน
ฉันใดฉันนั้น ตราบใดที่การผลิตยังต้องอาศัยกรรมกรผู้ใช้แรงงาน (ทั้งแรงงานกายและแรงงานสมอง) การพัฒนาศักยภาพกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตตามความจำเป็น สำหรับรองรับการพัฒนาขยายตัวของทุน ก็จักต้องดำเนินต่อไป
นั่นหมายความว่า ในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ทั้งฝ่ายที่ใช้เครื่องมือทุนนิยม และเครื่องมือสังคมนิยม จะต้องคำนึงถึง “ความเป็นจริง”ว่า ขณะนั้น เวลานั้น ระดับการผลิตของสังคม ระดับความก้าวหน้าทางวิทยาการ และความตื่นรู้ของสมาชิกสังคมอยู่ในระดับไหน แล้วจึงใช้ “เครื่องมือ” อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนั้นๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนของสังคมดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
จึงปรากฏว่า ด้วยการรับรู้จากการปฏิบัติ ชนชั้นนายทุนก็ได้พัฒนาเครื่องมือของตนอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ไม่ดำเนินการต่อสู้แบบหักหาญ แบบเอาเป็นเอาตายกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน พัฒนาระบบสวัสดิการ กระทั่งประกาศความเป็น “สังคมนิยม”ในระบอบทุนนิยม เพื่อให้เห็นถึงความชอบธรรมในการใช้อำนาจของชนชั้นนายทุน ในกระบวนการขับเคลื่อนสังคมโลกไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
ขณะที่ชนชั้นกรรมกรผู้ใช้แรงงาน โดยพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ ก็ได้พัฒนาเครื่องมือของตนให้สอดคล้องกับลักษณะยุคสมัย และสภาพเป็นจริงของประเทศตน ซึ่ง ณ เวลานี้ สังคมโลกยังอยู่ในยุคทุนครอบงำ ประเทศสังคมนิยมยังอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา การปฏิรูปสังคมต้องดำเนินไปเพื่อให้สามารถดูดซับภูมิปัญญา และวิทยาการเทคโนโลยียุคใหม่ (ยุคทุนครอบโลก)อย่างเต็มที่ สำหรับการขับเคลื่อนตนเองไปสู่อนาคตอันยาวไกล เกินกว่าที่ระบอบทุนนิยมจะทำได้
จึงไม่แปลก เมื่อเรามองประเทศทุนนิยมและสังคมนิยมวันนี้ มีอะไรมากมายที่ “ทับซ้อนกัน” เช่น ประเทศทุนนิยมมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรัดกุม ขณะที่ประเทศทุนนิยมมีการใช้กลไกตลาดอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่า “เครื่องมือ”ของสังคมนิยมแบบจีน จึงประกอบไปด้วย แนวคิดวิทยาศาสตร์ (หาสัจจะจากความเป็นจริง) แนวทางพื้นฐานในการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย(พัฒนาเศรษฐกิจคือหัวใจ ยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน 4 ประการ และดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ) การปลดปล่อยพลังการผลิต การพัฒนาพลังการผลิต การทำลายการกดขี่ขูดรีด การขจัดการแยกขั้วทางสังคม การพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม การพัฒนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ (ถือเอาคนเป็นศูนย์กลาง) การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน(ในรูปนิติรัฐ ประกอบด้วยสภาผู้แทนประชาชน สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชน) แนวทางมวลชน ประชาธิปไตยรวมศูนย์ การนำรวมหมู่ ฯลฯ
ตลอดจนการสร้างสังคมกลมกลืน และการสร้างประเทศจีนให้เป็นประเทศนวัตกรรมก้าวหน้า เป็นต้น
แล้วมีเหตุผลอะไร ที่ประเทศไทยเราจะไม่นำเอา “เครื่องมือ”เหล่านี้ มาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าเล่า ?
---------------------------------
นั่นหมายความว่า ขณะที่กลุ่มทุนที่ต้องการสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาทุน ดำเนินการต่อสู้อย่างรอบด้านกับระบอบศักดินา ชนชั้นกรรมกรที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาขยายตัวของทุน ถูกการผลิตในระบอบทุนกดขี่ขูดรีดก็เพรียกหาความยุติธรรม ดิ้นรนที่จะปลดปล่อยตัวเองออกจากการผลิตแบบกดขี่ขูดรีด ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการกดขี่ขูดรีด
โดยนัยนี้ แนวคิดการพัฒนาสังคมและชีวิตมนุษย์โดยรวมของชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมกร จึงแปลกแยก แตกต่างจากกันตั้งแต่เริ่มแรก ชนชั้นนายทุนนำเสนอแนวคิดปัจเจกชนนิยม เน้นอิสรภาพส่วนบุคคล ยึดถือกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเป็นหัวใจ ขณะที่ชนชั้นกรรมกรต้องการการหลุดพ้นจากการกดขี่ขูดรีด อันเป็นความต้องการรวมหมู่ ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใด
แนวคิดเสรีนิยมชนชั้นนายทุนได้รับการพัฒนาและสถาปนาแทนที่แนวคิดศักดินาสวามิภักดิ์ที่เน้นอำนาจบรรดาศักดิ์เหนือปัจเจกชน มีการนำเสนออย่างเป็นกระบวนต่อเนื่องโดยนักคิดหลากสำนัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง โดยได้รับแรงส่งอย่างดีจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำ ได้นำสังคมมนุษย์ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนกระบวนการปฏิวัติสังคม โค่นล้มระบอบศักดินาดำเนินไปอย่างทั่วถึงในทวีปยุโรป
ควบคู่ไปด้วยกัน แนวคิดสังคมนิยมได้ยกระดับจากความใฝ่ฝันมาเป็นแนวคิดวิทยาศาสตร์ ที่อิงอยู่กับกฎเกณฑ์การพัฒนาของระบอบทุนนิยม สะท้อนกฎเกฑณ์การพัฒนาของสังคมมนุษย์ในอีกขั้นหนึ่งได้อย่างชัดเจน โดยคาร์ล มาร์กซ์ กับเฟเดริค เองเกลส์ ได้ใช้หลักวัตถุนิยมและวิภาษวิธีเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์กฎเกณฑ์การพัฒนาของระบอบทุนนิยม ค้นพบความขัดแย้งหลักของระบอบทุนนิยม พร้อมนำเสนอทางออกให้แก่สังคมโลกในรูปของระบอบสังคมนิยม
การต่อสู้เบียดขับกันระหว่างแนวคิดทุนนิยมกับสังคมนิยมจึงดำเนินมาโดยไม่ขาดตอน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ภายหลังการประกาศ “แถลงการณ์คอมมิวนิสต์” (คอมมิวนิสต์ เมนิเฟสโต้)ในปี ค.ศ.1848
มองในเชิงวิวัฒนาการ สองแนวคิด หรือสองลัทธิอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-15 และพัฒนาเป็นรูปร่างสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 19 ได้ทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือ”ของมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด ในการขับเคลื่อนสังคมโลกไปสู่อนาคต เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองของมวลมนุษย์ ทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ โดยแนวคิดทุนนิยมเน้นในความเป็นปัจเจก แต่สังคมนิยมเน้นในความเป็นรวมหมู่
ในทางปฏิบัติ แนวคิดทุนนิยมได้พัฒนาขยายตัวอย่างมากตามการพัฒนาก้าวหน้าของพลังการผลิต ในรูปการผลิตแบบอุตสาหกรรมขนานใหญ่ เสริมด้วยวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์คิดสร้างแบบใหม่ๆ สามารถเชื่อมโยงสังคมโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ในรูปของตลาดและการล่าอาณานิคม
ขณะที่แนวคิดสังคมนิยมได้เริ่มปรากฏเป็นจริงในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อการปฏิวัติรัสเซียในเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 ประสำความสำเร็จ มีการสถาปนารัฐสังคมนิยมเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมา มนุษยชาติได้ใช้ “เครื่องมือ”ทั้งสอง คือทุนนิยมและสังคมนิยม พัฒนาสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางสังคมให้แก่ตนเอง เกิดการแข่งประชันกันในทีแบบไม่มีข้อยกเว้น
ในตอนเริ่มแรกของการแข่งขัน เป็นไปอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยทั้งสองฝ่ายต่างสำคัญว่า การดำรงอยู่ของตน จะเป็นไปได้ด้วยการทำลายฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป โดยหารู้ไม่ว่า เมื่อใดที่ฝ่ายหนึ่งถูกทำลายจนสิ้น อีกฝ่ายก็จะไม่อาจดำรงอยู่ได้
เมื่อไม่มีชนชั้นนายทุนก็ย่อมไม่มีชนชั้นกรรมกร
เมื่อกรรมกรอยู่ไม่ได้ นายทุนก็อยู่ไม่ได้
ตราบใดที่การผลิตยังต้องการทุน ต้องการนายทุน ก็ยังต้องมีการสะสมทุน ยังต้องมีการขูดรีดกำไรส่วนเกิน ยังต้องมีการเอารัดเอาเปรียบ เพื่อการดำรงอยู่และขยายตัวของทุน
ฉันใดฉันนั้น ตราบใดที่การผลิตยังต้องอาศัยกรรมกรผู้ใช้แรงงาน (ทั้งแรงงานกายและแรงงานสมอง) การพัฒนาศักยภาพกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตตามความจำเป็น สำหรับรองรับการพัฒนาขยายตัวของทุน ก็จักต้องดำเนินต่อไป
นั่นหมายความว่า ในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ทั้งฝ่ายที่ใช้เครื่องมือทุนนิยม และเครื่องมือสังคมนิยม จะต้องคำนึงถึง “ความเป็นจริง”ว่า ขณะนั้น เวลานั้น ระดับการผลิตของสังคม ระดับความก้าวหน้าทางวิทยาการ และความตื่นรู้ของสมาชิกสังคมอยู่ในระดับไหน แล้วจึงใช้ “เครื่องมือ” อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนั้นๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนของสังคมดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
จึงปรากฏว่า ด้วยการรับรู้จากการปฏิบัติ ชนชั้นนายทุนก็ได้พัฒนาเครื่องมือของตนอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ไม่ดำเนินการต่อสู้แบบหักหาญ แบบเอาเป็นเอาตายกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน พัฒนาระบบสวัสดิการ กระทั่งประกาศความเป็น “สังคมนิยม”ในระบอบทุนนิยม เพื่อให้เห็นถึงความชอบธรรมในการใช้อำนาจของชนชั้นนายทุน ในกระบวนการขับเคลื่อนสังคมโลกไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
ขณะที่ชนชั้นกรรมกรผู้ใช้แรงงาน โดยพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ ก็ได้พัฒนาเครื่องมือของตนให้สอดคล้องกับลักษณะยุคสมัย และสภาพเป็นจริงของประเทศตน ซึ่ง ณ เวลานี้ สังคมโลกยังอยู่ในยุคทุนครอบงำ ประเทศสังคมนิยมยังอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา การปฏิรูปสังคมต้องดำเนินไปเพื่อให้สามารถดูดซับภูมิปัญญา และวิทยาการเทคโนโลยียุคใหม่ (ยุคทุนครอบโลก)อย่างเต็มที่ สำหรับการขับเคลื่อนตนเองไปสู่อนาคตอันยาวไกล เกินกว่าที่ระบอบทุนนิยมจะทำได้
จึงไม่แปลก เมื่อเรามองประเทศทุนนิยมและสังคมนิยมวันนี้ มีอะไรมากมายที่ “ทับซ้อนกัน” เช่น ประเทศทุนนิยมมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรัดกุม ขณะที่ประเทศทุนนิยมมีการใช้กลไกตลาดอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่า “เครื่องมือ”ของสังคมนิยมแบบจีน จึงประกอบไปด้วย แนวคิดวิทยาศาสตร์ (หาสัจจะจากความเป็นจริง) แนวทางพื้นฐานในการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย(พัฒนาเศรษฐกิจคือหัวใจ ยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน 4 ประการ และดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ) การปลดปล่อยพลังการผลิต การพัฒนาพลังการผลิต การทำลายการกดขี่ขูดรีด การขจัดการแยกขั้วทางสังคม การพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม การพัฒนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ (ถือเอาคนเป็นศูนย์กลาง) การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน(ในรูปนิติรัฐ ประกอบด้วยสภาผู้แทนประชาชน สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชน) แนวทางมวลชน ประชาธิปไตยรวมศูนย์ การนำรวมหมู่ ฯลฯ
ตลอดจนการสร้างสังคมกลมกลืน และการสร้างประเทศจีนให้เป็นประเทศนวัตกรรมก้าวหน้า เป็นต้น
แล้วมีเหตุผลอะไร ที่ประเทศไทยเราจะไม่นำเอา “เครื่องมือ”เหล่านี้ มาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าเล่า ?
---------------------------------