ด้วยจุดยืน ทัศนะ วิธีการที่ตั้งอยู่บนฐานความจริง เข้าใจกระบวนการพัฒนาการของมวลมนุษยชาติตาม “เหตุปัจจัย” ที่มีความต่อเนื่องเป็นระบบกฎเกณฑ์ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติหรือ “ธรรม” โดยไม่ยึดติดกับความต้องการเฉพาะตน ผลประโยชน์เฉพาะตน อันหมายถึงการ “ปล่อยวาง”จากตัวตน ที่เป็น “ตัวกู-ของกู” คนเราก็จะเกิดตาสว่าง มองเห็นว่าอะไรเป็นอะไร ควรและจำเป็นต้องทำอะไร
เมื่อครั้งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของคณะผู้นำชุดแรกที่มีเหมาเจ๋อตงเป็นแกนนำ ได้ใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการที่ตั้งบนฐานความเป็นจริง กำกับการคิดการทำงาน พวกเขาก็สามารถพัฒนาแนวคิดทฤษฎีชี้นำการเคลื่อนไหวปฏิบัติ(ดำเนินการปฏิวัติ)ได้อย่างถูกต้อง ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสังคมจีน พร้อมสำหรับการพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองยุคใหม่ต่อไป
กระนั้น เมื่อเหมาเจ๋อตงร่วมกับกลุ่มผู้นำพรรคบางส่วนหลุดจากการใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการ ที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริง แต่หันไปอิงติดอยู่กับความต้องการเฉพาะตน จะด้วยความหวังดีแค่ไหนก็ตาม การใช้อำนาจยิ่งมากก็ยิ่งกระชากประเทศจีนหลุดไปจากครรลองของการพัฒนาที่ควรจะเป็น(ตามสภาวะเป็นจริง) ประเทศจีนจึงเปรียบประดุจว่าวสายป่านขาด ลอยละลิ่วไปตามสายลม ไม่สามารถเหินสู่ท้องฟ้าได้
ฉันใดฉันนั้น เมื่อคณะผู้นำจีนชุดใหม่ที่มีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นแกนนำ ดำเนินการสะสางทางแนวคิดของพรรคฯจีนภายหลังที่เหมาเจ๋อตงสิ้นชีวิตลง โยกดึงทั้งพรรคฯมาใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการมาร์กซิสม์ที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริง สรุปองค์ความรู้จากประสบการจริง ตั้งลำการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยจากความเป็นจริงของประเทศจีนเอง พลันก็ได้คำตอบชัดเจนในเรื่องแก่นแท้ของสังคมนิยม และขั้นตอนที่เป็นอยู่ของสังคมนิยมจีน
ข้อสรุปและคำวินิจฉัยจำนวนมากได้พรั่งพรูออกจากปากของเติ้งเสี่ยวผิง ประกอบกันเข้าเป็นแนวคิดชุดใหญ่ ที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบองค์รวมทางปัญญาครอบคลุมไปทั่วทุกด้าน ชี้นำการพัฒนาประเทศจีนไปสู่อนาคต ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญถึงอนาคตโดยรวมมวลมนุษยชาติด้วย
เพราะหากจีนสามารถพัฒนาประเทศในระบอบสังคมนิยมได้สำเร็จ เจริญรุ่งเรืองและสร้างความผาสุกได้ล้ำเกินกว่าประเทศในระบอบทุนนิยม ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของโลกก็จะหันมารับแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสม์(จีน) เกิดความมั่นใจที่จะทำการพัฒนาประเทศไปตามเส้นทางที่เหมาะสมกับตนเอง
โลกส่วนใหญ่ก็จะก้าวเดินไปบนเส้นทางสังคมนิยมได้อย่างเป็นธรรมชาติ สุดที่มหาอำนาจทุนนิยมจะขัดขวางได้
ตรงนี้เราจะเห็นข้อแตกต่างระหว่าง การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ยึดเอา “ความต้องการ”เป็นตัวตั้ง(ในยุคเหมา จีนเร่งปฏิวัติระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต เพื่อก้าวพรวดพราดไปเป็นสังคมคอมมิวนิสต์) กับการยึดเอา “ความเป็นจริง”เป็นตัวตั้ง (ในยุคเติ้ง จีนกำหนดแผนพัฒนาพลังการผลิตไปตามสภาวะเป็นจริงทีละขั้นๆ) ทั้งๆที่ต่างก็เชิดชูอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ มุ่งขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเป็นสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในปลายโพ้น
ผลเป็นอย่างไร ความเป็นจริงคือคำตอบ การยึดเอาความต้องการเป็นที่ตั้ง จึงลงเอยด้วยการล่มสลายของกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก และวิกฤติใหญ่ในระหว่างการเคลื่อนไหวปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมในประเทศจีน ส่วนความสำเร็จที่กำลังปรากฏให้เห็นในประเทศจีน และประเทศสังคมนิยมอื่นๆที่นับวันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องยกคะแนนให้แก่การใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการบนฐานความเป็นจริงของพรรคและรัฐบาลจีนและประเทศสังคมนิยมอื่นๆ
ข้อสรุปบนฐานแห่งความเป็นจริงที่ว่า จีนยังอยู่ในขั้นต้นของสังคมนิยม ยังเป็นสังคมนิยมโหลยโท่ย (ไม่เข้าขั้น) ทำให้พรรคฯและรัฐบาลจีนสามารถกำหนดภารกิจ แนวนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่สอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริง ยังประโยชน์โดยตรงต่อประเทศชาติและประชาชนสูงสุดได้ในทุกระยะของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสังคมนิยมก้าวหน้า และสังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคตอันยาวไกล
การพัฒนาประเทศในวันนี้ ไม่ว่าจะใช้วิธีการอะไร ขอให้ได้ผลจริง (ตามทฤษฎีแมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูเป็น ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี) นั่นคือ เป็นผลดีต่อการพัฒนาพลังการผลิต และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง เจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ก็ระดมกันมาใช้ให้หมด
ผลต่อเนื่องของแนวคิดเช่นนี้ ก็คือการนำเอาระบบเศรษฐกิจตลาดมาปรับใช้ในระบอบสังคมนิยม พัฒนาต่อยอดเป็น “ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมเอกลักษณ์จีน” ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเป็นเบื้องต้น เพื่อกรุยทางไปสู่การปฏิรูประบบการบริหาร(การเมือง) และการเปิดประเทศ เชื่อมโยงระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนเข้ากับระบบทุนนิยมโลกได้อย่างไม่ขัดเขิน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง “กลมกลืน”กับกลุ่มประเทศทุนนิยม ทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
แสดงให้เห็นว่า เมื่อแนวคิดชี้นำถูกต้อง อันเป็นผลของการใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการบนฐานของความเป็นจริง มิใช่บนฐานของความต้องการ การกระทำหรือพฤติกรรมที่แสดงออกก็จะไปกันได้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง สามารถเข้ากันได้ดีกับประเทศและประชาชนส่วนอื่นๆของโลก
ไม่นานนัก ภาพลักษณ์ที่น่ากลัวของคอมมิวนิสต์ก็ค่อยๆถูกแทนที่ด้วยภาพลักษณ์ที่น่าคบค้า น่าศึกษาและเอาอย่าง จากภาพลบกลายเป็นภาพบวก
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพราะแนวคิดชี้นำที่เป็นธรรมะ เป็น “สัมมาทิฐิ”ที่ตั้งอยู่บนฐานของความจริง สะท้อน “กฎ”และขั้นตอนพัฒนาการของสังคมมนุษย์โดยรวม ไม่ได้ตั้งอยู่บนความต้องการหรือ “โมหะ – มิจฉาทิฐิ” ดังที่พรรคฯและรัฐบาลประเทศสังคมนิยมทั่วไปเคยมีและเคยเป็นมาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การคิดและการกระทำที่ตั้งอยู่ฐานแห่ง “ธรรม”ดังกล่าว ย่อมมีเสน่ห์ ไม่เป็นที่รังเกียจของผู้ใด ยกเว้นผู้มีอคติ รับไม่ได้กับ “ความเป็นจริง”
ตามการประเมินของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แกนนำการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน เห็นว่า เนื่องจากจีนเริ่มต้นพัฒนาประเทศบนฐานที่ต่ำมาก ทั้งล้าหลังและยากจน ประชากรก็เยอะมากจะยังคงต้องพัฒนาตนเองอยู่ในขั้นของความเป็นสังคมนิยมขั้นปฐมไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะบรรลุสู่ความทันสมัยทั้งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม การเมือง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
เจียงเจ๋อหมินระบุไว้ในคำรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาพรรคฯสมัยที่ 15 (ค.ศ.1997) ระยะเวลาที่จีนจะยังขับเคลื่อนตัวเองอยู่ในขั้น “สังคมนิยมขั้นปฐม”อาจยาวนานถึง 100 ปี (นับจากปี ค.ศ. 1949 แต่หากนับจากวันนี้ ก็อีกราว 44 ปี) หลักจากนั้นยังต้องใช้เวลาเนิ่นนานกว่านั้น เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบอบสังคมนิยมจีน
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับศตวรรษ ชาวจีนต้องทำอะไรบ้าง ?
ในคำรายงานของเจียงเจ๋อหมิน(ดังอ้าง) กำหนดไว้เป็นสามหลักใหญ่ด้วยกัน คือ
1. สร้างสรรค์เศรษฐกิจสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดให้สมบูรณ์ เอื้อต่อการพัฒนาพลังการผลิตอย่างไม่ขาดสาย
2. สร้างสรรค์การเมืองการปกครองสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บนพื้นฐานที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ บริหารประเทศด้วยกฎหมาย พัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
3. สร้างสรรค์วัฒนธรรมสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือ ภายใต้การชี้นำของแนวคิดลัทธิมาร์กซ์ บ่มเพาะพลเมืองจีนให้มีอุดมการณ์สูงส่ง มีศีลธรรม มีความรู้ มีวินัย ร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์วัฒนธรรมจีนยุคใหม่ที่มุ่งสู่อนาคต มุ่งสู่โลกกว้าง มุ่งสู่ความทันสมัย มีความเป็นวิทยาศาสตร์ มีความเป็นชาติ และมีความเป็นของมวลชน
--------------------------------
เมื่อครั้งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของคณะผู้นำชุดแรกที่มีเหมาเจ๋อตงเป็นแกนนำ ได้ใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการที่ตั้งบนฐานความเป็นจริง กำกับการคิดการทำงาน พวกเขาก็สามารถพัฒนาแนวคิดทฤษฎีชี้นำการเคลื่อนไหวปฏิบัติ(ดำเนินการปฏิวัติ)ได้อย่างถูกต้อง ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสังคมจีน พร้อมสำหรับการพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองยุคใหม่ต่อไป
กระนั้น เมื่อเหมาเจ๋อตงร่วมกับกลุ่มผู้นำพรรคบางส่วนหลุดจากการใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการ ที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริง แต่หันไปอิงติดอยู่กับความต้องการเฉพาะตน จะด้วยความหวังดีแค่ไหนก็ตาม การใช้อำนาจยิ่งมากก็ยิ่งกระชากประเทศจีนหลุดไปจากครรลองของการพัฒนาที่ควรจะเป็น(ตามสภาวะเป็นจริง) ประเทศจีนจึงเปรียบประดุจว่าวสายป่านขาด ลอยละลิ่วไปตามสายลม ไม่สามารถเหินสู่ท้องฟ้าได้
ฉันใดฉันนั้น เมื่อคณะผู้นำจีนชุดใหม่ที่มีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นแกนนำ ดำเนินการสะสางทางแนวคิดของพรรคฯจีนภายหลังที่เหมาเจ๋อตงสิ้นชีวิตลง โยกดึงทั้งพรรคฯมาใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการมาร์กซิสม์ที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริง สรุปองค์ความรู้จากประสบการจริง ตั้งลำการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยจากความเป็นจริงของประเทศจีนเอง พลันก็ได้คำตอบชัดเจนในเรื่องแก่นแท้ของสังคมนิยม และขั้นตอนที่เป็นอยู่ของสังคมนิยมจีน
ข้อสรุปและคำวินิจฉัยจำนวนมากได้พรั่งพรูออกจากปากของเติ้งเสี่ยวผิง ประกอบกันเข้าเป็นแนวคิดชุดใหญ่ ที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบองค์รวมทางปัญญาครอบคลุมไปทั่วทุกด้าน ชี้นำการพัฒนาประเทศจีนไปสู่อนาคต ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญถึงอนาคตโดยรวมมวลมนุษยชาติด้วย
เพราะหากจีนสามารถพัฒนาประเทศในระบอบสังคมนิยมได้สำเร็จ เจริญรุ่งเรืองและสร้างความผาสุกได้ล้ำเกินกว่าประเทศในระบอบทุนนิยม ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของโลกก็จะหันมารับแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสม์(จีน) เกิดความมั่นใจที่จะทำการพัฒนาประเทศไปตามเส้นทางที่เหมาะสมกับตนเอง
โลกส่วนใหญ่ก็จะก้าวเดินไปบนเส้นทางสังคมนิยมได้อย่างเป็นธรรมชาติ สุดที่มหาอำนาจทุนนิยมจะขัดขวางได้
ตรงนี้เราจะเห็นข้อแตกต่างระหว่าง การสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ยึดเอา “ความต้องการ”เป็นตัวตั้ง(ในยุคเหมา จีนเร่งปฏิวัติระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต เพื่อก้าวพรวดพราดไปเป็นสังคมคอมมิวนิสต์) กับการยึดเอา “ความเป็นจริง”เป็นตัวตั้ง (ในยุคเติ้ง จีนกำหนดแผนพัฒนาพลังการผลิตไปตามสภาวะเป็นจริงทีละขั้นๆ) ทั้งๆที่ต่างก็เชิดชูอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ มุ่งขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเป็นสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในปลายโพ้น
ผลเป็นอย่างไร ความเป็นจริงคือคำตอบ การยึดเอาความต้องการเป็นที่ตั้ง จึงลงเอยด้วยการล่มสลายของกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก และวิกฤติใหญ่ในระหว่างการเคลื่อนไหวปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมในประเทศจีน ส่วนความสำเร็จที่กำลังปรากฏให้เห็นในประเทศจีน และประเทศสังคมนิยมอื่นๆที่นับวันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องยกคะแนนให้แก่การใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการบนฐานความเป็นจริงของพรรคและรัฐบาลจีนและประเทศสังคมนิยมอื่นๆ
ข้อสรุปบนฐานแห่งความเป็นจริงที่ว่า จีนยังอยู่ในขั้นต้นของสังคมนิยม ยังเป็นสังคมนิยมโหลยโท่ย (ไม่เข้าขั้น) ทำให้พรรคฯและรัฐบาลจีนสามารถกำหนดภารกิจ แนวนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่สอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริง ยังประโยชน์โดยตรงต่อประเทศชาติและประชาชนสูงสุดได้ในทุกระยะของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสังคมนิยมก้าวหน้า และสังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคตอันยาวไกล
การพัฒนาประเทศในวันนี้ ไม่ว่าจะใช้วิธีการอะไร ขอให้ได้ผลจริง (ตามทฤษฎีแมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูเป็น ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี) นั่นคือ เป็นผลดีต่อการพัฒนาพลังการผลิต และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง เจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ก็ระดมกันมาใช้ให้หมด
ผลต่อเนื่องของแนวคิดเช่นนี้ ก็คือการนำเอาระบบเศรษฐกิจตลาดมาปรับใช้ในระบอบสังคมนิยม พัฒนาต่อยอดเป็น “ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมเอกลักษณ์จีน” ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเป็นเบื้องต้น เพื่อกรุยทางไปสู่การปฏิรูประบบการบริหาร(การเมือง) และการเปิดประเทศ เชื่อมโยงระบอบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนเข้ากับระบบทุนนิยมโลกได้อย่างไม่ขัดเขิน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง “กลมกลืน”กับกลุ่มประเทศทุนนิยม ทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
แสดงให้เห็นว่า เมื่อแนวคิดชี้นำถูกต้อง อันเป็นผลของการใช้จุดยืน ทัศนะ วิธีการบนฐานของความเป็นจริง มิใช่บนฐานของความต้องการ การกระทำหรือพฤติกรรมที่แสดงออกก็จะไปกันได้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง สามารถเข้ากันได้ดีกับประเทศและประชาชนส่วนอื่นๆของโลก
ไม่นานนัก ภาพลักษณ์ที่น่ากลัวของคอมมิวนิสต์ก็ค่อยๆถูกแทนที่ด้วยภาพลักษณ์ที่น่าคบค้า น่าศึกษาและเอาอย่าง จากภาพลบกลายเป็นภาพบวก
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพราะแนวคิดชี้นำที่เป็นธรรมะ เป็น “สัมมาทิฐิ”ที่ตั้งอยู่บนฐานของความจริง สะท้อน “กฎ”และขั้นตอนพัฒนาการของสังคมมนุษย์โดยรวม ไม่ได้ตั้งอยู่บนความต้องการหรือ “โมหะ – มิจฉาทิฐิ” ดังที่พรรคฯและรัฐบาลประเทศสังคมนิยมทั่วไปเคยมีและเคยเป็นมาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การคิดและการกระทำที่ตั้งอยู่ฐานแห่ง “ธรรม”ดังกล่าว ย่อมมีเสน่ห์ ไม่เป็นที่รังเกียจของผู้ใด ยกเว้นผู้มีอคติ รับไม่ได้กับ “ความเป็นจริง”
ตามการประเมินของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แกนนำการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน เห็นว่า เนื่องจากจีนเริ่มต้นพัฒนาประเทศบนฐานที่ต่ำมาก ทั้งล้าหลังและยากจน ประชากรก็เยอะมากจะยังคงต้องพัฒนาตนเองอยู่ในขั้นของความเป็นสังคมนิยมขั้นปฐมไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะบรรลุสู่ความทันสมัยทั้งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม การเมือง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
เจียงเจ๋อหมินระบุไว้ในคำรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาพรรคฯสมัยที่ 15 (ค.ศ.1997) ระยะเวลาที่จีนจะยังขับเคลื่อนตัวเองอยู่ในขั้น “สังคมนิยมขั้นปฐม”อาจยาวนานถึง 100 ปี (นับจากปี ค.ศ. 1949 แต่หากนับจากวันนี้ ก็อีกราว 44 ปี) หลักจากนั้นยังต้องใช้เวลาเนิ่นนานกว่านั้น เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบอบสังคมนิยมจีน
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับศตวรรษ ชาวจีนต้องทำอะไรบ้าง ?
ในคำรายงานของเจียงเจ๋อหมิน(ดังอ้าง) กำหนดไว้เป็นสามหลักใหญ่ด้วยกัน คือ
1. สร้างสรรค์เศรษฐกิจสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดให้สมบูรณ์ เอื้อต่อการพัฒนาพลังการผลิตอย่างไม่ขาดสาย
2. สร้างสรรค์การเมืองการปกครองสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บนพื้นฐานที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ บริหารประเทศด้วยกฎหมาย พัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
3. สร้างสรรค์วัฒนธรรมสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน หลักๆคือ ภายใต้การชี้นำของแนวคิดลัทธิมาร์กซ์ บ่มเพาะพลเมืองจีนให้มีอุดมการณ์สูงส่ง มีศีลธรรม มีความรู้ มีวินัย ร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์วัฒนธรรมจีนยุคใหม่ที่มุ่งสู่อนาคต มุ่งสู่โลกกว้าง มุ่งสู่ความทันสมัย มีความเป็นวิทยาศาสตร์ มีความเป็นชาติ และมีความเป็นของมวลชน
--------------------------------