ก่อนที่เราจะได้นายกรัฐมนตรีอย่างที่เราต้องการ ลองพิจารณาดูเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดของนายกรัฐมนตรีซึ่งมีมาแล้ว ๒๓ คน ทั้งหมดนี้เป็นสถิติตามหลักฐานทางราชการ โดยไม่สนใจบางคนที่อาจมีการซุกวันเกิดจริงๆ ไม่ให้ใครรู้
ปีเกิดตาม ๑๒ นักษัตรได้แก่ วอก ๗ คน มะเส็ง ๓ คน กุน ๓ คน ฉลู ๒ คน ขาล ๒ คน ระกา ๒ คน ปีละ ๑ คนคือ ชวด เถาะ มะโรง มะแม ที่ยังไม่มีได้แก่ มะเมีย จอ หากจำแนกเป็นพวกหกปีแรกและหกปีหลัง พวกแรกมี ๑๑ คน พวกหลังมี ๑๒ คน * เกิดปีวอก พ.ศ.๒๔๗๕ มีถึง ๓ คน
เดือนเกิดได้แก่ สิงหาคม ๕ คน เมษายน ๔ คน พฤษภาคม ๔ คน กรกฎาคม ๔ คน มีนาคม ๒ คน พฤศจิกายน ๒ คน มิถุนายน ๑ คน ธันวาคม ๑ คน เดือนที่ยังไม่มีคือ มกราคม กุมภาพันธ์ กันยายน ตุลาคม หากจำแนกเป็นครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังแล้ว ครึ่งปีแรกมี ๑๑ คน ครึ่งปีหลังมี ๑๒ คน
วันเกิดได้แก่ พฤหัสบดี ๖ คน อังคาร ๕ คน ศุกร์ ๓ คน เสาร์ ๓ คน อาทิตย์ ๓ คน จันทร์ ๒ คน พุธ ๑ คนแบบว่ามีครบทุกวัน หากจำแนกเป็นครึ่งเดือนแรก ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๕ มี ๑๑ คน ตั้งแต่วันที่ ๑๖-สิ้นเดือนมี ๑๒ คน
นายกรัฐมนตรีไทยซึ่งมีวันเดือนปีเกิดหรือตาย ( ขออนุญาตใช้ศัพท์ง่ายๆ ) ตรงกับเหตุการณ์สำคัญหรือบุคคลสำคัญทั้งไทยหรือเทศ มีดังต่อไปนี้
พระยามโนปกรณนิติธาดา ตายวันที่ ๑ ตุลาคม ตรงกับวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน
นายพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ตายวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ตรงกับวันแห่งความรัก
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ตรงกับวันชาติฝรั่งเศส และยังเกิดปีไก่ อันเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส พร้อมทั้งได้ทุนไปเรียนวิชาทหารที่ฝรั่งเศสด้วย
นายปรีดี พนมยงค์ เกิด พ.ศ.๒๔๔๓ ( ค.ศ.๑๙๐๐ ) เป็นปีซึ่งเกิดเหตุจลาจลในประเทศจีนโดยมีกลุ่มนักมวยลุกฮือขึ้นขับไล่ชาวต่างชาติแต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงและเป็นเหตุให้กองทัพพันธมิตร ๘ ชาติบุกเข้าปล้นประเทศจีนอย่างทารุณโหดร้าย
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตายวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ตรงกับวันเกิดของนายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน
จอมพลถนอม กิตติขจร เกิด พ.ศ.๒๔๕๔ ( ค.ศ.๑๙๑๑ ) เป็นปีซึ่งประเทศจีนได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตายวันที่ ๘ ธันวาคม ตรงกับวันที่กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ส่วนปีที่ตายนั้น พ.ศ.๒๕๐๖ ( ค.ศ.๑๙๖๓ ) เป็นปีระทึกขวัญเกิดเหตุการณ์น่าจดจำโดยประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 吴廷琰โงห์ ดิน เดียม ถูกรัฐประหารและถูกฆ่าตายในวันที่ ๒ พฤศจิกายน ถัดจากนั้นนิดเดียว ประธานาธิบดีสหรัฐฯ John F. Kennedy ถูกยิงตายในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๒ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๗ เกิดวันเดียวกันคือวันที่ ๕ เมษายน และวันนี้ตรงกับวัน 清明ชิงหมิง ( เช็งเม้ง) ซึ่งเป็นวันเทศกาลเซ่นไหว้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วตามธรรมเนียมของชาวจีน
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดวันที่ ๒๐ เมษายน ตรงกับวันเกิดของ Adolf Hitler ผู้นำสูงสุด Furher ประเทศเยอรมนี สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดวันที่ ๙ สิงหาคม ตรงกับวันที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่ ๒ ลงที่เมือง 长崎นากาซากิ Nagasaki ประเทศญี่ปุ่น
พลเอกสุจินดา คราประยูร เกิดวันที่ ๖ สิงหาคม ตรงกับวันที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรก ลงที่เมือง 广岛 ฮิโรชิมา Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น
นายชวน หลีกภัย เกิดวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ตรงกับวันตายของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันเดือนปีเดียวกันนี้ ( ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ ) ยังเป็นวันเกิดของ Alberto Fujimori อดีตประธานาธิบดี Peru ผู้มีสีสันการเมืองน่าตื่นเต้นเช่น ประกาศหย่าเมียทางโทรทัศน์ เพราะภรรยาไปตั้งตนเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาฟูจิโมริ ถูกกระทำรัฐประหารยึดอำนาจต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ ๑๙ สิงหาคม ตรงกับวันเกิดของ Bill Clinton อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ ๔๒
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เกิด พ.ศ.๒๔๙๒ ( ค.ศ.๑๙๔๙ ) เป็นปีที่ประเทศจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และเกิดปีฉลู เช่นเดียวกับ Hitler และวันเกิดที่ ๒๖ กรกฎาคม เป็นวันที่ประธานาธิบดีกัวเตมาลา Carlos Castillo Armas ถูกองครักษ์ของตนเองฆ่าตายเมื่อ ค.ศ.๑๙๕๗ ( พ.ศ.๒๕๐๐ )
ปีเกิดตาม ๑๒ นักษัตรได้แก่ วอก ๗ คน มะเส็ง ๓ คน กุน ๓ คน ฉลู ๒ คน ขาล ๒ คน ระกา ๒ คน ปีละ ๑ คนคือ ชวด เถาะ มะโรง มะแม ที่ยังไม่มีได้แก่ มะเมีย จอ หากจำแนกเป็นพวกหกปีแรกและหกปีหลัง พวกแรกมี ๑๑ คน พวกหลังมี ๑๒ คน * เกิดปีวอก พ.ศ.๒๔๗๕ มีถึง ๓ คน
เดือนเกิดได้แก่ สิงหาคม ๕ คน เมษายน ๔ คน พฤษภาคม ๔ คน กรกฎาคม ๔ คน มีนาคม ๒ คน พฤศจิกายน ๒ คน มิถุนายน ๑ คน ธันวาคม ๑ คน เดือนที่ยังไม่มีคือ มกราคม กุมภาพันธ์ กันยายน ตุลาคม หากจำแนกเป็นครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังแล้ว ครึ่งปีแรกมี ๑๑ คน ครึ่งปีหลังมี ๑๒ คน
วันเกิดได้แก่ พฤหัสบดี ๖ คน อังคาร ๕ คน ศุกร์ ๓ คน เสาร์ ๓ คน อาทิตย์ ๓ คน จันทร์ ๒ คน พุธ ๑ คนแบบว่ามีครบทุกวัน หากจำแนกเป็นครึ่งเดือนแรก ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๕ มี ๑๑ คน ตั้งแต่วันที่ ๑๖-สิ้นเดือนมี ๑๒ คน
นายกรัฐมนตรีไทยซึ่งมีวันเดือนปีเกิดหรือตาย ( ขออนุญาตใช้ศัพท์ง่ายๆ ) ตรงกับเหตุการณ์สำคัญหรือบุคคลสำคัญทั้งไทยหรือเทศ มีดังต่อไปนี้
พระยามโนปกรณนิติธาดา ตายวันที่ ๑ ตุลาคม ตรงกับวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน
นายพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ตายวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ตรงกับวันแห่งความรัก
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ตรงกับวันชาติฝรั่งเศส และยังเกิดปีไก่ อันเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส พร้อมทั้งได้ทุนไปเรียนวิชาทหารที่ฝรั่งเศสด้วย
นายปรีดี พนมยงค์ เกิด พ.ศ.๒๔๔๓ ( ค.ศ.๑๙๐๐ ) เป็นปีซึ่งเกิดเหตุจลาจลในประเทศจีนโดยมีกลุ่มนักมวยลุกฮือขึ้นขับไล่ชาวต่างชาติแต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงและเป็นเหตุให้กองทัพพันธมิตร ๘ ชาติบุกเข้าปล้นประเทศจีนอย่างทารุณโหดร้าย
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตายวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ตรงกับวันเกิดของนายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน
จอมพลถนอม กิตติขจร เกิด พ.ศ.๒๔๕๔ ( ค.ศ.๑๙๑๑ ) เป็นปีซึ่งประเทศจีนได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตายวันที่ ๘ ธันวาคม ตรงกับวันที่กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ส่วนปีที่ตายนั้น พ.ศ.๒๕๐๖ ( ค.ศ.๑๙๖๓ ) เป็นปีระทึกขวัญเกิดเหตุการณ์น่าจดจำโดยประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 吴廷琰โงห์ ดิน เดียม ถูกรัฐประหารและถูกฆ่าตายในวันที่ ๒ พฤศจิกายน ถัดจากนั้นนิดเดียว ประธานาธิบดีสหรัฐฯ John F. Kennedy ถูกยิงตายในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๒ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๗ เกิดวันเดียวกันคือวันที่ ๕ เมษายน และวันนี้ตรงกับวัน 清明ชิงหมิง ( เช็งเม้ง) ซึ่งเป็นวันเทศกาลเซ่นไหว้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วตามธรรมเนียมของชาวจีน
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดวันที่ ๒๐ เมษายน ตรงกับวันเกิดของ Adolf Hitler ผู้นำสูงสุด Furher ประเทศเยอรมนี สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดวันที่ ๙ สิงหาคม ตรงกับวันที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่ ๒ ลงที่เมือง 长崎นากาซากิ Nagasaki ประเทศญี่ปุ่น
พลเอกสุจินดา คราประยูร เกิดวันที่ ๖ สิงหาคม ตรงกับวันที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรก ลงที่เมือง 广岛 ฮิโรชิมา Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น
นายชวน หลีกภัย เกิดวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ตรงกับวันตายของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันเดือนปีเดียวกันนี้ ( ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ ) ยังเป็นวันเกิดของ Alberto Fujimori อดีตประธานาธิบดี Peru ผู้มีสีสันการเมืองน่าตื่นเต้นเช่น ประกาศหย่าเมียทางโทรทัศน์ เพราะภรรยาไปตั้งตนเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาฟูจิโมริ ถูกกระทำรัฐประหารยึดอำนาจต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ ๑๙ สิงหาคม ตรงกับวันเกิดของ Bill Clinton อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ ๔๒
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เกิด พ.ศ.๒๔๙๒ ( ค.ศ.๑๙๔๙ ) เป็นปีที่ประเทศจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และเกิดปีฉลู เช่นเดียวกับ Hitler และวันเกิดที่ ๒๖ กรกฎาคม เป็นวันที่ประธานาธิบดีกัวเตมาลา Carlos Castillo Armas ถูกองครักษ์ของตนเองฆ่าตายเมื่อ ค.ศ.๑๙๕๗ ( พ.ศ.๒๕๐๐ )