อินเตอร์เนชันเนล เฮอรัลทรีบูน / ฟีนิกซ์ทีวีเน็ต 30/03/06 – แองโกลาแซงหน้าซาอุดิอาระเบียกลายเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันให้แก่แดนมังกรมากที่สุดในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ ชี้มังกรใช้ทุกยุทธวิธีเร่งสานไมตรีกาฬทวีปแข่งครองแหล่งทองคำดำกับมะกัน พร้อมหันไปสร้างสมดุลนำเข้าน้ำมันทั้งจากแอฟริกาและตะวันออกกลาง
ปิโตรแมทริกซ์ บริษัทจัดการความเสี่ยงจากสวิตเซอร์แลนด์ รายงานว่าในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ แองโกลาได้จัดส่งน้ำมันผ่านทางเรือป้อนให้แก่พญามังกรวันละ 456,000 บาร์เรล ซึ่งคิดเป็น 15%ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันทั้งหมดของจีน ซึ่งแซงหน้าการนำเข้าจากผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกจากตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ที่ส่งออกน้ำมันมายังจีนวันละ 445,000 บาร์เรล และ 391,000 บาร์เรลตามลำดับ
รองลงมานำเข้าจากคองโกวันละ 140,000 บาร์เรล และจากอิเควทอเรียล กินีวันละ 133,000 บาร์เรล ส่วนประเทศแหล่งน้ำมันหัวแถวอย่างไนจีเรียกลับส่งน้ำมันไปยังจีนน้อยลง
โดยสรุปแล้วระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พญามังกรนำเข้าน้ำมันมากถึง 179 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 34%จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดรถยนต์ในจีนกำลังคึกคักอย่างยิ่ง โดยมียอดขายรวมถึง 500,000 คันต่อเดือน ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้เด่นชัดถึงแนวโน้มดีมานด์น้ำมันขาขึ้นของจีน
จากความต้องการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำมันและแหล่งทรัพยากรอื่นๆ ของพญามังกร เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จีนหันไปสานไมตรีกับพันธมิตรในกาฬทวีปมากขึ้นตามไปด้วย เห็นได้จากมูลค่าการค้าระหว่างจีนและแอฟริกาดีดตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2002 โดยช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว มูลค้าการค้าระหว่างสองฝ่ายอยู่ที่ 32,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

กลยุทธ์ผูกมิตรกับเพื่อนในแดนกาฬทวีปของจีนมีในหลายรูปแบบ ทั้งการปล่อยเงินกู้ให้แก่แองโกลา และยังช่วยพัฒนาโครงการแหล่งน้ำสำรองใต้ดิน ทั้งนี้ ก็เพื่อแข่งขันกับพญาอินทรีที่จะเข้าไปแย่งทองคำดำในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งปัจจุบัน แชฟรอน ยักษ์น้ำมันจากแดนลุงแซมครองแชมป์ผู้ผลิตน้ำมันใหญ่สุดในแองโกลาอยู่
นับตั้งแต่ปี 2002 ธุรกิจมังกรยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในการฟื้นคืนความสามารถในการผลิตน้ำมันของแองโกลา นับตั้งแต่เกิดเหตุสงครามกลางเมืองที่ยาวนานถึง 27 ปี จนทำให้การผลิตน้ำมันเทียบเท่า 45%ของรายได้ทางเศรษฐกิจทั้งหมดของแองโกลา ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างสองชาติแตะ 6,950 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 41.6%จากปีก่อนหน้า
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล หรือ ซิโนเปก ผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของจีน เพิ่งประกาศอัดฉีดเงินถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการช่วยสร้างโรงกลั่นน้ำมันในแองโกลา ส่วนเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซีนุก หรือ ไชน่า เนชั่นเนล ออฟชอร์ ออย คอร์ป ก็เพิ่งทุ่มเงิน 2,270 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อหุ้น 45% ในโครงการสัมปทานสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันทางทะเล ในเขตประเทศไนจีเรียของบริษัท เซาท์ แอตแลนติก ปิโตรเลียม(SAPETRO)
“เหตุที่จีนให้ความสนใจแองโกลาและประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา ก็เพราะเป็นแหล่งชุมนุมน้ำมันที่กำลังขยายปริมาณการผลิต อีกทั้งคุณภาพน้ำมันดิบของที่นี่ค่อนข้างดีมาก ซึ่งแองโกลาจัดเป็นประเทศแหล่งน้ำมันรายใหญ่น้องใหม่ของโลก” โทนี่ แรแกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของบริษัท Tri-Zen จากสิงคโปร์ระบุ
อนึ่ง น้ำมันจากแองโกลาและประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตกได้รับการขนานนามให้เป็นน้ำมัน ‘หวาน’ เพราะเจือปนด้วยสารซัลเฟอร์ในปริมาณต่ำ ซึ่งช่วยเบาแรงกระบวนการผลิตให้เป็นน้ำมันเบนซิน
“นับจากนี้ไป จีนจะมีการรักษาสมดุลน้ำมันนำเข้าจากทั้งแองโกลาและซาอุดิอาระเบีย” เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของ มาบานาฟต์ ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จากเยอรมนีระบุ
นักวิเคราะห์ยังชี้ว่า การลงทุนของจีนในแหล่งน้ำมันในแอฟริกาตะวันตก จะช่วยสนับสนุนให้มีการขนส่งน้ำมันไปยังเอเชียมากขึ้น แม้ว่าเส้นทางบรรทุกน้ำมันจากแอฟริกาตะวันตกไปยังแดนมังกรจะต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮปและผ่านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไกลขึ้นเป็นสองเท่าจากตะวันออกกลางไปยังจีน
ข้อมูลจากสำนักงานข้อมูลพลังงานแดนมะกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมายังระบุว่า ปริมาณน้ำมันส่งออกจากดินแดนซับ-ซาฮารา แอฟริกา ซึ่งมีน้ำมันมากเป็นอันดับสองรองจากไนจีเรีย จะมีกำลังผลิตถึง 2 ล้านบาร์เรลในปี 2008 จาก 1.25 ล้านบาร์เรลในปี 2005 เนื่องจากมีการบุกเบิกแหล่งน้ำมันแห่งใหม่เพิ่มเติม
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันสำรองที่ได้รับการยืนยันแล้วในแอฟริกา เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวในช่วง 7 ปีมานี้ เนื่องจากค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างบริติช ปิโตรเลียม (บีพี) แชฟรอน และอีกหลายเจ้า ได้แข่งกันค้นหาแหล่งน้ำมันในพื้นดินใต้ทะเลนอกชายฝั่งประเทศแถบมหาสมุทรแอตแลนติก.
ปิโตรแมทริกซ์ บริษัทจัดการความเสี่ยงจากสวิตเซอร์แลนด์ รายงานว่าในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ แองโกลาได้จัดส่งน้ำมันผ่านทางเรือป้อนให้แก่พญามังกรวันละ 456,000 บาร์เรล ซึ่งคิดเป็น 15%ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันทั้งหมดของจีน ซึ่งแซงหน้าการนำเข้าจากผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกจากตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ที่ส่งออกน้ำมันมายังจีนวันละ 445,000 บาร์เรล และ 391,000 บาร์เรลตามลำดับ
รองลงมานำเข้าจากคองโกวันละ 140,000 บาร์เรล และจากอิเควทอเรียล กินีวันละ 133,000 บาร์เรล ส่วนประเทศแหล่งน้ำมันหัวแถวอย่างไนจีเรียกลับส่งน้ำมันไปยังจีนน้อยลง
โดยสรุปแล้วระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พญามังกรนำเข้าน้ำมันมากถึง 179 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 34%จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดรถยนต์ในจีนกำลังคึกคักอย่างยิ่ง โดยมียอดขายรวมถึง 500,000 คันต่อเดือน ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้เด่นชัดถึงแนวโน้มดีมานด์น้ำมันขาขึ้นของจีน
จากความต้องการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำมันและแหล่งทรัพยากรอื่นๆ ของพญามังกร เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จีนหันไปสานไมตรีกับพันธมิตรในกาฬทวีปมากขึ้นตามไปด้วย เห็นได้จากมูลค่าการค้าระหว่างจีนและแอฟริกาดีดตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2002 โดยช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว มูลค้าการค้าระหว่างสองฝ่ายอยู่ที่ 32,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
กลยุทธ์ผูกมิตรกับเพื่อนในแดนกาฬทวีปของจีนมีในหลายรูปแบบ ทั้งการปล่อยเงินกู้ให้แก่แองโกลา และยังช่วยพัฒนาโครงการแหล่งน้ำสำรองใต้ดิน ทั้งนี้ ก็เพื่อแข่งขันกับพญาอินทรีที่จะเข้าไปแย่งทองคำดำในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งปัจจุบัน แชฟรอน ยักษ์น้ำมันจากแดนลุงแซมครองแชมป์ผู้ผลิตน้ำมันใหญ่สุดในแองโกลาอยู่
นับตั้งแต่ปี 2002 ธุรกิจมังกรยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในการฟื้นคืนความสามารถในการผลิตน้ำมันของแองโกลา นับตั้งแต่เกิดเหตุสงครามกลางเมืองที่ยาวนานถึง 27 ปี จนทำให้การผลิตน้ำมันเทียบเท่า 45%ของรายได้ทางเศรษฐกิจทั้งหมดของแองโกลา ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างสองชาติแตะ 6,950 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 41.6%จากปีก่อนหน้า
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล หรือ ซิโนเปก ผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของจีน เพิ่งประกาศอัดฉีดเงินถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการช่วยสร้างโรงกลั่นน้ำมันในแองโกลา ส่วนเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซีนุก หรือ ไชน่า เนชั่นเนล ออฟชอร์ ออย คอร์ป ก็เพิ่งทุ่มเงิน 2,270 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อหุ้น 45% ในโครงการสัมปทานสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันทางทะเล ในเขตประเทศไนจีเรียของบริษัท เซาท์ แอตแลนติก ปิโตรเลียม(SAPETRO)
“เหตุที่จีนให้ความสนใจแองโกลาและประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา ก็เพราะเป็นแหล่งชุมนุมน้ำมันที่กำลังขยายปริมาณการผลิต อีกทั้งคุณภาพน้ำมันดิบของที่นี่ค่อนข้างดีมาก ซึ่งแองโกลาจัดเป็นประเทศแหล่งน้ำมันรายใหญ่น้องใหม่ของโลก” โทนี่ แรแกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของบริษัท Tri-Zen จากสิงคโปร์ระบุ
อนึ่ง น้ำมันจากแองโกลาและประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตกได้รับการขนานนามให้เป็นน้ำมัน ‘หวาน’ เพราะเจือปนด้วยสารซัลเฟอร์ในปริมาณต่ำ ซึ่งช่วยเบาแรงกระบวนการผลิตให้เป็นน้ำมันเบนซิน
“นับจากนี้ไป จีนจะมีการรักษาสมดุลน้ำมันนำเข้าจากทั้งแองโกลาและซาอุดิอาระเบีย” เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของ มาบานาฟต์ ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จากเยอรมนีระบุ
นักวิเคราะห์ยังชี้ว่า การลงทุนของจีนในแหล่งน้ำมันในแอฟริกาตะวันตก จะช่วยสนับสนุนให้มีการขนส่งน้ำมันไปยังเอเชียมากขึ้น แม้ว่าเส้นทางบรรทุกน้ำมันจากแอฟริกาตะวันตกไปยังแดนมังกรจะต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮปและผ่านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไกลขึ้นเป็นสองเท่าจากตะวันออกกลางไปยังจีน
ข้อมูลจากสำนักงานข้อมูลพลังงานแดนมะกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมายังระบุว่า ปริมาณน้ำมันส่งออกจากดินแดนซับ-ซาฮารา แอฟริกา ซึ่งมีน้ำมันมากเป็นอันดับสองรองจากไนจีเรีย จะมีกำลังผลิตถึง 2 ล้านบาร์เรลในปี 2008 จาก 1.25 ล้านบาร์เรลในปี 2005 เนื่องจากมีการบุกเบิกแหล่งน้ำมันแห่งใหม่เพิ่มเติม
ทั้งนี้ แหล่งน้ำมันสำรองที่ได้รับการยืนยันแล้วในแอฟริกา เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวในช่วง 7 ปีมานี้ เนื่องจากค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างบริติช ปิโตรเลียม (บีพี) แชฟรอน และอีกหลายเจ้า ได้แข่งกันค้นหาแหล่งน้ำมันในพื้นดินใต้ทะเลนอกชายฝั่งประเทศแถบมหาสมุทรแอตแลนติก.