จริยธรรมลัทธิหญูข้อที่ได้รับความนิยมมากจากทั้งวงบัณฑิตปัญญาชน และวงสังึมชาวบ้านสามัญชนทั่วไป คือหลักจริยธรรม “อี้” หรือ “หงี” 义 (義)
เรื่องความนิยมของนักปราชญ์ราชบัณฑิตคงไม่ต้องยกตัวอย่าง เพราะปราชญ์บัณฑิตเคร่งครัดเรื่องจริยธรรมอยู่แล้ว แต่ในส่วนของชาวบ้านควรจะยกตัวอย่างให้เห็นผลสะเทือนของ “อี้” เป็นรูปธรรม
ขอยกตัวอย่างเรื่องนิยายอิงประวัติศาสตร์สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ก็แล้วกัน เนื้อเรื่องสามก๊กส่วนที่ประทับใจชาวบ้านมากส่วนหนึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างเล่าปี่ – กวนอู – เตียวหุย สามคนไม่ใช่พี่น้องกัน แต่ถูกใจกันขนาดร่วมสาบานเป็นพี่น้อง และสาบานว่าถึงแม้ไม่ได้เกิดวันเดียวกัน เดือนเดียวกัน ปีเดียวกันก็ตาม แต่จะขอตายในวันเดียวกัน และทั้งสามต่างมั่นคงในคำสาบานนี้ อย่างนี้ชาวบ้านบอกว่ามีอี้ฉี้ 义气มีความซื่อสัตย์มั่นคงในความสัมพันธ์ระหว่างสมัครพรรคพวกพี่น้องร่วมสาบาน
สังคมจีนโบราณมีเรื่องเด่นเรื่องแปลกอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องสมาคมลับ สายใยที่เชื่อมร้อยและเป็นพลังของสมาคมลับก็คือ หลักจริยธรรม “อี้” (หงี) นี่เอง ซึ่งก็รวมไปถึงวงการยุทธจักรด้วย สายใยที่รัดร้อยผู้กล้า นักสู้ผู้พิทักษ์ธรรมไว้คือ “อี้” (หงี)
ในแวดวงชาวบ้าน “เฮี้ยบ” หรือเจี๋ย - กล้าหาญพิทักษ์ธรรมกับ “อี้” หรือหงี- คลองธรรม ความถูกต้องทำนองคลองธรรม คือสิ่งเดียวกัน
ก่อนที่กวนอูจะได้พบเล่าปี่ กวนอูเคยฆ่าเศรษฐีชั่วร้ายตายจนต้องเปลี่ยนชื่อและเร่ร่อนหลบหนีทางราชการ ผู้อ่านไม่รู้สึกว่ากวนอูเป็นคนผิด เพราะกวนอูฆ่าคนเลวช่วยเหลือคนดี กวนอูมีคุณธรรม “อี้” และมีความกล้าหาญแบบชาวบู๊เฮี้ยบ
เมื่อกวนอูได้พบเล่าปี่แล้ว กวนอูก็รักษาคุณธรรม “อี้” ที่พึงมีต่อเล่าปี่อย่างถึงที่สุด แม้แต่ “อี้” ที่พึงมีกับโจโฉ กวนอูก็ได้ปฏิบัติโดยยอมเอาชีวิตตนเองแลก ปล่อยให้โจโฉรอดชีวิต
นี่คือแบบฉบับของคนที่มีอี้ฉี้ 义气สมบูรณ์แบบ
คนทุกวงการทั้งพ่อค้า ตำรวจและโจรจึงบูชากวนอู
บูชาเพราะกวนอูรักพวกเดียวกัน พวกเดียวกันถูกทำร้ายฆ่าฟันก็ต้องไปฆ่าล้างแค้น ปล้นเผาหมู่บ้าน ล้างแค้นให้พวกเดียวกัน นี่เป็นคุณธรรมอี้ระดับชาวบ้านร้านตลาด ซึ่งการปฏิบัติแสดงออกในบางด้านก็ไม่ถูกต้อง
คำว่าอี้ 义(義)ดั้งเดิมที่มีความหมายว่า คนงดงาม คนน่านับถือ ศัพท์เก่ามีตัว 羊ซึ่งแปลว่างดงาม อยู่บนตัว 我 ซึ่งแปลว่าฉัน
แต่ต่อๆ มาทัศนคติว่าคนงดงาม คนน่านับถือนั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประพฤติตัวดีงามถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วย คำว่าอี้ 义 จึงกลายความหมายเป็นความถูกต้องทำนองคลองธรรม
ความถูกต้องทำนองคลองธรรม คือการปฏิบัติตัว ประพฤติตัวถูกต้องเหมาะสมกับสถานะในสังคมของตน
เช่น “คลองธรรมของประมุขขุนนาง” คือ ประมุขเคารพขุนนาง ขุนนางจงรักภักดีต่อประมุขอย่างไม่มีเงื่อนไข
“คลองธรรมของบิดาบุตร” คือบิดามารดารักถนอมเลี้ยงดูบุตร บุตรรักกตัญญูกตเวทิตาบิดามารดาอย่างไม่มีเงื่อนไข
“คลองธรรมของสามีภรรยา” คือ สามีรักใคร่ภริยา ภริยาน้อมตามสามี
“คลองธรรมของมิตร” คือ มั่นคง (จงรักภักดี) ตรงต่อมิตรภาพ รักษาสัจจะสัญญา
คลองธรรม(อี้) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเสียสละทุกอย่างเพื่อกอบกู้ประเทศชาติบ้านเมืองยามวิกฤต การยอมตายเพื่อรักษาหลักการความถูกต้องดีงาม
คลองธรรม(อี้) ในวงการปราชญ์บัณฑิตเป็นเรื่องสูงส่ง ถือเป็นแก่นคำสอนทางสังคมเลยทีเดียว
ต่างจาก “อี้” ของวงนักเลงซึ่งถือลัทธิพวกพ้องเป็นใหญ่ การทดแทนบุญคุณด้วยการไปฆ่าคนวางเพลิงก็ถือเป็นการปฏิบัติตาม “อี้”
“อี้” ของวงการปราชญ์บัณฑิตนั้น ตรงข้ามกับ “ลี่” 利 – ผลประโยชน์ จะปฏิบัติตัวรักษาคลองธรรมได้ดีต้องละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตัว คนที่ “见利忘义” – เห็นประโยชน์ก็ลืมคลองธรรมนั้น เป็นคนต่ำทราม น่ารังเกียจ
มาตรฐานความถูกต้องของ “คลองธรรม” (อี้) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามกลุ่มชน
อย่างเช่นโจร ก็มีวัฒนธรรมของโจร มีหลักปฏิบัติของโจร เมื่อกลุ่มโจรยกพวกไปปล้น คนที่บุกเข้าไปคนแรกและถอยกลับออกมาทีหลังสุด ก็ได้รับการยกย่องว่ามี “อี้ฉี้” 义气
“คลองธรรม” (อี้) ในสมัยโบราณนั้น มีมาตรฐานว่าต้องถูกต้องตาม “จง” 忠 “จง” ตัวนี้มักจะแปลกันว่า “จงรักภักดี” ซึ่งอมความไม่ครบ จงหรือตงคำนี้ ก็คือส่วนหนึ่งในศัพท์ว่า “ตงฉิน” (จีนกลางว่าจงเฉิน 忠臣)นั่นเอง ผู้เขียนเห็นว่าคำนี้เป็นคำพ้องกับคำว่า “ตรง ซื่อตรง” ในภาษาไทย
ความหมายของคำว่า จง 忠 ในลัทธิหญู คือ “ความพยายามปฏิบัติพัทธะกิจตามสถานะของตนในสังคมอย่างซื่อสัตย์อย่างสุดจิตสุดใจ ไม่เสียดายแม้จะสละชีวิตตนเอง”
“จง” มาจากหัวใจ จึงมีตัว “ 心– ซิน” หัวใจอยู่ข้างล่าง
ภายในจิตใจมีจริยธรรม “จง”เต็มเปี่ยม จึงจะแสดงออกเป็นรูปธรรมทางการปฏิบัติตาม “อี้” ได้
“อี้” ก็คือการปฏิบัติตัวตามคลองธรรม ที่มีรูปธรรมเป็นการทำหน้าที่พันธะกิจตามสถานะ เช่น เป็นขุนนางที่ดี เป็นบุตรที่ดี
ถ้าเป็นทุกวันนี้ เราคงเรียกร้องว่า จงเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ดี จงเป็นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ดี จงเป็นราษฎรที่ดี จึงจะมี “อี้ฉี้" 义气 .
เรื่องความนิยมของนักปราชญ์ราชบัณฑิตคงไม่ต้องยกตัวอย่าง เพราะปราชญ์บัณฑิตเคร่งครัดเรื่องจริยธรรมอยู่แล้ว แต่ในส่วนของชาวบ้านควรจะยกตัวอย่างให้เห็นผลสะเทือนของ “อี้” เป็นรูปธรรม
ขอยกตัวอย่างเรื่องนิยายอิงประวัติศาสตร์สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ก็แล้วกัน เนื้อเรื่องสามก๊กส่วนที่ประทับใจชาวบ้านมากส่วนหนึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างเล่าปี่ – กวนอู – เตียวหุย สามคนไม่ใช่พี่น้องกัน แต่ถูกใจกันขนาดร่วมสาบานเป็นพี่น้อง และสาบานว่าถึงแม้ไม่ได้เกิดวันเดียวกัน เดือนเดียวกัน ปีเดียวกันก็ตาม แต่จะขอตายในวันเดียวกัน และทั้งสามต่างมั่นคงในคำสาบานนี้ อย่างนี้ชาวบ้านบอกว่ามีอี้ฉี้ 义气มีความซื่อสัตย์มั่นคงในความสัมพันธ์ระหว่างสมัครพรรคพวกพี่น้องร่วมสาบาน
สังคมจีนโบราณมีเรื่องเด่นเรื่องแปลกอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องสมาคมลับ สายใยที่เชื่อมร้อยและเป็นพลังของสมาคมลับก็คือ หลักจริยธรรม “อี้” (หงี) นี่เอง ซึ่งก็รวมไปถึงวงการยุทธจักรด้วย สายใยที่รัดร้อยผู้กล้า นักสู้ผู้พิทักษ์ธรรมไว้คือ “อี้” (หงี)
ในแวดวงชาวบ้าน “เฮี้ยบ” หรือเจี๋ย - กล้าหาญพิทักษ์ธรรมกับ “อี้” หรือหงี- คลองธรรม ความถูกต้องทำนองคลองธรรม คือสิ่งเดียวกัน
ก่อนที่กวนอูจะได้พบเล่าปี่ กวนอูเคยฆ่าเศรษฐีชั่วร้ายตายจนต้องเปลี่ยนชื่อและเร่ร่อนหลบหนีทางราชการ ผู้อ่านไม่รู้สึกว่ากวนอูเป็นคนผิด เพราะกวนอูฆ่าคนเลวช่วยเหลือคนดี กวนอูมีคุณธรรม “อี้” และมีความกล้าหาญแบบชาวบู๊เฮี้ยบ
เมื่อกวนอูได้พบเล่าปี่แล้ว กวนอูก็รักษาคุณธรรม “อี้” ที่พึงมีต่อเล่าปี่อย่างถึงที่สุด แม้แต่ “อี้” ที่พึงมีกับโจโฉ กวนอูก็ได้ปฏิบัติโดยยอมเอาชีวิตตนเองแลก ปล่อยให้โจโฉรอดชีวิต
นี่คือแบบฉบับของคนที่มีอี้ฉี้ 义气สมบูรณ์แบบ
คนทุกวงการทั้งพ่อค้า ตำรวจและโจรจึงบูชากวนอู
บูชาเพราะกวนอูรักพวกเดียวกัน พวกเดียวกันถูกทำร้ายฆ่าฟันก็ต้องไปฆ่าล้างแค้น ปล้นเผาหมู่บ้าน ล้างแค้นให้พวกเดียวกัน นี่เป็นคุณธรรมอี้ระดับชาวบ้านร้านตลาด ซึ่งการปฏิบัติแสดงออกในบางด้านก็ไม่ถูกต้อง
คำว่าอี้ 义(義)ดั้งเดิมที่มีความหมายว่า คนงดงาม คนน่านับถือ ศัพท์เก่ามีตัว 羊ซึ่งแปลว่างดงาม อยู่บนตัว 我 ซึ่งแปลว่าฉัน
แต่ต่อๆ มาทัศนคติว่าคนงดงาม คนน่านับถือนั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประพฤติตัวดีงามถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วย คำว่าอี้ 义 จึงกลายความหมายเป็นความถูกต้องทำนองคลองธรรม
ความถูกต้องทำนองคลองธรรม คือการปฏิบัติตัว ประพฤติตัวถูกต้องเหมาะสมกับสถานะในสังคมของตน
เช่น “คลองธรรมของประมุขขุนนาง” คือ ประมุขเคารพขุนนาง ขุนนางจงรักภักดีต่อประมุขอย่างไม่มีเงื่อนไข
“คลองธรรมของบิดาบุตร” คือบิดามารดารักถนอมเลี้ยงดูบุตร บุตรรักกตัญญูกตเวทิตาบิดามารดาอย่างไม่มีเงื่อนไข
“คลองธรรมของสามีภรรยา” คือ สามีรักใคร่ภริยา ภริยาน้อมตามสามี
“คลองธรรมของมิตร” คือ มั่นคง (จงรักภักดี) ตรงต่อมิตรภาพ รักษาสัจจะสัญญา
คลองธรรม(อี้) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเสียสละทุกอย่างเพื่อกอบกู้ประเทศชาติบ้านเมืองยามวิกฤต การยอมตายเพื่อรักษาหลักการความถูกต้องดีงาม
คลองธรรม(อี้) ในวงการปราชญ์บัณฑิตเป็นเรื่องสูงส่ง ถือเป็นแก่นคำสอนทางสังคมเลยทีเดียว
ต่างจาก “อี้” ของวงนักเลงซึ่งถือลัทธิพวกพ้องเป็นใหญ่ การทดแทนบุญคุณด้วยการไปฆ่าคนวางเพลิงก็ถือเป็นการปฏิบัติตาม “อี้”
“อี้” ของวงการปราชญ์บัณฑิตนั้น ตรงข้ามกับ “ลี่” 利 – ผลประโยชน์ จะปฏิบัติตัวรักษาคลองธรรมได้ดีต้องละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตัว คนที่ “见利忘义” – เห็นประโยชน์ก็ลืมคลองธรรมนั้น เป็นคนต่ำทราม น่ารังเกียจ
มาตรฐานความถูกต้องของ “คลองธรรม” (อี้) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามกลุ่มชน
อย่างเช่นโจร ก็มีวัฒนธรรมของโจร มีหลักปฏิบัติของโจร เมื่อกลุ่มโจรยกพวกไปปล้น คนที่บุกเข้าไปคนแรกและถอยกลับออกมาทีหลังสุด ก็ได้รับการยกย่องว่ามี “อี้ฉี้” 义气
“คลองธรรม” (อี้) ในสมัยโบราณนั้น มีมาตรฐานว่าต้องถูกต้องตาม “จง” 忠 “จง” ตัวนี้มักจะแปลกันว่า “จงรักภักดี” ซึ่งอมความไม่ครบ จงหรือตงคำนี้ ก็คือส่วนหนึ่งในศัพท์ว่า “ตงฉิน” (จีนกลางว่าจงเฉิน 忠臣)นั่นเอง ผู้เขียนเห็นว่าคำนี้เป็นคำพ้องกับคำว่า “ตรง ซื่อตรง” ในภาษาไทย
ความหมายของคำว่า จง 忠 ในลัทธิหญู คือ “ความพยายามปฏิบัติพัทธะกิจตามสถานะของตนในสังคมอย่างซื่อสัตย์อย่างสุดจิตสุดใจ ไม่เสียดายแม้จะสละชีวิตตนเอง”
“จง” มาจากหัวใจ จึงมีตัว “ 心– ซิน” หัวใจอยู่ข้างล่าง
ภายในจิตใจมีจริยธรรม “จง”เต็มเปี่ยม จึงจะแสดงออกเป็นรูปธรรมทางการปฏิบัติตาม “อี้” ได้
“อี้” ก็คือการปฏิบัติตัวตามคลองธรรม ที่มีรูปธรรมเป็นการทำหน้าที่พันธะกิจตามสถานะ เช่น เป็นขุนนางที่ดี เป็นบุตรที่ดี
ถ้าเป็นทุกวันนี้ เราคงเรียกร้องว่า จงเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ดี จงเป็นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ดี จงเป็นราษฎรที่ดี จึงจะมี “อี้ฉี้" 义气 .