ระบบคิดปรัชญาหญูหรือลัทธิขงจื้อเป็นระบบคิดที่สำคัญมากของจีน จนบางทีคนรุ่นก่อนเขียนว่า จีนมีศาสนาขงจื้อเป็นศาสนาประจำชาติ เหตุที่เรียกว่าศาสนาขงจื้อ คงเป็นเพราะว่าในภาษาจีนใช้คำว่า ‘หญูเจี้ยว 儒教’ ‘ฝอเจี้ยว’佛教(ศาสนาพุทธ) ฝอเจี้ยวคือศาสนาพุทธ ดังนั้น หญูเจี้ยวจึงควรจะเป็นศาสนาหญูหรือศาสนาขงจื้อ
คำเต็มของคำว่า “ศาสนา” ในภาษาจีนคือ 宗教 เวลาเรียกศาสนาต่างๆ ก็จะใช้คำว่า ‘เจี้ยว ’ ไปประกอบกับนามที่บ่งบอกชื่อศาสนานั้น เช่น 道教 ศานาเต๋า
ดังนั้น ‘หญูเจี้ยว’ จะถอดความว่าศาสนาหญูก็ได้
แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ไม่อยากจะเรียนลัทธิหญูว่าศาสนา อยากจะเรียกว่า “ระบบจริยศาสตร์” หรือ “ศาสนาทางโลก” (Secular Religion) มากกว่า
คำว่า ‘หญู’ ในยุคเริ่มต้นของตัวอักษรนั้น ‘หญู’หมายถึงคนที่สอนศิลปศาสตร์ให้กับบุตรหลานของเจ้าขุนมูลนาย
ศิลปศาสตร์เหล่านั้นได้แก่
1.หลี่ 礼ได้แก่ จารีต พิธีการ มารยาทต่างๆ
2.เล่อ 乐ได้แก่ วิชาดนตรี
3.เส้อ 射ได้แก่ วิชายิงธนู
4.อวี้ 御 ได้แก่ วิชาขี่ม้า ขับขี่รถม้า
5.ซู 书ได้แก่ วิชาหนังสือ
6.ซู่ 数 ได้แก่ วิชาดาราศาสตร์ ปฏิทิน และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างๆ
นอกจากครูผู้สอนศิลปะศาสตร์หกประการนี้แล้ว ผู้มีความรู้ทางการแพทย์ การพยากรณ์ การดูโหงวเฮ้ง การทำยาอม การบำเพ็ญพรตเพื่อสำเร็จเป็นเซียน ก็เรียนกันว่าพวกหญูเช่นกัน
ระบบคิดของลัทธิหญูก่อตัวเป็นระบบโดยขงจื้อเป็นผู้รวบรวม ขงจื้อชำระตรวจสอบตำราแนวคิดหญูที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้าตน จัดเป็นตำรา 5 เล่ม คือกวี หนังสือ จารีต ดนตรี การเปลี่ยนแปลงและชำระประวัติศาสตร์แคว้นหลู่แต่เป็นตำราชื่อ “ชุนชิว” สานุศิษย์ของขงจื้อยกย่องตำรา 6 เล่มนี้เป็นคัมภีร์ (จิง经) ภารกิจของนักลัทธิหญู คือถ่ายทอดอรรถาธิบายเนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้
ปราญช์ผู้พัฒนาลัทธิหญูคนสำคัญรุ่นหลังต่อมาคือ ‘เม่งจื้อ’ เม่งจื้อให้ความสำคัญของประชาชน หากเปรียบก๊ก หรือประเทศแว่นแคว้นเป็นต้นไม้ ประชาชนก็คือรากซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด ถ้าหากประมุขแว่นแคว้นประพฤติเลวทราม ประชาชนต่อสู้โค่นล้มประมุขนั้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม
อาจจะเนื่องจากหลักจริยธรรมข้อนี้ก็ได้ ที่ทำให้ประวัติศาสตร์ชุกไปด้วยสงครามชาวนาลุกขึ้นต่อสู้กับขุนนางหรือฮ่องเต้เลว
เม่งจื้อเสนอกรอบจริยธรรมเพิ่มเติมขึ้นจากยุคขงจื้อ เช่นว่าทุกคนในสังคมดำรงสถานะใดสถานะหนึ่ง และจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหน้าที่ของคนสถานะนั้น เช่น มีสถานะเป็นขุนนาง ก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของขุนนาง เป็นสามีก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของสามี เป็นลูกก็ต้องประพฤติตามหน้าที่และจริยธรรมของลูก เป็นพ่อก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของพ่อ
บุคคลจะสามารถทำตามหน้าที่และจริยธรรมตามสถานะของตน ก็ต้องได้รับการอบรม กล่อมเกลาทางศีลธรรม ความสำนึกมีเหตุผลและการควบคุมตัวเอง
ระบบคิดของลัทธิหญูเน้นหนักที่เรื่องของคน เรื่องความสัมพันธ์ของคนในสังคม ขงจื้อท่านปฏิเสธไม่พูดออกความเห็นเรื่องผีสางเทวดา ท่านเม่งจื้อก็สอนว่าการเซ่นไหว้บูชาเทวดาบรรพบุรุษ เป็นเพียงเพื่อให้การศึกษาผู้คน ทำให้วิถีชีวิตในสังคมงดงามเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวพันกับความศักดิ์สิทธิ์ลึกลับอะไร
ถ้าตีกรอบคำจำกัดความ “ศาสนา” กันอย่างเข้มงวดแล้ว ลัทธิหญูไม่จัดว่าเป็นศาสนา
ยุคของขงจื้อและเม่งจื้อเป็นยุควุ่นวายจลาจล การแย่งชิงอำนาจแข่งขันกันเพื่อเป็นใหญ่ ศีลธรรมถูกละทิ้ง ขงจื้อจึงหันไปยกเรื่อง “ยุคบ้านเมืองดี” เป็นช่องทางเผยแพร่สอนเรื่องศีลธรรม คุณธรรม แต่ในยุคของท่านนั้น ประมุขและพวกเจ้าขุนมูลนายมุงหวังแข่งขันแสวงหาอำนาจรุนแรง จึงไม่นิยมแนวความคิดของขงจื้อและเม่งจื้อ สรุปว่าในยุคเลียดก๊ก ชนชั้นปกครองไม่รับแนวความคิดของลัทธิหญูไว้
แคว้นฉินหรือจิ๋นได้รับชัยชนะปราบแว่นแคว้นอื่นๆ รวบรวมแผ่นดินเป็นเอกภาพ นอกจากเพราะความเก่งกาจของประมุขแคว้นหลายรัชกาลแล้ว ยังเพราะว่าฉินหวางเจิ้ง (หรือจิ๋นซีฮ่องเต้) เลือกใช้แนวคิดของลัทธินิติวาท (ฝ่าเจีย) ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะสังคมที่วุ่นวายจลาจล
แต่สุดท้ายราชวงศ์ฉินไปไม่รอด เกิดจลาจลกันอีก คราวนี้เล่าปังเป็นผู้ชนะสามารถสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นได้ ปกครองบ้านเมืองสงบร่มเย็นขึ้น ต่อมาต่งจงซูสามารถทำให้ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับนับถือแนวคิดลัทธิหญูได้สำเร็จ และประกาศให้ลัทธิหญูเป็นระบบจริยธรรมของราชวงศ์และประเทศ นับแต่นั้นลัทธิหญุก็อยู่ในฐานะเหนือกว่าปรัชญาสายอื่นๆ
แนวคิดปรัชญาลัทธิหญูที่แบ่งสภาวะของคนในสังคม ถูกพัฒนาให้รับใช้สังคมศักดินาจีน ซึ่งกำหนดแบ่งชั้นของคนในสังคม ลัทธิหญูถูกใช้ ถูกตีความอย่างตายด้าน จึงค่อยๆ เสื่อมลง และยิ่งมีแนวคิดที่เป็นระบบเป็นศาสนาที่มีเนื้อหาสมบูรณ์เข้มข้นกว่า เช่น ศาสนาพุทธ แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ สานุศิษย์ลัทธิหญูจำเป็นต้องปรับปรุง
ในยุคราชวงศ์ซ่ง มีปราญช์ลัทธิหญูคนสำคัญเกิดขึ้น คือ จูซี
จูซี ชำระ อรรถาธิบายคัมภีร์เก่าเสียใหม่ รับเอาแนวคิดแบบพุทธและเต๋าเข้าไปขยายและพัฒนาให้เนื้อหาคำสอนของลัทธิหญูเป็นระบบและสมบูรณ์มากขึ้น การอธิบายปรัชญาลัทธิหญูที่เราๆ ท่านได้อ่านในฉบับภาษาไทยนั้นเป็นเนื้อหาที่ผ่านการปฏิรูปของจูซีแล้ว
ถ้าอยากจะตีความ ‘หญู’ แบบขงจื้อแท้ๆ ต้องตีความเอาจากหนังสือ “ลุ่นอวี่” บันทึกคำสอนโดยตรงของท่าน และสำหรับหญูแบบเม่งจื้อแท้ๆ ก็ต้องไปศึกษา ไปตีความจากหนังสือ “เม่งจื้อ” ซึ่งท่านเขียนไว้เอง .
คำเต็มของคำว่า “ศาสนา” ในภาษาจีนคือ 宗教 เวลาเรียกศาสนาต่างๆ ก็จะใช้คำว่า ‘เจี้ยว ’ ไปประกอบกับนามที่บ่งบอกชื่อศาสนานั้น เช่น 道教 ศานาเต๋า
ดังนั้น ‘หญูเจี้ยว’ จะถอดความว่าศาสนาหญูก็ได้
แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ไม่อยากจะเรียนลัทธิหญูว่าศาสนา อยากจะเรียกว่า “ระบบจริยศาสตร์” หรือ “ศาสนาทางโลก” (Secular Religion) มากกว่า
คำว่า ‘หญู’ ในยุคเริ่มต้นของตัวอักษรนั้น ‘หญู’หมายถึงคนที่สอนศิลปศาสตร์ให้กับบุตรหลานของเจ้าขุนมูลนาย
ศิลปศาสตร์เหล่านั้นได้แก่
1.หลี่ 礼ได้แก่ จารีต พิธีการ มารยาทต่างๆ
2.เล่อ 乐ได้แก่ วิชาดนตรี
3.เส้อ 射ได้แก่ วิชายิงธนู
4.อวี้ 御 ได้แก่ วิชาขี่ม้า ขับขี่รถม้า
5.ซู 书ได้แก่ วิชาหนังสือ
6.ซู่ 数 ได้แก่ วิชาดาราศาสตร์ ปฏิทิน และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างๆ
นอกจากครูผู้สอนศิลปะศาสตร์หกประการนี้แล้ว ผู้มีความรู้ทางการแพทย์ การพยากรณ์ การดูโหงวเฮ้ง การทำยาอม การบำเพ็ญพรตเพื่อสำเร็จเป็นเซียน ก็เรียนกันว่าพวกหญูเช่นกัน
ระบบคิดของลัทธิหญูก่อตัวเป็นระบบโดยขงจื้อเป็นผู้รวบรวม ขงจื้อชำระตรวจสอบตำราแนวคิดหญูที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้าตน จัดเป็นตำรา 5 เล่ม คือกวี หนังสือ จารีต ดนตรี การเปลี่ยนแปลงและชำระประวัติศาสตร์แคว้นหลู่แต่เป็นตำราชื่อ “ชุนชิว” สานุศิษย์ของขงจื้อยกย่องตำรา 6 เล่มนี้เป็นคัมภีร์ (จิง经) ภารกิจของนักลัทธิหญู คือถ่ายทอดอรรถาธิบายเนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้
ปราญช์ผู้พัฒนาลัทธิหญูคนสำคัญรุ่นหลังต่อมาคือ ‘เม่งจื้อ’ เม่งจื้อให้ความสำคัญของประชาชน หากเปรียบก๊ก หรือประเทศแว่นแคว้นเป็นต้นไม้ ประชาชนก็คือรากซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด ถ้าหากประมุขแว่นแคว้นประพฤติเลวทราม ประชาชนต่อสู้โค่นล้มประมุขนั้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม
อาจจะเนื่องจากหลักจริยธรรมข้อนี้ก็ได้ ที่ทำให้ประวัติศาสตร์ชุกไปด้วยสงครามชาวนาลุกขึ้นต่อสู้กับขุนนางหรือฮ่องเต้เลว
เม่งจื้อเสนอกรอบจริยธรรมเพิ่มเติมขึ้นจากยุคขงจื้อ เช่นว่าทุกคนในสังคมดำรงสถานะใดสถานะหนึ่ง และจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหน้าที่ของคนสถานะนั้น เช่น มีสถานะเป็นขุนนาง ก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของขุนนาง เป็นสามีก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของสามี เป็นลูกก็ต้องประพฤติตามหน้าที่และจริยธรรมของลูก เป็นพ่อก็ต้องประพฤติตนตามหน้าที่และจริยธรรมของพ่อ
บุคคลจะสามารถทำตามหน้าที่และจริยธรรมตามสถานะของตน ก็ต้องได้รับการอบรม กล่อมเกลาทางศีลธรรม ความสำนึกมีเหตุผลและการควบคุมตัวเอง
ระบบคิดของลัทธิหญูเน้นหนักที่เรื่องของคน เรื่องความสัมพันธ์ของคนในสังคม ขงจื้อท่านปฏิเสธไม่พูดออกความเห็นเรื่องผีสางเทวดา ท่านเม่งจื้อก็สอนว่าการเซ่นไหว้บูชาเทวดาบรรพบุรุษ เป็นเพียงเพื่อให้การศึกษาผู้คน ทำให้วิถีชีวิตในสังคมงดงามเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวพันกับความศักดิ์สิทธิ์ลึกลับอะไร
ถ้าตีกรอบคำจำกัดความ “ศาสนา” กันอย่างเข้มงวดแล้ว ลัทธิหญูไม่จัดว่าเป็นศาสนา
ยุคของขงจื้อและเม่งจื้อเป็นยุควุ่นวายจลาจล การแย่งชิงอำนาจแข่งขันกันเพื่อเป็นใหญ่ ศีลธรรมถูกละทิ้ง ขงจื้อจึงหันไปยกเรื่อง “ยุคบ้านเมืองดี” เป็นช่องทางเผยแพร่สอนเรื่องศีลธรรม คุณธรรม แต่ในยุคของท่านนั้น ประมุขและพวกเจ้าขุนมูลนายมุงหวังแข่งขันแสวงหาอำนาจรุนแรง จึงไม่นิยมแนวความคิดของขงจื้อและเม่งจื้อ สรุปว่าในยุคเลียดก๊ก ชนชั้นปกครองไม่รับแนวความคิดของลัทธิหญูไว้
แคว้นฉินหรือจิ๋นได้รับชัยชนะปราบแว่นแคว้นอื่นๆ รวบรวมแผ่นดินเป็นเอกภาพ นอกจากเพราะความเก่งกาจของประมุขแคว้นหลายรัชกาลแล้ว ยังเพราะว่าฉินหวางเจิ้ง (หรือจิ๋นซีฮ่องเต้) เลือกใช้แนวคิดของลัทธินิติวาท (ฝ่าเจีย) ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะสังคมที่วุ่นวายจลาจล
แต่สุดท้ายราชวงศ์ฉินไปไม่รอด เกิดจลาจลกันอีก คราวนี้เล่าปังเป็นผู้ชนะสามารถสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นได้ ปกครองบ้านเมืองสงบร่มเย็นขึ้น ต่อมาต่งจงซูสามารถทำให้ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับนับถือแนวคิดลัทธิหญูได้สำเร็จ และประกาศให้ลัทธิหญูเป็นระบบจริยธรรมของราชวงศ์และประเทศ นับแต่นั้นลัทธิหญุก็อยู่ในฐานะเหนือกว่าปรัชญาสายอื่นๆ
แนวคิดปรัชญาลัทธิหญูที่แบ่งสภาวะของคนในสังคม ถูกพัฒนาให้รับใช้สังคมศักดินาจีน ซึ่งกำหนดแบ่งชั้นของคนในสังคม ลัทธิหญูถูกใช้ ถูกตีความอย่างตายด้าน จึงค่อยๆ เสื่อมลง และยิ่งมีแนวคิดที่เป็นระบบเป็นศาสนาที่มีเนื้อหาสมบูรณ์เข้มข้นกว่า เช่น ศาสนาพุทธ แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ สานุศิษย์ลัทธิหญูจำเป็นต้องปรับปรุง
ในยุคราชวงศ์ซ่ง มีปราญช์ลัทธิหญูคนสำคัญเกิดขึ้น คือ จูซี
จูซี ชำระ อรรถาธิบายคัมภีร์เก่าเสียใหม่ รับเอาแนวคิดแบบพุทธและเต๋าเข้าไปขยายและพัฒนาให้เนื้อหาคำสอนของลัทธิหญูเป็นระบบและสมบูรณ์มากขึ้น การอธิบายปรัชญาลัทธิหญูที่เราๆ ท่านได้อ่านในฉบับภาษาไทยนั้นเป็นเนื้อหาที่ผ่านการปฏิรูปของจูซีแล้ว
ถ้าอยากจะตีความ ‘หญู’ แบบขงจื้อแท้ๆ ต้องตีความเอาจากหนังสือ “ลุ่นอวี่” บันทึกคำสอนโดยตรงของท่าน และสำหรับหญูแบบเม่งจื้อแท้ๆ ก็ต้องไปศึกษา ไปตีความจากหนังสือ “เม่งจื้อ” ซึ่งท่านเขียนไว้เอง .