ชื่อเสียงของสนมเอกผู้เลอโฉมแห่งราชวงศ์ถัง หยางกุ้ยเฟย หนึ่งในสี่สาวงามของแผ่นดินจีนผู้เขย่าบัลลังก์มังกร นอกจากจะเป็นเรื่องเสน่ห์เย้ายวนที่ทำให้ฮ่องเต้ถังเสียนจงหลงใหลจนส่งผลให้ราชบัลลังก์ถังต้องล่มสลายแล้ว เรื่องราวอีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวกับการตายและสุสานที่ฝังศพของสนมเอกผู้นี้ ก็เป็นอีกปริศนาหนึ่งที่หลายฝ่ายยังเถียงกันไม่ตก เพราะการขุดคุ้ยหาความจริงของกรณีดังกล่าวยังคงไร้หลักฐานยืนยันแน่ชัด

ปริศนาที่หนึ่ง : ความแตกต่างที่ปรากฏในบันทึก 2 ฉบับ
ในปีค.ศ.756 หลังเกิดกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง (安史之乱) เปลี่ยนราชวงศ์ถังอันรุ่งโรจน์ให้เข้าสู่ยุคเสื่อม ระหว่างทางที่ฮ่องเต้ถังเสียนจงและสนมเอกหยางเดินทางลี้ภัยไปยังซื่อชวน (เสฉวน) ทหารรักษาพระองค์ได้สังหารอัครมหาเสนาบดีหยางกั๋วจง ลูกพี่ลูกน้องของสนมเอกหยาง และบังคับให้ฮ่องเต้เสียนจงประหารนางตามไปด้วย สนมเอกหยางผู้ซึ่งไร้ทายาทจึงถูกบังคับให้ผูกคอตายที่เนินหม่าเหวยนั้น (ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลส่านซี)
จนเมื่อค่ำวันหนึ่งกลางฤดูร้อนหลังจากนั้น 2 ปี จักรพรรดิเสียนจงก็มีบัญชาลับให้คนไปขุดศพของสนมเอกคู่พระทัยกลับมา แต่คนงานกลับมารายงานว่าหาศพของนางไม่เจอ ได้แต่เพียง ‘ถุงหอม’ กลับมาถวายแทน

เกี่ยวกับกรณีการขุดสุสานหยางกุ้ยเฟยนี้มีบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ฉบับ กล่าวคือ บันทึกราชวงศ์ถังฉบับเก่า (旧唐书) บันทึกไว้ว่า “กล้ามเนื้อและผิวหนังเน่าเสียแล้ว ถุงหอมยังคงอยู่” แต่ใน บันทึกราชวงศ์ถังฉบับใหม่ (新唐书) กลับบันทึกไว้เพียงประโยคหลังเท่านั้น จึงมีการตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงมีข้อแตกต่างกันของบันทึกทั้งสองเล่ม ? ศพของสนมเอกหยางจะถูกขโมยไปใช่หรือไม่ ?
ข้อสงสัยประการหลังถูกตัดออกไป เนื่องจากในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นไปไม่ได้ที่ชาวบ้านสามัญชนจะล่วงรู้ถึงที่ฝังศพของนางในทันที และหากมีการขโมยขุดหลุมฝังศพจริงโจรก็คงไม่ทิ้งถุงหอมเอาไว้ นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จึงตั้งข้อสงสัยกับความแม่นยำน่าเชื่อถือของบันทึกทั้ง 2 ฉบับ
บันทึกราชวงศ์ถังฉบับเก่าเขียนโดยคนของราชสำนักถัง (ค.ศ.618 - 907) ส่วนฉบับใหม่เขียนโดยคนในราชสำนักซ่ง (ค.ศ.960 -1279) อ้างอิงตามเหตุผลทั่วไปแล้วบันทึกฉบับแรกควรมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ฉะนั้นแล้ว คนที่บันทึกในราชวงศ์ต่อมาก็ยิ่งไม่สมควรลบประโยคแรกที่เป็นข้อความสำคัญออกไป นอกเสียจากว่าพวกเขามีเหตุผลบางอย่าง

ศาตราจารย์หลิวโฮ่วปิน แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจงกั๋วเหรินหมิน แสดงความเห็นว่า “ ฮ่องเต้เสียนจงคงมีพระประสงค์จะประกาศออกไปว่าสนมเอกหยางได้ตายไปแล้ว ซึ่งหากบันทึกไว้ครึ่งๆกลางๆก็จะเปิดช่องให้จินตนาการกันไปได้ ต่อมาในสมัยซ่งคนบันทึกหลบเลี่ยงไม่กล่าวถึงศพของสนมเอกหยางว่ามีหรือไม่ โดยไม่เขียนถึงเอาดื้อๆ ”
ปริศนาที่สอง : ศพผู้หญิงในโลงไม้ที่ซื่อชวนระบุไม่ได้ว่าเป็นใคร
หลังจากวันที่หยางกุ้ยเฟยตายไปแล้ว 1,000 ปี ‘ถุงหอม’ ซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่พบในหลุมฝังศพของนาง ก็มาตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมิน คุณซ่งหัวหน้าพิพิธภัณฑ์อธิบายถึงถุงหอมนี้ว่า “ เรียกว่าถุงแต่มีลักษณะเหมือนลูกบอล ภายในบรรจุลูกบาตรเล็กๆอยู่ ไม่ว่าจะพลิกคว่ำอย่างไรก็ไม่เอียง น้ำหอมในถุงก็ไม่มีวันหกออกมา ”
ปัจจุบัน ทางอำเภอหม่าเหวยยังมีการบูรณะหลุมศพของสนมเอกหยาง ซึ่งไม่เพียงมีหลุมศพที่สูง 3 เมตร ปูด้วยอิฐสีเขียวแน่นหนาแล้ว ยังมีรูปสลักของนางตั้งอยู่ด้วย แต่หลุมที่เห็นในวันนี้แตกต่างจากเรื่องเล่าตกทอดเมื่อ 1,000 ปีก่อนของคนในหมู่บ้านหงเหมย เมืองตูเจียงเยี่ยนในเขตมณฑลซื่อชวน ว่า เดิมทีมันเป็นเพียงแท่นหินหน้าหลุมที่สลักอักษร ‘หยาง’ เพียงตัวเดียว และเป็นหลุมศพลึกลับมานาน 1,000 ปีแล้ว
ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) แท่นหินนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย พื้นที่ที่เป็นหลุมศพในวันนี้ถูกปล่อยรกร้างเต็มไปด้วยวัชพืช เหลือแต่แท่นบูชาหน้าหลุมที่แตกหักอนาถาเพียงก้อนเดียว จนเมื่อปีค.ศ.1997 มีการขุดค้นสุสานดังกล่าว พบโลงไม้ยาว 1.7 เมตร กว้าง 45 เซนติเมตร ภายในบรรจุศพผู้หญิงที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร

ปริศนาที่สาม : หยางกุ้ยเฟยหนีไปญี่ปุ่น ตำนานแฝงในบทกวี
ข่าวในปีค.ศ.2002 เมื่อดาราสาวชื่อดังชาวญี่ปุ่น โมโมเอะ ยามากูชิ ออกมาอ้างว่าเป็นทายาทเชื้อสายของหยางกุ้ยเฟย สร้างข้อกังขาให้กับชาวจีนอย่างอึกทึกครึกโครม
แท้จริงแล้วเมื่อราวปีทศวรรษที่ 20 แห่งศตวรรษที่แล้ว อี๋ว์ผิงป๋อ ผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมคลาสิก ‘ความฝันในหอแดง’ เคยหยิบยกความตอนหนึ่งใน ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ (กำสรวลชั่วกาลปาวสาน)* มาตีความว่า หยางกุ้ยเฟยไม่ได้ตายที่เนินหม่าเหวย แต่หนีไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ที่ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านริมทะเลชื่อ ‘จิ่วจิน’ (久津) ที่มีชื่อเสียงจากการเป็น ‘หมู่บ้านของหยางกุ้ยเฟย’
โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายที่หม่าเหวย สาวใช้นางหนึ่งยอมตายแทนนาง แล้วสนมเอกหยางก็ลงเรือรอนแรมหนีภัยไปจนถึงหมู่บ้านจิ่วจินในอำเภอซันโข่วบนเกาะญี่ปุ่นโดยความช่วยเหลือจากทูตของราชสำนักถัง หมู่บ้านแห่งนี้เป็นถิ่นที่ต้นตระกูลของดาราสาวคนดังกล่าวอาศัยอยู่
นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีญี่ปุ่นอีก 2 เล่มที่พรรณนาถึงการกลับมาเกิดใหม่และการหนีออกนอกราชอาณาจักรถังของหยางกุ้ยเฟย ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบ เหยียนเส้าเทา เชื่อว่า หลักฐานเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ กวีนิพนธ์ของ ไป๋จีว์อี้ ที่พรรณนาถึงความรักของถังเสียนจงที่มีต่อหยางกุ้ยเฟย โดยหลายคนยังตีความท่อนท้ายของบทกวีดังกล่าวไว้ว่า

“ เมื่อนางได้ถูกปลิดชีพไปแล้ว ดวงวิญญาณได้ล่องลอยไปสู่ ‘เผิงไหลเซียนซัน’ ซึ่งหมายถึง ที่อยู่ของเทพยดา ซึ่งต่อมาได้มาประสบกับเต้าหยินผู้ซึ่งฮ่องเต้เสียนจงส่งมาที่นั่น ” ทั้งนี้ชื่อเทือกเขาดังกล่าวมักปรากฏในวรรณกรรมของชาวญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง
นอกจากนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักประพันธ์หญิงคนแรกของญี่ปุ่นนามว่า มูราซาคิ ซึคิบุ (Murasaki Shikibu 973 - 1014 or 1025 ) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ในวังหลวงสอนด้านวรรณคดีฮั่น ก็เคยใช้ ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ เป็นแรงบันดาลใจประพันธ์นวนิยายที่มีความยาวที่สุดในโลก ‘เรื่องของเกนจิ’( The Tales of Genji ) ที่กลายเป็นวรรณกรรมคลาสิกของญี่ปุ่น กล่าวถึง ชีวิตนางกำนัลในวังซึ่งมีชะตากรรมคล้ายคลึงกับชีวิตจริงของหยางกุ้ยเฟย
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นบันทึกการเดินทางทางทะเลที่ละเอียดและถูกต้องที่สุด คือ การเดินทางข้ามไปญี่ปุ่น (东渡日本) เพื่อเผยแผ่ศาสนาของหลวงจีนเจี้ยนเจิน ( 鉴真和尚 มีชีวิตอยู่ในสมัยถัง 687 - 763) ที่ต้องใช้เวลา 11 ปี และล้มเหลว 5 ครั้งกว่าจะไปถึงญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการเดินทางในสมัยนั้น ส่งผลให้ข้อสันนิษฐานเรื่องการหลบหนีไปญี่ปุ่นของนางในเช่นสนมเอกหยางเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากในความเป็นจริง
ถึงกระนั้น ศาสตราจารย์หลิว แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน ก็แย้งว่า ในสมัยราชวงศ์ถังญี่ปุ่นและจีนมีการไปมาหาสู่ติดต่อกันบ่อยครั้ง และที่ไม่เป็นทางการถึง 16 -17 ครั้ง เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของกองเรือในสมัยนั้นแล้ว การเดินทางหนีไปญี่ปุ่นของสนมเอกหยางจึงไม่น่ามีปัญหา

และหากเป็นดังที่ศาสตราจารย์หลิวคาด หยางกุ้ยเฟยจะไปขึ้นเรือที่ใด ? ภายหลังที่นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปิดปูมเส้นทางคมนาคมทางเรือโบราณ พบว่า ถังเสียนจงเลือกเส้นทางหลบหนีพวกกบฏไปซื่อชวน หยางกุ้ยเฟยอาจเลือกเส้นทางที่ตรงกันข้ามโดยล่องฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่างไปเมืองอู่ฮั่น ทั้งนี้ มีเส้นทางน้ำที่น่าเป็นไปได้ 3 สายมุ่งสู่ 3 เมือง ได้แก่ หยังโจว ซูโจว และหมิงโจว ซึ่งเป็นไปได้ที่นางจะลงเรือที่เมืองใดเมืองหนึ่ง เพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่หมู่บ้านซันโข่วในญี่ปุ่น
ปริศนาที่สี่ : ความเชื่อเรื่องการหนีไปซ่อนตัวบนเขาไท่เผิงซัน
ข้อสันนิษฐานประการสุดท้าย เชื่อว่า ‘เขาเผิงไหลเซียนซัน’ หรือที่อยู่ของเทพยดาที่กล่าวถึงใน ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ คือภูเขาไท่เผิงซัน ที่ตั้งอยู่ในอำเภออิ๋งซัน มณฑลซื่อชวน เนื่องจากมีความพิเศษที่ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและอันตราย
นอกจากนี้ ตามที่ทราบกันดีว่า หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่เป็นอย่างมาก ฮ่องเต้ถังเสียนจงถึงกับสร้างถนนปลูกต้นลิ้นจี่ขึ้นสายหนึ่งเพื่อนาง เส้นทางดังกล่าวก็ตัดผ่านเขาแห่งนี้ด้วย หากเป็นไปตามข้อสันนิษฐานข้างต้น เขาไท่เผิงซันในซื่อชวนก็อาจจะเป็นสถานที่ที่หยางกุ้ยเฟยเดินทางมาตามที่ปรากฏในบทกวีคลาสิกนี้ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับไหนยืนยันความเชื่อดังกล่าวอีกเช่นกัน

ศาสตราจารย์เฝิง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์มณฑลซื่อชวน กล่าวสรุปว่า การสืบค้นเรื่องการตายของหยางกุ้ยเฟยยังคงเป็นปริศนาไม่มีข้อสรุป เนื่องจากด้านหนึ่งเกิดจาการขาดตกบกพร่องในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ด้านหนึ่งเกิดจากความหลงใหลในความโรแมนติกของวรรณกรรมคลาสิก ถึงแม้ข้อสันนิษฐานทั้งหลายจะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด แต่นาม ‘หยางกุ้ยเฟย’ ก็กลายเป็นชื่อที่อยู่คู่กับราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติจีน และการตายของนางก็ยังคงมีคุณค่าต่อการค้นหาความจริงต่อไปไม่จบสิ้น .
เรียบเรียงจาก เป่ยจิงยูธเน็ต
*อ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์จาก หนังสือ “ประวัติศาสตร์จีน” โดย ทวีป วรดิลก
ปริศนาที่หนึ่ง : ความแตกต่างที่ปรากฏในบันทึก 2 ฉบับ
ในปีค.ศ.756 หลังเกิดกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง (安史之乱) เปลี่ยนราชวงศ์ถังอันรุ่งโรจน์ให้เข้าสู่ยุคเสื่อม ระหว่างทางที่ฮ่องเต้ถังเสียนจงและสนมเอกหยางเดินทางลี้ภัยไปยังซื่อชวน (เสฉวน) ทหารรักษาพระองค์ได้สังหารอัครมหาเสนาบดีหยางกั๋วจง ลูกพี่ลูกน้องของสนมเอกหยาง และบังคับให้ฮ่องเต้เสียนจงประหารนางตามไปด้วย สนมเอกหยางผู้ซึ่งไร้ทายาทจึงถูกบังคับให้ผูกคอตายที่เนินหม่าเหวยนั้น (ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลส่านซี)
จนเมื่อค่ำวันหนึ่งกลางฤดูร้อนหลังจากนั้น 2 ปี จักรพรรดิเสียนจงก็มีบัญชาลับให้คนไปขุดศพของสนมเอกคู่พระทัยกลับมา แต่คนงานกลับมารายงานว่าหาศพของนางไม่เจอ ได้แต่เพียง ‘ถุงหอม’ กลับมาถวายแทน
เกี่ยวกับกรณีการขุดสุสานหยางกุ้ยเฟยนี้มีบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ฉบับ กล่าวคือ บันทึกราชวงศ์ถังฉบับเก่า (旧唐书) บันทึกไว้ว่า “กล้ามเนื้อและผิวหนังเน่าเสียแล้ว ถุงหอมยังคงอยู่” แต่ใน บันทึกราชวงศ์ถังฉบับใหม่ (新唐书) กลับบันทึกไว้เพียงประโยคหลังเท่านั้น จึงมีการตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงมีข้อแตกต่างกันของบันทึกทั้งสองเล่ม ? ศพของสนมเอกหยางจะถูกขโมยไปใช่หรือไม่ ?
ข้อสงสัยประการหลังถูกตัดออกไป เนื่องจากในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นไปไม่ได้ที่ชาวบ้านสามัญชนจะล่วงรู้ถึงที่ฝังศพของนางในทันที และหากมีการขโมยขุดหลุมฝังศพจริงโจรก็คงไม่ทิ้งถุงหอมเอาไว้ นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จึงตั้งข้อสงสัยกับความแม่นยำน่าเชื่อถือของบันทึกทั้ง 2 ฉบับ
บันทึกราชวงศ์ถังฉบับเก่าเขียนโดยคนของราชสำนักถัง (ค.ศ.618 - 907) ส่วนฉบับใหม่เขียนโดยคนในราชสำนักซ่ง (ค.ศ.960 -1279) อ้างอิงตามเหตุผลทั่วไปแล้วบันทึกฉบับแรกควรมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ฉะนั้นแล้ว คนที่บันทึกในราชวงศ์ต่อมาก็ยิ่งไม่สมควรลบประโยคแรกที่เป็นข้อความสำคัญออกไป นอกเสียจากว่าพวกเขามีเหตุผลบางอย่าง
ศาตราจารย์หลิวโฮ่วปิน แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจงกั๋วเหรินหมิน แสดงความเห็นว่า “ ฮ่องเต้เสียนจงคงมีพระประสงค์จะประกาศออกไปว่าสนมเอกหยางได้ตายไปแล้ว ซึ่งหากบันทึกไว้ครึ่งๆกลางๆก็จะเปิดช่องให้จินตนาการกันไปได้ ต่อมาในสมัยซ่งคนบันทึกหลบเลี่ยงไม่กล่าวถึงศพของสนมเอกหยางว่ามีหรือไม่ โดยไม่เขียนถึงเอาดื้อๆ ”
ปริศนาที่สอง : ศพผู้หญิงในโลงไม้ที่ซื่อชวนระบุไม่ได้ว่าเป็นใคร
หลังจากวันที่หยางกุ้ยเฟยตายไปแล้ว 1,000 ปี ‘ถุงหอม’ ซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่พบในหลุมฝังศพของนาง ก็มาตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมิน คุณซ่งหัวหน้าพิพิธภัณฑ์อธิบายถึงถุงหอมนี้ว่า “ เรียกว่าถุงแต่มีลักษณะเหมือนลูกบอล ภายในบรรจุลูกบาตรเล็กๆอยู่ ไม่ว่าจะพลิกคว่ำอย่างไรก็ไม่เอียง น้ำหอมในถุงก็ไม่มีวันหกออกมา ”
ปัจจุบัน ทางอำเภอหม่าเหวยยังมีการบูรณะหลุมศพของสนมเอกหยาง ซึ่งไม่เพียงมีหลุมศพที่สูง 3 เมตร ปูด้วยอิฐสีเขียวแน่นหนาแล้ว ยังมีรูปสลักของนางตั้งอยู่ด้วย แต่หลุมที่เห็นในวันนี้แตกต่างจากเรื่องเล่าตกทอดเมื่อ 1,000 ปีก่อนของคนในหมู่บ้านหงเหมย เมืองตูเจียงเยี่ยนในเขตมณฑลซื่อชวน ว่า เดิมทีมันเป็นเพียงแท่นหินหน้าหลุมที่สลักอักษร ‘หยาง’ เพียงตัวเดียว และเป็นหลุมศพลึกลับมานาน 1,000 ปีแล้ว
ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) แท่นหินนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย พื้นที่ที่เป็นหลุมศพในวันนี้ถูกปล่อยรกร้างเต็มไปด้วยวัชพืช เหลือแต่แท่นบูชาหน้าหลุมที่แตกหักอนาถาเพียงก้อนเดียว จนเมื่อปีค.ศ.1997 มีการขุดค้นสุสานดังกล่าว พบโลงไม้ยาว 1.7 เมตร กว้าง 45 เซนติเมตร ภายในบรรจุศพผู้หญิงที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร
ปริศนาที่สาม : หยางกุ้ยเฟยหนีไปญี่ปุ่น ตำนานแฝงในบทกวี
ข่าวในปีค.ศ.2002 เมื่อดาราสาวชื่อดังชาวญี่ปุ่น โมโมเอะ ยามากูชิ ออกมาอ้างว่าเป็นทายาทเชื้อสายของหยางกุ้ยเฟย สร้างข้อกังขาให้กับชาวจีนอย่างอึกทึกครึกโครม
แท้จริงแล้วเมื่อราวปีทศวรรษที่ 20 แห่งศตวรรษที่แล้ว อี๋ว์ผิงป๋อ ผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมคลาสิก ‘ความฝันในหอแดง’ เคยหยิบยกความตอนหนึ่งใน ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ (กำสรวลชั่วกาลปาวสาน)* มาตีความว่า หยางกุ้ยเฟยไม่ได้ตายที่เนินหม่าเหวย แต่หนีไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ที่ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านริมทะเลชื่อ ‘จิ่วจิน’ (久津) ที่มีชื่อเสียงจากการเป็น ‘หมู่บ้านของหยางกุ้ยเฟย’
โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายที่หม่าเหวย สาวใช้นางหนึ่งยอมตายแทนนาง แล้วสนมเอกหยางก็ลงเรือรอนแรมหนีภัยไปจนถึงหมู่บ้านจิ่วจินในอำเภอซันโข่วบนเกาะญี่ปุ่นโดยความช่วยเหลือจากทูตของราชสำนักถัง หมู่บ้านแห่งนี้เป็นถิ่นที่ต้นตระกูลของดาราสาวคนดังกล่าวอาศัยอยู่
นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีญี่ปุ่นอีก 2 เล่มที่พรรณนาถึงการกลับมาเกิดใหม่และการหนีออกนอกราชอาณาจักรถังของหยางกุ้ยเฟย ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบ เหยียนเส้าเทา เชื่อว่า หลักฐานเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ กวีนิพนธ์ของ ไป๋จีว์อี้ ที่พรรณนาถึงความรักของถังเสียนจงที่มีต่อหยางกุ้ยเฟย โดยหลายคนยังตีความท่อนท้ายของบทกวีดังกล่าวไว้ว่า
“ เมื่อนางได้ถูกปลิดชีพไปแล้ว ดวงวิญญาณได้ล่องลอยไปสู่ ‘เผิงไหลเซียนซัน’ ซึ่งหมายถึง ที่อยู่ของเทพยดา ซึ่งต่อมาได้มาประสบกับเต้าหยินผู้ซึ่งฮ่องเต้เสียนจงส่งมาที่นั่น ” ทั้งนี้ชื่อเทือกเขาดังกล่าวมักปรากฏในวรรณกรรมของชาวญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง
นอกจากนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักประพันธ์หญิงคนแรกของญี่ปุ่นนามว่า มูราซาคิ ซึคิบุ (Murasaki Shikibu 973 - 1014 or 1025 ) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ในวังหลวงสอนด้านวรรณคดีฮั่น ก็เคยใช้ ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ เป็นแรงบันดาลใจประพันธ์นวนิยายที่มีความยาวที่สุดในโลก ‘เรื่องของเกนจิ’( The Tales of Genji ) ที่กลายเป็นวรรณกรรมคลาสิกของญี่ปุ่น กล่าวถึง ชีวิตนางกำนัลในวังซึ่งมีชะตากรรมคล้ายคลึงกับชีวิตจริงของหยางกุ้ยเฟย
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นบันทึกการเดินทางทางทะเลที่ละเอียดและถูกต้องที่สุด คือ การเดินทางข้ามไปญี่ปุ่น (东渡日本) เพื่อเผยแผ่ศาสนาของหลวงจีนเจี้ยนเจิน ( 鉴真和尚 มีชีวิตอยู่ในสมัยถัง 687 - 763) ที่ต้องใช้เวลา 11 ปี และล้มเหลว 5 ครั้งกว่าจะไปถึงญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการเดินทางในสมัยนั้น ส่งผลให้ข้อสันนิษฐานเรื่องการหลบหนีไปญี่ปุ่นของนางในเช่นสนมเอกหยางเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากในความเป็นจริง
ถึงกระนั้น ศาสตราจารย์หลิว แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน ก็แย้งว่า ในสมัยราชวงศ์ถังญี่ปุ่นและจีนมีการไปมาหาสู่ติดต่อกันบ่อยครั้ง และที่ไม่เป็นทางการถึง 16 -17 ครั้ง เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของกองเรือในสมัยนั้นแล้ว การเดินทางหนีไปญี่ปุ่นของสนมเอกหยางจึงไม่น่ามีปัญหา
และหากเป็นดังที่ศาสตราจารย์หลิวคาด หยางกุ้ยเฟยจะไปขึ้นเรือที่ใด ? ภายหลังที่นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปิดปูมเส้นทางคมนาคมทางเรือโบราณ พบว่า ถังเสียนจงเลือกเส้นทางหลบหนีพวกกบฏไปซื่อชวน หยางกุ้ยเฟยอาจเลือกเส้นทางที่ตรงกันข้ามโดยล่องฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่างไปเมืองอู่ฮั่น ทั้งนี้ มีเส้นทางน้ำที่น่าเป็นไปได้ 3 สายมุ่งสู่ 3 เมือง ได้แก่ หยังโจว ซูโจว และหมิงโจว ซึ่งเป็นไปได้ที่นางจะลงเรือที่เมืองใดเมืองหนึ่ง เพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่หมู่บ้านซันโข่วในญี่ปุ่น
ปริศนาที่สี่ : ความเชื่อเรื่องการหนีไปซ่อนตัวบนเขาไท่เผิงซัน
ข้อสันนิษฐานประการสุดท้าย เชื่อว่า ‘เขาเผิงไหลเซียนซัน’ หรือที่อยู่ของเทพยดาที่กล่าวถึงใน ‘ฉางเฮิ่นเกอ’ คือภูเขาไท่เผิงซัน ที่ตั้งอยู่ในอำเภออิ๋งซัน มณฑลซื่อชวน เนื่องจากมีความพิเศษที่ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและอันตราย
นอกจากนี้ ตามที่ทราบกันดีว่า หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่เป็นอย่างมาก ฮ่องเต้ถังเสียนจงถึงกับสร้างถนนปลูกต้นลิ้นจี่ขึ้นสายหนึ่งเพื่อนาง เส้นทางดังกล่าวก็ตัดผ่านเขาแห่งนี้ด้วย หากเป็นไปตามข้อสันนิษฐานข้างต้น เขาไท่เผิงซันในซื่อชวนก็อาจจะเป็นสถานที่ที่หยางกุ้ยเฟยเดินทางมาตามที่ปรากฏในบทกวีคลาสิกนี้ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับไหนยืนยันความเชื่อดังกล่าวอีกเช่นกัน
ศาสตราจารย์เฝิง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์มณฑลซื่อชวน กล่าวสรุปว่า การสืบค้นเรื่องการตายของหยางกุ้ยเฟยยังคงเป็นปริศนาไม่มีข้อสรุป เนื่องจากด้านหนึ่งเกิดจาการขาดตกบกพร่องในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ด้านหนึ่งเกิดจากความหลงใหลในความโรแมนติกของวรรณกรรมคลาสิก ถึงแม้ข้อสันนิษฐานทั้งหลายจะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด แต่นาม ‘หยางกุ้ยเฟย’ ก็กลายเป็นชื่อที่อยู่คู่กับราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติจีน และการตายของนางก็ยังคงมีคุณค่าต่อการค้นหาความจริงต่อไปไม่จบสิ้น .
เรียบเรียงจาก เป่ยจิงยูธเน็ต
*อ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์จาก หนังสือ “ประวัติศาสตร์จีน” โดย ทวีป วรดิลก