ศาสตร์หรือวิชาการที่ลึกซึ้งแรกๆ สุดในสังคมมนุษย์นี้วิชาหนึ่งก็คือ ดาราศาสตร์ คนจีนก็เช่นเดียวกัน คนในดินแดนแห่งอารยธรรมดึกดำบรรพ์ทั้งหลาย ที่สนใจติดตามศึกษาความเป็นไปในท้องฟ้า เพื่อพยายามหาคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกที่พวกเขายังไม่รู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
อย่างเช่นว่า ทำไมภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรอบวัฏจักรตามฤดูกาล
แรกทีเดียวมนุษย์มิได้รู้จักแบ่งเวลาเป็นฤดูกาลหรอก แต่เมื่อพวกเขาสังเกตธรรมชาติและท้องฟ้า (ดาราศาสตร์) นานเข้าๆ เขาก็ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง พวกเขาเห็นการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของดวงดาวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก แล้วเขาก็ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง เป็นข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ระดับต้นๆ แล้วมีพัฒนาการต่อมาทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายโหราศาสตร์ ปัจจุบันนี้ คนไทยเราส่วนใหญ่ทอดทิ้งวิชาดาราศาสตร์แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมไปเกือบหมดแล้ว เวลาร่ำเรียนสั่งสอนกันเรื่องดาราศาสตร์ก็ใช้วิทยาศาสตร์ของตะวันตกสมัยใหม่กันหมด ปัจจุบันนี้ดาราศาสตร์แบ่งกลุ่มดาวเป็น 80 กลุ่ม มีชื่อเรียกเป็นภาษาลาติน
สัปดาห์นี้อยากจะเขียนอะไรตามใจ เขียนถึงสิ่งที่เราไม่รู้บ้าง เหมือนเอา “กระเบื้องล่อหยก” ยั่วให้มีผู้รู้แสดงตัวออกมา
คนโบราณแบ่งท้องฟ้าให้เป็นพื้นที่ “กลุ่มดาว” เพื่อที่จะพูดกันหรือชี้บอก ศึกษากันได้ง่ายขึ้น
จีนแบ่งพื้นที่ท้องฟ้าออกเป็น 28 กลุ่มดาว (28 Xing Xiu 星宿)
ไทย (เข้าใจว่ารับความรู้นี้จากอินเดีย) แบ่งพื้นที่ท้องฟ้าเป็น 27 กลุ่มดาว โบราณเรียกว่า “ฤกษ์” มี 27 ฤกษ์ โหรไทยต้องเรียนรู้ฤกษ์เหล่านี้ แม้ว่าโหรไทยจะใช้การเคลื่อนของดวงจันทร์เป็นหลัก เพื่อจะได้รู้ว่าจันทร์โคจรอยู่ในฤกษ์ใด
ผมตั้งชื่อลูกชายตามฤกษ์หรือชื่อกลุ่มดาวที่ 24 คือดาวทิมทอง ชอบชื่อนี้เพราะเห็นว่าแปลกดี ผมพบคำนี้ในพจนานุกรมไทย-จีน ซึ่งจัดทำโดยนักวิชาการในประเทศจีน เวลานั้นพจนานุกรมไทยยังไม่ได้รวมคำว่า “ทิมทอง” ไว้ด้วยซ้ำ (แต่กระนั้นก็ยังเจอคนชื่อ “ทิมทอง” ในรุ่นๆ เดียวกับลูกชายจนได้
ตารางเทียบชื่อกลุ่มดาวภาษาบาลีสันสกฤต ไทย จีน และลาติน
ทางจีนยังมีกลุ่มดาวที่ 28 ชื่อว่า Nu Xiu女宿 ซึ่งทางไทยไม่มี
งานค้นคว้าชิ้นนี้ไม่รู้จะมีประโยชน์อะไรหรือเปล่า แต่ก็ช่างมันเถอะ อย่างน้อยก็ได้ชื่อของลูกชายมาหนึ่งชื่อ
หนังสืออ้างอิง
1. คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์ หลวงวิศาลดรุณกร
2. พจนานุกรมไทย-จีน ของวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ –กวางเจา
อย่างเช่นว่า ทำไมภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรอบวัฏจักรตามฤดูกาล
แรกทีเดียวมนุษย์มิได้รู้จักแบ่งเวลาเป็นฤดูกาลหรอก แต่เมื่อพวกเขาสังเกตธรรมชาติและท้องฟ้า (ดาราศาสตร์) นานเข้าๆ เขาก็ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง พวกเขาเห็นการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของดวงดาวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก แล้วเขาก็ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง เป็นข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ระดับต้นๆ แล้วมีพัฒนาการต่อมาทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายโหราศาสตร์ ปัจจุบันนี้ คนไทยเราส่วนใหญ่ทอดทิ้งวิชาดาราศาสตร์แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมไปเกือบหมดแล้ว เวลาร่ำเรียนสั่งสอนกันเรื่องดาราศาสตร์ก็ใช้วิทยาศาสตร์ของตะวันตกสมัยใหม่กันหมด ปัจจุบันนี้ดาราศาสตร์แบ่งกลุ่มดาวเป็น 80 กลุ่ม มีชื่อเรียกเป็นภาษาลาติน
สัปดาห์นี้อยากจะเขียนอะไรตามใจ เขียนถึงสิ่งที่เราไม่รู้บ้าง เหมือนเอา “กระเบื้องล่อหยก” ยั่วให้มีผู้รู้แสดงตัวออกมา
คนโบราณแบ่งท้องฟ้าให้เป็นพื้นที่ “กลุ่มดาว” เพื่อที่จะพูดกันหรือชี้บอก ศึกษากันได้ง่ายขึ้น
จีนแบ่งพื้นที่ท้องฟ้าออกเป็น 28 กลุ่มดาว (28 Xing Xiu 星宿)
ไทย (เข้าใจว่ารับความรู้นี้จากอินเดีย) แบ่งพื้นที่ท้องฟ้าเป็น 27 กลุ่มดาว โบราณเรียกว่า “ฤกษ์” มี 27 ฤกษ์ โหรไทยต้องเรียนรู้ฤกษ์เหล่านี้ แม้ว่าโหรไทยจะใช้การเคลื่อนของดวงจันทร์เป็นหลัก เพื่อจะได้รู้ว่าจันทร์โคจรอยู่ในฤกษ์ใด
ผมตั้งชื่อลูกชายตามฤกษ์หรือชื่อกลุ่มดาวที่ 24 คือดาวทิมทอง ชอบชื่อนี้เพราะเห็นว่าแปลกดี ผมพบคำนี้ในพจนานุกรมไทย-จีน ซึ่งจัดทำโดยนักวิชาการในประเทศจีน เวลานั้นพจนานุกรมไทยยังไม่ได้รวมคำว่า “ทิมทอง” ไว้ด้วยซ้ำ (แต่กระนั้นก็ยังเจอคนชื่อ “ทิมทอง” ในรุ่นๆ เดียวกับลูกชายจนได้
ตารางเทียบชื่อกลุ่มดาวภาษาบาลีสันสกฤต ไทย จีน และลาติน
บาลีสันสกฤต | ไทย | จีน | ลาติน | |
ฤกษ์ที่ 1 | อัศวิณี, อัศวยุช, อาสยุช, อาศวินี | ดาวม้า ดาวหางหนู | 类宿 | Andromedra |
ฤกษ์ที่ 2 | ภรณี | ดาวก้อนเส้า ดาวแม่ไก่ | 胃宿 | อยู่ระหว่างกลาง Pleiades กับ Triangula |
ฤกษ์ที่ 3 | กัตติกา กฤติกา | ดาวลูกไก่ ดาวธง | 昂修 | Pleiades |
ฤกษ์ที่ 4 | โรหิณี พราหมี | ดาวจมูกม้า ดาวไม้ค้ำเกวียน ดาวคางหมู | 毕宿 | หมู่ดาว Taurus 7 ดวง |
ฤกษ์ที่ 5 | มิคสิร มฤคศิระ | ดาวหัวเนื้อ ดาวหัวเต่า | 觜宿 | ดาวสามดวงอยู่เหนือ Orion |
ฤกษ์ที่ 6 | อัคร อารทา | ดาวฉัตร | 参宿 | Gemini ทางตะวันตกกับทางใต้ |
ฤกษ์ที่ 7 | ปุนัพพสุ ยามเกา | ดาวเรือไชย ดาวหัวสำเภา สำเภาทอง | 井宿 | คือ Gemini ทางตะวันออกสองดวง |
ฤกษ์ที่ 8 | ปุสย บุษย สิธย | ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวสมอสำเภา ดาวดอกบัว | 鬼宿 | Presepe |
ฤกษ์ที่ 9 | อสิเลส อสเลส | ดาวพ้อม ดาวเรือน ดาวแมว | 柳宿 | Leo ที่อยู่ทางตะวันตก 1 ดวง กับดาวเล็กๆ 3 ดวง |
ฤกษ์ที่ 10 | มาฆะ | ดาววานร ดาวงูตัวผู้ ดาวงอนไถ ดาวแข่งม้า ดาวถัง | 星宿 | Leo 4 ดวงทางตะวันตก |
ฤกษ์ที่ 11 | บุพผัคคุณี บุพผัลคุณ บุรผลคุณี | ดาวเพดานหน้า ดาวแรดตัวผู้ ดาวงูตัวเมีย | 张宿 | สองดวงกลาง Leo |
ฤกษ์ที่ 12 | อุตรผัลคุณ อุตรผลคุณี | ดาวเพดานหลัง ดาวแรดตัวเมีย | 翼宿 | Denebola กับVirgo |
ฤกษ์ที่ 13 | หัตถ์ | ดาวศอคู้ ดาวฝ่ามือ | 乾宿 | Corvus |
ฤกษ์ที่ 14 | จิตรา | ดาวตาจระเข้ ดาวต่อมน้ำ ดาวหมู ดาวไต้ไฟ | 角宿 | Spica |
ฤกษ์ที่ 15 | สวาดิ สาติ | ดาวกระออมน้ำ ดาวดวงแก้ว ดาวช้างพัง | 亢宿 | Areturus |
ฤกษ์ที่ 16 | วิสาข ไพสาข | ดาวหนองลาด ดาวเหมือง ดาวฆ้อง ดาวแขน ดาวคันฉัตร ดาวเขากระบือ | 氏宿 | Coronabolealis |
ฤกษ์ที่ 17 | อนุราธ | ดาวหงอนนาค ดาวธนู ดาวประจำฉัตร | 房宿 | ตอนหัว Scorpio |
ฤกษ์ที่ 18 | เชฏ์ฐ เชฏฐา | ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค ดาวแพะ | 心宿 | ส่วนกลาง Scorpio |
ฤกษ์ที่ 19 | มูล | ดาวช้างน้อย ดาวสะดือนาค | 尾宿 | สี่ดวงปลายหาง Scorpio |
ฤกษ์ที่ 20 | บุรพษาฒ บุพ์พาสาฬห | ดาวปากนก ดาวช้างตัวผู้ ดาวสัปคัปช้าง | 箕宿 | Sagitarius 2 ดวงทางตะวันตก |
ฤกษ์ที่ 21 | อุตราสาท อุตราสาฬห | ดาวครุฑ ดาวช้างตัวเมีย ดาวแตรงอน | 头宿 | Sagitarius 2 ดวงฝ่ายตะวันออก |
ฤกษ์ที่ 22 | สาวนะ สราพน ศรวณะ | ดาวหลักชัย ดาวหามผี ดาวโลก ดาวคนจำศีล ดาวคนหามหมู | 牛宿 | Aquila 3 ดวง |
ฤกษ์ที่ 23 | ธนิฏฐ ศรวิษฐา | ดาวกา ดาวไซ | 危宿 | Delphinu |
ฤกษ์ที่ 24 | ศตภิษัช สตัพ์พสช | ดาวมังกร ดาวพิมพ์ทอง ดาวทิมทอง ดาวงูเลื้อย | 虚宿 | Aquarius |
ฤกษ์ที่ 25 | บุรพภัทรบพ บุพพาภัทท์ | ดาวราชสีห์ตัวผู้ ดาวหัวทราย | 室宿 | Pegasus 2 ดวง |
ฤกษ์ที่ 26 | อุตรภัทรบท อุตราภัทท์ | ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวไม้เท้า ดาวเพดาน | 壁宿 | Pegasus ดวงใหญ่ ทางตะวันออก |
ฤกษ์ที่ 27 | เรวดี เราวดี | ดาวปลาตะเพียน ดาวหญิงมีครรภ์ | 奎宿 | อันโดรเมดา 4 ดวงกับ Pisces 5 ดวง |
ทางจีนยังมีกลุ่มดาวที่ 28 ชื่อว่า Nu Xiu女宿 ซึ่งทางไทยไม่มี
งานค้นคว้าชิ้นนี้ไม่รู้จะมีประโยชน์อะไรหรือเปล่า แต่ก็ช่างมันเถอะ อย่างน้อยก็ได้ชื่อของลูกชายมาหนึ่งชื่อ
หนังสืออ้างอิง
1. คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์ หลวงวิศาลดรุณกร
2. พจนานุกรมไทย-จีน ของวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ –กวางเจา