เอเอฟพี/ ไชน่านิวส์เน็ต 12/10/05 -ยานอวกาศเสินโจว 6 ได้ทะยานออกจากฐานยิงจรวดจิ่วเฉวียนอย่างราบรื่น เมื่อ 08.00 น.ตามเวลาในไทย เช้าวานนี้ (12 ต.ค.) ต่อยอดโครงการอวกาศจีนอีกก้าว หลังประสบความสำเร็จในการส่งนักบินท่องอวกาศครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน โดยครั้งนี้จะเน้นทดสอบการดำรงชีวิตในยาน ก่อนบรรลุเป้าหมายสร้างสถานีอวกาศในอนาคต

จรวดขนส่งลองมารช 2 เอฟ (Long March 2F) ได้นำพายานอวกาศเสินโจว 6 พร้อมนักบิน 2 นาย ได้แก่ เฟ่ยจวิ้นหลง และเนี่ยไห่เซิ่ง ออกจากสถานียิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ท่ามกลางเกร็ดหิมะโปรยปราย และอุณหภูมิราว 0 องศาเซลเซียส ในเวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น)
โดยยานเสินโจว 6 ได้ค่อยๆ ทะยานสู่ฟากฟ้า หลังออกจากฐานราว 40 วินาที กล้องที่ติดอยู่ภายในแคปซูล ได้แสดงภาพ เนี่ยไห่เซิ่ง โบกมือ พร้อมส่งเสียงทักทายมายังภาคพื้นว่า “สภาพการบินปกติ” และ “สภาพร่างกายสบายดี”
หลังจากนั้นราว 21 นาที เสินโจว 6 ได้เข้าสู่วงโคจรที่กำหนด โดยเมื่อยานอยู่เหนือพื้นโลกในระดับ 200 กิโลเมตร ได้โคจรรอบโลกในแนววงรี 5 รอบ จากนั้นเมื่อลอยขึ้นไปในระดับ 343 กิโลเมตร ได้ค่อยๆ เปลี่ยนวงโคจรเป็นวงกลม โดย 1 รอบจะใช้เวลา 90 นาที และมีกำหนดจะโคจรเป็นเวลาทั้งสิ้น 119 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 วัน ก่อนที่โมดูลกลับสู่พื้นโลก (returnable module) จะล่อนลงยังทุ่งหญ้าที่มองโกเลียใน
ทั้งนี้ ยานเสินโจว 6 ได้เริ่มโคจรเป็นวงกลม ในเวลาประมาณ 16.00น.(15.00น.ตามเวลาในไทย) ในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และนักบินอวกาศทั้งสองจะมีการสื่อสารข้อมูลกับหน่วยปฏิบัติการที่ภาคพื้นเป็นระยะๆ ทั้งหมด 38 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจต่างๆ บนยาน ความรู้สึก รวมทั้งการดื่มน้ำคำแรก การกินอาหารครั้งแรก หรือก่อนจะเข้านอน ฯลฯ โดยได้บันทึกการสื่อสารทั้งหมดไว้ทั้งสองฝ่ายด้วย
ในช่วงค่ำ มีรายงานเพิ่มเติมว่าภารกิจที่วางไว้ 5 วัน อาจสำเร็จก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ได้เตรียมอาหารสำหรับนักบินทั้งสองไว้อย่างเพียงพอถึง 7 วัน
ภารกิจของยานเสินโจว 6
นายหวังหย่งจื่อ หัวหน้าวิศวกรผู้ออกแบบโครงการส่งมนุษย์ขึ้นสู่ห้วงอวกาศแห่งชาติจีน อธิบายว่า เสินโจว 6 นับเป็นการทดสอบความสามารถของมนุษย์ในการดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสถานีอวกาศในอนาคต

“เมื่อครั้งเสินโจว 5 นั้น มีนักบินอวกาศขึ้นไปเพียง 1 คน และใช้เวลาทั้งกระบวนการเพียง 21 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการทดสอบขั้นแรก โดยเสินโจว 6 จะได้ต่อยอดเทคโนโลยีให้สูงขึ้น เพราะอนาคตจะเพิ่มจำนวนนักบินและจำนวนวันในการอยู่บนอวกาศให้มากขึ้นเป็นลำดับ”
ดังนั้น ภารกิจสำคัญบนยานเสินโจว 6 ครั้งนี้ จึงเน้นทดสอบการใช้ชีวิตอยู่บนยาน เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติภารกิจต่างๆ นอกโลก เทคนิคการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในยานให้เป็นปกติได้ยาวนาน เทคโนโลยีประกันความปลอดภัยชีวิตนักบินหลายคนที่ปฏิบัติภารกิจนอกโลกเป็นเวลาหลายวัน และการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ตลอดจนวิทยาการประสานการโคจรเคลื่อนไหวเหนือท้องฟ้าของมนุษย์กับยานอวกาศ
ทั้งนี้ เนื่องจากต้องรักษาสภาพอากาศจำลองที่สร้างขึ้นในตัวยานให้คงภาวะปกติได้นาน จึงจำเป็นต้องควบคุมระดับความชื้นภายในยานให้ดี ในพื้นที่จำกัดเพียง 15 ตารางเมตรสำหรับนักบิน 2 คน ซึ่งแต่ละวันจะมีการระบายไอน้ำออกจากตัวราว 3.6 กิโลกรัม ถ้าปล่อยให้ไอน้ำเหล่านี้ล่องลอยไปทั่ว ก็อาจจะกระทบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าภายในยาน อีกทั้งต้องควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ไม่ให้เกิน 1% เพื่อป้องกันนักบินรู้สึกอึดอัด
การส่งนักบินหลายคนขึ้นไปท่องอวกาศเป็นเวลาหลายวัน ยังต้องคำนึงถึงเรื่องอาหารการกิน เครื่องดื่ม และการขับถ่ายด้วย เช่น ต้องรับประกันว่าได้ทานอาหารที่ร้อน และจัดเก็บสิ่งปฏิกูลได้เรียบร้อย รวมทั้งรักษาการนอนอย่างเป็นปกติของมนุษย์อวกาศในภาวะที่เวลาชีวิตผิดแผกแตกต่างจากบนโลก และจากข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ว่า เมื่อคนอยู่ในอวกาศจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ จึงได้เตรียมใช้ตำหรับยาจีนไว้แก้อาการเมาบนยานด้วย
นอกจากนั้น สองนักบินบนยานเสินโจว 6 ยังจะทดลองควบคุมยานขณะอยู่ในภาวะไร้น้ำหนักด้วย โดยนายเฟ่ยจวิ้นหลงจะเป็นผู้ควบคุมหลักที่รับคำสั่งโดยตรงจากภาคพื้น ขณะที่นายเนี่ยไห่เซิ่งจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
ความก้าวหน้าอีกขั้นของปฏิบัติการเสินโจว 6 คือการที่นักบิน จะเคลื่อนตัวจากโมดูลกลับสู่พื้นโลก ไปยังโมดูลควบคุมวิถีการโคจร (orbital module) เพื่อทำการทดลองหลายอย่างด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากที่ผ่านมา ตั้งแต่โครงการเสินโจว 2 ซึ่งทิ้งโมดูลควบคุมวิถีการโคจร ล่องลอยในอวกาศและทำการทดลองโดยไร้มนุษย์ควบคุม
อนึ่ง ครั้งนี้จีนจะทิ้งโมดูลควบคุมวิถีการโคจรไว้ทำหน้าที่สถานีอวกาศชั่วคราวเป็นเวลาครึ่งปี และตั้งเป้าว่าในอนาคตจะทิ้งไว้ให้นานยิ่งขึ้น โดยมีแผนจะให้โมดูลหลายลำเชื่อมต่อกันเป็นสถานีอวกาศที่ใหญ่ขึ้น ก่อนจะบรรลุเป้าหมายการส่งสถานีอวกาศถาวรประจำอยู่นอกโลกเป็นขึ้นสุดท้าย
ด้านเอเอฟพีอ้างนายไบรอัน ฮาร์วี่ย์ นักเขียนชาวไอริส เจ้าของผลงานเกี่ยวกับโครงการอวกาศจีน กล่าวว่า “การทดสอบ” ระบบการติดตามภาคพื้นดินของจีน จะเกิดขึ้นตลอดปฏิบัติการเสินโจว 6 นี้ “จีนกำลังทดลองเครือข่ายการติดตาม ซึ่งนอกจากจะมีสถานีภาคพื้นดินในประเทศจีนแล้ว คาดว่ายังมีเรืออีก 4 ลำที่กระจายอยู่ในมหาสมุทรใต้ มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้”
นอกจากนี้ จีนมีสถานีติดตามภาคพื้นดินอีกแห่งใน ประเทศนามิเบีย ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสถานีที่ใช้สำหรับควบคุมการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก.
ติดตาม โครงการอวกาศ 'เสินโจว 6'
ปฏิบัติการ 'เสินโจว 6' วันที่ 12 ต.ค. 2005
* ลุ้นอีก 5 ปี อุบัตินักบินอวกาศหญิงจีนคนแรก
* จีน-รัสเซียกระชับความร่วมมืออวกาศ หมีขาวเชิญหยางหลี่เหว่ยนั่ง ‘คิลเปอร์’
* เกร็ดชีวิตฮีโร่อวกาศจีนคู่ใหม่
* ยานเสินโจว 6 โคจรเหนือฟากฟ้า
* รู้จักยานอวกาศ “เสินโจว 6”
* เสินโจว 6 ทะยานขึ้นฟ้า พา 2 นักบินอวกาศจีนออกปฏิบัติภารกิจแล้ว
นับถอยหลัง 'เสินโจว 6'
* ปักกิ่งผุดบ.‘สถานทูตดวงจันทร์’ มุ่งธุรกิจค้าที่ดิน !
* จีนยันไม่มีเมล็ดพันธุ์พืชไปกับเสินโจว 6
* กินอยู่ในอวกาศกับยานเสินโจว 6
* ลุ้น! จีนปล่อยยานเสินโจว 6 พุธนี้ 8.00น.
* ใครจะเป็น‘ฮีโร่อวกาศ’คนใหม่ของจีน?
* ยืนยันเสินโจว 6 พร้อมนักบินท่องอวกาศ 13 ต.ค.
* คู่รักจีนจัดวิวาห์ที่ฐานส่งยานเสินโจว
* ชี้ ‘เสินโจว 6’ โอกาสทองธุรกิจมังกร สินค้าจีนแห่ฝากยี่ห้อประทับบนยาน
* เผย "เสินโจว 6" เตรียมท่องอวกาศ 13 ต.ค.นี้
* ซีซีทีวีขายโฆษณาเสินโจว 6 5 วินาทีกวาดกว่า 10 ล้านบาท
* มังกรเล็งปล่อย ‘เสินโจว 6’ หลังวันชาติจีน 1 ต.ค.
* จีนวางแผนนำสเปิร์มหมูท่องอวกาศ
* จีนเล็งส่ง ‘เสินโจว 6 + นักบิน’ ลุยอวกาศตุลานี้
* จีนเลือกนักบินอวกาศเสินโจว 6 คาด 5 ปีมีสถานีอวกาศของตัวเอง
* เซี่ยงไฮ้ทุ่มเงินหนุนโครงการอวกาศ
คลิกอ่าน โครงการอวกาศ 'เสินโจว 5'
ติดตามโครงการอวกาศจีน คลิก

จรวดขนส่งลองมารช 2 เอฟ (Long March 2F) ได้นำพายานอวกาศเสินโจว 6 พร้อมนักบิน 2 นาย ได้แก่ เฟ่ยจวิ้นหลง และเนี่ยไห่เซิ่ง ออกจากสถานียิงดาวเทียมจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ท่ามกลางเกร็ดหิมะโปรยปราย และอุณหภูมิราว 0 องศาเซลเซียส ในเวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น)
โดยยานเสินโจว 6 ได้ค่อยๆ ทะยานสู่ฟากฟ้า หลังออกจากฐานราว 40 วินาที กล้องที่ติดอยู่ภายในแคปซูล ได้แสดงภาพ เนี่ยไห่เซิ่ง โบกมือ พร้อมส่งเสียงทักทายมายังภาคพื้นว่า “สภาพการบินปกติ” และ “สภาพร่างกายสบายดี”
หลังจากนั้นราว 21 นาที เสินโจว 6 ได้เข้าสู่วงโคจรที่กำหนด โดยเมื่อยานอยู่เหนือพื้นโลกในระดับ 200 กิโลเมตร ได้โคจรรอบโลกในแนววงรี 5 รอบ จากนั้นเมื่อลอยขึ้นไปในระดับ 343 กิโลเมตร ได้ค่อยๆ เปลี่ยนวงโคจรเป็นวงกลม โดย 1 รอบจะใช้เวลา 90 นาที และมีกำหนดจะโคจรเป็นเวลาทั้งสิ้น 119 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 วัน ก่อนที่โมดูลกลับสู่พื้นโลก (returnable module) จะล่อนลงยังทุ่งหญ้าที่มองโกเลียใน
ทั้งนี้ ยานเสินโจว 6 ได้เริ่มโคจรเป็นวงกลม ในเวลาประมาณ 16.00น.(15.00น.ตามเวลาในไทย) ในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และนักบินอวกาศทั้งสองจะมีการสื่อสารข้อมูลกับหน่วยปฏิบัติการที่ภาคพื้นเป็นระยะๆ ทั้งหมด 38 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจต่างๆ บนยาน ความรู้สึก รวมทั้งการดื่มน้ำคำแรก การกินอาหารครั้งแรก หรือก่อนจะเข้านอน ฯลฯ โดยได้บันทึกการสื่อสารทั้งหมดไว้ทั้งสองฝ่ายด้วย
ในช่วงค่ำ มีรายงานเพิ่มเติมว่าภารกิจที่วางไว้ 5 วัน อาจสำเร็จก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ได้เตรียมอาหารสำหรับนักบินทั้งสองไว้อย่างเพียงพอถึง 7 วัน
ภารกิจของยานเสินโจว 6
นายหวังหย่งจื่อ หัวหน้าวิศวกรผู้ออกแบบโครงการส่งมนุษย์ขึ้นสู่ห้วงอวกาศแห่งชาติจีน อธิบายว่า เสินโจว 6 นับเป็นการทดสอบความสามารถของมนุษย์ในการดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสถานีอวกาศในอนาคต
“เมื่อครั้งเสินโจว 5 นั้น มีนักบินอวกาศขึ้นไปเพียง 1 คน และใช้เวลาทั้งกระบวนการเพียง 21 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการทดสอบขั้นแรก โดยเสินโจว 6 จะได้ต่อยอดเทคโนโลยีให้สูงขึ้น เพราะอนาคตจะเพิ่มจำนวนนักบินและจำนวนวันในการอยู่บนอวกาศให้มากขึ้นเป็นลำดับ”
ดังนั้น ภารกิจสำคัญบนยานเสินโจว 6 ครั้งนี้ จึงเน้นทดสอบการใช้ชีวิตอยู่บนยาน เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติภารกิจต่างๆ นอกโลก เทคนิคการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในยานให้เป็นปกติได้ยาวนาน เทคโนโลยีประกันความปลอดภัยชีวิตนักบินหลายคนที่ปฏิบัติภารกิจนอกโลกเป็นเวลาหลายวัน และการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ตลอดจนวิทยาการประสานการโคจรเคลื่อนไหวเหนือท้องฟ้าของมนุษย์กับยานอวกาศ
ทั้งนี้ เนื่องจากต้องรักษาสภาพอากาศจำลองที่สร้างขึ้นในตัวยานให้คงภาวะปกติได้นาน จึงจำเป็นต้องควบคุมระดับความชื้นภายในยานให้ดี ในพื้นที่จำกัดเพียง 15 ตารางเมตรสำหรับนักบิน 2 คน ซึ่งแต่ละวันจะมีการระบายไอน้ำออกจากตัวราว 3.6 กิโลกรัม ถ้าปล่อยให้ไอน้ำเหล่านี้ล่องลอยไปทั่ว ก็อาจจะกระทบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าภายในยาน อีกทั้งต้องควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ไม่ให้เกิน 1% เพื่อป้องกันนักบินรู้สึกอึดอัด
การส่งนักบินหลายคนขึ้นไปท่องอวกาศเป็นเวลาหลายวัน ยังต้องคำนึงถึงเรื่องอาหารการกิน เครื่องดื่ม และการขับถ่ายด้วย เช่น ต้องรับประกันว่าได้ทานอาหารที่ร้อน และจัดเก็บสิ่งปฏิกูลได้เรียบร้อย รวมทั้งรักษาการนอนอย่างเป็นปกติของมนุษย์อวกาศในภาวะที่เวลาชีวิตผิดแผกแตกต่างจากบนโลก และจากข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ว่า เมื่อคนอยู่ในอวกาศจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ จึงได้เตรียมใช้ตำหรับยาจีนไว้แก้อาการเมาบนยานด้วย
นอกจากนั้น สองนักบินบนยานเสินโจว 6 ยังจะทดลองควบคุมยานขณะอยู่ในภาวะไร้น้ำหนักด้วย โดยนายเฟ่ยจวิ้นหลงจะเป็นผู้ควบคุมหลักที่รับคำสั่งโดยตรงจากภาคพื้น ขณะที่นายเนี่ยไห่เซิ่งจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
ความก้าวหน้าอีกขั้นของปฏิบัติการเสินโจว 6 คือการที่นักบิน จะเคลื่อนตัวจากโมดูลกลับสู่พื้นโลก ไปยังโมดูลควบคุมวิถีการโคจร (orbital module) เพื่อทำการทดลองหลายอย่างด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากที่ผ่านมา ตั้งแต่โครงการเสินโจว 2 ซึ่งทิ้งโมดูลควบคุมวิถีการโคจร ล่องลอยในอวกาศและทำการทดลองโดยไร้มนุษย์ควบคุม
อนึ่ง ครั้งนี้จีนจะทิ้งโมดูลควบคุมวิถีการโคจรไว้ทำหน้าที่สถานีอวกาศชั่วคราวเป็นเวลาครึ่งปี และตั้งเป้าว่าในอนาคตจะทิ้งไว้ให้นานยิ่งขึ้น โดยมีแผนจะให้โมดูลหลายลำเชื่อมต่อกันเป็นสถานีอวกาศที่ใหญ่ขึ้น ก่อนจะบรรลุเป้าหมายการส่งสถานีอวกาศถาวรประจำอยู่นอกโลกเป็นขึ้นสุดท้าย
ด้านเอเอฟพีอ้างนายไบรอัน ฮาร์วี่ย์ นักเขียนชาวไอริส เจ้าของผลงานเกี่ยวกับโครงการอวกาศจีน กล่าวว่า “การทดสอบ” ระบบการติดตามภาคพื้นดินของจีน จะเกิดขึ้นตลอดปฏิบัติการเสินโจว 6 นี้ “จีนกำลังทดลองเครือข่ายการติดตาม ซึ่งนอกจากจะมีสถานีภาคพื้นดินในประเทศจีนแล้ว คาดว่ายังมีเรืออีก 4 ลำที่กระจายอยู่ในมหาสมุทรใต้ มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้”
นอกจากนี้ จีนมีสถานีติดตามภาคพื้นดินอีกแห่งใน ประเทศนามิเบีย ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสถานีที่ใช้สำหรับควบคุมการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก.
ติดตาม โครงการอวกาศ 'เสินโจว 6'
ปฏิบัติการ 'เสินโจว 6' วันที่ 12 ต.ค. 2005
* ลุ้นอีก 5 ปี อุบัตินักบินอวกาศหญิงจีนคนแรก
* จีน-รัสเซียกระชับความร่วมมืออวกาศ หมีขาวเชิญหยางหลี่เหว่ยนั่ง ‘คิลเปอร์’
* เกร็ดชีวิตฮีโร่อวกาศจีนคู่ใหม่
* ยานเสินโจว 6 โคจรเหนือฟากฟ้า
* รู้จักยานอวกาศ “เสินโจว 6”
* เสินโจว 6 ทะยานขึ้นฟ้า พา 2 นักบินอวกาศจีนออกปฏิบัติภารกิจแล้ว
นับถอยหลัง 'เสินโจว 6'
* ปักกิ่งผุดบ.‘สถานทูตดวงจันทร์’ มุ่งธุรกิจค้าที่ดิน !
* จีนยันไม่มีเมล็ดพันธุ์พืชไปกับเสินโจว 6
* กินอยู่ในอวกาศกับยานเสินโจว 6
* ลุ้น! จีนปล่อยยานเสินโจว 6 พุธนี้ 8.00น.
* ใครจะเป็น‘ฮีโร่อวกาศ’คนใหม่ของจีน?
* ยืนยันเสินโจว 6 พร้อมนักบินท่องอวกาศ 13 ต.ค.
* คู่รักจีนจัดวิวาห์ที่ฐานส่งยานเสินโจว
* ชี้ ‘เสินโจว 6’ โอกาสทองธุรกิจมังกร สินค้าจีนแห่ฝากยี่ห้อประทับบนยาน
* เผย "เสินโจว 6" เตรียมท่องอวกาศ 13 ต.ค.นี้
* ซีซีทีวีขายโฆษณาเสินโจว 6 5 วินาทีกวาดกว่า 10 ล้านบาท
* มังกรเล็งปล่อย ‘เสินโจว 6’ หลังวันชาติจีน 1 ต.ค.
* จีนวางแผนนำสเปิร์มหมูท่องอวกาศ
* จีนเล็งส่ง ‘เสินโจว 6 + นักบิน’ ลุยอวกาศตุลานี้
* จีนเลือกนักบินอวกาศเสินโจว 6 คาด 5 ปีมีสถานีอวกาศของตัวเอง
* เซี่ยงไฮ้ทุ่มเงินหนุนโครงการอวกาศ
คลิกอ่าน โครงการอวกาศ 'เสินโจว 5'
ติดตามโครงการอวกาศจีน คลิก