เช้าวันนี้ (พุธที่ 5) รายการโลกยามเช้าทางช่อง 3 ของท่าน สว.สมเกียรติ อ่อนวิมล มีข่าวท่านทูตอิหร่านประจำประเทศไทยออกมาแถลงข่าวเรื่องโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเขา เรียกร้องให้คนไทยฟังข่าวจากแหล่งอิสระที่ไม่อิงสำนักข่าวตะวันตกบ้าง จะได้รู้ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง ข่าวมีสั้นๆเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น พอข่าวนี้จบ ผมรีบเปิดทีวีช่องอื่นๆดู แต่ก็ไม่มีช่องไหนรายงานข่าวชิ้นนี้เลย แม้แต่ข่าวช่วงหกโมงเช้าของช่อง 9 อสมท. ซึ่งเป็นช่องเดียวที่เอาข่าวจากสื่อมวลชนในตะวันออกกลางมาออกอากาศโดยไม่อ้างอิงสำนักข่าวของฝรั่งสำนักไหน ก็ยังไม่มีข่าวนี้ เปิดหนังสือพิมพ์ดู ก็ไม่เห็นมีเช่นกัน ดูเหมือนสื่อมวลชนไทยจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับข่าวนี้กันนัก
อิหร่านปัจจุบันมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม ซึ่งสถาปนาขึ้นหลังจากที่พระเจ้าชาร์แห่งราชวงศ์ปาลาวีที่นิยมฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ถูกโค่นล้มไปตั้งแต่ปี 1979 เมื่อเกิดการปฏิวัติอิสลามที่นำโดยผู้นำทางศาสนาคนสำคัญคือ อะยาตอเลาะห์ โคไมนี่ หลังจากนั้นอิหร่านตกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างโดดเดี่ยวมาโดยตลอด ไม่ว่าเรื่องที่ทำสงครามกับอิรักนานถึง 8 ปี การจับตัวประกันชาวอเมริกัน แต่กระนั้น อิหร่านก็ยังอยู่มาได้ เพราะอิหร่านเป็นชาติที่ส่งน้ำมันออกมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
ล่าสุด ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายมาห์มู้ด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำที่ไม่เป็นที่ชอบหน้าของฝ่ายตะวันตก ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอิหร่าน ทันทีที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีคนใหม่ก็เดินหน้าเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อทันที เรื่องนี้ ทำให้สหรัฐฯ และอังกฤษขุ่นเคืองใจมาก ขู่จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงสหประชาชาติทั้งที่อิหร่านยินยอมให้เจ้าหน้าที่ไอเออีเอเข้าไปตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ทุกตารางนิ้ว และยอมให้ติดกล้องวงจรปิดสอดส่องตลอดเวลา แต่กระนั้นดูเหมือนสหรัฐฯ จะยังไม่พอใจ
เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านก็ถูกโยงให้ไปเกี่ยวข้องกับจีนจนได้ เมื่อทางสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องกดดันจีนว่า ควรแสดงท่าทีที่ “สร้างสรรค์” ต่อเรื่องนี้ได้แล้ว คำตอบจากจีนคือเงียบ ไม่มีอะไรไหวติงจากในกอไผ่แต่อย่างใด ทำไมสหรัฐฯ ถึงอยากให้จีนแสดงท่าทีที่สหรัฐฯ เห็นว่า “สร้างสรรค์” ต่อเรื่องนี้ คำตอบอยู่ที่อิหร่านครับ
อย่างที่บอก หลังการปฏิวัติอิสลามและเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่านตกอยู่ในสภาพที่ถูกโดดเดี่ยวจากฝ่ายตะวันตก แม้ระยะหลังจะพอพูดคุยกับทางยุโรปได้บ้าง แต่เมื่อหันไปรอบตัวแล้ว ก็คงมีแต่จีนกับรัสเซียเท่านั้นที่ดูจะเป็นมิตรกับอิหร่านที่สุด
เว็บไซต์ภาษาจีนของทางการอิหร่าน ได้วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของจีนกับอิหร่านไว้อย่างน่าสนใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ และช่วยให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของจีนในนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน และความสำคัญของอิหร่านในสายตาของจีน ตลอดจนเป้าหมายและขอบข่ายของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ รวมทั้งอุปสรรคและปัญหาบนความสัมพันธ์นี้ ผมจึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง อย่างน้อยก็จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ของภูมิภาคส่วนนี้ และบทบาทที่ประเทศทั้งสองมีต่อภูมิภาคส่วนนี้และโลกได้ดีขึ้น
อิหร่านมองว่า จีนเป็นมิตรประเทศสำคัญ การที่จีนเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ยอมรับรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี 1979 และนายฮั่วกั๋วฟง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเดินทางเยือนอิหร่านหลังการปฏิวัติอิสลามไม่นาน คือสัญญาณมิตรภาพที่อิหร่านไม่เคยลืมเลือน
อิหร่านเชื่อว่า ที่จีนให้ความสำคัญกับอิหร่านก็เพราะนโยบายต่อต้านตะวันตกของอิหร่านเอง ประกอบกับทั้งสองประเทศมีจุดยืนและมุมมองต่อปัญหาในภูมิภาคตะวันออกกลางคล้ายคลึงกัน และการที่จีนตัดสินใจยอมรับการเดินทางเยือนจีนของอะยาตอเลาะห์ โคไมนี่ ผู้นำการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ทำให้อิหร่านมีความรู้สึกที่ดีต่อจีน เพราะเวลานั้น อิหร่านเชื่อว่า ตัวเองกำลังประสบวิกฤตสุดขีดทั้งถูกคว่ำบาตรและคุกคาม ถูกสหรัฐฯ กดดันอย่างหนัก แถมยังถูกสื่อมวลชนตะวันตกประโคมข่าวป้ายร้ายอีกด้วย
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับจีนจึงดีมาตลอด โดยประธานาธิบดีอิหร่านคนต่อมาอีก 2 คนก็ได้เดินทางเยือนจีนเช่นกัน พูดได้ว่า อิหร่านประสบความสำเร็จอย่างมากในการสานสัมพันธ์ที่ดีกับจีน
ก่อนจะได้พูดถึงว่าจีนมีความสำคัญแค่ไหนในนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน เรามาดูกันก่อนว่า ภายในอิหร่านเองมีนักการเมืองแยกค่ายแยกมุ้งกันกี่กลุ่ม และใครคิดอะไรเห็นอย่างไรกันบ้าง บทวิเคราะห์ของทางการอิหร่านบอกไว้ชัดว่า
นักการเมืองที่ทรงอิทธิพลและคนในรัฐบาลมีทรรศนะและจุดยืนแตกต่างกันไปสองพวก พวกหนึ่งเอนเอียงไปทางตะวันตก และมีคนสนับสนุนมากพอสมควรทีเดียว นักการเมืองกลุ่มนี้มองว่า ตะวันตกเป็นแหล่งที่มาของความเจริญก้าวหน้าและไฮเทคโนโลยีใหม่ๆ หากรัฐบาลอิหร่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายตะวันตก อิหร่านก็จะได้รับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะช่วยให้อิหร่านพัฒนาประเทศได้เร็วขึ้น จึงควรรีบขจัดอุปสรรคและช่องว่างบนความสัมพันธ์ของอิหร่านกับตะวันตกโดยเร็ว
แต่บทวิเคราะห์ก็ระบุลงไปเลยว่า มีบางคนและบางกลุ่มในฝ่ายที่สนับสนุนตะวันตกนี้ ใช้ท่าทีเหมือนยอมเป็นเบี้ยล่างและไม่คำนึงถึงเกียรติภูมิของชาติ โดยมีท่าทียอมจำนนต่อคำตำหนิประณามของฝ่ายตะวันตกไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน การก่อการร้าย การค้าอาวุธ ไปจนถึงระบอบการปกครองแบบอิสลาม
และแม้กระทั่งกรณีของนายซาลมาน รัชดี้ (Salman Rushdie) คุณผู้อ่านจำนายซาลมาน รัชดี้ได้ไหม เขาคือคนที่เขียนเรื่อง The Satanic Verses หรือ กวีนิพนธ์แห่งปีศาจ ในปี 1989 จนผู้นำอิหร่านสมัยนั้น ตั้งค่าหัวล่าตัวเขาถึงหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ และประกาศให้มุสลิมทุกคนทั่วโลก พบตัวเขาที่ไหนเมื่อใด ให้ “ฆ่าได้ทันที” บทวิเคราะห์ของทางการอิหร่านมองว่า นักการเมืองและกลุ่มการเมืองบางส่วนในฝ่ายนี้ ยอมศิโรราบต่อตะวันตกจนเกินไป
นักการเมืองและกลุ่มการเมืองกลุ่มที่สองนี้ ดูจะอยู่คนละฟากกับกลุ่มแรก คนกลุ่มนี้เน้นความเป็นตัวของตัวเอง มีความชอบด้วยเหตุผล และเป็นประโยชน์ต่ออิหร่าน นั่นแหละคือหัวใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในทุกรูปแบบกับฝ่ายตะวันตก และความสัมพันธ์กับฝ่ายตะวันออกก็ไม่ควรทำลายหลักการทั้ง 3 ข้อนี้
อิหร่านปัจจุบันมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม ซึ่งสถาปนาขึ้นหลังจากที่พระเจ้าชาร์แห่งราชวงศ์ปาลาวีที่นิยมฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ถูกโค่นล้มไปตั้งแต่ปี 1979 เมื่อเกิดการปฏิวัติอิสลามที่นำโดยผู้นำทางศาสนาคนสำคัญคือ อะยาตอเลาะห์ โคไมนี่ หลังจากนั้นอิหร่านตกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างโดดเดี่ยวมาโดยตลอด ไม่ว่าเรื่องที่ทำสงครามกับอิรักนานถึง 8 ปี การจับตัวประกันชาวอเมริกัน แต่กระนั้น อิหร่านก็ยังอยู่มาได้ เพราะอิหร่านเป็นชาติที่ส่งน้ำมันออกมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
ล่าสุด ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายมาห์มู้ด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำที่ไม่เป็นที่ชอบหน้าของฝ่ายตะวันตก ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอิหร่าน ทันทีที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีคนใหม่ก็เดินหน้าเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อทันที เรื่องนี้ ทำให้สหรัฐฯ และอังกฤษขุ่นเคืองใจมาก ขู่จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงสหประชาชาติทั้งที่อิหร่านยินยอมให้เจ้าหน้าที่ไอเออีเอเข้าไปตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ทุกตารางนิ้ว และยอมให้ติดกล้องวงจรปิดสอดส่องตลอดเวลา แต่กระนั้นดูเหมือนสหรัฐฯ จะยังไม่พอใจ
เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านก็ถูกโยงให้ไปเกี่ยวข้องกับจีนจนได้ เมื่อทางสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องกดดันจีนว่า ควรแสดงท่าทีที่ “สร้างสรรค์” ต่อเรื่องนี้ได้แล้ว คำตอบจากจีนคือเงียบ ไม่มีอะไรไหวติงจากในกอไผ่แต่อย่างใด ทำไมสหรัฐฯ ถึงอยากให้จีนแสดงท่าทีที่สหรัฐฯ เห็นว่า “สร้างสรรค์” ต่อเรื่องนี้ คำตอบอยู่ที่อิหร่านครับ
อย่างที่บอก หลังการปฏิวัติอิสลามและเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่านตกอยู่ในสภาพที่ถูกโดดเดี่ยวจากฝ่ายตะวันตก แม้ระยะหลังจะพอพูดคุยกับทางยุโรปได้บ้าง แต่เมื่อหันไปรอบตัวแล้ว ก็คงมีแต่จีนกับรัสเซียเท่านั้นที่ดูจะเป็นมิตรกับอิหร่านที่สุด
เว็บไซต์ภาษาจีนของทางการอิหร่าน ได้วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของจีนกับอิหร่านไว้อย่างน่าสนใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ และช่วยให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของจีนในนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน และความสำคัญของอิหร่านในสายตาของจีน ตลอดจนเป้าหมายและขอบข่ายของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ รวมทั้งอุปสรรคและปัญหาบนความสัมพันธ์นี้ ผมจึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง อย่างน้อยก็จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ของภูมิภาคส่วนนี้ และบทบาทที่ประเทศทั้งสองมีต่อภูมิภาคส่วนนี้และโลกได้ดีขึ้น
อิหร่านมองว่า จีนเป็นมิตรประเทศสำคัญ การที่จีนเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ยอมรับรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี 1979 และนายฮั่วกั๋วฟง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเดินทางเยือนอิหร่านหลังการปฏิวัติอิสลามไม่นาน คือสัญญาณมิตรภาพที่อิหร่านไม่เคยลืมเลือน
อิหร่านเชื่อว่า ที่จีนให้ความสำคัญกับอิหร่านก็เพราะนโยบายต่อต้านตะวันตกของอิหร่านเอง ประกอบกับทั้งสองประเทศมีจุดยืนและมุมมองต่อปัญหาในภูมิภาคตะวันออกกลางคล้ายคลึงกัน และการที่จีนตัดสินใจยอมรับการเดินทางเยือนจีนของอะยาตอเลาะห์ โคไมนี่ ผู้นำการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ทำให้อิหร่านมีความรู้สึกที่ดีต่อจีน เพราะเวลานั้น อิหร่านเชื่อว่า ตัวเองกำลังประสบวิกฤตสุดขีดทั้งถูกคว่ำบาตรและคุกคาม ถูกสหรัฐฯ กดดันอย่างหนัก แถมยังถูกสื่อมวลชนตะวันตกประโคมข่าวป้ายร้ายอีกด้วย
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับจีนจึงดีมาตลอด โดยประธานาธิบดีอิหร่านคนต่อมาอีก 2 คนก็ได้เดินทางเยือนจีนเช่นกัน พูดได้ว่า อิหร่านประสบความสำเร็จอย่างมากในการสานสัมพันธ์ที่ดีกับจีน
ก่อนจะได้พูดถึงว่าจีนมีความสำคัญแค่ไหนในนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน เรามาดูกันก่อนว่า ภายในอิหร่านเองมีนักการเมืองแยกค่ายแยกมุ้งกันกี่กลุ่ม และใครคิดอะไรเห็นอย่างไรกันบ้าง บทวิเคราะห์ของทางการอิหร่านบอกไว้ชัดว่า
นักการเมืองที่ทรงอิทธิพลและคนในรัฐบาลมีทรรศนะและจุดยืนแตกต่างกันไปสองพวก พวกหนึ่งเอนเอียงไปทางตะวันตก และมีคนสนับสนุนมากพอสมควรทีเดียว นักการเมืองกลุ่มนี้มองว่า ตะวันตกเป็นแหล่งที่มาของความเจริญก้าวหน้าและไฮเทคโนโลยีใหม่ๆ หากรัฐบาลอิหร่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายตะวันตก อิหร่านก็จะได้รับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะช่วยให้อิหร่านพัฒนาประเทศได้เร็วขึ้น จึงควรรีบขจัดอุปสรรคและช่องว่างบนความสัมพันธ์ของอิหร่านกับตะวันตกโดยเร็ว
แต่บทวิเคราะห์ก็ระบุลงไปเลยว่า มีบางคนและบางกลุ่มในฝ่ายที่สนับสนุนตะวันตกนี้ ใช้ท่าทีเหมือนยอมเป็นเบี้ยล่างและไม่คำนึงถึงเกียรติภูมิของชาติ โดยมีท่าทียอมจำนนต่อคำตำหนิประณามของฝ่ายตะวันตกไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน การก่อการร้าย การค้าอาวุธ ไปจนถึงระบอบการปกครองแบบอิสลาม
และแม้กระทั่งกรณีของนายซาลมาน รัชดี้ (Salman Rushdie) คุณผู้อ่านจำนายซาลมาน รัชดี้ได้ไหม เขาคือคนที่เขียนเรื่อง The Satanic Verses หรือ กวีนิพนธ์แห่งปีศาจ ในปี 1989 จนผู้นำอิหร่านสมัยนั้น ตั้งค่าหัวล่าตัวเขาถึงหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ และประกาศให้มุสลิมทุกคนทั่วโลก พบตัวเขาที่ไหนเมื่อใด ให้ “ฆ่าได้ทันที” บทวิเคราะห์ของทางการอิหร่านมองว่า นักการเมืองและกลุ่มการเมืองบางส่วนในฝ่ายนี้ ยอมศิโรราบต่อตะวันตกจนเกินไป
นักการเมืองและกลุ่มการเมืองกลุ่มที่สองนี้ ดูจะอยู่คนละฟากกับกลุ่มแรก คนกลุ่มนี้เน้นความเป็นตัวของตัวเอง มีความชอบด้วยเหตุผล และเป็นประโยชน์ต่ออิหร่าน นั่นแหละคือหัวใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในทุกรูปแบบกับฝ่ายตะวันตก และความสัมพันธ์กับฝ่ายตะวันออกก็ไม่ควรทำลายหลักการทั้ง 3 ข้อนี้