ตอนที่แล้วเล่าถึงแก่นความคิดปรัชญาลัทธิหญู หรือลัทธิขงจื้อไปแล้ว ตอนนี้มาดู “คุณธรรม” ในจุดยืนของปรัชญาเต๋ากันบ้าง หลักอ้างอิงสำคัญที่สุดทางสายเต๋า ก็เห็นจะเป็นตำรา “เต๋าเต็กเก็ง”
ตำราเต๋าเต็กเก็งเล่มนี้มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยแล้วมากมายหลายสำนวน แต่แทบทั้งหมดแปลจากต้นฉบับที่ยังมิได้ชำระ กับต้นฉบับเก่าแก่ที่สุด ซึ่งขุดพบในสุสานหม่าหวางตุย ยุคราชวงศ์ฮั่น ต้นฉบับเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยภาคเต๋า
แต่ฉบับหม่าหวางตุยนั้น ขึ้นต้นด้วยภาคเต็ก และฉบับหม่าหวางตุยนี้ได้ไขปริศนา คำที่คัดลอกกันมาผิด ๆ ได้หลายคำทีเดียว
ความหมายของ “คุณธรรม-เต็ก” เราพิจารณาศึกษาได้ชัดเจนจากภาคเต๋า บทที่ 10 และภาคเต็ก (เต๋อ) บทที่ 14 (หรือบทที่ 51 ในฉบับแปลทั่วๆ ไป)
บทที่ 10
•รักษาจิตวิญญาณมั่นอยู่ใน ‘หนึ่งเดียว’
ไม่คลอนคลายได้ไหม
ผนึกรวมพลังชีวิต(ชี่) ครองตนอย่างอ่อนละมุน
ดุจทารกได้ไหม
ชำระจิตให้สะอาด
ไม่มีมลทินเลยได้ไหม
รักชาติปกครองพลเมือง
โดยไม่ใช้ปัญญาเล่ห์เหลี่ยมได้ไหม
ใช้ทวารสวรรค์(อายตนะ) อย่างเพศหญิงได้ไหม
เข้าใจสิ่งเหล่านี้ แจ่มชัดปรุโปร่งแล้ว
กระทำตัวตามหลักนิรกรรมได้ฤาไม่
ให้กำเนิดและดูแลฟูมฟัก
โดยไม่ถือครอบครอง
กระทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
เป็นผู้นำที่มิใช่ผู้บังคับบัญชา
เหล่านี้คือคุณธรรม์ (เต็ก) ที่ล้ำลึก
บทที่ 51
•เต๋าให้กำเนิด เต็กบำรุงรักษา
สิ่งแวดล้อมช่วยเหลือหล่อเลี้ยงให้จำเริญ
สรรพสิ่งจึงมีรูปแบบนานาประการ
สรรพสิ่งเทิดทูนเต๋า ยกย่องเต็ก
เต๋าถูกเทิดทูน เต็กถูกยกย่อง
มิมีใครแต่งตั้ง มันเป็นไปอย่างนั้นเอง
เต๋าให้กำเนิด เต็กบำรุงรักษา
งอกงามเอย จำเริญเอย
สุกงอมเอย แพร่พันธุ์เอย
ฟูมฟักเอย รักษาเอย
ให้กำเนิดโดยไม่ถือครอง
ประกอบกิจโดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน
เป็นผู้นำไม่ใช่เจ้านาย
นี่แลคุณธรรม(เต็ก)ที่ล้ำลึก
สรุปว่าคุณธรรมที่แท้จริง คือ
1.นิรกรรม- อู๋เหวย 无为ไม่บังคับแทรกแซงสิ่งใด สรรพสิ่งเป็นไปตามวิถีธรรมอันเป็นธรรมดาของมัน
2.ให้กำเนิดฟูมฟักหล่อเลี้ยง เป็นพื้นฐานให้ทุกสิ่งเจริญงอกงามโดยไม่ครอบครอง
3.ประกอบกิจโดยไม่หวังผลตอบแทน
4.เป็นผู้นำ แต่ไม่ใช่เจ้านาย
สี่ข้อนี้เป็นแก่นคุณธรรม- หลักการครองชีวิตของปรัชญาเต๋า ผู้ที่ปฏิบัติ(คุณ)ธรรมเหล่านี้ได้ เรียกได้ว่าเป็น ‘เซิ่งเหญิน 圣人’ – ผู้บรรลุธรรม
เซิ่งเหญินของฝ่ายเต๋าต่างจากฝ่ายขงจื้อ เซิ่งเหญินของเต๋ามีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1. นิรกรรม หมายถึงกระทำการสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ความเป็นไปตามธรรมชาติ กระทำการอย่างไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้ ไม่ฝืนกับธรรมชาติ
2. ปฏิบัติธรรมโดยไม่พูด หมายถึงไม่ออกระเบียบระบอบกฎเกณฑ์คำสั่ง ไม่ติดยึดกับคำสอนในคัมภีร์ ไม่ยึดติดในรูปแบบ ใช้กลวิธีอื่นให้การศึกษา ศึกษาพลเมืองมากกว่าที่จะออกกฎข้อบังคับ ป่าวร้อง เผยแพร่
3. ให้สรรพสิ่งพัฒนาไปโดยไม่จูงนำ ดำรงอยู่อย่างไม่ครอบครอง ประกอบกิจโดยไม่แสวงผลตอบแทน บรรลุภารกิจโดยไม่หวังชื่อเสียง เกียรติยศ (ดูภาคเต๋า บทที่ 2)
คนจีนที่ปฏิบัติตัวตามแนวของเต๋ายังมีเยอะนะครับ แม้ในปัจจุบันนี้ก็เถิด !
ตำราเต๋าเต็กเก็งเล่มนี้มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยแล้วมากมายหลายสำนวน แต่แทบทั้งหมดแปลจากต้นฉบับที่ยังมิได้ชำระ กับต้นฉบับเก่าแก่ที่สุด ซึ่งขุดพบในสุสานหม่าหวางตุย ยุคราชวงศ์ฮั่น ต้นฉบับเหล่านี้ขึ้นต้นด้วยภาคเต๋า
แต่ฉบับหม่าหวางตุยนั้น ขึ้นต้นด้วยภาคเต็ก และฉบับหม่าหวางตุยนี้ได้ไขปริศนา คำที่คัดลอกกันมาผิด ๆ ได้หลายคำทีเดียว
ความหมายของ “คุณธรรม-เต็ก” เราพิจารณาศึกษาได้ชัดเจนจากภาคเต๋า บทที่ 10 และภาคเต็ก (เต๋อ) บทที่ 14 (หรือบทที่ 51 ในฉบับแปลทั่วๆ ไป)
บทที่ 10
•รักษาจิตวิญญาณมั่นอยู่ใน ‘หนึ่งเดียว’
ไม่คลอนคลายได้ไหม
ผนึกรวมพลังชีวิต(ชี่) ครองตนอย่างอ่อนละมุน
ดุจทารกได้ไหม
ชำระจิตให้สะอาด
ไม่มีมลทินเลยได้ไหม
รักชาติปกครองพลเมือง
โดยไม่ใช้ปัญญาเล่ห์เหลี่ยมได้ไหม
ใช้ทวารสวรรค์(อายตนะ) อย่างเพศหญิงได้ไหม
เข้าใจสิ่งเหล่านี้ แจ่มชัดปรุโปร่งแล้ว
กระทำตัวตามหลักนิรกรรมได้ฤาไม่
ให้กำเนิดและดูแลฟูมฟัก
โดยไม่ถือครอบครอง
กระทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
เป็นผู้นำที่มิใช่ผู้บังคับบัญชา
เหล่านี้คือคุณธรรม์ (เต็ก) ที่ล้ำลึก
บทที่ 51
•เต๋าให้กำเนิด เต็กบำรุงรักษา
สิ่งแวดล้อมช่วยเหลือหล่อเลี้ยงให้จำเริญ
สรรพสิ่งจึงมีรูปแบบนานาประการ
สรรพสิ่งเทิดทูนเต๋า ยกย่องเต็ก
เต๋าถูกเทิดทูน เต็กถูกยกย่อง
มิมีใครแต่งตั้ง มันเป็นไปอย่างนั้นเอง
เต๋าให้กำเนิด เต็กบำรุงรักษา
งอกงามเอย จำเริญเอย
สุกงอมเอย แพร่พันธุ์เอย
ฟูมฟักเอย รักษาเอย
ให้กำเนิดโดยไม่ถือครอง
ประกอบกิจโดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน
เป็นผู้นำไม่ใช่เจ้านาย
นี่แลคุณธรรม(เต็ก)ที่ล้ำลึก
สรุปว่าคุณธรรมที่แท้จริง คือ
1.นิรกรรม- อู๋เหวย 无为ไม่บังคับแทรกแซงสิ่งใด สรรพสิ่งเป็นไปตามวิถีธรรมอันเป็นธรรมดาของมัน
2.ให้กำเนิดฟูมฟักหล่อเลี้ยง เป็นพื้นฐานให้ทุกสิ่งเจริญงอกงามโดยไม่ครอบครอง
3.ประกอบกิจโดยไม่หวังผลตอบแทน
4.เป็นผู้นำ แต่ไม่ใช่เจ้านาย
สี่ข้อนี้เป็นแก่นคุณธรรม- หลักการครองชีวิตของปรัชญาเต๋า ผู้ที่ปฏิบัติ(คุณ)ธรรมเหล่านี้ได้ เรียกได้ว่าเป็น ‘เซิ่งเหญิน 圣人’ – ผู้บรรลุธรรม
เซิ่งเหญินของฝ่ายเต๋าต่างจากฝ่ายขงจื้อ เซิ่งเหญินของเต๋ามีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1. นิรกรรม หมายถึงกระทำการสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ความเป็นไปตามธรรมชาติ กระทำการอย่างไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้ ไม่ฝืนกับธรรมชาติ
2. ปฏิบัติธรรมโดยไม่พูด หมายถึงไม่ออกระเบียบระบอบกฎเกณฑ์คำสั่ง ไม่ติดยึดกับคำสอนในคัมภีร์ ไม่ยึดติดในรูปแบบ ใช้กลวิธีอื่นให้การศึกษา ศึกษาพลเมืองมากกว่าที่จะออกกฎข้อบังคับ ป่าวร้อง เผยแพร่
3. ให้สรรพสิ่งพัฒนาไปโดยไม่จูงนำ ดำรงอยู่อย่างไม่ครอบครอง ประกอบกิจโดยไม่แสวงผลตอบแทน บรรลุภารกิจโดยไม่หวังชื่อเสียง เกียรติยศ (ดูภาคเต๋า บทที่ 2)
คนจีนที่ปฏิบัติตัวตามแนวของเต๋ายังมีเยอะนะครับ แม้ในปัจจุบันนี้ก็เถิด !