ช่วงระยะการเปลี่ยนแปลงจากสังคมทาสเข้าสู่สังคมศักดินาในดินแดนจีนตงง้วนเริ่มตั้งแต่ยุคจั้นกั๋ว ( ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก - ตงโจว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเลี่ยกั๋วหรือเลียดก๊ก แบ่งเป็นสองช่วงคือชุนชิวและจั้นกั๋ว ) การปกครองที่แบ่งพื้นที่ให้เครือญาติไปปกครอง ศูนย์กลางอำนาจบริหารโดยประมุข(โอรสสวรรค์)และคณะมูลนาย ค่อยๆปรับเปลี่ยนถูกแทนที่ด้วยการแบ่งเขตปกครองเป็นแคว้นเป็นอำเภอ มีขุนนางเป็นผู้ปกครอง ที่มาของขุนนางกระจายออกไปถึงสามัญชน คณะมูลนาย(เครือญาติของประมุข)ค่อยๆถูกคณะขุนนาง(มีที่มากว้างกว่ากรอบเครือญาติของประมุข)เข้าแทนที่
การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองทำนองนี้สำเร็จชัดเจนในสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้จัดตั้งระบอบการปกครองที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ศูนย์กลางคือตัวฮ่องเต้ มีคณะขุนนางช่วยบริหาร การปกครองพื้นที่ต่างๆมีขุนนางเป็นผู้บริหาร ไม่มีท้าวพญาสามนตราชที่เป็นประมุขของแผ่นดินย่อยๆอีกต่อไป ทางวิชาการเรียกชื่อว่า “ระบอบประมุขศักดินา” 封建君转制 ซึ่งสืบทอดยาวนานสองพันกว่าปี เพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อซุนยัตเซนทำการปฏิวัติประชาธิปไตยโค่นล้มราชวงศ์ชิงลงไป
“ระบบประมุขศักดินา” จีนมีลักษณะพิเศษดังนี้
1.อำนาจสูงสุดอยู่ในมือของฮ่องเต้เพียงผู้เดียว
2.อำนาจของฮ่องเต้นี้ไม่อาจถ่ายโอน เมื่อฮ่องเต้ครองราชย์แล้ว จะครองอำนาจชั่วชีวิต ไม่อาจสับเปลี่ยน
3.ฮ่องเต้สวรรคตแล้ว ตำแหน่งตกทอดแก่บุตรชายเท่านั้น
4.โครงสร้างองค์กรทางการเมืองถือหลัก ขุนนางต่ำศักดิ์กว่าฮ่องเต้เสมอ
ลักษณะกว้างๆข้างต้น ครอบงำสังคมจีนกว่าสองพันปี แต่อย่างไรก็ตาม “ระบอบประมุขศักดินา” ของจีนก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง เราสามารถแบ่งได้เป็นสองช่วงดังนี้
นับตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ลงมาจนถึงสิ้นราชวงศ์หยวน ใช้ระบบอัครมหาเสนาบดี 宰相制 เป็นผู้บริหารสูงสุดของขุนนาง
นับตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิงจนถึงสิ้นราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้ล้มเลิกระบบอัครมหาเสนาบดีไป ฮ่องเต้บริหารราชการองค์กรศูนย์กลางอำนาจด้วยตนเอง ยุคนี้การเผด็จอำนาจผูกขาดผู้เดียวยิ่งรุนแรงมากขึ้นถึงระดับสูงสุดเลยทีเดียว ซึ่งตามกฎธรรมชาติแล้ว สิ่งใดเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว ก็ต้องเสื่อมไป ระบอบประมุขศักดินาจีนสิ้นสุดไปเมื่อเกิดความนิยมลัทธิประชาธิปไตยแผนใหม่ขึ้น
ระบอบประมุขศักดินาในช่วงที่มีระบบอัครมหาเสนาบดีนั้น มีอัครมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าของขุนนาง อำนาจของอัครมหาเสนาบดีนั้นฮ่องเต้ประทานให้ อำนาจสูงสุด การตัดสินใจครั้งสุดท้ายขึ้นอยู่กับฮ่องเต้ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันรักษาระบบให้ดำเนินไปเป็นปกติ ฮ่องเต้ก็ได้ประทานอำนาจให้อัครมหาเสนาบดีสามารถถ่วงดุลอำนาจของฮ่องเต้ได้ระดับหนึ่ง กล่าวคืออัครมหาเสนาบดีสามารถที่จะปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามหนังสือพระราชโองการได้เมื่อเห็นว่าไม่สมควร แต่อำนาจสูงสุดก็ยังอยู่ที่ฮ่องเต้ ถึงที่สุดถ้าฮ่องเต้ยังยืนกรานตามพระราชโองการเดิม อัครมหาเสนาบดีก็ต้องยอมทำ
การถ่วงดุลหรือกำกับความถูกทำนองคลองธรรมในการปกครอง ยังมีอีกสองจุดคือ บางสมัยก็มีตำแหน่งขุนนางที่ฮ่องเต้ตั้งขึ้นเป็นพิเศษสำหรับทักท้วง ตักเตือน ฮ่องเต้ ขุนนางที่กำกับความถูกทำนองคลองธรรมอีกกลุ่มหนึ่งคือขุนนางที่ทำหน้าที่บันทึกจดหมายเหตุ หน้าที่ของพวกนี้คือต้องจดเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา หากฮ่องเต้ทำสิ่งใดผิดพลาด ขุนนางจดหมายเหตุก็จะบันทึกตามตรง ถ้าฮ่องเต้ไม่อยากจะมีชื่อเสียฉาวโฉ่อยู่ในประวัติศาสตร์ก็จะไม่กล้าทำเรื่องราวที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม
การให้อำนาจถ่วงดุลแก่อัครมหาเสนาบดีมาถูกยกเลิกในสมัยของจูหยวนจางปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง
ภาพกว้างๆของระบอบศักดินาจีน ก็เป็นอย่างที่เล่ามา อันที่จริงรายละเอียดเรื่องการปกครองศักดินาจีนยังมีอีกมากมายมหาศาล ถ้าจะเล่ากันให้ลึกซึ้งก็จะต้องเขียนกันยาวเหยียด
ระบอบประมุขศักดินาของจีนก็เหมือนกับทุกสิ่งทุกอย่างคือมีสองด้าน ทั้งด้านดีและด้านเสีย ด้านดีนั้นระบอบนี้ช่วยให้ชาวจีนสร้างรัฐที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลและประกอบด้วยหลายชนชาติ ให้เป็นเอกภาพขึ้นได้เร็วกว่าอีกหลายๆชาติ ซึ่งมีผลทำให้อารยธรรมของจีนมีประวัติเก่าแก่มาก
ส่วนข้อเสียนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึง
มีคำถามที่ถามกันมากว่า จีนมีความเจริญทั้งทางด้านวัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ มาก่อนยุโรปอย่างเช่น ชาวจีนประดิษฐ์เข็มทิศ สร้างดินระเบิด ทำกระดาษ ฯลฯ ได้ก่อนฝรั่ง แต่เหตุใดจีนจึงไม่พัฒนาเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหมือนอย่างฝรั่ง
คำตอบสำหรับปัญหานี้ คงจะมีหลากหลาย ยุโรปเคยมียุคมืดที่ถูกครอบงำด้วยอคติทางศาสนา กระทั่งชาวยุโรปมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูอารยธรรม เปิดโลกแห่งปัญญาให้กว้างขวางได้สำเร็จ ศิลปวิทยาการได้รับอิสระในการพัฒนา แล้วก็ตามมาด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนทำให้โลกตะวันตกเป็นฝ่ายนำหน้าในโลกต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
จีนซึ่งก็เคยเป็นผู้นำหน้าในโลกมาเหมือนกัน แต่แล้วก็วนเวียนอยู่กับสังคมศักดินาอย่างยาวนาน ไม่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม จึงถูกมองว่าเป็นยักษ์หลับ อย่างไรก็ตามพอยักษ์นี้ตื่นขึ้น โลกก็สะเทือน นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองจนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครองประเทศ โลกก็สะเทือนมาตลอด ถึงตอนนี้ประเทศจีนมีเศรษฐกิจใหญ่โตที่ขยายตัวรวดเร็วมาก โลกก็สะเทือนอีก
การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองทำนองนี้สำเร็จชัดเจนในสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้จัดตั้งระบอบการปกครองที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ศูนย์กลางคือตัวฮ่องเต้ มีคณะขุนนางช่วยบริหาร การปกครองพื้นที่ต่างๆมีขุนนางเป็นผู้บริหาร ไม่มีท้าวพญาสามนตราชที่เป็นประมุขของแผ่นดินย่อยๆอีกต่อไป ทางวิชาการเรียกชื่อว่า “ระบอบประมุขศักดินา” 封建君转制 ซึ่งสืบทอดยาวนานสองพันกว่าปี เพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อซุนยัตเซนทำการปฏิวัติประชาธิปไตยโค่นล้มราชวงศ์ชิงลงไป
“ระบบประมุขศักดินา” จีนมีลักษณะพิเศษดังนี้
1.อำนาจสูงสุดอยู่ในมือของฮ่องเต้เพียงผู้เดียว
2.อำนาจของฮ่องเต้นี้ไม่อาจถ่ายโอน เมื่อฮ่องเต้ครองราชย์แล้ว จะครองอำนาจชั่วชีวิต ไม่อาจสับเปลี่ยน
3.ฮ่องเต้สวรรคตแล้ว ตำแหน่งตกทอดแก่บุตรชายเท่านั้น
4.โครงสร้างองค์กรทางการเมืองถือหลัก ขุนนางต่ำศักดิ์กว่าฮ่องเต้เสมอ
ลักษณะกว้างๆข้างต้น ครอบงำสังคมจีนกว่าสองพันปี แต่อย่างไรก็ตาม “ระบอบประมุขศักดินา” ของจีนก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง เราสามารถแบ่งได้เป็นสองช่วงดังนี้
นับตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ลงมาจนถึงสิ้นราชวงศ์หยวน ใช้ระบบอัครมหาเสนาบดี 宰相制 เป็นผู้บริหารสูงสุดของขุนนาง
นับตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิงจนถึงสิ้นราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้ล้มเลิกระบบอัครมหาเสนาบดีไป ฮ่องเต้บริหารราชการองค์กรศูนย์กลางอำนาจด้วยตนเอง ยุคนี้การเผด็จอำนาจผูกขาดผู้เดียวยิ่งรุนแรงมากขึ้นถึงระดับสูงสุดเลยทีเดียว ซึ่งตามกฎธรรมชาติแล้ว สิ่งใดเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว ก็ต้องเสื่อมไป ระบอบประมุขศักดินาจีนสิ้นสุดไปเมื่อเกิดความนิยมลัทธิประชาธิปไตยแผนใหม่ขึ้น
ระบอบประมุขศักดินาในช่วงที่มีระบบอัครมหาเสนาบดีนั้น มีอัครมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าของขุนนาง อำนาจของอัครมหาเสนาบดีนั้นฮ่องเต้ประทานให้ อำนาจสูงสุด การตัดสินใจครั้งสุดท้ายขึ้นอยู่กับฮ่องเต้ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันรักษาระบบให้ดำเนินไปเป็นปกติ ฮ่องเต้ก็ได้ประทานอำนาจให้อัครมหาเสนาบดีสามารถถ่วงดุลอำนาจของฮ่องเต้ได้ระดับหนึ่ง กล่าวคืออัครมหาเสนาบดีสามารถที่จะปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามหนังสือพระราชโองการได้เมื่อเห็นว่าไม่สมควร แต่อำนาจสูงสุดก็ยังอยู่ที่ฮ่องเต้ ถึงที่สุดถ้าฮ่องเต้ยังยืนกรานตามพระราชโองการเดิม อัครมหาเสนาบดีก็ต้องยอมทำ
การถ่วงดุลหรือกำกับความถูกทำนองคลองธรรมในการปกครอง ยังมีอีกสองจุดคือ บางสมัยก็มีตำแหน่งขุนนางที่ฮ่องเต้ตั้งขึ้นเป็นพิเศษสำหรับทักท้วง ตักเตือน ฮ่องเต้ ขุนนางที่กำกับความถูกทำนองคลองธรรมอีกกลุ่มหนึ่งคือขุนนางที่ทำหน้าที่บันทึกจดหมายเหตุ หน้าที่ของพวกนี้คือต้องจดเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา หากฮ่องเต้ทำสิ่งใดผิดพลาด ขุนนางจดหมายเหตุก็จะบันทึกตามตรง ถ้าฮ่องเต้ไม่อยากจะมีชื่อเสียฉาวโฉ่อยู่ในประวัติศาสตร์ก็จะไม่กล้าทำเรื่องราวที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม
การให้อำนาจถ่วงดุลแก่อัครมหาเสนาบดีมาถูกยกเลิกในสมัยของจูหยวนจางปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง
ภาพกว้างๆของระบอบศักดินาจีน ก็เป็นอย่างที่เล่ามา อันที่จริงรายละเอียดเรื่องการปกครองศักดินาจีนยังมีอีกมากมายมหาศาล ถ้าจะเล่ากันให้ลึกซึ้งก็จะต้องเขียนกันยาวเหยียด
ระบอบประมุขศักดินาของจีนก็เหมือนกับทุกสิ่งทุกอย่างคือมีสองด้าน ทั้งด้านดีและด้านเสีย ด้านดีนั้นระบอบนี้ช่วยให้ชาวจีนสร้างรัฐที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลและประกอบด้วยหลายชนชาติ ให้เป็นเอกภาพขึ้นได้เร็วกว่าอีกหลายๆชาติ ซึ่งมีผลทำให้อารยธรรมของจีนมีประวัติเก่าแก่มาก
ส่วนข้อเสียนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึง
มีคำถามที่ถามกันมากว่า จีนมีความเจริญทั้งทางด้านวัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ มาก่อนยุโรปอย่างเช่น ชาวจีนประดิษฐ์เข็มทิศ สร้างดินระเบิด ทำกระดาษ ฯลฯ ได้ก่อนฝรั่ง แต่เหตุใดจีนจึงไม่พัฒนาเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหมือนอย่างฝรั่ง
คำตอบสำหรับปัญหานี้ คงจะมีหลากหลาย ยุโรปเคยมียุคมืดที่ถูกครอบงำด้วยอคติทางศาสนา กระทั่งชาวยุโรปมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูอารยธรรม เปิดโลกแห่งปัญญาให้กว้างขวางได้สำเร็จ ศิลปวิทยาการได้รับอิสระในการพัฒนา แล้วก็ตามมาด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนทำให้โลกตะวันตกเป็นฝ่ายนำหน้าในโลกต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
จีนซึ่งก็เคยเป็นผู้นำหน้าในโลกมาเหมือนกัน แต่แล้วก็วนเวียนอยู่กับสังคมศักดินาอย่างยาวนาน ไม่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม จึงถูกมองว่าเป็นยักษ์หลับ อย่างไรก็ตามพอยักษ์นี้ตื่นขึ้น โลกก็สะเทือน นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองจนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครองประเทศ โลกก็สะเทือนมาตลอด ถึงตอนนี้ประเทศจีนมีเศรษฐกิจใหญ่โตที่ขยายตัวรวดเร็วมาก โลกก็สะเทือนอีก