เปิดแฟ้มบริษัทมังกร /รายงานข่าวล่าสุดเมื่อกลางสัปดาห์จากศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีน (ซีเอ็นเอ็นไอซี) ระบุสัดส่วนตัวเลขการครองตลาดผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจินในจีนของ ‘ไป่ตู้’ ที่สามารถเอาชนะ ‘กูเกิ้ล’ ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ใน 3 เมืองหลักได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว นอกจากนี้ บริษัทเสิร์ชเอนจินสัญชาติจีนที่เพิ่งเข้าตลาดแนสแดคเมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้ก็กำลังขยายตัวอย่างน้อย 10% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย ข่าวดังกล่าวคงทำให้หลายคนสงสัยว่า ‘ไป่ตู้’ คือใคร และมีที่มาที่ไปอย่างไร
บริษัทไป่ตู้ (百度) หรือ Baidu.com,Inc เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินรายใหญ่ของจีนก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 1999 ที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหลี่เยี่ยนหง และดร.สีว์หย่ง ผู้มีประสบการณ์หลายปีในการทำธุรกิจอยู่ในสหรัฐฯ และเต็มเปี่ยมด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่อยากจะเห็นเว็บไซต์เพื่อการค้นหาที่เป็นภาษาจีนเว็บแรก ที่สามารถตอบสนองผู้ใช้งานภาษาจีนที่มีอยู่อย่างมหาศาล

หลังเริ่มต้นใช้งานไป 1 ปี ในปีค.ศ.2000 เมื่อหลี่เยี่ยนหงกลับสู่ประเทศจีน เขาได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ (Hyperlink analysis technology超链分析技术) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเว็บเสิร์ช ที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของการแสดงผลที่แม่นยำและถูกต้องใน ‘ไป่ตู้’ ซึ่งได้รับสิทธิบัตรจากประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
สำหรับเหตุที่พวกเขาให้ชื่อเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินสายพันธุ์จีนนี้ว่า ‘ไป่ตู้’ เนื่องจากได้แรงบันดาลใจมาจากท่อนหนึ่งในบทกวีอายุเก่าแก่กว่า 800 ปีอันมีชื่อสมัยราชวงศ์ซ่ง ที่กล่าวว่า “จ้งหลี่สวินทาเชียนไป่ตู้” ( 众里寻她千百度 ) บทกวีที่เปรียบเทียบการตามหา ‘เธอผู้นั้น’ ผู้จะมาเป็นหญิงงามหนึ่งเดียวในอุดมคติ ที่ต้องผ่านการเสาะแสวงหาอยู่ร้อยครั้งพันครั้งจึงจะได้พบในที่สุด และการที่พวกเขานำส่วนหนึ่งในบทกวีดั้งเดิมมาตั้งเป็นชื่อเว็บเสิร์ชเอนจินของคนจีนนี้ ก็เพื่อให้ชาวโลกได้รู้จักและจดจำมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีนนั่นเอง
‘‘ไป่ตู้’ ใช้จุดเด่นในฐานะที่เป็นเว็บค้นหาภาษาจีนที่สร้างขึ้นโดยเจ้าของภาษา ด้วยการคิดค้นระบบการใช้งานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อันทันสมัยออกแบบระบบค้นหาให้เข้ากับอักษรภาษาจีนเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน และสามารถแสดงผลเป็นบทความ ข่าวสาร ความรู้ เพลง ภาพยนตร์ ในภาษาจีนได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ ‘ไป่ตู้’ ยังมีเป้าหมายที่จะเป็นคำตอบของทุกคำถามที่ชาวจีนต้องการจะรู้ให้มากที่สุด เป็นภาพทุกภาพและเว็บเพจภาษาจีนทุกเว็บเพจที่ผู้ใช้อยากเห็น รวมไปถึงเพื่อการติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดในวงการอินเทอร์เน็ตได้อย่างฉับไว
ปัจจุบัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันอยู่ใน ‘ไป่ตู้’ เว็บไซต์ยอดฮิตเพื่อการใช้งานด้านการค้นหาที่ขยายการบริการครอบคลุมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดด้านความบันเทิง เป็นชุมชนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำหน่ายซอฟต์แวร์ ตลอดจนเปิดพื้นที่บริการกิจกรรมการค้าทางอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่นเดียวกับคู่แข่งอย่าง กูเกิ้ล ยาฮู ฯลฯ โดยบริษัทไป่ตู้มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และกว่างโจว

หลี่เยี่ยนหง ซีอีโอหนุ่มผู้ก่อตั้ง ‘ไป่ตู้’
หลังจากที่หลี่เยี่ยนหงจบการศึกษาจากคณะบริหารจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในปี 1991 เขาก็ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ณ New York State University at Buffalo ทางตะวันตกของมลรัฐนิวยอร์ก
เป็นเวลา 8 ปีที่เขาศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหรัฐฯ เขาหาประสบการณ์ในบริษัทที่มีชื่อเสียง อาทิ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัทดาวโจนส์ (DOW JONES) และเป็นผู้ออกแบบระบบข้อมูลด้านการเงินแบบเรียลไทมส์ ให้กับเว็บไซต์ของวอลล์สตรีทเจอนัล นอกจากนี้ เขายังเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของธุรกิจอินเทอร์เน็ต INFOSEEK ซึ่งผลงานของเขาล้วนได้รับการชื่นชมอย่างมาก
นอกจากนี้ หลี่ยังประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคนิค ESP (Enterprise Search Platform) โดยนำไปใช้ในเสิร์ชเอนจินของ INFOSEEK/GO.COM และเขายังเป็นผู้ประดิษฐ์เว็บไซต์เพื่อการค้นหารูปภาพของ GO.COM ด้วย
ในปีค.ศ.1996 หลี่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงการจัดลำดับข้อมูลตามจำนวนของเว็บเพจกับประเภทของเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ผู้ใช้ต้องการอย่างสมบูรณ์ จนได้รับสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้น 2 ปีต่อมา เขานำประสบการณ์การทำงานและการใช้ชีวิตในต่างประเทศ มาเขียนหนังสือตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศจีน เนื้อหาว่าด้วยการทำธุรกิจในซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้อ่านชาวจีนอย่างกว้างขวาง
ต่อมาในปลายปี 1999 หลี่ร่วมมือกับเพื่อนสนิทดร.สีว์หย่ง เสี่ยงลงทุนเปิดบริษัทไป่ตู้ เมื่อ ‘ไป่ตู้’ เปิดตัวขึ้นและพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ชาวจีน ตั้งแต่นั้นชื่อของหลี่เยี่ยงหงก็ครองแชมป์รางวัลคนรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่นด้านไอทีติดต่อกันหลายปี นับจาก 2001-2004
ย้อนไปดูชีวิตในวัยเด็ก เด็กชายหลี่เยี่ยนหงจากมณฑลซันซีกล้าท้าทายประเพณีคำสอน ด้วยการส่งจดหมายเปิดเผยความในใจให้เพื่อนนักเรียนหญิงตั้งแต่อยู่ประถม 5 จนถูกวิจารณ์จากที่ประชุมครูและผู้ปกครองอย่างหนัก เล่นเอาเด็กชายเสียหน้ายกใหญ่
แต่เส้นทางชีวิตในวัยที่เติบโตขึ้นของซีอีโอ ‘ไป่ตู้’ กลับแสนเรียบง่าย เขาเดินทางจากหยางเฉวียนเข้ากรุงปักกิ่ง และจากปักกิ่งเดินทางสู่สหรัฐฯ แล้วจึงวกกลับมาสู่วงการสร้างสรรค์ในประเทศบ้านเกิด
ชายหนุ่มยังจำได้ดีถึงเหตุการณ์เล็กๆในช่วงเริ่มต้นชีวิตในต่างแดน มันคือ เหตุการณ์ในเช้าวันหนึ่งที่เขาขับรถออกจากบ้านไปชนเข้ากับรถของเจ้าถิ่นจนเป็นกรณีขึ้นศาล ซึ่งในตอนแรกเขาไม่ติดใจว่าจะเป็นเรื่องใหญ่โตจึงขับรถต่อไปไม่หยุดลงเจรจากับคู่กรณี แต่รุ่งขึ้นเขากลับได้รับหมายศาลในข้อหาขับรถชนแล้วหนี
เหตุการณ์ครั้งนั้นปลุกให้เขาตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมความคิดที่หล่อหลอมเขาขึ้นมากับวัฒนธรรมความคิดในสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งจุดประกายให้หลี่เยี่ยนหงเริ่มแสวงหาความเป็นตัวของตัวเองและหนทางที่ตนจะบุกบั่นไปโดยไม่เลียนแบบใคร

หลายคนอาจเลือกทำตามกระแส เช่น ธุรกิจการส่งข้อความขนาดสั้น เกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ แต่สำหรับหลี่เขาเลือกบุกเบิกเสิร์ชเอนจินสายพันธุ์จีนนี่เอง
แต่ทุกอย่างสำหรับหลี่ก็ไม่ได้ราบรื่น เมื่อเข้าปี 2001 ซึ่งเป็นปีที่ยากลำบากที่สุดของเขา ภายหลังเปิดกิจการ ‘ไป่ตู้’ ไปได้เกือบ 2 ปี เขาพยายามล็อบบี้คณะผู้บริหารและพนักงานทั้งบริษัทเพื่อเห็นด้วยกับเขาในการพัฒนาและเตรียมพร้อมการแข่งขันในธุรกิจเสิร์ชเอนจินในจีน ถึงกระนั้น ท่ามกลางมรสุมเขาก็ยังมีกำลังใจไม่ลดละ
กรณีที่เห็นได้ชัด คือ ข่าวที่ ‘กูเกิ้ล’ เสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกเซ็นเซอร์ในจีน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนไม่สามารถคลิกเข้าที่หน้าเว็บของ ‘กูเกิ้ล’ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทุกการค้นหาที่มีคำว่า ‘กูเกิ้ล’ จะไปเปิดที่หน้าของ ‘ไป่ตู้’ แทน ช่วงนั้นหลายคนกังขาว่า นี่เป็นวิธีที่หลี่ใช้เล่นงานคู่แข่งต่างชาติรายใหญ่ เมื่อเผชิญกับคำกล่าวหาเช่นนี้ หลี่เยี่ยนหงตั้งสติและออกมาชี้แจงกับสื่อว่า
“พวกคุณคิดดูดีๆ พวกเรามีอิทธิพลพอที่จะทำให้รัฐบาลบล็อก ‘กูเกิ้ล’ ได้เหรอ และถ้า ‘ไป่ตู้’ ต่อสู้กับคู่แข่งในสนามแข่งขันทางธุรกิจด้วยวิธีนี้ แน่นอน ‘ไป่ตู้’ ก็คงเป็นรายต่อไป”
หลี่เยี่ยนหงปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารผู้ก่อตั้งบริษัทเว็บท่าไป่ตู้ เมื่อปีที่แล้วนักธุรกิจหนุ่มวัย 37 ปีผู้นี้ติดอันดับ 500 นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดของจีน (ซึ่งจัดอันดับโดยเว็บไซต์ของจีน) โดยหลี่อยู่ในอันดับ 156 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินร่วม 1,000 ล้านหยวน.
เรียบเรียงจาก ซีน่าเน็ตและไป่ตู้ดอทคอม
บริษัทไป่ตู้ (百度) หรือ Baidu.com,Inc เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินรายใหญ่ของจีนก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 1999 ที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหลี่เยี่ยนหง และดร.สีว์หย่ง ผู้มีประสบการณ์หลายปีในการทำธุรกิจอยู่ในสหรัฐฯ และเต็มเปี่ยมด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่อยากจะเห็นเว็บไซต์เพื่อการค้นหาที่เป็นภาษาจีนเว็บแรก ที่สามารถตอบสนองผู้ใช้งานภาษาจีนที่มีอยู่อย่างมหาศาล
หลังเริ่มต้นใช้งานไป 1 ปี ในปีค.ศ.2000 เมื่อหลี่เยี่ยนหงกลับสู่ประเทศจีน เขาได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ (Hyperlink analysis technology超链分析技术) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเว็บเสิร์ช ที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของการแสดงผลที่แม่นยำและถูกต้องใน ‘ไป่ตู้’ ซึ่งได้รับสิทธิบัตรจากประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
สำหรับเหตุที่พวกเขาให้ชื่อเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินสายพันธุ์จีนนี้ว่า ‘ไป่ตู้’ เนื่องจากได้แรงบันดาลใจมาจากท่อนหนึ่งในบทกวีอายุเก่าแก่กว่า 800 ปีอันมีชื่อสมัยราชวงศ์ซ่ง ที่กล่าวว่า “จ้งหลี่สวินทาเชียนไป่ตู้” ( 众里寻她千百度 ) บทกวีที่เปรียบเทียบการตามหา ‘เธอผู้นั้น’ ผู้จะมาเป็นหญิงงามหนึ่งเดียวในอุดมคติ ที่ต้องผ่านการเสาะแสวงหาอยู่ร้อยครั้งพันครั้งจึงจะได้พบในที่สุด และการที่พวกเขานำส่วนหนึ่งในบทกวีดั้งเดิมมาตั้งเป็นชื่อเว็บเสิร์ชเอนจินของคนจีนนี้ ก็เพื่อให้ชาวโลกได้รู้จักและจดจำมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีนนั่นเอง
‘‘ไป่ตู้’ ใช้จุดเด่นในฐานะที่เป็นเว็บค้นหาภาษาจีนที่สร้างขึ้นโดยเจ้าของภาษา ด้วยการคิดค้นระบบการใช้งานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อันทันสมัยออกแบบระบบค้นหาให้เข้ากับอักษรภาษาจีนเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน และสามารถแสดงผลเป็นบทความ ข่าวสาร ความรู้ เพลง ภาพยนตร์ ในภาษาจีนได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ ‘ไป่ตู้’ ยังมีเป้าหมายที่จะเป็นคำตอบของทุกคำถามที่ชาวจีนต้องการจะรู้ให้มากที่สุด เป็นภาพทุกภาพและเว็บเพจภาษาจีนทุกเว็บเพจที่ผู้ใช้อยากเห็น รวมไปถึงเพื่อการติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดในวงการอินเทอร์เน็ตได้อย่างฉับไว
ปัจจุบัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันอยู่ใน ‘ไป่ตู้’ เว็บไซต์ยอดฮิตเพื่อการใช้งานด้านการค้นหาที่ขยายการบริการครอบคลุมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดด้านความบันเทิง เป็นชุมชนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำหน่ายซอฟต์แวร์ ตลอดจนเปิดพื้นที่บริการกิจกรรมการค้าทางอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่นเดียวกับคู่แข่งอย่าง กูเกิ้ล ยาฮู ฯลฯ โดยบริษัทไป่ตู้มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และกว่างโจว
หลี่เยี่ยนหง ซีอีโอหนุ่มผู้ก่อตั้ง ‘ไป่ตู้’
หลังจากที่หลี่เยี่ยนหงจบการศึกษาจากคณะบริหารจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในปี 1991 เขาก็ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ณ New York State University at Buffalo ทางตะวันตกของมลรัฐนิวยอร์ก
เป็นเวลา 8 ปีที่เขาศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหรัฐฯ เขาหาประสบการณ์ในบริษัทที่มีชื่อเสียง อาทิ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัทดาวโจนส์ (DOW JONES) และเป็นผู้ออกแบบระบบข้อมูลด้านการเงินแบบเรียลไทมส์ ให้กับเว็บไซต์ของวอลล์สตรีทเจอนัล นอกจากนี้ เขายังเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของธุรกิจอินเทอร์เน็ต INFOSEEK ซึ่งผลงานของเขาล้วนได้รับการชื่นชมอย่างมาก
นอกจากนี้ หลี่ยังประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคนิค ESP (Enterprise Search Platform) โดยนำไปใช้ในเสิร์ชเอนจินของ INFOSEEK/GO.COM และเขายังเป็นผู้ประดิษฐ์เว็บไซต์เพื่อการค้นหารูปภาพของ GO.COM ด้วย
ในปีค.ศ.1996 หลี่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงการจัดลำดับข้อมูลตามจำนวนของเว็บเพจกับประเภทของเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ผู้ใช้ต้องการอย่างสมบูรณ์ จนได้รับสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้น 2 ปีต่อมา เขานำประสบการณ์การทำงานและการใช้ชีวิตในต่างประเทศ มาเขียนหนังสือตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศจีน เนื้อหาว่าด้วยการทำธุรกิจในซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้อ่านชาวจีนอย่างกว้างขวาง
ต่อมาในปลายปี 1999 หลี่ร่วมมือกับเพื่อนสนิทดร.สีว์หย่ง เสี่ยงลงทุนเปิดบริษัทไป่ตู้ เมื่อ ‘ไป่ตู้’ เปิดตัวขึ้นและพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ชาวจีน ตั้งแต่นั้นชื่อของหลี่เยี่ยงหงก็ครองแชมป์รางวัลคนรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่นด้านไอทีติดต่อกันหลายปี นับจาก 2001-2004
ย้อนไปดูชีวิตในวัยเด็ก เด็กชายหลี่เยี่ยนหงจากมณฑลซันซีกล้าท้าทายประเพณีคำสอน ด้วยการส่งจดหมายเปิดเผยความในใจให้เพื่อนนักเรียนหญิงตั้งแต่อยู่ประถม 5 จนถูกวิจารณ์จากที่ประชุมครูและผู้ปกครองอย่างหนัก เล่นเอาเด็กชายเสียหน้ายกใหญ่
แต่เส้นทางชีวิตในวัยที่เติบโตขึ้นของซีอีโอ ‘ไป่ตู้’ กลับแสนเรียบง่าย เขาเดินทางจากหยางเฉวียนเข้ากรุงปักกิ่ง และจากปักกิ่งเดินทางสู่สหรัฐฯ แล้วจึงวกกลับมาสู่วงการสร้างสรรค์ในประเทศบ้านเกิด
ชายหนุ่มยังจำได้ดีถึงเหตุการณ์เล็กๆในช่วงเริ่มต้นชีวิตในต่างแดน มันคือ เหตุการณ์ในเช้าวันหนึ่งที่เขาขับรถออกจากบ้านไปชนเข้ากับรถของเจ้าถิ่นจนเป็นกรณีขึ้นศาล ซึ่งในตอนแรกเขาไม่ติดใจว่าจะเป็นเรื่องใหญ่โตจึงขับรถต่อไปไม่หยุดลงเจรจากับคู่กรณี แต่รุ่งขึ้นเขากลับได้รับหมายศาลในข้อหาขับรถชนแล้วหนี
เหตุการณ์ครั้งนั้นปลุกให้เขาตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมความคิดที่หล่อหลอมเขาขึ้นมากับวัฒนธรรมความคิดในสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งจุดประกายให้หลี่เยี่ยนหงเริ่มแสวงหาความเป็นตัวของตัวเองและหนทางที่ตนจะบุกบั่นไปโดยไม่เลียนแบบใคร
หลายคนอาจเลือกทำตามกระแส เช่น ธุรกิจการส่งข้อความขนาดสั้น เกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ แต่สำหรับหลี่เขาเลือกบุกเบิกเสิร์ชเอนจินสายพันธุ์จีนนี่เอง
แต่ทุกอย่างสำหรับหลี่ก็ไม่ได้ราบรื่น เมื่อเข้าปี 2001 ซึ่งเป็นปีที่ยากลำบากที่สุดของเขา ภายหลังเปิดกิจการ ‘ไป่ตู้’ ไปได้เกือบ 2 ปี เขาพยายามล็อบบี้คณะผู้บริหารและพนักงานทั้งบริษัทเพื่อเห็นด้วยกับเขาในการพัฒนาและเตรียมพร้อมการแข่งขันในธุรกิจเสิร์ชเอนจินในจีน ถึงกระนั้น ท่ามกลางมรสุมเขาก็ยังมีกำลังใจไม่ลดละ
กรณีที่เห็นได้ชัด คือ ข่าวที่ ‘กูเกิ้ล’ เสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกเซ็นเซอร์ในจีน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนไม่สามารถคลิกเข้าที่หน้าเว็บของ ‘กูเกิ้ล’ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทุกการค้นหาที่มีคำว่า ‘กูเกิ้ล’ จะไปเปิดที่หน้าของ ‘ไป่ตู้’ แทน ช่วงนั้นหลายคนกังขาว่า นี่เป็นวิธีที่หลี่ใช้เล่นงานคู่แข่งต่างชาติรายใหญ่ เมื่อเผชิญกับคำกล่าวหาเช่นนี้ หลี่เยี่ยนหงตั้งสติและออกมาชี้แจงกับสื่อว่า
“พวกคุณคิดดูดีๆ พวกเรามีอิทธิพลพอที่จะทำให้รัฐบาลบล็อก ‘กูเกิ้ล’ ได้เหรอ และถ้า ‘ไป่ตู้’ ต่อสู้กับคู่แข่งในสนามแข่งขันทางธุรกิจด้วยวิธีนี้ แน่นอน ‘ไป่ตู้’ ก็คงเป็นรายต่อไป”
หลี่เยี่ยนหงปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารผู้ก่อตั้งบริษัทเว็บท่าไป่ตู้ เมื่อปีที่แล้วนักธุรกิจหนุ่มวัย 37 ปีผู้นี้ติดอันดับ 500 นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดของจีน (ซึ่งจัดอันดับโดยเว็บไซต์ของจีน) โดยหลี่อยู่ในอันดับ 156 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินร่วม 1,000 ล้านหยวน.
เรียบเรียงจาก ซีน่าเน็ตและไป่ตู้ดอทคอม