เตช บุนนาค อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีน เผยเบื้องลึกการปรับความสัมพันธ์ปกติระหว่างไทย-จีน

เตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีนคนที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2529-2533 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ได้ขึ้นบรรยายในงานสัมมนา "เหลียวหลังแลหน้า ความสัมพันธ์ไทย-จีน 30 ปี" ที่จัดขึ้นโดยสถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ศูนย์แลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมไทย-จีน สิรินธร มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2548 ณ ศูนย์แลกเปลี่ยนอิงเจี๋ย มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน .....
ท่านเตช ได้เล่าเบื้องลึกของความเป็นมาก่อนที่ประเทศไทยและประเทศจีนลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ปกติต่อกันในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) โดยนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศจีน โจวเอินไหล ดังนี้
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ไปรับท่านไฉเจ๋อหมิน (柴泽民) ตอนที่ท่านเดินทางมาเป็นเอกอัครราชทูตจีนคนแรกประจำประเทศไทย (ระหว่างปี พ.ศ.2519-2521) เพราะตอนนั้นผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก ระหว่างปี พ.ศ.2515-2519 (ค.ศ.1972-1976) และก็มีหน้าที่โดยตรงที่จะทำเรื่องราวในระดับของหัวหน้ากองเกี่ยวกับการปรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนให้เป็นปกติ
ผมขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นอย่างยิ่งที่ได้เชิญท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง (程瑞生) มาในวันนี้ด้วย ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้เป็นอดีตทูตจีนประจำประเทศไทย ทั้งนี้ก็เพราะว่าตอนที่ผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก กระทรวงต่างประเทศของไทยนั้น ท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิงท่านเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศจีน แล้วก็เป็นคู่เจรจาของผมโดยตรง
การปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับจีนนั้นเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) ที่ผมมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ที่จริงแล้วกระบวนการปรับสัมพันธ์ไทยจีนเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514)
คงมีหลายท่านในห้องนี้อาจจะจำไม่ได้ว่าประมาณเดือนกันยายน พ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) นายเฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้มาเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก เป็นการมาเยือนอย่างลับๆ แต่คงมีน้อยคนที่จะทราบว่าก่อนเฮนรี คิสซิงเจอร์จะมาเมืองจีนนั้น เขาได้แวะที่ประเทศไทยก่อน
ตอนนั้นทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยนั้นชื่อว่า ลีโอนาร์ด อังเกอร์ (Leonard Unger) ส่วนผมเป็นเด็ก เป็นเลขานุการโท ประจำกรมสารนิเทศ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกองเอเชียตะวันออกแต่อย่างใด แต่ว่าท่านทูตเลโอนาร์ด อังเกอร์ ก็เมตตาเชิญผมและเพื่อนๆ อีกหลายคนไปร่วมรับประทานอาหารเช้ากับเฮนรี คิสซิงเจอร์ คนอเมริกันเขาชอบทำกินอาหารเช้าไปด้วย คุยงานไปด้วย (Working Breakfast) นะครับ
เราก็ไปรับประทานอาหารเช้ากับเฮนรี คิสซิงเจอร์ สิ่งที่พูดกันที่โต๊ะอาหารเช้าวันนั้นมากที่สุดก็คือเรื่องเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม เพราะฉะนั้นในปี ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) หากเราคำนึงถึงสถานการณ์ในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เราจะลืมสงครามเวียดนามไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีนิกสันได้ไปประกาศสิ่งที่เขาเรียกว่า หลักทฤษฎีนิกสัน (Nixon Doctrine) ที่เกาะกวมในมหาสมุทรแปซิฟิกว่า สงครามเวียดนามก็รบกันมาหลายปีแล้ว สหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 (ค.ศ.1965) และสหรัฐฯ เองก็เสียหายมากมาย เพราะฉะนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) เป็นต้นไป จะทำให้เวียดนามเป็นของคนเวียดนามเอง หรือที่เขาเรียกว่ากระบวนการแปลงให้เป็นเวียดนาม (Vietnamization)
หลักทฤษฎีนิกสันที่เกาะกวมนี่เป็นการเปิดโอกาสให้อะไรต่ออะไรในเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลงมากมาย หลังจากนั้นก็อย่างที่ทราบกันว่าหลังจากคิสซิงเจอร์แวะที่กรุงเทพฯ แล้ว คิสซิงเจอร์ก็มาแวะที่ปากีสถาน แล้วก็อ้างว่าไม่สบาย แต่ที่จริงแล้วก็หลบเข้ามาในประเทศจีน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) ประธานาธิบดีนิกสันก็ได้มาเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก*
“การเริ่มต้นบทบาทของกระทรวงต่างประเทศในการปรับความสัมพันธ์จีนกับไทยอย่างแท้จริง”
ผมเองก็ย้ายมาเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเมื่อปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) แล้วก็ได้ร่วมมากับคณะไทยที่เป็นทางการคณะที่สอง ตอนนั้นเราก็มีคณะการทูตทางด้านการกีฬา
คณะแรกที่เข้ามาก่อนคณะที่สองก็คือ คณะของคุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ซึ่งเป็นคณะปิงปอง ส่วนคณะที่สองที่นำเข้ามาโดยคุณชุมพล โลหะชาละ เป็นคณะแบดมินตัน ผมก็ไม่ได้เป็นนักกีฬาอะไรเลย ไม่ชอบเล่นกีฬาด้วยซ้ำ แต่ก็ต้องมาอยู่ในคณะของไทยที่มาเล่นแบดมินตัน ใส่เสื้อของสมาคมแบดมินตันไทยตระเวนไปในประเทศจีนอยู่สามสัปดาห์ ทำให้รู้เรื่องแบดมินตันมากขึ้นไม่น้อย ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ผมได้พบและได้ทำงานกันกับท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง
เมื่อผมเดินทางมาตอนนั้นก็เดินทางมาในฐานะหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก ซึ่งทางฝ่ายจีนเองก็ทราบดี แล้วก็มีนายมาด้วยคือคุณแผน วรรณเมธี อธิบดีกรมการเมืองในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย ฉะนั้น ‘นี่ก็เป็นการเริ่มต้นบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศไทยในการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยให้เป็นปกติอย่างแท้จริง’
ในปี พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) ผมมาประเทศจีน มาปักกิ่ง 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกอย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว ผมมากับคณะแบดมินตัน ส่วนครั้งที่สองมาเดือนธันวาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) ระหว่างวิกฤตการณ์น้ำมัน แล้วก็มาซื้อน้ำมันดิบจำนวน 30,000 ตัน
หัวหน้าคณะผู้แทนของเราขณะนั้นก็คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีคือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
การที่เรามาซื้อน้ำมัน 30,000 ตันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) เป็นการเริ่มต้นการค้าระหว่างไทยกับจีนอย่างเป็นทางการครั้งแรก ต่อจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2516-2518 (ค.ศ.1973-1975) ผมก็เป็นหัวหน้ากอง และเจรจาอยู่กับท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิงตลอดเวลา
“ความเสี่ยงที่ต้องฝ่าฟันในการปรับสัมพันธ์ปกติระหว่างไทยจีน”
แต่สำหรับผมเองที่ดำรงตำแหน่งนั้นก็มีอัตราเสี่ยงที่สูงไม่น้อย เพราะอย่างที่ท่าน ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าฝ่ายไทยในระหว่างนั้นยังมองจีนว่าเป็นอันตราย แม้แต่หลังจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อย่างที่ท่านทูตไฉเจ๋อหมินได้กล่าวคือ เรายังมีปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งทางการไทยเห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้มีการณรงค์สงครามจรยุทธ์หรือการก่อการร้ายในประเทศไทย
ซึ่งในสงครามนั้นมีทหารและพลเรือนไทยเสียชีวิตในสงครามนั้นปีละหลายร้อยคน เพราะฉะนั้นใครก็ตาม อย่างผมที่ในเวลานั้นอายุเพียง 29 ปี เป็นหัวหน้ากองจะมาสนับสนุนผลักดันให้มีความสัมพันธ์เป็นปกติกับจีนก็เป็นการเสี่ยง และคนก็บอกกันว่าจะสร้างสัมพันธ์กับจีนได้ยังไงในเมื่อจีนสนับสนุนการก่อการร้ายในประเทศไทย
มีอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้การเจรจาการปรับความสัมพันธ์ลำบาก และเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันเราอาจจะไม่พูดถึงหรือลืมไป ก็คือในยุคนั้นยังมีทางการไทยส่วนหนึ่งยังมีความหวาดระแวงคนจีนโพ้นทะเลที่มีสัญชาติไทย ซึ่งความหวาดระแวงนี้ดำรงมาเป็นเวลานาน
โดยหากย้อนกลับไปถึงการปฏิวัติของจีนครั้งแรกกลายเป็นสาธารณรัฐจีน (ค.ศ.1911 หรือ พ.ศ.2454) ซึ่งคนไทยเรียกว่า ขบถเจ๊กเหมง ในขณะนั้นซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 คนไทยก็เป็นห่วงคนจีนโพ้นทะเลที่เป็นไทยมากว่าจะเกิดความฮึกเหิมลุกขึ้นเชียร์คนจีนมาก
ในระหว่างที่ผมเป็นหัวหน้ากองและทำการเจรจากับจีน เวลาไปประชุมในสภาความมั่นคงแห่งชาติและในหน่วยราชการไทยอื่นๆ ก็ยังมีความรู้สึกนี้อยู่ว่า ถ้าเราจะมีความสัมพันธ์ที่เป็นปกติกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว จะไม่ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยและเพิ่งได้สัญชาติจะฮึกเหิมและเข้าข้างจีนแผ่นดินใหญ่เป็นการใหญ่หรือ นี่ก็เป็นปัญหาที่ผมเผชิญอยู่ในขณะนั้น
นอกจากนั้นแล้ว ทหารไทยก็ยังไปร่วมรบอยู่ในเวียดนามใต้ ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ซึ่งหนุนเวียดนามใต้อย่างเต็มที่ มีฐานทัพสหรัฐฯ ในประเทศไทยใหญ่ๆ อยู่ 5-7 แห่ง จนมีคนกล่าวว่าประเทศไทยเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในยุคนั้น
อีกปัญหานั้นที่ผมเผชิญและถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อตัวผมเองก็คือ ประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตอยู่กับสาธารณรัฐจีนฝ่ายไต้หวัน ซึ่งก็มีคนสัญชาติไทยเชื้อชาติจีน และคนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยที่เข้าข้างไต้หวันอยู่เป็นจำนวนมาก
ประเด็นสุดท้ายที่ผมประสบปัญหามากในยุคระหว่างที่ผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกอยู่ ก็คือการเมืองภายในของไทยเอง ซึ่งในขณะนั้นมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายอำนาจเก่า โดยในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยจะเรียกกันว่า ยุค 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา พ.ศ.2516-2519 (ค.ศ.1973-1976) เพราะฉะนั้นผมก็ทำงานด้วยความยากลำบากความเสี่ยงต่อชีวิตราชการของผมเอง แต่ก็ถือว่าโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้ใหญ่ทุกคนในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งบางท่านก็นั่งอยู่ ณ ที่นี้ บางท่านก็เคยเป็นผู้ร่วมงานของผมโดยตรง เช่น ดร.สารสิน วีระผล ท่านทูตดอน (ปรมัตถ์วินัย) และอีกคนหนึ่งที่อยากจะเอ่ยชื่อถึงแต่ไม่ได้อยู่ร่วมในที่นี้ก็คือ กอบศักดิ์ ชุติกุล ที่ปัจจุบันไปเป็นที่ปรึกษาขององค์การการค้าโลกอยู่ที่กรุงเจนีวา ท่านเหล่านี้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ช่วยผมแก้ไขปัญหาทั้งหมด
ส่วนฝ่ายจีนเองก็อยู่ในสถานะที่ไม่ง่ายเพราะยังอยู่ในยุคการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยในสมัยนั้นที่ผมมาเมืองจีนหลายต่อหลายครั้ง นอกจากคณะผู้แทนไทยที่มาเจรจากับคณะผู้แทนจีน เวลาที่ผมอยู่ที่โรงแรมปักกิ่งก็จะพบกับคณะผู้แทนจากเกาหลีเหนือกับอัลเบเนียเท่านั้น เพราะเป็นนโยบายของจีนในขณะนั้นที่จะคบอยู่กับเกาหลีเหนือและอัลเบเนีย
เพราะฉะนั้น ในการที่ผมเป็นนักการทูตกีฬา บางทีในการเดินทางไปต่างจังหวัด พวกเราไปเล่นแบดมินตันหรือปิงปองอะไรก็แล้วแต่ ในเครื่องบินลำเดียวก็จะมีทีมฟุตบอลจากอัลเบเนียไปด้วย เป็นต้น ซึ่งก็แน่นอนว่าฝ่ายจีนก็หวาดระแวงฝ่ายไทยเช่นกัน ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐฯ อย่างเต็มตัวตั้งแต่สมัยสงครามเกาหลีมาจนกระทั่งสงครามเวียดนาม
"แรงสนับสนุนที่ช่วยผลักดันให้การปรับสัมพันธ์ไทยจีนเป็นจริง"
อย่างที่ได้เรียนไว้แล้ว ตอนที่ผมเป็นเด็กเป็นหัวหน้ากอง ก็ได้ทำงานกันกับหัวหน้ากองที่เก่งมากของกระทรวงการต่างประเทศจีน คือท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง แล้วท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ที่ดูแลเราอยู่ในขณะนั้น ก็คือท่านถังแย่นหลง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพรักเป็นอย่างยิ่ง เหนือจากท่านขึ้นไปก็มีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศจีนที่ยอดเยี่ยมแบบท่านเฉียวกวนหัว แล้วสูงสุดในคณะรัฐบาลก็คือ ฯพณฯ ท่านโจวเอินไหล ซึ่งท่านก็คุ้นเคยกับคณะผู้แทนไทยมาก่อนในการประชุมเอเชีย-แอฟริกาที่เมืองบันดุง เมื่อปี พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955)
บางท่านในที่นี้อาจจะลืมไปแล้วว่าในการประชุมที่บันดุงมีการพบกันแบบทวิภาคีระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไทย คือท่านพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) กับนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลด้วย และท่านพระองค์วรรณฯ ก็เป็นผู้ทำรายงานเสนอต่อการประชุมเอเชีย-แอฟริกาที่บันดุงด้วย
อย่างที่ว่านะครับว่าไทยกับจีนเรามีความสัมพันธ์กันมาเป็นพันปี เพราะฉะนั้นเมื่อมีการปรับความสัมพันธ์เป็นปกติ ความสัมพันธ์จึงได้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นผมก็มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นทูตคนที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) หลังจากที่ได้เป็นหัวหน้ากองมาก่อนระหว่างปี ค.ศ.1972-1976
เพราะฉะนั้นผมจึงไม่อยู่ในฐานะเดียวกันกับท่าน ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี (ทูตไทยประจำประเทศจีนคนแรก) กับท่านทูตอรชุน ตนะพงษ์ (ทูตไทยประจำประเทศจีนคนที่ 4) ที่ท่านทั้งสองกล่าวว่าส่งมาโดยไม่บอกกล่าวกันมาก่อน แต่ทุกคนในกระทรวงการต่างประเทศไทยมีความมั่นใจกันว่าสักวันหนึ่งผมจะได้มาเป็นทูตที่ปักกิ่ง และสุดท้ายที่ผมมีความภูมิใจมากที่ได้มาเป็นทูตที่ปักกิ่ง เนื่องจากคุณปู่ของผมคือพระยาอภิบาลราชไมตรี เป็นทูตคนสุดท้ายของไทยที่นานกิง (หนานจิง) เมื่อปี พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) เพราะฉะนั้นจากระยะเวลาที่ว่างเว้นไปจากปี ค.ศ.1949-1986 ผมจึงมีความภูมิใจโดยส่วนตัวเป็นอย่างยิ่ง
อ่านเพิ่มเติม :
* "ปาฐกถาพิเศษ เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน:ครบรอบ 25 ปี โดย คุณอานันท์ ปันยารชุน" (วารสารเอเชียปริทัศน์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2543)
เตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีนคนที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2529-2533 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ได้ขึ้นบรรยายในงานสัมมนา "เหลียวหลังแลหน้า ความสัมพันธ์ไทย-จีน 30 ปี" ที่จัดขึ้นโดยสถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ศูนย์แลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมไทย-จีน สิรินธร มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2548 ณ ศูนย์แลกเปลี่ยนอิงเจี๋ย มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน .....
ท่านเตช ได้เล่าเบื้องลึกของความเป็นมาก่อนที่ประเทศไทยและประเทศจีนลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ปกติต่อกันในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) โดยนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศจีน โจวเอินไหล ดังนี้
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ไปรับท่านไฉเจ๋อหมิน (柴泽民) ตอนที่ท่านเดินทางมาเป็นเอกอัครราชทูตจีนคนแรกประจำประเทศไทย (ระหว่างปี พ.ศ.2519-2521) เพราะตอนนั้นผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก ระหว่างปี พ.ศ.2515-2519 (ค.ศ.1972-1976) และก็มีหน้าที่โดยตรงที่จะทำเรื่องราวในระดับของหัวหน้ากองเกี่ยวกับการปรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนให้เป็นปกติ
ผมขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นอย่างยิ่งที่ได้เชิญท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง (程瑞生) มาในวันนี้ด้วย ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้เป็นอดีตทูตจีนประจำประเทศไทย ทั้งนี้ก็เพราะว่าตอนที่ผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก กระทรวงต่างประเทศของไทยนั้น ท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิงท่านเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศจีน แล้วก็เป็นคู่เจรจาของผมโดยตรง
การปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติกับจีนนั้นเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) ที่ผมมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ที่จริงแล้วกระบวนการปรับสัมพันธ์ไทยจีนเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514)
คงมีหลายท่านในห้องนี้อาจจะจำไม่ได้ว่าประมาณเดือนกันยายน พ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) นายเฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้มาเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก เป็นการมาเยือนอย่างลับๆ แต่คงมีน้อยคนที่จะทราบว่าก่อนเฮนรี คิสซิงเจอร์จะมาเมืองจีนนั้น เขาได้แวะที่ประเทศไทยก่อน
ตอนนั้นทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยนั้นชื่อว่า ลีโอนาร์ด อังเกอร์ (Leonard Unger) ส่วนผมเป็นเด็ก เป็นเลขานุการโท ประจำกรมสารนิเทศ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกองเอเชียตะวันออกแต่อย่างใด แต่ว่าท่านทูตเลโอนาร์ด อังเกอร์ ก็เมตตาเชิญผมและเพื่อนๆ อีกหลายคนไปร่วมรับประทานอาหารเช้ากับเฮนรี คิสซิงเจอร์ คนอเมริกันเขาชอบทำกินอาหารเช้าไปด้วย คุยงานไปด้วย (Working Breakfast) นะครับ
เราก็ไปรับประทานอาหารเช้ากับเฮนรี คิสซิงเจอร์ สิ่งที่พูดกันที่โต๊ะอาหารเช้าวันนั้นมากที่สุดก็คือเรื่องเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม เพราะฉะนั้นในปี ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) หากเราคำนึงถึงสถานการณ์ในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เราจะลืมสงครามเวียดนามไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีนิกสันได้ไปประกาศสิ่งที่เขาเรียกว่า หลักทฤษฎีนิกสัน (Nixon Doctrine) ที่เกาะกวมในมหาสมุทรแปซิฟิกว่า สงครามเวียดนามก็รบกันมาหลายปีแล้ว สหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 (ค.ศ.1965) และสหรัฐฯ เองก็เสียหายมากมาย เพราะฉะนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) เป็นต้นไป จะทำให้เวียดนามเป็นของคนเวียดนามเอง หรือที่เขาเรียกว่ากระบวนการแปลงให้เป็นเวียดนาม (Vietnamization)
หลักทฤษฎีนิกสันที่เกาะกวมนี่เป็นการเปิดโอกาสให้อะไรต่ออะไรในเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลงมากมาย หลังจากนั้นก็อย่างที่ทราบกันว่าหลังจากคิสซิงเจอร์แวะที่กรุงเทพฯ แล้ว คิสซิงเจอร์ก็มาแวะที่ปากีสถาน แล้วก็อ้างว่าไม่สบาย แต่ที่จริงแล้วก็หลบเข้ามาในประเทศจีน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) ประธานาธิบดีนิกสันก็ได้มาเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก*
“การเริ่มต้นบทบาทของกระทรวงต่างประเทศในการปรับความสัมพันธ์จีนกับไทยอย่างแท้จริง”
ผมเองก็ย้ายมาเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเมื่อปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) แล้วก็ได้ร่วมมากับคณะไทยที่เป็นทางการคณะที่สอง ตอนนั้นเราก็มีคณะการทูตทางด้านการกีฬา
คณะแรกที่เข้ามาก่อนคณะที่สองก็คือ คณะของคุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ซึ่งเป็นคณะปิงปอง ส่วนคณะที่สองที่นำเข้ามาโดยคุณชุมพล โลหะชาละ เป็นคณะแบดมินตัน ผมก็ไม่ได้เป็นนักกีฬาอะไรเลย ไม่ชอบเล่นกีฬาด้วยซ้ำ แต่ก็ต้องมาอยู่ในคณะของไทยที่มาเล่นแบดมินตัน ใส่เสื้อของสมาคมแบดมินตันไทยตระเวนไปในประเทศจีนอยู่สามสัปดาห์ ทำให้รู้เรื่องแบดมินตันมากขึ้นไม่น้อย ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ผมได้พบและได้ทำงานกันกับท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง
เมื่อผมเดินทางมาตอนนั้นก็เดินทางมาในฐานะหัวหน้ากองเอเชียตะวันออก ซึ่งทางฝ่ายจีนเองก็ทราบดี แล้วก็มีนายมาด้วยคือคุณแผน วรรณเมธี อธิบดีกรมการเมืองในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย ฉะนั้น ‘นี่ก็เป็นการเริ่มต้นบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศไทยในการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยให้เป็นปกติอย่างแท้จริง’
ในปี พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) ผมมาประเทศจีน มาปักกิ่ง 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกอย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว ผมมากับคณะแบดมินตัน ส่วนครั้งที่สองมาเดือนธันวาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) ระหว่างวิกฤตการณ์น้ำมัน แล้วก็มาซื้อน้ำมันดิบจำนวน 30,000 ตัน
หัวหน้าคณะผู้แทนของเราขณะนั้นก็คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีคือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
การที่เรามาซื้อน้ำมัน 30,000 ตันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) เป็นการเริ่มต้นการค้าระหว่างไทยกับจีนอย่างเป็นทางการครั้งแรก ต่อจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2516-2518 (ค.ศ.1973-1975) ผมก็เป็นหัวหน้ากอง และเจรจาอยู่กับท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิงตลอดเวลา
“ความเสี่ยงที่ต้องฝ่าฟันในการปรับสัมพันธ์ปกติระหว่างไทยจีน”
แต่สำหรับผมเองที่ดำรงตำแหน่งนั้นก็มีอัตราเสี่ยงที่สูงไม่น้อย เพราะอย่างที่ท่าน ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าฝ่ายไทยในระหว่างนั้นยังมองจีนว่าเป็นอันตราย แม้แต่หลังจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อย่างที่ท่านทูตไฉเจ๋อหมินได้กล่าวคือ เรายังมีปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งทางการไทยเห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้มีการณรงค์สงครามจรยุทธ์หรือการก่อการร้ายในประเทศไทย
ซึ่งในสงครามนั้นมีทหารและพลเรือนไทยเสียชีวิตในสงครามนั้นปีละหลายร้อยคน เพราะฉะนั้นใครก็ตาม อย่างผมที่ในเวลานั้นอายุเพียง 29 ปี เป็นหัวหน้ากองจะมาสนับสนุนผลักดันให้มีความสัมพันธ์เป็นปกติกับจีนก็เป็นการเสี่ยง และคนก็บอกกันว่าจะสร้างสัมพันธ์กับจีนได้ยังไงในเมื่อจีนสนับสนุนการก่อการร้ายในประเทศไทย
มีอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้การเจรจาการปรับความสัมพันธ์ลำบาก และเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันเราอาจจะไม่พูดถึงหรือลืมไป ก็คือในยุคนั้นยังมีทางการไทยส่วนหนึ่งยังมีความหวาดระแวงคนจีนโพ้นทะเลที่มีสัญชาติไทย ซึ่งความหวาดระแวงนี้ดำรงมาเป็นเวลานาน
โดยหากย้อนกลับไปถึงการปฏิวัติของจีนครั้งแรกกลายเป็นสาธารณรัฐจีน (ค.ศ.1911 หรือ พ.ศ.2454) ซึ่งคนไทยเรียกว่า ขบถเจ๊กเหมง ในขณะนั้นซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 คนไทยก็เป็นห่วงคนจีนโพ้นทะเลที่เป็นไทยมากว่าจะเกิดความฮึกเหิมลุกขึ้นเชียร์คนจีนมาก
ในระหว่างที่ผมเป็นหัวหน้ากองและทำการเจรจากับจีน เวลาไปประชุมในสภาความมั่นคงแห่งชาติและในหน่วยราชการไทยอื่นๆ ก็ยังมีความรู้สึกนี้อยู่ว่า ถ้าเราจะมีความสัมพันธ์ที่เป็นปกติกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว จะไม่ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยและเพิ่งได้สัญชาติจะฮึกเหิมและเข้าข้างจีนแผ่นดินใหญ่เป็นการใหญ่หรือ นี่ก็เป็นปัญหาที่ผมเผชิญอยู่ในขณะนั้น
นอกจากนั้นแล้ว ทหารไทยก็ยังไปร่วมรบอยู่ในเวียดนามใต้ ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ซึ่งหนุนเวียดนามใต้อย่างเต็มที่ มีฐานทัพสหรัฐฯ ในประเทศไทยใหญ่ๆ อยู่ 5-7 แห่ง จนมีคนกล่าวว่าประเทศไทยเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในยุคนั้น
อีกปัญหานั้นที่ผมเผชิญและถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อตัวผมเองก็คือ ประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตอยู่กับสาธารณรัฐจีนฝ่ายไต้หวัน ซึ่งก็มีคนสัญชาติไทยเชื้อชาติจีน และคนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยที่เข้าข้างไต้หวันอยู่เป็นจำนวนมาก
ประเด็นสุดท้ายที่ผมประสบปัญหามากในยุคระหว่างที่ผมเป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกอยู่ ก็คือการเมืองภายในของไทยเอง ซึ่งในขณะนั้นมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายอำนาจเก่า โดยในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยจะเรียกกันว่า ยุค 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา พ.ศ.2516-2519 (ค.ศ.1973-1976) เพราะฉะนั้นผมก็ทำงานด้วยความยากลำบากความเสี่ยงต่อชีวิตราชการของผมเอง แต่ก็ถือว่าโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้ใหญ่ทุกคนในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งบางท่านก็นั่งอยู่ ณ ที่นี้ บางท่านก็เคยเป็นผู้ร่วมงานของผมโดยตรง เช่น ดร.สารสิน วีระผล ท่านทูตดอน (ปรมัตถ์วินัย) และอีกคนหนึ่งที่อยากจะเอ่ยชื่อถึงแต่ไม่ได้อยู่ร่วมในที่นี้ก็คือ กอบศักดิ์ ชุติกุล ที่ปัจจุบันไปเป็นที่ปรึกษาขององค์การการค้าโลกอยู่ที่กรุงเจนีวา ท่านเหล่านี้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ช่วยผมแก้ไขปัญหาทั้งหมด
ส่วนฝ่ายจีนเองก็อยู่ในสถานะที่ไม่ง่ายเพราะยังอยู่ในยุคการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยในสมัยนั้นที่ผมมาเมืองจีนหลายต่อหลายครั้ง นอกจากคณะผู้แทนไทยที่มาเจรจากับคณะผู้แทนจีน เวลาที่ผมอยู่ที่โรงแรมปักกิ่งก็จะพบกับคณะผู้แทนจากเกาหลีเหนือกับอัลเบเนียเท่านั้น เพราะเป็นนโยบายของจีนในขณะนั้นที่จะคบอยู่กับเกาหลีเหนือและอัลเบเนีย
เพราะฉะนั้น ในการที่ผมเป็นนักการทูตกีฬา บางทีในการเดินทางไปต่างจังหวัด พวกเราไปเล่นแบดมินตันหรือปิงปองอะไรก็แล้วแต่ ในเครื่องบินลำเดียวก็จะมีทีมฟุตบอลจากอัลเบเนียไปด้วย เป็นต้น ซึ่งก็แน่นอนว่าฝ่ายจีนก็หวาดระแวงฝ่ายไทยเช่นกัน ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐฯ อย่างเต็มตัวตั้งแต่สมัยสงครามเกาหลีมาจนกระทั่งสงครามเวียดนาม
"แรงสนับสนุนที่ช่วยผลักดันให้การปรับสัมพันธ์ไทยจีนเป็นจริง"
อย่างที่ได้เรียนไว้แล้ว ตอนที่ผมเป็นเด็กเป็นหัวหน้ากอง ก็ได้ทำงานกันกับหัวหน้ากองที่เก่งมากของกระทรวงการต่างประเทศจีน คือท่านทูตเฉิงรุ่ยเซิง แล้วท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ที่ดูแลเราอยู่ในขณะนั้น ก็คือท่านถังแย่นหลง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพรักเป็นอย่างยิ่ง เหนือจากท่านขึ้นไปก็มีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศจีนที่ยอดเยี่ยมแบบท่านเฉียวกวนหัว แล้วสูงสุดในคณะรัฐบาลก็คือ ฯพณฯ ท่านโจวเอินไหล ซึ่งท่านก็คุ้นเคยกับคณะผู้แทนไทยมาก่อนในการประชุมเอเชีย-แอฟริกาที่เมืองบันดุง เมื่อปี พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955)
บางท่านในที่นี้อาจจะลืมไปแล้วว่าในการประชุมที่บันดุงมีการพบกันแบบทวิภาคีระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไทย คือท่านพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) กับนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลด้วย และท่านพระองค์วรรณฯ ก็เป็นผู้ทำรายงานเสนอต่อการประชุมเอเชีย-แอฟริกาที่บันดุงด้วย
อย่างที่ว่านะครับว่าไทยกับจีนเรามีความสัมพันธ์กันมาเป็นพันปี เพราะฉะนั้นเมื่อมีการปรับความสัมพันธ์เป็นปกติ ความสัมพันธ์จึงได้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นผมก็มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นทูตคนที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) หลังจากที่ได้เป็นหัวหน้ากองมาก่อนระหว่างปี ค.ศ.1972-1976
เพราะฉะนั้นผมจึงไม่อยู่ในฐานะเดียวกันกับท่าน ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี (ทูตไทยประจำประเทศจีนคนแรก) กับท่านทูตอรชุน ตนะพงษ์ (ทูตไทยประจำประเทศจีนคนที่ 4) ที่ท่านทั้งสองกล่าวว่าส่งมาโดยไม่บอกกล่าวกันมาก่อน แต่ทุกคนในกระทรวงการต่างประเทศไทยมีความมั่นใจกันว่าสักวันหนึ่งผมจะได้มาเป็นทูตที่ปักกิ่ง และสุดท้ายที่ผมมีความภูมิใจมากที่ได้มาเป็นทูตที่ปักกิ่ง เนื่องจากคุณปู่ของผมคือพระยาอภิบาลราชไมตรี เป็นทูตคนสุดท้ายของไทยที่นานกิง (หนานจิง) เมื่อปี พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) เพราะฉะนั้นจากระยะเวลาที่ว่างเว้นไปจากปี ค.ศ.1949-1986 ผมจึงมีความภูมิใจโดยส่วนตัวเป็นอย่างยิ่ง
อ่านเพิ่มเติม :
* "ปาฐกถาพิเศษ เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน:ครบรอบ 25 ปี โดย คุณอานันท์ ปันยารชุน" (วารสารเอเชียปริทัศน์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2543)