อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะเป็นวันครบรอบ 84 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผมจึงขอถือโอกาสนี้ พูดถึงหลักการข้อหนึ่งของระบอบสังคมนิยม เป็นประเด็นเชิงทฤษฎีลัทธิมาร์กซลัทธิเลนิน ซึ่งหลายคนอาจร้องยี้... นี่ยุคไหนแล้ว ยังมาพูดทฤษฎีอย่างนี้อีก เชยซะไม่มี
แต่อย่าเพิ่งว่าเชยเลยครับ เพราะอย่างน้อยตอนนี้ก็ยังมีประเทศจีนที่ยืนยันเรียกตัวเองว่า เป็นประเทศสังคมนิยม อันที่จริง จีนนั้นประกาศตัวเองมาตลอดว่า เขาเป็นประเทศสังคมนิยม
แล้วจีนเป็นสังคมนิยมจริงหรือไม่ ผมจะตอบคำถามนี้ด้วยหลักการของระบอบสังคมนิยมข้อหนึ่ง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้คำว่า 按劳分配(distribution according to one's performance) ผมให้ความหมายเองว่า “แบ่งสรรผลตอบแทนตามการใช้แรงงาน”
อันที่จริงหลักการข้อนี้ มาร์กซได้เขียนไว้ในงานเขียนเรื่อง “วิพากษ์หลักนโยบายโกเธียร์” (Criticism of the Gothaer Programs) เพื่อเสนอวิธีการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค (consumer goods) ว่า “สิทธิอำนาจของผู้ผลิตจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงงานที่พวกเขาสนองให้ ความเสมอภาคจึงอยู่ที่การใช้มาตรวัดเดียวกันมาวัด นั่นคือ การใช้แรงงาน”
เลนินก็พูดถึงหลักการข้อนี้ว่า “การทำงานเท่ากันในเงื่อนไขที่ต้องทำตามมาตรฐานการทำงานอย่างถูกต้อง จะได้รับผลตอบแทนเท่ากัน” (สรรนิพนธ์เลนิน เล่มที่ 3 หน้า 258)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนหยิบเอาหลักการข้อนี้มาสอนเยาวชนคนหนุ่มสาวมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทั้งที่อยู่ในแบบเรียนและเอกสารศึกษาการเมืองของพรรคฯ คนจีนจึงคุ้นเคยกับหลักการข้อนี้กันดี คำถามคือ แล้วพรรคคอมมิวนิสต์จีนทำตามหลักการข้อนี้ได้จริงหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ผู้ใช้แรงงานทั้งแรงงานกายและแรงงานสมองไม่เคยได้รับการ “แบ่งสรรผลตอบแทน” ตาม “การใช้แรงงาน” เลยมาแต่ไหนแต่ไร
เรามาดูรายละเอียดกัน
ความจริงจากการใช้เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมยืนยันว่า ด้วยสติปัญญาที่มนุษย์มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีใครหา “มาตรวัดเดียวกัน” ที่ใช้วัดการใช้แรงงานที่ต่างกันของผู้ใช้แรงงาน และจริงๆแล้ว จะต้องใช้ “มาตรวัด” แบบไหนมาวัดการใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆของผู้ใช้แรงงานที่กระจายกันอยู่ในสาขาอาชีพต่างๆ ก็ยังไม่เคยมีใครให้คำตอบที่น่าเชื่อถือได้เลยทั้งในเชิงทฤษฎีและการทำงานจริงๆ
มิพักต้องพูดถึงการหาบรรทัดฐานเดียวกันเพื่อวัดการใช้แรงงานของผู้ใช้แรงงานกายซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงในการสร้างมูลค่าการใช้งานให้กับการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค แม้แต่ผู้ใช้แรงงานสมองที่ทำงานด้านภารกิจของพรรค งานด้านบริหารจัดการ หรืองานด้านรูปการจิตสำนึก (ความคิดอุดมการ) ก็ยิ่งหาบรรทัดฐานเดียวกับผู้ใช้แรงงานกายมาวัดไม่ได้เอาเสียเลย
บรรทัดฐานที่ใช้กันอยู่จริงสำหรับผู้ใช้แรงงานสมองคือ เงินเดือนค่าตอบแทนที่ได้รับในรูปแบบต่างๆ โดยทั่วไปจะยึดเอาหลักฐานเช่น ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และอายุงาน เป็นเกณฑ์ตัดสินปริมาณการใช้แรงงานของพวกเขา
อย่างไรก็ดี การใช้หลักเกณฑ์เดียวกันเช่นนี้ ก็มีปัญหา กล่าวคือ คนที่กระจายอยู่ในหน่วยงานต่างกัน ย่อมทำงานมากน้อยหนักเบาต่างกัน แต่กลับได้รับเงินค่าแรงในขั้นเดียวกัน ส่วนคนที่ต้องทำงานมากและหนักเท่าๆกัน ก็กลับได้รับค่าแรงต่างกันอันเนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และอายุงานที่ต่างกัน
นี่แสดงว่า เป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบปริมาณแรงงานของผู้ใช้แรงงานที่ทำงานต่างกันให้เป็นเอกภาพกันได้ และในความเป็นจริงก็ทำไม่ได้อย่างที่เลนินพูดไว้ข้างต้น
ส่วนทรรศนะของมาร์กซที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ก็ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐผลิตภัณฑ์ที่สินค้าผู้บริโภคไม่ใช่สินค้าทั่วไป กำลังแรงงานไม่ใช่สินค้าทั่วไป และเงินตราได้ออกจากปริมณฑลการแลกเปลี่ยนในสังคมแล้ว ซึ่งหมายความว่า สังคมต้องพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปถึงขั้นที่คนส่วนใหญ่ที่สุดในสังคมต่างรู้สึกนึกในหน้าที่ที่จะสนองแรงงานแก่สังคม และยกเลิกระบบเงินตราแล้ว นั่นแหละถึงจะใช้ “แรงงาน” เป็น “มาตรวัดเดียว” ได้ และสังคมจะออก “หนังสือรับรอง” ที่ใช้เหมือนกันทั้งสังคม ซึ่งจะบันทึกปริมาณแรงงานที่ผู้ใช้แรงงานได้สนองแก่สังคม หลังจากผู้ใช้แรงงานก็จะเอา “หนังสือรับรอง” นี้ไปเบิกเอาสินค้าประเภทบริโภคที่ควรจะได้รับ นี่ก็คือทรรศนะของมร์กซในการตั้งข้อสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่อง “แบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน” อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น
ในขณะที่เลนินพูดไว้ละเอียดกว่าว่า
“สังคมมนุษยชาติจะก้าวผ่านจากทุนนิยมเข้าสู่สังคมนิยม ซึ่งก็คือก้าวผ่านไปสู่การมีกรรมสิทธิ์รวมในปัจจัยการผลิต (public ownership of means of production) และการแบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน พรรคเรา (หมายถึงพรรคบอลเชวิค--ผู้เขียน) มองไกลไปยิ่งกว่าว่า สังคมนิยมจะต้องค่อยๆเติบโตไปเป็นคอมมิวนิสม์ และบนธงของคอมมิวนิสม์จะเขียนว่า ทุกคนทำตามความสามารถ และแบ่งสรรผลตอบแทนตามความต้องการ” (สรรนิพนธ์เลนิน เล่มที่ 3 หน้า 62)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับเอาสมมติฐานข้อนี้ของมาร์กซมา และยกให้เป็น“เอกลักษณ์สำคัญ” “หลักเกณฑ์เศรษฐกิจ” ของสังคมนิยม โดยเขียนไว้ในธรรมนูญพรรคและรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี แม้ว่า หลักการ “แบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน” จะถูกมองว่าเป็นกฎที่จะล่วงละเมิดมิได้ในดำเนินเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แต่ความเป็นจริง หลักการข้อนี้กลับอันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย ค่าแรงในรูปเงินตรามีบทบาทแทนที่ “หนังสือรับรอง” ฉบับที่มาร์กซพูดถึง และ “แรงงาน” ก็มิได้เป็นมาตรวัดเดียวในการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค ดังนั้น “หนังสือรับรอบ” ฉบับนั้นจึงกลายเป็นเศษกระดาษ สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าอยากได้คือเงินตรา เพราะคงไม่มีใครอยากได้เศษกระดาษใบนั้นแน่
ความจริง ประเทศสังคมนิยมทั้งหลายต่างก็ใช้ค่าแรงงานในรูปเงินตรา เพื่อทำตามหลักการข้อนี้ของมร์กซ ซึ่งเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อสมมติฐานของมาร์กซ และหากเรามองประเทศจีนย้อนกลับไปตั้งแต่สถาปนา “จีนใหม่” จะเห็นได้ว่า ช่วง 30 ปีแรกที่ดำเนินการปฏิวัติและสร้างสรรค์สังคมนิยม จีนพูดถึงหลักการข้อนี้ แต่ผลที่ตามมาคือ เกิดลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์ สุดท้ายคือ ยากจนโดยทั่วหน้ากันทุกคน และช่วง 20 ปีเศษหลังนี้ จีนเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างสรรค์สังคมนิยมแบบจีน ยอมให้คนส่วนหนึ่งรวยกันก่อน จีนก็พูดถึงหลักการข้อนี้ แต่ผลคือเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนขึ้น กลายเป็นว่าใครที่จนก็จนกันไป ใครที่รวยก็รวยกันไป
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยืนยันได้ว่า ข้อสมมติฐานของมาร์กซข้อนี้ไม่เคยได้เกิดขึ้นจริงเลยในจีน ไม่เช่นนั้น ก็คงไม่เกิดลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์และช่องว่างคนรวยคนจนให้เห็นตำตาอย่างนี้ และที่น่าสังเวชใจคือ จีนยังคงพร่ำพูดถึงหลักการนี้ต่อไป นักวิชาการสายมาร์กซิสม์ของจีนยังพร่ำถกเถียงกันว่า หลักการนี้เป็นธรรมหรือไม่ โดยไม่หันมามองว่า หลักการนี้เคยใช้ได้จริงหรือไม่ในสังคมจีนที่ยังไม่ได้พัฒนาเจริญถึงขั้นที่มาร์กซตั้งข้อสมมติฐานไว้
หรือจะให้เป็นอย่างที่บอริส เยลซินอดตประธานาธิบดีรัสเซียเคยพูดไว้ คือ กลุ่มผู้นำพรรคและรัฐรวมทั้งครอบครัวของพวกเขาได้เข้าสู่ยุคสังคมคอมมิวนิสม์ โดยทุกคนสามารถ “แบ่งสรรผลตอบแทนตามต้องการ” กันมานานแล้ว ประชาชนไม่เกี่ยว!
แต่อย่าเพิ่งว่าเชยเลยครับ เพราะอย่างน้อยตอนนี้ก็ยังมีประเทศจีนที่ยืนยันเรียกตัวเองว่า เป็นประเทศสังคมนิยม อันที่จริง จีนนั้นประกาศตัวเองมาตลอดว่า เขาเป็นประเทศสังคมนิยม
แล้วจีนเป็นสังคมนิยมจริงหรือไม่ ผมจะตอบคำถามนี้ด้วยหลักการของระบอบสังคมนิยมข้อหนึ่ง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้คำว่า 按劳分配(distribution according to one's performance) ผมให้ความหมายเองว่า “แบ่งสรรผลตอบแทนตามการใช้แรงงาน”
อันที่จริงหลักการข้อนี้ มาร์กซได้เขียนไว้ในงานเขียนเรื่อง “วิพากษ์หลักนโยบายโกเธียร์” (Criticism of the Gothaer Programs) เพื่อเสนอวิธีการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค (consumer goods) ว่า “สิทธิอำนาจของผู้ผลิตจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงงานที่พวกเขาสนองให้ ความเสมอภาคจึงอยู่ที่การใช้มาตรวัดเดียวกันมาวัด นั่นคือ การใช้แรงงาน”
เลนินก็พูดถึงหลักการข้อนี้ว่า “การทำงานเท่ากันในเงื่อนไขที่ต้องทำตามมาตรฐานการทำงานอย่างถูกต้อง จะได้รับผลตอบแทนเท่ากัน” (สรรนิพนธ์เลนิน เล่มที่ 3 หน้า 258)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนหยิบเอาหลักการข้อนี้มาสอนเยาวชนคนหนุ่มสาวมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทั้งที่อยู่ในแบบเรียนและเอกสารศึกษาการเมืองของพรรคฯ คนจีนจึงคุ้นเคยกับหลักการข้อนี้กันดี คำถามคือ แล้วพรรคคอมมิวนิสต์จีนทำตามหลักการข้อนี้ได้จริงหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ผู้ใช้แรงงานทั้งแรงงานกายและแรงงานสมองไม่เคยได้รับการ “แบ่งสรรผลตอบแทน” ตาม “การใช้แรงงาน” เลยมาแต่ไหนแต่ไร
เรามาดูรายละเอียดกัน
ความจริงจากการใช้เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมยืนยันว่า ด้วยสติปัญญาที่มนุษย์มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีใครหา “มาตรวัดเดียวกัน” ที่ใช้วัดการใช้แรงงานที่ต่างกันของผู้ใช้แรงงาน และจริงๆแล้ว จะต้องใช้ “มาตรวัด” แบบไหนมาวัดการใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆของผู้ใช้แรงงานที่กระจายกันอยู่ในสาขาอาชีพต่างๆ ก็ยังไม่เคยมีใครให้คำตอบที่น่าเชื่อถือได้เลยทั้งในเชิงทฤษฎีและการทำงานจริงๆ
มิพักต้องพูดถึงการหาบรรทัดฐานเดียวกันเพื่อวัดการใช้แรงงานของผู้ใช้แรงงานกายซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงในการสร้างมูลค่าการใช้งานให้กับการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค แม้แต่ผู้ใช้แรงงานสมองที่ทำงานด้านภารกิจของพรรค งานด้านบริหารจัดการ หรืองานด้านรูปการจิตสำนึก (ความคิดอุดมการ) ก็ยิ่งหาบรรทัดฐานเดียวกับผู้ใช้แรงงานกายมาวัดไม่ได้เอาเสียเลย
บรรทัดฐานที่ใช้กันอยู่จริงสำหรับผู้ใช้แรงงานสมองคือ เงินเดือนค่าตอบแทนที่ได้รับในรูปแบบต่างๆ โดยทั่วไปจะยึดเอาหลักฐานเช่น ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และอายุงาน เป็นเกณฑ์ตัดสินปริมาณการใช้แรงงานของพวกเขา
อย่างไรก็ดี การใช้หลักเกณฑ์เดียวกันเช่นนี้ ก็มีปัญหา กล่าวคือ คนที่กระจายอยู่ในหน่วยงานต่างกัน ย่อมทำงานมากน้อยหนักเบาต่างกัน แต่กลับได้รับเงินค่าแรงในขั้นเดียวกัน ส่วนคนที่ต้องทำงานมากและหนักเท่าๆกัน ก็กลับได้รับค่าแรงต่างกันอันเนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และอายุงานที่ต่างกัน
นี่แสดงว่า เป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบปริมาณแรงงานของผู้ใช้แรงงานที่ทำงานต่างกันให้เป็นเอกภาพกันได้ และในความเป็นจริงก็ทำไม่ได้อย่างที่เลนินพูดไว้ข้างต้น
ส่วนทรรศนะของมาร์กซที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ก็ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐผลิตภัณฑ์ที่สินค้าผู้บริโภคไม่ใช่สินค้าทั่วไป กำลังแรงงานไม่ใช่สินค้าทั่วไป และเงินตราได้ออกจากปริมณฑลการแลกเปลี่ยนในสังคมแล้ว ซึ่งหมายความว่า สังคมต้องพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปถึงขั้นที่คนส่วนใหญ่ที่สุดในสังคมต่างรู้สึกนึกในหน้าที่ที่จะสนองแรงงานแก่สังคม และยกเลิกระบบเงินตราแล้ว นั่นแหละถึงจะใช้ “แรงงาน” เป็น “มาตรวัดเดียว” ได้ และสังคมจะออก “หนังสือรับรอง” ที่ใช้เหมือนกันทั้งสังคม ซึ่งจะบันทึกปริมาณแรงงานที่ผู้ใช้แรงงานได้สนองแก่สังคม หลังจากผู้ใช้แรงงานก็จะเอา “หนังสือรับรอง” นี้ไปเบิกเอาสินค้าประเภทบริโภคที่ควรจะได้รับ นี่ก็คือทรรศนะของมร์กซในการตั้งข้อสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่อง “แบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน” อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น
ในขณะที่เลนินพูดไว้ละเอียดกว่าว่า
“สังคมมนุษยชาติจะก้าวผ่านจากทุนนิยมเข้าสู่สังคมนิยม ซึ่งก็คือก้าวผ่านไปสู่การมีกรรมสิทธิ์รวมในปัจจัยการผลิต (public ownership of means of production) และการแบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน พรรคเรา (หมายถึงพรรคบอลเชวิค--ผู้เขียน) มองไกลไปยิ่งกว่าว่า สังคมนิยมจะต้องค่อยๆเติบโตไปเป็นคอมมิวนิสม์ และบนธงของคอมมิวนิสม์จะเขียนว่า ทุกคนทำตามความสามารถ และแบ่งสรรผลตอบแทนตามความต้องการ” (สรรนิพนธ์เลนิน เล่มที่ 3 หน้า 62)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับเอาสมมติฐานข้อนี้ของมาร์กซมา และยกให้เป็น“เอกลักษณ์สำคัญ” “หลักเกณฑ์เศรษฐกิจ” ของสังคมนิยม โดยเขียนไว้ในธรรมนูญพรรคและรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี แม้ว่า หลักการ “แบ่งสรรผลตอบแทนตามแรงงาน” จะถูกมองว่าเป็นกฎที่จะล่วงละเมิดมิได้ในดำเนินเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แต่ความเป็นจริง หลักการข้อนี้กลับอันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย ค่าแรงในรูปเงินตรามีบทบาทแทนที่ “หนังสือรับรอง” ฉบับที่มาร์กซพูดถึง และ “แรงงาน” ก็มิได้เป็นมาตรวัดเดียวในการแบ่งสรรสินค้าประเภทบริโภค ดังนั้น “หนังสือรับรอบ” ฉบับนั้นจึงกลายเป็นเศษกระดาษ สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าอยากได้คือเงินตรา เพราะคงไม่มีใครอยากได้เศษกระดาษใบนั้นแน่
ความจริง ประเทศสังคมนิยมทั้งหลายต่างก็ใช้ค่าแรงงานในรูปเงินตรา เพื่อทำตามหลักการข้อนี้ของมร์กซ ซึ่งเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อสมมติฐานของมาร์กซ และหากเรามองประเทศจีนย้อนกลับไปตั้งแต่สถาปนา “จีนใหม่” จะเห็นได้ว่า ช่วง 30 ปีแรกที่ดำเนินการปฏิวัติและสร้างสรรค์สังคมนิยม จีนพูดถึงหลักการข้อนี้ แต่ผลที่ตามมาคือ เกิดลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์ สุดท้ายคือ ยากจนโดยทั่วหน้ากันทุกคน และช่วง 20 ปีเศษหลังนี้ จีนเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างสรรค์สังคมนิยมแบบจีน ยอมให้คนส่วนหนึ่งรวยกันก่อน จีนก็พูดถึงหลักการข้อนี้ แต่ผลคือเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนขึ้น กลายเป็นว่าใครที่จนก็จนกันไป ใครที่รวยก็รวยกันไป
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยืนยันได้ว่า ข้อสมมติฐานของมาร์กซข้อนี้ไม่เคยได้เกิดขึ้นจริงเลยในจีน ไม่เช่นนั้น ก็คงไม่เกิดลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์และช่องว่างคนรวยคนจนให้เห็นตำตาอย่างนี้ และที่น่าสังเวชใจคือ จีนยังคงพร่ำพูดถึงหลักการนี้ต่อไป นักวิชาการสายมาร์กซิสม์ของจีนยังพร่ำถกเถียงกันว่า หลักการนี้เป็นธรรมหรือไม่ โดยไม่หันมามองว่า หลักการนี้เคยใช้ได้จริงหรือไม่ในสังคมจีนที่ยังไม่ได้พัฒนาเจริญถึงขั้นที่มาร์กซตั้งข้อสมมติฐานไว้
หรือจะให้เป็นอย่างที่บอริส เยลซินอดตประธานาธิบดีรัสเซียเคยพูดไว้ คือ กลุ่มผู้นำพรรคและรัฐรวมทั้งครอบครัวของพวกเขาได้เข้าสู่ยุคสังคมคอมมิวนิสม์ โดยทุกคนสามารถ “แบ่งสรรผลตอบแทนตามต้องการ” กันมานานแล้ว ประชาชนไม่เกี่ยว!