คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อรับชมและฟัง ในรูปแบบ Photo Slide Show
รุ่งขึ้นในวันสุดท้ายของการท่องแดนใต้ คณะของเราออกจากซัวเถา บึ่งไปยังเซี่ยเหมินในมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางนานราว 3 ชั่วโมงครึ่ง
เซี่ยเหมินเขตเศรษฐกิจพิเศษชื่อดังแห่งแดนมังกร เป็นเมืองชายทะเล อยู่ตรงข้ามเกาะไต้หวัน ดูสะอาดสะอ้านสมดังนโยบายรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการพลิกโฉมเซี่ยเหมินเป็นเมืองตัวอย่าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักลงทุน เซี่ยเหมินถึงกับขจัดมอเตอร์ไซด์ออกจากเมือง โดยได้งดออกทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์มาตั้งแต่ปี 1997 ปัจจุบัน ทั้งเมืองเหลือมอเตอร์ไซด์อยู่เพียงไม่กี่คัน และจะค่อยๆหายไปจากท้องถนนเมื่อทะเบียนอนุญาตการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์เหล่านี้หมดอายุลง
ท่ามกลางดงตึกสูงระฟ้า และโรงงานที่เป็นผลพวงจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษสมัยผู้นำเติ้งเสี่ยวผิงแล้วเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เซี่ยเหมินยังจัดเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อาทิ เป็นด่านหน้าสู้รบปรปักษ์ลัทธิจักรวรรดินิยม โดยมีป้อมปืนหูหลี่ ริมทะเลด้านใต้ของเกาะเซี่ยเหมิน ที่สร้างในปี 1894 สมัยกวงสูฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง เป็นอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีตำนานชาวจีนโพ้นทะเลที่ยิ่งใหญ่ และ ณ เมืองท่าชายทะเลแห่งนี้เอง ที่คลื่นชาวจีนมหาศาลได้ลงเรือหนีความยากจนข่นแค้นในยุคก่อนการปฏิวัติจีนใหม่ ออกแสวงโชคทั่วโลก และต่างก็ประสบชะตากรรมต่างๆนานา มีทั้งสุขนาฏกรรม และโศกนาฏกรรม
..................ตำนานชาวจีนโพ้นทะเลผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมจีนแท้กับมรดกการศึกษาที่ยิ่งใหญ่
สถานที่แห่งแรกที่คณะทัวร์ของเราไปเยี่ยมชมคือ ศูนย์การศึกษาจี๋เหมย(集美)อันใหญ่โตขนาดเรียกกันเป็น ‘เมืองการศึกษา’ ทีเดียว และยังได้แวะเข้าไปชมบรรยากาศในสวนกุยไหลหยวน (归来园)ซึ่งชื่อนี้ แปลว่า ‘คืนสู่เหย้า’ ทำนองนั้น
หากดูเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ขนาด ความเก่าแก่แล้ว ‘เมืองการศึกษาจี๋เหมย’ อาจเทียบไม่ติดฝุ่นกับแหล่งท่องเที่ยวแถวหน้าอย่างกำแพงเมืองจีน สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ หรือแหล่งมรดกโลกอื่นๆอีกมากมายในแผ่นดินใหญ่ ทว่า ณ ที่นี้ แม้นไม่มี ‘มรดกโลก’ ตรายูเนสโก แต่ก็มี ‘มรดกอันยิ่งใหญ่’ ของชาวจีนโพ้นทะเลคนหนึ่ง ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมแบบจีนแท้...ที่ทำงานหนัก มานะ อดทน ฝ่ามรสุมชีวิตอย่างดุเดือด ประหยัด เพื่อชาติบ้านเกิด เพื่อการศึกษาของประชาชน และเราก็ได้ค้นอ่านเรื่องราวของผู้ที่ได้รับการเชิดชูถึงระดับ ‘จิตวิญญาณแห่งเฉินเจียเกิง’
ท่านเฉินเจียเกิง (陈嘉庚-Tan Kah Kee) ผู้สร้างเมืองการศึกษาจี๋เหมย และhttp://www.xmu.edu.cn/" CLASS="innerlink" TARGET="_blank"> มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน เป็นหนี่งในชาวจีนโพ้นทะเล ออกเผชิญโชคในต่างแดนเมื่อปี 1903 ไปช่วยบิดากอบกู้กิจการที่กำลังล้มครืนในสิงคโปร์ เมื่อรวบรวมเงินทองได้เป็นกอบเป็นกำก้อนแรกในปี 1912 ก็กลับบ้านเกิดทันที สิ่งแรกที่ทำก็คือ ‘สร้างโรงเรียน’ จากโรงเรียนประถมจี๋เหมย ขยายถึงระดับมัธยม และศูนย์ศึกษาความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆในปี 1918 ล่วงถึงปี 1919 เมื่อกิจการค้ารุดหน้าจนมีกำไรทรัพย์สินเพิ่มพูนถึงประมาณ 4,000,000 หยวน เฉินเจียเกิงก็ขนเงินกลับบ้านด้วยความฮึกเหิม เทกระเป๋าสร้างสถาบันการศึกษาใหญ่ยักษ์อีกแห่งคือมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของแผ่นดินจีนที่สร้างขึ้นด้วยทุนของชาวจีนโพ้นทะเล ทั้งยังได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา-ค่าใช้จ่ายการบริหารโรงเรียนมหาวิทยาลัยรวมมูลค่าเท่ากับมูลค่าสินทรัพย์ที่ท่านมีทั้งหมดในเวลานั้น! นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างโรงเรียนในสิงคโปร์ด้วยถึง 6 แห่ง ชั่วชีวิตของท่านได้เกื้อกูลการศึกษาสร้างโรงเรียนร่วม 100 แห่ง
นอกจากความรักและอุทิศให้กับการศึกษาแล้ว เฉินเจียเกิงยังมีความรักชาติแผ่นดินเกิด ช่วยเหลือทุนรอนแก่ความเคลื่อนไหวปฏิวัติจีนใหม่ของท่านซุนจงซันหรือซุนยัตเซน ร่วมศึกต้านญี่ปุ่นอย่างทรหด ภายใน 50 กว่าปี ที่เฉินเจียเกิง ทำงานหนัก ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ท่านได้บริจาคเงินทองให้แก่การศึกษา และสาธารณประโยชน์มากกว่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ความรักทุ่มเทให้แก่การศึกษาของเฉินเจียเกิง ขนาดมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านผจญวิกฤตเศรษฐกิจ กิจการค้าตกอับ ท่านลั่นวาจาอย่างเด็ดเดี่ยวว่ายอมให้ธุรกิจล้ม แต่ไม่ยอมให้โรงเรียนล้ม
เฉินเจียเกิงเสียชีวิตในกรุงปักกิ่งด้วยอาการป่วยไข้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1961 ท่านประธานเหมาเจ๋อตุง ยกย่องท่านเป็น ‘ผู้นำชาวจีนโพ้นทะเล แสงสว่างแห่งประชาชาติ’
เฉินเจียเกิงเกิดในจี๋เหมย เซี่ยเหมินเมื่อปี 1874 ท่านได้ออกแสวงโชคบากบั่นฝ่ามรสุมชีวิตสร้างเนื้อสร้างตัวในสิงคโปร์ ค้าข้าว ทำโรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานขนม โรงทำไม้ ปลูกต้นยางพาราจนกระทั่งในปี 1925 มีสวนยางถึง 15,000 กว่าเอเคอร์ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย มีทุนทรัพย์ถึง12,000,000 เหรียญสิงคโปร์ มีโรงงานกว่า 30 แห่ง จ้างคนงานกว่า 32,000 คน จนผู้คนให้ฉายาท่านว่า ‘ราชาสวนยาง’ แห่งเอเชียอาคเนย์
เสร็จจากการแวะชมเมืองการศึกษาจี๋เหมย และสวนกุยไหลหยวน คณะทัวร์ของเราก็ตรงไปที่วัดหนันผู่ถัว (南普陀寺)ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ที่สร้างในราชวงศ์ถัง และมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ในราชวงศ์ชิง ภายในมีหอพระไตรปิฎก มีวิหารแปดเหลี่ยมประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางพันกร วัดนี้ มีทั้งนักท่องเที่ยวจีน และต่างประเทศ ตลอดจนชาวเซี่ยเหมินจำนวนมากไปไหว้สักการะกัน
................เรื่องราวซึ้งๆบนเกาะเปียโน
ด้วยเวลาอันจำกัด และเพราะรถเจ้ากรรมเกิดเกเรติดขัด ทำให้การเดินทางยิ่งล่าช้า คณะเราเลยพลาดไปเกาะกู่ล่างอี่ว์ ซึ่งมีฉายาเป็น ‘เกาะเปียโน’ ด้วย อยู่ห่างจากตัวเมืองเซี่ยเหมินเพียง 500-600 เมตรเท่านั้น เกาะนี้น่าสนใจมากทั้งสำหรับขาชอปฯและคอวัฒนธรรม และก็เป็นอีกที่ที่ชาวจีนโพ้นทะเลได้สร้างมรดกอันทรงค่าไว้เช่นกัน
ไกด์อีกคนที่ร่วมเดินทางด้วยกันบอกว่า เกาะกู่ล่างอี่ว์ มีตลาดสินค้าราคาถูก ที่น่าซื้อมากกว่าในเมืองเซี่ยเหมินเสียอีก อีกทั้งมีวิวตึกอาคารบนเกาะเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกซึ่งเป็นผลพวงจากการที่กู่ล่างอี่ว์ตกเป็นเขตเช่าร่วมแห่งหนึ่งของกลุ่มชาติตะวันตกในช่วงยุคสงครามฝิ่น และที่ไม่น่าพลาดไปชมคือ พิพิธภัณฑ์เปียโน
เรานึกขึ้นมาได้ว่า เพื่อนชาวฝูเจี้ยนที่รู้จักกันตอนไปเรียนที่ปักกิ่งเมื่อปีที่แล้ว(ค.ศ. 2004) แนะนำที่น่าเที่ยวในฝูเจี้ยนบ้านเกิดของเธอว่า “ที่เซี่ยเหมิน มีหมู่บ้านหนึ่ง เมื่อเดินเข้าไปจะได้ยินเสียงเปียโนดังแว่วมาจากบ้านเรือนแทบทุกหลังในย่านนั้น หมู่บ้านที่ว่านี้ อยู่บนเกาะกู่ล่างอี่ว์นี่เอง เพื่อนชาวฝูเจี้ยนบอกว่า คนกู่ล่างอี่ว์เล่นเปียโนกันเป็นประเพณี โดยได้รับแรงบันดาลใจจากนักเดี่ยวเปียโนชื่อดังที่มีบ้านเกิดอยู่บนเกาะแห่งนี้ ได้แก่ หูโหย่วอี้ (胡友义) ซึ่งเป็นชาวจีนโพ้นทะเล ผู้เปี่ยมด้วยความรักดนตรีรักชาติอย่างสุดซึ้ง”
หูโหย่วอี้เกิดที่เกาะกู่ล่างอี่ว์เมื่อปี ค.ศ. 1936 เรียนเดี่ยวเปียโนและสีไวโอลินด้วยตัวเองมาแต่เด็กๆ จนได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยการดนตรีแห่งเซี่ยงไฮ้ จากนั้น ข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาดนตรีที่Brussels Conservatoire Royale de Musique หลังจากนั้น ก็มาปักหลักอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย หูโหย่วอี้ยังเป็นนักสะสมเปียโนตัวยง มีเปียโนหายากจากประเทศต่างๆ รวมทั้งเปียโนโบราณกว่า 40 หลัง ด้วยความรักชาติแผ่นดินเกิดและปณิธานในการบ่มเพาะวัฒนธรรมแก่อนุชน หูโหย่วอี้ ได้ขนเปียโนสุดรัก 30 หลังจากออสเตรเลีย มาที่กู่ล่างอี่ว์ และได้ตั้งพิพิธภัณฑ์เปียโนที่สวนซูจวงฮวาหยวน บรรลุความฝันที่ได้ตั้งใจไว้นานแล้วให้เป็นจริง และยังนับเป็นพิพิธภัณฑ์เปียโนชั้นนำของโลกและเป็นแห่งเดียวของแผ่นดินจีน
“ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งไหนในโลก กู่ล่างอี่ว์เป็นบ้านของผมชั่วนิรันดร การนำเปียโนที่ผมได้สะสมมาชั่วชีวิตมาไว้ที่นี่ คือ การได้นำของรักอันมีค่าต่อทั้งชีวิตจิตใจกลับบ้าน” นี่คือคำพูดจากก้นบึ้งหัวใจของหูโหย่วอี้
นอกจากนี้ ยังมีผู้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีแก่ลูกหลานในกูล่างอี่ว์อีกท่านคือ อินเฉิงจง (殷承宗 -1941----) ปรมาจารย์และแชมป์เดี่ยวเปียโนระดับโลก ท่านผู้นี้ เรียนฝึกฝนเดี่ยวเปียโนตั้งแต่ 7 ขวบ เปิดคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนครั้งแรกตอนอายุ 9 ขวบ พิชิตรางวัลใหญ่ระดับโลก อาทิ ชนะเลิศการแข่งขันเดี่ยวเปียโนแห่งสมาคมยุวชนสากลที่กรุงเวียนนาเมื่อปี 1959, คว้าแชมป์อันดับ 2 ในการแข่งขันใหญ่ชิงรางวัลไชคอฟสกี้ และเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีของรัฐบาลกลางจีน อินเฉิงจงย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อเมริกาเมื่อปี 1983 เปิดการแสดงเดี่ยวเปียโนรอบใหญ่ทั้งในอเมริกา ลอนดอน เป็นต้น เกียรติประวัติด้านดนตรีของท่านได้เป็นแรงบันดาลใจและสร้างความรักดนตรีให้กับลูกหลานในกู่ล่างอี่ว์ด้วย
เราปิดท้ายรายการท่องแดนใต้ ด้วยการไปละลายทรัพย์กันต่ออีกที่ถนนซุนจงซัน ซึ่งหน้าตาก็เหมือนกับถนนแหล่งชอปปิ้งใจกลางเมืองต่างๆ มีสินค้าเสื้อผ้ายี่ห้อดังของฮ่องกง และจีน ตลอดจนสินค้าเครื่องแต่งกายอื่นๆ ที่แข่งประชันกันลดแหลกแจกแถม ลึกเข้าไปมีตลาดสินค้าอาหารทะเลให้ซื้อกลับไปกินที่บ้านด้วยสนนราคาที่ถูกกว่าที่อื่นๆในเมือง จากนั้น คณะทัวร์ของเราก็ไปกินอาหารเย็น เติมพลัง เดินทางกลับกรุงเทพฯบ้านเรา โดยสายการบินแอร์ เอเชีย ซึ่งในคืนวันที่เราเดินทางกลับ ตรงกับวันที่แอร์ เอเชียเปิดเที่ยวบินกรุงเทพฯ-เซี่ยเหมินเที่ยวปฐมฤกษ์ด้วย.
รุ่งขึ้นในวันสุดท้ายของการท่องแดนใต้ คณะของเราออกจากซัวเถา บึ่งไปยังเซี่ยเหมินในมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางนานราว 3 ชั่วโมงครึ่ง
เซี่ยเหมินเขตเศรษฐกิจพิเศษชื่อดังแห่งแดนมังกร เป็นเมืองชายทะเล อยู่ตรงข้ามเกาะไต้หวัน ดูสะอาดสะอ้านสมดังนโยบายรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการพลิกโฉมเซี่ยเหมินเป็นเมืองตัวอย่าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักลงทุน เซี่ยเหมินถึงกับขจัดมอเตอร์ไซด์ออกจากเมือง โดยได้งดออกทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์มาตั้งแต่ปี 1997 ปัจจุบัน ทั้งเมืองเหลือมอเตอร์ไซด์อยู่เพียงไม่กี่คัน และจะค่อยๆหายไปจากท้องถนนเมื่อทะเบียนอนุญาตการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์เหล่านี้หมดอายุลง
ท่ามกลางดงตึกสูงระฟ้า และโรงงานที่เป็นผลพวงจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษสมัยผู้นำเติ้งเสี่ยวผิงแล้วเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เซี่ยเหมินยังจัดเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อาทิ เป็นด่านหน้าสู้รบปรปักษ์ลัทธิจักรวรรดินิยม โดยมีป้อมปืนหูหลี่ ริมทะเลด้านใต้ของเกาะเซี่ยเหมิน ที่สร้างในปี 1894 สมัยกวงสูฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง เป็นอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีตำนานชาวจีนโพ้นทะเลที่ยิ่งใหญ่ และ ณ เมืองท่าชายทะเลแห่งนี้เอง ที่คลื่นชาวจีนมหาศาลได้ลงเรือหนีความยากจนข่นแค้นในยุคก่อนการปฏิวัติจีนใหม่ ออกแสวงโชคทั่วโลก และต่างก็ประสบชะตากรรมต่างๆนานา มีทั้งสุขนาฏกรรม และโศกนาฏกรรม
..................ตำนานชาวจีนโพ้นทะเลผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมจีนแท้กับมรดกการศึกษาที่ยิ่งใหญ่
สถานที่แห่งแรกที่คณะทัวร์ของเราไปเยี่ยมชมคือ ศูนย์การศึกษาจี๋เหมย(集美)อันใหญ่โตขนาดเรียกกันเป็น ‘เมืองการศึกษา’ ทีเดียว และยังได้แวะเข้าไปชมบรรยากาศในสวนกุยไหลหยวน (归来园)ซึ่งชื่อนี้ แปลว่า ‘คืนสู่เหย้า’ ทำนองนั้น
หากดูเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ขนาด ความเก่าแก่แล้ว ‘เมืองการศึกษาจี๋เหมย’ อาจเทียบไม่ติดฝุ่นกับแหล่งท่องเที่ยวแถวหน้าอย่างกำแพงเมืองจีน สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ หรือแหล่งมรดกโลกอื่นๆอีกมากมายในแผ่นดินใหญ่ ทว่า ณ ที่นี้ แม้นไม่มี ‘มรดกโลก’ ตรายูเนสโก แต่ก็มี ‘มรดกอันยิ่งใหญ่’ ของชาวจีนโพ้นทะเลคนหนึ่ง ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมแบบจีนแท้...ที่ทำงานหนัก มานะ อดทน ฝ่ามรสุมชีวิตอย่างดุเดือด ประหยัด เพื่อชาติบ้านเกิด เพื่อการศึกษาของประชาชน และเราก็ได้ค้นอ่านเรื่องราวของผู้ที่ได้รับการเชิดชูถึงระดับ ‘จิตวิญญาณแห่งเฉินเจียเกิง’
ท่านเฉินเจียเกิง (陈嘉庚-Tan Kah Kee) ผู้สร้างเมืองการศึกษาจี๋เหมย และhttp://www.xmu.edu.cn/" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">
นอกจากความรักและอุทิศให้กับการศึกษาแล้ว เฉินเจียเกิงยังมีความรักชาติแผ่นดินเกิด ช่วยเหลือทุนรอนแก่ความเคลื่อนไหวปฏิวัติจีนใหม่ของท่านซุนจงซันหรือซุนยัตเซน ร่วมศึกต้านญี่ปุ่นอย่างทรหด ภายใน 50 กว่าปี ที่เฉินเจียเกิง ทำงานหนัก ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ท่านได้บริจาคเงินทองให้แก่การศึกษา และสาธารณประโยชน์มากกว่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ความรักทุ่มเทให้แก่การศึกษาของเฉินเจียเกิง ขนาดมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านผจญวิกฤตเศรษฐกิจ กิจการค้าตกอับ ท่านลั่นวาจาอย่างเด็ดเดี่ยวว่ายอมให้ธุรกิจล้ม แต่ไม่ยอมให้โรงเรียนล้ม
เฉินเจียเกิงเสียชีวิตในกรุงปักกิ่งด้วยอาการป่วยไข้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1961 ท่านประธานเหมาเจ๋อตุง ยกย่องท่านเป็น ‘ผู้นำชาวจีนโพ้นทะเล แสงสว่างแห่งประชาชาติ’
เฉินเจียเกิงเกิดในจี๋เหมย เซี่ยเหมินเมื่อปี 1874 ท่านได้ออกแสวงโชคบากบั่นฝ่ามรสุมชีวิตสร้างเนื้อสร้างตัวในสิงคโปร์ ค้าข้าว ทำโรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานขนม โรงทำไม้ ปลูกต้นยางพาราจนกระทั่งในปี 1925 มีสวนยางถึง 15,000 กว่าเอเคอร์ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย มีทุนทรัพย์ถึง12,000,000 เหรียญสิงคโปร์ มีโรงงานกว่า 30 แห่ง จ้างคนงานกว่า 32,000 คน จนผู้คนให้ฉายาท่านว่า ‘ราชาสวนยาง’ แห่งเอเชียอาคเนย์
เสร็จจากการแวะชมเมืองการศึกษาจี๋เหมย และสวนกุยไหลหยวน คณะทัวร์ของเราก็ตรงไปที่วัดหนันผู่ถัว (南普陀寺)ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ที่สร้างในราชวงศ์ถัง และมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ในราชวงศ์ชิง ภายในมีหอพระไตรปิฎก มีวิหารแปดเหลี่ยมประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางพันกร วัดนี้ มีทั้งนักท่องเที่ยวจีน และต่างประเทศ ตลอดจนชาวเซี่ยเหมินจำนวนมากไปไหว้สักการะกัน
................เรื่องราวซึ้งๆบนเกาะเปียโน
ด้วยเวลาอันจำกัด และเพราะรถเจ้ากรรมเกิดเกเรติดขัด ทำให้การเดินทางยิ่งล่าช้า คณะเราเลยพลาดไปเกาะกู่ล่างอี่ว์ ซึ่งมีฉายาเป็น ‘เกาะเปียโน’ ด้วย อยู่ห่างจากตัวเมืองเซี่ยเหมินเพียง 500-600 เมตรเท่านั้น เกาะนี้น่าสนใจมากทั้งสำหรับขาชอปฯและคอวัฒนธรรม และก็เป็นอีกที่ที่ชาวจีนโพ้นทะเลได้สร้างมรดกอันทรงค่าไว้เช่นกัน
ไกด์อีกคนที่ร่วมเดินทางด้วยกันบอกว่า เกาะกู่ล่างอี่ว์ มีตลาดสินค้าราคาถูก ที่น่าซื้อมากกว่าในเมืองเซี่ยเหมินเสียอีก อีกทั้งมีวิวตึกอาคารบนเกาะเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกซึ่งเป็นผลพวงจากการที่กู่ล่างอี่ว์ตกเป็นเขตเช่าร่วมแห่งหนึ่งของกลุ่มชาติตะวันตกในช่วงยุคสงครามฝิ่น และที่ไม่น่าพลาดไปชมคือ พิพิธภัณฑ์เปียโน
เรานึกขึ้นมาได้ว่า เพื่อนชาวฝูเจี้ยนที่รู้จักกันตอนไปเรียนที่ปักกิ่งเมื่อปีที่แล้ว(ค.ศ. 2004) แนะนำที่น่าเที่ยวในฝูเจี้ยนบ้านเกิดของเธอว่า “ที่เซี่ยเหมิน มีหมู่บ้านหนึ่ง เมื่อเดินเข้าไปจะได้ยินเสียงเปียโนดังแว่วมาจากบ้านเรือนแทบทุกหลังในย่านนั้น หมู่บ้านที่ว่านี้ อยู่บนเกาะกู่ล่างอี่ว์นี่เอง เพื่อนชาวฝูเจี้ยนบอกว่า คนกู่ล่างอี่ว์เล่นเปียโนกันเป็นประเพณี โดยได้รับแรงบันดาลใจจากนักเดี่ยวเปียโนชื่อดังที่มีบ้านเกิดอยู่บนเกาะแห่งนี้ ได้แก่ หูโหย่วอี้ (胡友义) ซึ่งเป็นชาวจีนโพ้นทะเล ผู้เปี่ยมด้วยความรักดนตรีรักชาติอย่างสุดซึ้ง”
หูโหย่วอี้เกิดที่เกาะกู่ล่างอี่ว์เมื่อปี ค.ศ. 1936 เรียนเดี่ยวเปียโนและสีไวโอลินด้วยตัวเองมาแต่เด็กๆ จนได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยการดนตรีแห่งเซี่ยงไฮ้ จากนั้น ข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาดนตรีที่Brussels Conservatoire Royale de Musique หลังจากนั้น ก็มาปักหลักอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย หูโหย่วอี้ยังเป็นนักสะสมเปียโนตัวยง มีเปียโนหายากจากประเทศต่างๆ รวมทั้งเปียโนโบราณกว่า 40 หลัง ด้วยความรักชาติแผ่นดินเกิดและปณิธานในการบ่มเพาะวัฒนธรรมแก่อนุชน หูโหย่วอี้ ได้ขนเปียโนสุดรัก 30 หลังจากออสเตรเลีย มาที่กู่ล่างอี่ว์ และได้ตั้งพิพิธภัณฑ์เปียโนที่สวนซูจวงฮวาหยวน บรรลุความฝันที่ได้ตั้งใจไว้นานแล้วให้เป็นจริง และยังนับเป็นพิพิธภัณฑ์เปียโนชั้นนำของโลกและเป็นแห่งเดียวของแผ่นดินจีน
“ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งไหนในโลก กู่ล่างอี่ว์เป็นบ้านของผมชั่วนิรันดร การนำเปียโนที่ผมได้สะสมมาชั่วชีวิตมาไว้ที่นี่ คือ การได้นำของรักอันมีค่าต่อทั้งชีวิตจิตใจกลับบ้าน” นี่คือคำพูดจากก้นบึ้งหัวใจของหูโหย่วอี้
นอกจากนี้ ยังมีผู้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีแก่ลูกหลานในกูล่างอี่ว์อีกท่านคือ อินเฉิงจง (殷承宗 -1941----) ปรมาจารย์และแชมป์เดี่ยวเปียโนระดับโลก ท่านผู้นี้ เรียนฝึกฝนเดี่ยวเปียโนตั้งแต่ 7 ขวบ เปิดคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนครั้งแรกตอนอายุ 9 ขวบ พิชิตรางวัลใหญ่ระดับโลก อาทิ ชนะเลิศการแข่งขันเดี่ยวเปียโนแห่งสมาคมยุวชนสากลที่กรุงเวียนนาเมื่อปี 1959, คว้าแชมป์อันดับ 2 ในการแข่งขันใหญ่ชิงรางวัลไชคอฟสกี้ และเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีของรัฐบาลกลางจีน อินเฉิงจงย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อเมริกาเมื่อปี 1983 เปิดการแสดงเดี่ยวเปียโนรอบใหญ่ทั้งในอเมริกา ลอนดอน เป็นต้น เกียรติประวัติด้านดนตรีของท่านได้เป็นแรงบันดาลใจและสร้างความรักดนตรีให้กับลูกหลานในกู่ล่างอี่ว์ด้วย
เราปิดท้ายรายการท่องแดนใต้ ด้วยการไปละลายทรัพย์กันต่ออีกที่ถนนซุนจงซัน ซึ่งหน้าตาก็เหมือนกับถนนแหล่งชอปปิ้งใจกลางเมืองต่างๆ มีสินค้าเสื้อผ้ายี่ห้อดังของฮ่องกง และจีน ตลอดจนสินค้าเครื่องแต่งกายอื่นๆ ที่แข่งประชันกันลดแหลกแจกแถม ลึกเข้าไปมีตลาดสินค้าอาหารทะเลให้ซื้อกลับไปกินที่บ้านด้วยสนนราคาที่ถูกกว่าที่อื่นๆในเมือง จากนั้น คณะทัวร์ของเราก็ไปกินอาหารเย็น เติมพลัง เดินทางกลับกรุงเทพฯบ้านเรา โดยสายการบินแอร์ เอเชีย ซึ่งในคืนวันที่เราเดินทางกลับ ตรงกับวันที่แอร์ เอเชียเปิดเที่ยวบินกรุงเทพฯ-เซี่ยเหมินเที่ยวปฐมฤกษ์ด้วย.
*สำหรับการเดินทางมาเซี่ยเหมิน ขณะนี้ มีสายการบินสองแห่งได้แ ก่ การบินไทย และแอร์เอเชีย เปิดเที่ยวบินกรุงเทพฯ-เซี่ยเหมิน