ใจจริงผม ก็อยากจะเล่าข้ามวิวัฒนาการทางเพศของมนุษยชาติในช่วงแรกไปเลย แต่ฉุกคิดได้ว่าผู้อ่านหลายท่านอาจจะทักท้วงเสียว่า เป็นการเล่าข้ามขั้นตอนและออกจะเป็นการเน้นเนื้อหาหนักไปแต่เรื่องกามารมณ์ และกิจกรรมในห้องหับของคนยุคหลังไปเสีย
งั้นย้อนยุคไปเริ่มเล่ากันตั้งแต่ในสมัยที่มนุษย์ยังใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำเลยก็แล้วกัน ......
คำว่า 'มั่วเซ็กส์' อันถือได้ว่าเป็นวิกฤตประการหนึ่งของสังคมในปัจจุบันหลายคนอาจไม่รู้ว่า พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่ขา หรือการไม่ยึดติดกับเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง ชายหนึ่งหญิงหนึ่งนั้น ก็เคยเกิดขึ้นกับบรรพบุรุษของเราเช่นกัน อย่างไรก็ตามสาเหตุที่พวกเขา 'มั่วเซ็กส์' กันนั้นมิได้เกิดจากศีลธรรมอันตกต่ำ หรือ ความรักสนุก แต่ทว่า พฤติกรรมดังกล่าวนั้นเป็นไปตามความจำเป็นของปัจจัยแห่งการดำรงอยู่
ในยุคแรกที่มนุษย์ยังใช้ชีวิตแบบหาของป่า ล่าสัตว์เพื่อดำรงชีวิต บรรพบุรุษของพวกเราจำเป็นต้องใช้ 'ถ้ำ' คุ้มกะลาหัว อยู่อาศัยกันแบบรวมหมู่เป็นกลุ่มก้อน แน่นอนว่าสมัยก่อนแนวคิดเรื่องศีลธรรม คุณธรรม ยังไม่ปรากฎขึ้นในสมองของมนุษยชาติ ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด และเพิ่มจำนวนสมาชิก ระบบการจับคู่จึงไม่สามารถใช้วิธี ชายหนึ่ง-หญิงหนึ่ง คู่กันไปชั่วชีวิตได้ เนื่องจาก อัตราการเสียชีวิตนั้นสูง ประกอบกับการพักอาศัยอยู่ภายใต้ถ้ำคุ้มหัวแห่งเดียวกัน การประกอบกิจจู๋จี๋กันเพียงสองคนจึงอาจสร้าง ความอิจฉาริษยา อันนำมาสู่ความแตกแยกในกลุ่มในเผ่าได้ โดยการแตกแยกดังกล่าวอาจหมายความถึง พลังการผลิตที่ลดลง และ การล่มสลายของเผ่าพันธุ์ ส่งผลให้ ระบบการมีเพศสัมพันธ์กันเป็นกลุ่มจึงเป็นสิ่งจำเป็น*
ตามลำดับขั้นของวิวัฒนาการ เมื่อมนุษย์ฉลาดขึ้น เดินออกจากถ้ำมาสร้างบ้านอยู่เอง โลกก็เข้าสู่ยุคแห่งอารยธรรมที่ ผู้หญิงเป็นใหญ่ (母系氏族 หรือ Matriarchy)**
ผู้ชายคนใดที่ยังชอบข่มเหงสุภาพสตรี ก็คงสำเหนียกไว้ด้วยว่า เดิมทีนั้นตนเองไม่ได้มี สิทธิมีเสียง เช่นปัจจุบัน เพราะ เมื่อหลายพันปีก่อน บุรุษเพศยังมีสถานะเป็นรองสตรีเพศ โดย ในสังคมดังกล่าว 'ลูก' รู้จักแต่เพียงว่าแม่เป็นใคร แต่กลับไม่ทราบว่าพ่อเป็นใคร วัฒนธรรมการสืบสายเลือดก็ดำเนินไปตามสายบรรพบุรุษทางฝั่งแม่ ทางด้านผู้ชายต้องติดตามผู้หญิง เข้าไปอยู่ในแวดวงตระกูลของฝ่ายหญิง
ทั้งนี้สาเหตุก็เกิดจากจัดสรรหน้าที่ในการผลิต ที่ผู้ชายซึ่งแข็งแรงกว่าต้อง ออกตกปลา ล่าสัตว์ แต่ด้วยเหตุที่อุปกรณ์ในการล่าสัตว์ยังไม่พัฒนามากนัก ผลผลิตจึงไม่แน่นอน ทำให้ผู้ชายต้องกลับมาพึ่งพาอาหารการกินกับผู้หญิงเป็นหลัก
เมื่อเวลาผ่านไป มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือการเกษตรใหม่ๆ เมื่อการสะสมความรู้ทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ พัฒนาถึงจุดหนึ่งพลังการผลิตก็เปลี่ยนแปลงไป การสืบสายเลือด และลักษณะของชุมชนก็เปลี่ยนไปขึ้นกับฝ่ายชายแทน โดยอารยธรรมในลักษณะที่ ผู้ชายเป็นใหญ่ (父系氏族 หรือ Patriarchy) ดังกล่าวยังตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตได้จาก วัฒนธรรมลูกใช้นามสกุลตามพ่อ ผู้หญิงต้องตกแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย ฯลฯ
สำหรับในมุม วิวัฒนาการการสืบสายพันธุ์ของมนุษย์ นักวิชาการได้จัดแบ่งไว้เป็น 4 ยุค คือ
ยุคที่หนึ่ง เป็นยุคที่สังคมเริ่มมีกฎเกณฑ์ห้ามมีเพศสัมพันธ์ข้ามรุ่น คือ รุ่นพ่อ-แม่ ห้ามมีสัมพันธ์กับรุ่นลูก อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง พี่-น้อง ท้องเดียวกันยังคงยินยอมได้
ยุคที่สอง เริ่มมีกฎเกณฑ์ห้ามพี่น้องท้องเดียวกันมีสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน แต่หันมาใช้ระบบการสืบพันธุ์ระหว่างเผ่า อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางเพศก็ยังคงมีลักษณะเป็นแบบกลุ่มอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เผ่า A และ เผ่า B หากสองเผ่านี้มีการแต่งงานแบบกลุ่ม ก็หมายความว่า หญิงสาวทั้งหมดของเผ่า A นั้นก็ถือเป็นหญิงสาวของผู้ชายเผ่า B ทั้งหมด ในทางกลับกันหญิงสาวของเผ่า B ก็ถือเป็นหญิงสาวของผู้ชายเผ่า A ทั้งหมดเช่นกัน
ยุคที่สาม ความสัมพันธ์กันเป็นคู่ หญิงหนึ่งชายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้นั้นถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการสืบพันธุ์แบบกลุ่มเป็นการสืบพันธุ์แบบคู่ โดยจุดที่แตกต่างจาก ระบบความสัมพันธ์ระหว่างชายหนึ่งหญิงหนึ่งในปัจจุบันก็ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงดังกล่าวไม่เคร่งครัด และ สามารถแยกจากกันได้ง่ายๆ
ยุคที่สี่ เป็นยุคของความสัมพันธ์แบบหญิงหนึ่งชายหนึ่ง ที่เคร่งครัด (อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อยกเว้นในบางสถานการณ์ บางสมัย ที่ระบบ ชายหนึ่งกับหญิงหลายคน หรือ หญิงหนึ่งกับชายหลายคนบ้าง)***
สำหรับประเทศจีนเอง ในบางยุคความสัมพันธ์ทางเพศ หรือ การแต่งงาน ก็ถือว่าย้อนยุคและผิดหลักวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นในช่วงปลายของสมัยศักดินา ลัทธิขงจื๊อยังคงยินยอมให้มีการแต่งงานในหมู่ญาติใกล้ชิด หรือ ลูกพี่ลูกน้องได้อยู่
อย่างไรก็ตาม การศึกษา ค้นคว้า และสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และ ความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง ของจีนนั้นนับว่า มีมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ทั้งนี้ที่ยังตกทอดและรู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ ความเชื่อเรื่องหยิน-หยาง (จีนกลางอ่านว่า ยินหยาง:阴阳)
จริงๆ แล้ว ยิน-หยาง เป็นปรัชญาสำนักหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคสงครามระหว่างรัฐ (战国; 475-221 ปีก่อนคริสตกาล) หรือ ที่เรียกกันว่า ยุคปรัชญา 100 สำนัก ทั้งนี้ปรมาจารย์ของสำนักยินหยาง หรือ ธรรมชาตินิยม คือ โจวแหย่น (邹衍; ราว 305-240 ปีก่อนคริสตกาล) โดย สำนักนี้พยายามอรรถาธิบายถึงการทำงานของธรรมชาติบนพื้นฐานหลักการของจักรวาลบางประการ คือ เป็นการกระทบกันระหว่างพลังงานหลักสองประการคือ 'ยิน' และ 'หยาง' จนถึงการเกิดขึ้นและสลายลงของธาตุทั้งห้า (五行) คือ โลหะ ไม้ น้ำ ไฟ และ ดิน โดย ความสอดคล้องกลมกลืนกันของ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลของ ยิน และ หยาง ทั้งสิ้น โดยขณะนั้น โจวแหย่น พยายามใช้ทฤษฎีดังกล่าวนี้เพื่อตีความการก่อตัวและล่มสลายในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างๆ ของจีน****
ในเวลาต่อมา 'ลัทธิเต๋า' ที่มีอิทธิพลสูงต่อสังคมจีนในยุคต่อๆ มาได้ดึงแนวคิดเรื่องยินหยางนั้นเข้าไปผสมผสานกับแนวคิดดั้งเดิมของตน จนปัจจุบันใครๆ ต่างก็นึกว่าแนวคิด ยินหยาง นั้นมีต้นกำเนิดมาจากลัทธิเต๋า
อธิบายเพิ่มเติมกันสักนิด เรื่อง 'ยินหยาง (阴阳)' สำหรับผู้ที่ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน ....
หยาง (阳) นั้นดั้งเดิมหมายความถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับพลังจากดวงอาทิตย์ หรือ มีแสงแดดตกกระทบ สังเกตได้จากตัวอักษรหยางนั้นมีคำว่า พระอาทิตย์ (日) ประกอบอยู่ด้วย ขณะที่ ยิน (阴) ที่ตัวอักษรมีส่วนประกอบเป็นคำว่า พระจันทร์ (月) นั้นก็มีความหมายตรงกันข้าม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ได้รับพลังจากดวงอาทิตย์ หรือ ไม่มีแสงแดดตกกระทบ ดังนั้น หากอธิบายกันอย่างให้เห็นภาพ กลางวันจึงเป็นหยาง กลางคืนจึงเป็นยิน ฟ้าเปิดเห็นแสงแดดเป็นหยาง ฟ้าปิดมีเมฆครึ้มยึงเป็นยิน หน้าร้อนเป็นหยาง หน้าหนาวเป็นยิน ฯลฯ
หรือจะ อธิบายให้เข้ากับยุคดิจิตอลหน่อยก็คล้ายๆ กับ การแยกย่อยสรรพสิ่งออกเป็น 0 และ 1 นั่นเอง
ในการศึกษาเรื่องเพศศาสตร์ ชาวจีนได้จัดแบ่ง 'เพศชาย' ไว้ว่าเป็น 'หยาง' ส่วน 'เพศหญิง' นั้นเป็น 'ยิน' (ส่วนพวกสองเพศ หรือ Bisexual นั้นคนจีนเขาก็มีคำศัพท์เรียกว่า ยินหยางเหยิน:阴阳人) และเช่นเดียวกับสรรพสิ่งในจักรวาล ชาย-หญิง เป็นสองเพศที่ต้องอยู่คู่กัน เหมือน ฟ้า-ดิน สว่าง-มืด ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์ ไฟ-น้ำ ทำให้ก่อเกิดความเชื่อที่ว่า ยินมิอาจอยู่ได้โดยปราศจากหยาง และ หยางก็มิอาจอยู่ได้โดยปราศจากยิน ดังนั้น ในแง่มุมทางเพศแล้ว ชาย-หญิง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอน ยิน-หยาง แก่กันและกัน มิฉะนั้นแล้ว ก็อาจจเกิดความผิดปกติกับร่างกายได้
แนวคิดข้างต้นเป็น แนวคิดขั้นพื้นฐานที่สุดของ ศิลปะการประกอบกิจกาม หรือ ที่ชาวจีนเรียกขานกันว่า ฝังจงซู่ (房中术) ....
หมายเหตุ :
*หนังสือ 中国性史图鉴 (Illustrated Handbook of Chinese Sex History) โดย ศาสตราจารย์หลิวต๋าหลิน โดยสำนักพิมพ์ 时代文艺出版社 ฉบับพิมพ์เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.2003 หน้า 93-94
**เมืองจีนยังหลงเหลือ 'เมืองลับแล' หรือ สังคมในรูปแบบที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ (母系氏族 หรือ Matriarchy) อยู่จวบจนปัจจุบัน คือ ชนเผ่าม๋อซัว (摩梭族) ใช้ชีวิตอยู่แถบทะเลสาบหลูกู (泸沽湖) ในมณฑลยูนนาน (หยุนหนาน) สนใจเรื่องราวของชนเผ่าม๋อซัว อ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.matriarchy.info (ภาษาอังกฤษ) หรือ www.dreams-travel.com (ภาษาจีนตัวย่อ)
***หนังสือ 中国性史图鉴 โดย ศาสตราจารย์หลิวต๋าหลิน หน้า 94
****หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 หน้า 131-132 และ 中国古代史 โดย กัวเผิง (郭鹏) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ค.ศ.2003 หน้า 65-66
งั้นย้อนยุคไปเริ่มเล่ากันตั้งแต่ในสมัยที่มนุษย์ยังใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำเลยก็แล้วกัน ......
คำว่า 'มั่วเซ็กส์' อันถือได้ว่าเป็นวิกฤตประการหนึ่งของสังคมในปัจจุบันหลายคนอาจไม่รู้ว่า พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่ขา หรือการไม่ยึดติดกับเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง ชายหนึ่งหญิงหนึ่งนั้น ก็เคยเกิดขึ้นกับบรรพบุรุษของเราเช่นกัน อย่างไรก็ตามสาเหตุที่พวกเขา 'มั่วเซ็กส์' กันนั้นมิได้เกิดจากศีลธรรมอันตกต่ำ หรือ ความรักสนุก แต่ทว่า พฤติกรรมดังกล่าวนั้นเป็นไปตามความจำเป็นของปัจจัยแห่งการดำรงอยู่
ในยุคแรกที่มนุษย์ยังใช้ชีวิตแบบหาของป่า ล่าสัตว์เพื่อดำรงชีวิต บรรพบุรุษของพวกเราจำเป็นต้องใช้ 'ถ้ำ' คุ้มกะลาหัว อยู่อาศัยกันแบบรวมหมู่เป็นกลุ่มก้อน แน่นอนว่าสมัยก่อนแนวคิดเรื่องศีลธรรม คุณธรรม ยังไม่ปรากฎขึ้นในสมองของมนุษยชาติ ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด และเพิ่มจำนวนสมาชิก ระบบการจับคู่จึงไม่สามารถใช้วิธี ชายหนึ่ง-หญิงหนึ่ง คู่กันไปชั่วชีวิตได้ เนื่องจาก อัตราการเสียชีวิตนั้นสูง ประกอบกับการพักอาศัยอยู่ภายใต้ถ้ำคุ้มหัวแห่งเดียวกัน การประกอบกิจจู๋จี๋กันเพียงสองคนจึงอาจสร้าง ความอิจฉาริษยา อันนำมาสู่ความแตกแยกในกลุ่มในเผ่าได้ โดยการแตกแยกดังกล่าวอาจหมายความถึง พลังการผลิตที่ลดลง และ การล่มสลายของเผ่าพันธุ์ ส่งผลให้ ระบบการมีเพศสัมพันธ์กันเป็นกลุ่มจึงเป็นสิ่งจำเป็น*
ตามลำดับขั้นของวิวัฒนาการ เมื่อมนุษย์ฉลาดขึ้น เดินออกจากถ้ำมาสร้างบ้านอยู่เอง โลกก็เข้าสู่ยุคแห่งอารยธรรมที่ ผู้หญิงเป็นใหญ่ (母系氏族 หรือ Matriarchy)**
ผู้ชายคนใดที่ยังชอบข่มเหงสุภาพสตรี ก็คงสำเหนียกไว้ด้วยว่า เดิมทีนั้นตนเองไม่ได้มี สิทธิมีเสียง เช่นปัจจุบัน เพราะ เมื่อหลายพันปีก่อน บุรุษเพศยังมีสถานะเป็นรองสตรีเพศ โดย ในสังคมดังกล่าว 'ลูก' รู้จักแต่เพียงว่าแม่เป็นใคร แต่กลับไม่ทราบว่าพ่อเป็นใคร วัฒนธรรมการสืบสายเลือดก็ดำเนินไปตามสายบรรพบุรุษทางฝั่งแม่ ทางด้านผู้ชายต้องติดตามผู้หญิง เข้าไปอยู่ในแวดวงตระกูลของฝ่ายหญิง
ทั้งนี้สาเหตุก็เกิดจากจัดสรรหน้าที่ในการผลิต ที่ผู้ชายซึ่งแข็งแรงกว่าต้อง ออกตกปลา ล่าสัตว์ แต่ด้วยเหตุที่อุปกรณ์ในการล่าสัตว์ยังไม่พัฒนามากนัก ผลผลิตจึงไม่แน่นอน ทำให้ผู้ชายต้องกลับมาพึ่งพาอาหารการกินกับผู้หญิงเป็นหลัก
เมื่อเวลาผ่านไป มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือการเกษตรใหม่ๆ เมื่อการสะสมความรู้ทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ พัฒนาถึงจุดหนึ่งพลังการผลิตก็เปลี่ยนแปลงไป การสืบสายเลือด และลักษณะของชุมชนก็เปลี่ยนไปขึ้นกับฝ่ายชายแทน โดยอารยธรรมในลักษณะที่ ผู้ชายเป็นใหญ่ (父系氏族 หรือ Patriarchy) ดังกล่าวยังตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตได้จาก วัฒนธรรมลูกใช้นามสกุลตามพ่อ ผู้หญิงต้องตกแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย ฯลฯ
สำหรับในมุม วิวัฒนาการการสืบสายพันธุ์ของมนุษย์ นักวิชาการได้จัดแบ่งไว้เป็น 4 ยุค คือ
ยุคที่หนึ่ง เป็นยุคที่สังคมเริ่มมีกฎเกณฑ์ห้ามมีเพศสัมพันธ์ข้ามรุ่น คือ รุ่นพ่อ-แม่ ห้ามมีสัมพันธ์กับรุ่นลูก อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง พี่-น้อง ท้องเดียวกันยังคงยินยอมได้
ยุคที่สอง เริ่มมีกฎเกณฑ์ห้ามพี่น้องท้องเดียวกันมีสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน แต่หันมาใช้ระบบการสืบพันธุ์ระหว่างเผ่า อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางเพศก็ยังคงมีลักษณะเป็นแบบกลุ่มอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เผ่า A และ เผ่า B หากสองเผ่านี้มีการแต่งงานแบบกลุ่ม ก็หมายความว่า หญิงสาวทั้งหมดของเผ่า A นั้นก็ถือเป็นหญิงสาวของผู้ชายเผ่า B ทั้งหมด ในทางกลับกันหญิงสาวของเผ่า B ก็ถือเป็นหญิงสาวของผู้ชายเผ่า A ทั้งหมดเช่นกัน
ยุคที่สาม ความสัมพันธ์กันเป็นคู่ หญิงหนึ่งชายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้นั้นถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการสืบพันธุ์แบบกลุ่มเป็นการสืบพันธุ์แบบคู่ โดยจุดที่แตกต่างจาก ระบบความสัมพันธ์ระหว่างชายหนึ่งหญิงหนึ่งในปัจจุบันก็ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงดังกล่าวไม่เคร่งครัด และ สามารถแยกจากกันได้ง่ายๆ
ยุคที่สี่ เป็นยุคของความสัมพันธ์แบบหญิงหนึ่งชายหนึ่ง ที่เคร่งครัด (อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อยกเว้นในบางสถานการณ์ บางสมัย ที่ระบบ ชายหนึ่งกับหญิงหลายคน หรือ หญิงหนึ่งกับชายหลายคนบ้าง)***
สำหรับประเทศจีนเอง ในบางยุคความสัมพันธ์ทางเพศ หรือ การแต่งงาน ก็ถือว่าย้อนยุคและผิดหลักวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นในช่วงปลายของสมัยศักดินา ลัทธิขงจื๊อยังคงยินยอมให้มีการแต่งงานในหมู่ญาติใกล้ชิด หรือ ลูกพี่ลูกน้องได้อยู่
อย่างไรก็ตาม การศึกษา ค้นคว้า และสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และ ความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง ของจีนนั้นนับว่า มีมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ทั้งนี้ที่ยังตกทอดและรู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ ความเชื่อเรื่องหยิน-หยาง (จีนกลางอ่านว่า ยินหยาง:阴阳)
จริงๆ แล้ว ยิน-หยาง เป็นปรัชญาสำนักหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคสงครามระหว่างรัฐ (战国; 475-221 ปีก่อนคริสตกาล) หรือ ที่เรียกกันว่า ยุคปรัชญา 100 สำนัก ทั้งนี้ปรมาจารย์ของสำนักยินหยาง หรือ ธรรมชาตินิยม คือ โจวแหย่น (邹衍; ราว 305-240 ปีก่อนคริสตกาล) โดย สำนักนี้พยายามอรรถาธิบายถึงการทำงานของธรรมชาติบนพื้นฐานหลักการของจักรวาลบางประการ คือ เป็นการกระทบกันระหว่างพลังงานหลักสองประการคือ 'ยิน' และ 'หยาง' จนถึงการเกิดขึ้นและสลายลงของธาตุทั้งห้า (五行) คือ โลหะ ไม้ น้ำ ไฟ และ ดิน โดย ความสอดคล้องกลมกลืนกันของ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลของ ยิน และ หยาง ทั้งสิ้น โดยขณะนั้น โจวแหย่น พยายามใช้ทฤษฎีดังกล่าวนี้เพื่อตีความการก่อตัวและล่มสลายในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างๆ ของจีน****
ในเวลาต่อมา 'ลัทธิเต๋า' ที่มีอิทธิพลสูงต่อสังคมจีนในยุคต่อๆ มาได้ดึงแนวคิดเรื่องยินหยางนั้นเข้าไปผสมผสานกับแนวคิดดั้งเดิมของตน จนปัจจุบันใครๆ ต่างก็นึกว่าแนวคิด ยินหยาง นั้นมีต้นกำเนิดมาจากลัทธิเต๋า
อธิบายเพิ่มเติมกันสักนิด เรื่อง 'ยินหยาง (阴阳)' สำหรับผู้ที่ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน ....
หยาง (阳) นั้นดั้งเดิมหมายความถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับพลังจากดวงอาทิตย์ หรือ มีแสงแดดตกกระทบ สังเกตได้จากตัวอักษรหยางนั้นมีคำว่า พระอาทิตย์ (日) ประกอบอยู่ด้วย ขณะที่ ยิน (阴) ที่ตัวอักษรมีส่วนประกอบเป็นคำว่า พระจันทร์ (月) นั้นก็มีความหมายตรงกันข้าม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ได้รับพลังจากดวงอาทิตย์ หรือ ไม่มีแสงแดดตกกระทบ ดังนั้น หากอธิบายกันอย่างให้เห็นภาพ กลางวันจึงเป็นหยาง กลางคืนจึงเป็นยิน ฟ้าเปิดเห็นแสงแดดเป็นหยาง ฟ้าปิดมีเมฆครึ้มยึงเป็นยิน หน้าร้อนเป็นหยาง หน้าหนาวเป็นยิน ฯลฯ
หรือจะ อธิบายให้เข้ากับยุคดิจิตอลหน่อยก็คล้ายๆ กับ การแยกย่อยสรรพสิ่งออกเป็น 0 และ 1 นั่นเอง
ในการศึกษาเรื่องเพศศาสตร์ ชาวจีนได้จัดแบ่ง 'เพศชาย' ไว้ว่าเป็น 'หยาง' ส่วน 'เพศหญิง' นั้นเป็น 'ยิน' (ส่วนพวกสองเพศ หรือ Bisexual นั้นคนจีนเขาก็มีคำศัพท์เรียกว่า ยินหยางเหยิน:阴阳人) และเช่นเดียวกับสรรพสิ่งในจักรวาล ชาย-หญิง เป็นสองเพศที่ต้องอยู่คู่กัน เหมือน ฟ้า-ดิน สว่าง-มืด ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์ ไฟ-น้ำ ทำให้ก่อเกิดความเชื่อที่ว่า ยินมิอาจอยู่ได้โดยปราศจากหยาง และ หยางก็มิอาจอยู่ได้โดยปราศจากยิน ดังนั้น ในแง่มุมทางเพศแล้ว ชาย-หญิง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอน ยิน-หยาง แก่กันและกัน มิฉะนั้นแล้ว ก็อาจจเกิดความผิดปกติกับร่างกายได้
แนวคิดข้างต้นเป็น แนวคิดขั้นพื้นฐานที่สุดของ ศิลปะการประกอบกิจกาม หรือ ที่ชาวจีนเรียกขานกันว่า ฝังจงซู่ (房中术) ....
หมายเหตุ :
*หนังสือ 中国性史图鉴 (Illustrated Handbook of Chinese Sex History) โดย ศาสตราจารย์หลิวต๋าหลิน โดยสำนักพิมพ์ 时代文艺出版社 ฉบับพิมพ์เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.2003 หน้า 93-94
**เมืองจีนยังหลงเหลือ 'เมืองลับแล' หรือ สังคมในรูปแบบที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ (母系氏族 หรือ Matriarchy) อยู่จวบจนปัจจุบัน คือ ชนเผ่าม๋อซัว (摩梭族) ใช้ชีวิตอยู่แถบทะเลสาบหลูกู (泸沽湖) ในมณฑลยูนนาน (หยุนหนาน) สนใจเรื่องราวของชนเผ่าม๋อซัว อ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.matriarchy.info (ภาษาอังกฤษ) หรือ www.dreams-travel.com (ภาษาจีนตัวย่อ)
***หนังสือ 中国性史图鉴 โดย ศาสตราจารย์หลิวต๋าหลิน หน้า 94
****หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 หน้า 131-132 และ 中国古代史 โดย กัวเผิง (郭鹏) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ค.ศ.2003 หน้า 65-66