‘เต๋า’หรือที่ในภาษาจีนกลางเรียก ‘เต้า’นั้น นับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งของจีน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 2,500 ปีที่ผ่านมา ส่งอิทธิพลต่ออารยธรรมจีนทุกด้านอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง ทั้งในเชิงวัตถุธรรมและนามธรรม ... แวดวงภูมิปัญญาทั่วโลก ต่างยกย่องคุณค่าอันล้ำลึกอมตะของปรัชญาเต๋า จนเกิดมีงานเกี่ยวกับปรัชญาเต๋าทั้งงานแปล และงานวิชาการออกมามากมายละลานตา
สำหรับงานเต๋าเล่มสำคัญ ที่สะท้อนแสดงถึงคุณค่าของปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมนี้ได้เป็นอย่างดีที่สุด ได้แก่ เต๋าของเหลาจื่อ, เต๋าของจวงจื่อ และเต๋าของเลี่ยจื่อ ทั้ง 3 เล่มนี้ นับได้ว่าเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งปรัชญาฝ่ายเต๋า ที่แตกแขนงไปเป็นลัทธิเต๋าสายต่างๆมากมาย
ปรัชญาเต๋านั้น มีลักษณะกว้างๆเน้นไปที่เรื่องสัจธรรม, มุ่งการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติ, การปล่อยวาง และมีความโน้มเอียงไปในทางนามธรรม ตามการอรรถธิบายของผู้แปล ยังได้ชี้ถึงความแตกต่างของเต๋าของเหลาจื่อ และเต๋าของจวงจื่อว่า “เต้าเต๋อจิงนั้น เป็นศิลป์และศาสตร์สำหรับนำไปใช้แวะข้องกับโลก เรียกได้ว่าเป็นตำรับหรือคู่มือบอกวิถีทางอย่างหนึ่งเพื่อการดำรงอยู่ในโลกและสังคมอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ สำหรับของจวงจื่อนั้น กลับมีจุดมุ่งหมายแห่งความพยายามที่จะไม่ข้องแวะกับโลกและสังคม พยายามแสวงหาความหลุดพ้น ......ญาณทัศนะที่สะท้อนปรากฏอยู่ในจวงจื่อ แม้จะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับแนวความรู้ใน เต้าเต๋อจิง อยู่บ้าง แต่ก็มุ่งที่จะนำไปสู่การ ‘ประกาศอิสรภาพ’ จากโลกและสังคมเป็นหลัก
ในโลกวัตถุนิยมที่รุ่มร้อนไปด้วยการแข่งขันอันดุเดือดนี้ การได้สัมผัสถึงปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมนี้ เสมือนได้พูดคุยรับการชี้แนะจากปราชญ์ใหญ่ เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่สงบร่มเย็น ทั้งยังคุณูปการแก่โลก ด้วยคุณค่าดังกล่าวนี้เอง ปรัชญาเต๋า จึงยืนยงอยู่ในกระแสความสนใจของผู้คนมาถึงวันนี้

คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ ไม่ใช่สารัตถะอื่นไกล คือคัมภีร์เต้าเต๋อจิง หรือ เต๋าเต็กเก็ง ซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นหูของคนไทยมานานกว่า 40 ปีแล้ว นับจากฉบับแปลพากย์ ไทยสำนวนของ เสถียร โพธินันทะใน ‘เมธีตะวันออก’ ที่ออกสู่ตลาดในราวปี 2506 กระทั่ง คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ ของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ สำนวนล่าสุด ซึ่งออกวางตลาดในปลายปีที่ผ่านมา นับรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 20 สำนวน ซึ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดีถึงคุณค่าของคัมภีร์ยิ่งใหญ่แดนมังกรเล่มนี้ .....
สำหรับสำนวนเต้าเต๋อจิงของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์เล่มนี้ ได้แปลจากคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของปราชญ์ยิ่งใหญ่เหลาจื่อแห่งยุคชุนชิว จั้นกั๋ว (770-221 ก่อนคริสต์ศักราช) และใช้ต้นฉบับภาษาจีนโบราณที่ชำระโดย จังซงหญู เป็นหลักในการแปล โดยมีเล่มที่ชำระโดยเฉินกู่อิ้ง เทียบประกอบด้วย ผู้ได้แปลเนื้อหาในคัมภีร์ดังกล่าวทั้งหมด 81 บท เป็นพากย์ไทยอย่างสละสลวยงดงาม โดยมีภาษาจีนโบราณวางคู่เทียบกัน ทั้งได้อรรถธิบายการแปลบางจุดบางกลุ่มคำสำคัญในคัมภีร์จีนที่แตกต่างไปจากสำนวนแปลอื่นๆอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ผู้แปลยังได้รวบรวมภาคผนวก “เล่าเรื่องคัมภีร์เต้าเต๋อจิง ฉบับภาษาไทย” รวมรวบคัมภีร์เต๋า พากย์ไทย 19 สำนวน พร้อมทั้งกล่าวถึงการแปลของฉบับนั้นๆโดยสังเขป

เต๋าของจวงจื่อ หรือที่ก่อนหน้าเรามักได้ยินในชื่อ จางจื๊อ ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมปรัชญาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ต้นฉบับเดิมนั้น แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่มสมุด ได้แก่ สมุดใน, สมุดนอก และสมุดปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน สำหรับเต๋าของจวงจื่อสำนวนแปลของอาจารย์ปกรณ์ ได้แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโบราณโดยคัดเลือกเพียงสมุดใน ซึ่งมี 7 บทด้วยกัน แม้จะเป็นส่วนน้อย แต่เนื้อหาของสมุดในนั้น นับว่าเป็นแก่นสารหลักของคัมภีร์เต๋าเล่มนี้
เต๋าของจวงจื่อ ก็ได้มีฉบับพากย์ไทยมานับ 30 ปี 40 ปี แล้ว ได้แก่ มนุษย์ที่แท้: มรรควิถีของจางจื๊อ ของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยเป็นการคัดเลือกตัดตอนมาจากบทต่างๆจากสำนวนภาษาอังกฤษของทอมัส เมอร์ตัน นอกจากนี้ มีมรรควิถีของจางจื๊อ: ก้าวย่างบนทางคู่ ของมานพ อุดมเดช, จางจื๊อจอมปราชญ์ ของบุญศักดิ์ แสงระวี ที่แปลจากฉบับการ์ตูนของไช่จื้อจง เป็นต้น

เต๋าของเลี่ยจื่อ เป็นหนึ่งในคัมภีร์ 1 ใน 3 เล่ม ที่นิยมใช้เป็นพื้นฐานหลักในการศึกษาปรัชญาเต๋า และถูกจัดว่าเป็นเล่มที่อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด จุดเด่นของคัมภีร์นี้ อยู่ที่นิทานสั้นๆจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและแทรกไว้ด้วยอารมณ์ขัน
สำหรับเลี่ยจื่อ หรือ เลี่ยอี้ว์โค่ว นั้น ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ใหญ่คนหนึ่งของปรัชญาฝ่ายเต๋า แห่งยุคจั้นกั๋ว มีชื่อเสียงเป็นผู้แสวงหาวิเวกธรรมชั้นวิเศษ แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจนพอ ผู้รู้บางคนไม่เชื่อว่าเลี่ยจื่อ มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
เนื้อหาของคัมภีร์เต๋า เลี่ยจื่อ ได้ปรากฏในบรรณพิภพไทยมานานแล้วเช่นกัน อาทิ มีแทรกอยู่ในหนังสือชื่อ ‘มณีปัญญา’ของเรืองรอง รุ่งรัศมี ในปี 2530, ‘กระบี่อยู่ที่ใจ’ของทองแถม นาถจำนง ซึ่งทั้งสองเล่มมีเนื้อหาของเต๋าของเลี่ยจื่อ แทรกจำนวนหนึ่ง สำหรับเต๋าของเลี่ยจื่อ สำนวนแปลของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์นั้น เป็นการแปลจากต้นฉบับเดิมภาษาจีน ซึ่งมีทั้งหมด 8 บทอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถือว่าเป็นเต๋าของเลี่ยจื่อพากย์ไทยฉบับสมบูรณ์ฉบับเดียว
สำหรับผู้แปล ด้วยความรู้ความชำนาญด้านภาษาจีนและภาษาไทยในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาร่วม 20 ปี ที่สำคัญเป็นผู้สนใจและรักในงานด้านวรรณกรรม ภาษาอย่างยิ่ง อาจารย์ปกรณ์ได้ใช้เวลาหลายปี พากเพียรศึกษา ขบคิด ใคร่ครวญตีความเนื้อหาในคัมภีร์ที่ลึกซึ้งที่สุดทั้งสามเล่มนี้ ไม่เพียงความพยายามในการเข้าถึงความหมาย ทั้งยังประณีตในการเลือกสรรคำในภาษาไทยถ่ายทอดออกมา เพื่อสร้างเต๋าพากย์ไทยที่สะท้อนความหมายของเต๋าอย่างซื่อตรงที่สุด กอปรด้วยความไพเราะงดงามด้านภาษา.
สำหรับงานเต๋าเล่มสำคัญ ที่สะท้อนแสดงถึงคุณค่าของปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมนี้ได้เป็นอย่างดีที่สุด ได้แก่ เต๋าของเหลาจื่อ, เต๋าของจวงจื่อ และเต๋าของเลี่ยจื่อ ทั้ง 3 เล่มนี้ นับได้ว่าเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งปรัชญาฝ่ายเต๋า ที่แตกแขนงไปเป็นลัทธิเต๋าสายต่างๆมากมาย
ปรัชญาเต๋านั้น มีลักษณะกว้างๆเน้นไปที่เรื่องสัจธรรม, มุ่งการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติ, การปล่อยวาง และมีความโน้มเอียงไปในทางนามธรรม ตามการอรรถธิบายของผู้แปล ยังได้ชี้ถึงความแตกต่างของเต๋าของเหลาจื่อ และเต๋าของจวงจื่อว่า “เต้าเต๋อจิงนั้น เป็นศิลป์และศาสตร์สำหรับนำไปใช้แวะข้องกับโลก เรียกได้ว่าเป็นตำรับหรือคู่มือบอกวิถีทางอย่างหนึ่งเพื่อการดำรงอยู่ในโลกและสังคมอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ สำหรับของจวงจื่อนั้น กลับมีจุดมุ่งหมายแห่งความพยายามที่จะไม่ข้องแวะกับโลกและสังคม พยายามแสวงหาความหลุดพ้น ......ญาณทัศนะที่สะท้อนปรากฏอยู่ในจวงจื่อ แม้จะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับแนวความรู้ใน เต้าเต๋อจิง อยู่บ้าง แต่ก็มุ่งที่จะนำไปสู่การ ‘ประกาศอิสรภาพ’ จากโลกและสังคมเป็นหลัก
ในโลกวัตถุนิยมที่รุ่มร้อนไปด้วยการแข่งขันอันดุเดือดนี้ การได้สัมผัสถึงปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมนี้ เสมือนได้พูดคุยรับการชี้แนะจากปราชญ์ใหญ่ เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่สงบร่มเย็น ทั้งยังคุณูปการแก่โลก ด้วยคุณค่าดังกล่าวนี้เอง ปรัชญาเต๋า จึงยืนยงอยู่ในกระแสความสนใจของผู้คนมาถึงวันนี้
คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ ไม่ใช่สารัตถะอื่นไกล คือคัมภีร์เต้าเต๋อจิง หรือ เต๋าเต็กเก็ง ซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นหูของคนไทยมานานกว่า 40 ปีแล้ว นับจากฉบับแปลพากย์ ไทยสำนวนของ เสถียร โพธินันทะใน ‘เมธีตะวันออก’ ที่ออกสู่ตลาดในราวปี 2506 กระทั่ง คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ ของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ สำนวนล่าสุด ซึ่งออกวางตลาดในปลายปีที่ผ่านมา นับรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 20 สำนวน ซึ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดีถึงคุณค่าของคัมภีร์ยิ่งใหญ่แดนมังกรเล่มนี้ .....
สำหรับสำนวนเต้าเต๋อจิงของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์เล่มนี้ ได้แปลจากคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของปราชญ์ยิ่งใหญ่เหลาจื่อแห่งยุคชุนชิว จั้นกั๋ว (770-221 ก่อนคริสต์ศักราช) และใช้ต้นฉบับภาษาจีนโบราณที่ชำระโดย จังซงหญู เป็นหลักในการแปล โดยมีเล่มที่ชำระโดยเฉินกู่อิ้ง เทียบประกอบด้วย ผู้ได้แปลเนื้อหาในคัมภีร์ดังกล่าวทั้งหมด 81 บท เป็นพากย์ไทยอย่างสละสลวยงดงาม โดยมีภาษาจีนโบราณวางคู่เทียบกัน ทั้งได้อรรถธิบายการแปลบางจุดบางกลุ่มคำสำคัญในคัมภีร์จีนที่แตกต่างไปจากสำนวนแปลอื่นๆอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ผู้แปลยังได้รวบรวมภาคผนวก “เล่าเรื่องคัมภีร์เต้าเต๋อจิง ฉบับภาษาไทย” รวมรวบคัมภีร์เต๋า พากย์ไทย 19 สำนวน พร้อมทั้งกล่าวถึงการแปลของฉบับนั้นๆโดยสังเขป
เต๋าของจวงจื่อ หรือที่ก่อนหน้าเรามักได้ยินในชื่อ จางจื๊อ ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมปรัชญาที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ต้นฉบับเดิมนั้น แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่มสมุด ได้แก่ สมุดใน, สมุดนอก และสมุดปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน สำหรับเต๋าของจวงจื่อสำนวนแปลของอาจารย์ปกรณ์ ได้แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโบราณโดยคัดเลือกเพียงสมุดใน ซึ่งมี 7 บทด้วยกัน แม้จะเป็นส่วนน้อย แต่เนื้อหาของสมุดในนั้น นับว่าเป็นแก่นสารหลักของคัมภีร์เต๋าเล่มนี้
เต๋าของจวงจื่อ ก็ได้มีฉบับพากย์ไทยมานับ 30 ปี 40 ปี แล้ว ได้แก่ มนุษย์ที่แท้: มรรควิถีของจางจื๊อ ของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยเป็นการคัดเลือกตัดตอนมาจากบทต่างๆจากสำนวนภาษาอังกฤษของทอมัส เมอร์ตัน นอกจากนี้ มีมรรควิถีของจางจื๊อ: ก้าวย่างบนทางคู่ ของมานพ อุดมเดช, จางจื๊อจอมปราชญ์ ของบุญศักดิ์ แสงระวี ที่แปลจากฉบับการ์ตูนของไช่จื้อจง เป็นต้น
เต๋าของเลี่ยจื่อ เป็นหนึ่งในคัมภีร์ 1 ใน 3 เล่ม ที่นิยมใช้เป็นพื้นฐานหลักในการศึกษาปรัชญาเต๋า และถูกจัดว่าเป็นเล่มที่อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด จุดเด่นของคัมภีร์นี้ อยู่ที่นิทานสั้นๆจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและแทรกไว้ด้วยอารมณ์ขัน
สำหรับเลี่ยจื่อ หรือ เลี่ยอี้ว์โค่ว นั้น ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ใหญ่คนหนึ่งของปรัชญาฝ่ายเต๋า แห่งยุคจั้นกั๋ว มีชื่อเสียงเป็นผู้แสวงหาวิเวกธรรมชั้นวิเศษ แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจนพอ ผู้รู้บางคนไม่เชื่อว่าเลี่ยจื่อ มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
เนื้อหาของคัมภีร์เต๋า เลี่ยจื่อ ได้ปรากฏในบรรณพิภพไทยมานานแล้วเช่นกัน อาทิ มีแทรกอยู่ในหนังสือชื่อ ‘มณีปัญญา’ของเรืองรอง รุ่งรัศมี ในปี 2530, ‘กระบี่อยู่ที่ใจ’ของทองแถม นาถจำนง ซึ่งทั้งสองเล่มมีเนื้อหาของเต๋าของเลี่ยจื่อ แทรกจำนวนหนึ่ง สำหรับเต๋าของเลี่ยจื่อ สำนวนแปลของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์นั้น เป็นการแปลจากต้นฉบับเดิมภาษาจีน ซึ่งมีทั้งหมด 8 บทอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถือว่าเป็นเต๋าของเลี่ยจื่อพากย์ไทยฉบับสมบูรณ์ฉบับเดียว
สำหรับผู้แปล ด้วยความรู้ความชำนาญด้านภาษาจีนและภาษาไทยในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาร่วม 20 ปี ที่สำคัญเป็นผู้สนใจและรักในงานด้านวรรณกรรม ภาษาอย่างยิ่ง อาจารย์ปกรณ์ได้ใช้เวลาหลายปี พากเพียรศึกษา ขบคิด ใคร่ครวญตีความเนื้อหาในคัมภีร์ที่ลึกซึ้งที่สุดทั้งสามเล่มนี้ ไม่เพียงความพยายามในการเข้าถึงความหมาย ทั้งยังประณีตในการเลือกสรรคำในภาษาไทยถ่ายทอดออกมา เพื่อสร้างเต๋าพากย์ไทยที่สะท้อนความหมายของเต๋าอย่างซื่อตรงที่สุด กอปรด้วยความไพเราะงดงามด้านภาษา.