ในราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644)เมื่อกว่า 500 ปีที่แล้ว มีเพลงพื้นเมืองเพลงหนึ่ง มีเนื้อร้องว่า ‘หากไม่มีเงิน จังหวะก้าวเดินก็ยากเย็น’ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเงินที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เช่นเดียวกับนิยายปรัมปราของจีน ที่มีการกล่าวถึงต้นไม้เงิน ของวิเศษที่ประทานเงินทองให้กับผู้กระทำความดี
เงินยุคโบราณที่สุดของจีน สามารถย้อนอดีตไปได้ถึงยุคเซี่ย( 2,140-1,711 ปีก่อนคริสตกาล )และซัง( 1,711-1,066 ปีก่อนคริสตกาล) โดยยุคนั้นเรียกเงินว่า ฮั่วเป้ย(货贝) คือการนำเอาหอยทะเลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นร่องเหมือนฟันกราม มาเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน และเมื่อนำฮั่วเป้ย อันมาร้อยเป็นพวง แล้วผูกติดกัน 2 พวง ก็จะเรียกว่า ‘เผิง’(朋)ซึ่งในยุคแรก ค่าของฮั่วเป้ยสูงมาก เช่น หากมี 20 เผิงก็จะสามารถซื้อทาสได้ 1 คน และหากมีฮั่วเป้ย 50 เผิง ก็แลกม้าชั้นดีได้ 1 ตัว

เนื่องจากฮั่วเป้ยเป็นสิ่งที่หาได้ยากในที่ราบภาคกลาง จะพบได้เฉพาะพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล ดังนั้น ต่อมาจึงเริ่มมีการนำเอาเครื่องปั้นดินเผา กระดูก หยก และทองเหลืองมาทำเลียนแบบลักษณะของหอยชนิดนี้ ซึ่งทองแดงนี่เองได้กลายเป็นต้นแบบของเงินจีนที่ทำจากโลหะ
ใน
ราชวงศ์ฉินนำการหลอมเงินตรามาเป็นภารกิจของประเทศ และควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งหลังจากยุคฉินแล้ว ไม่ว่าราชวงศ์ไหนก็ห้ามราษฎรหลอมเงินเอง แต่ทว่าในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา ข้อบังคับดังกล่าวก็ยังมีคนฝ่าฝืน เฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ในราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล -ค.ศ.206 )ก็ได้มีคำสั่งประหารคนที่ฝ่าฝืนกฎข้อนี้ไปหลายแสนคน
ด้วยเหตุที่มีการหลอมเงินกันเอง ทำให้น้ำหนักและสีของทองแดงมีความแตกต่างกันไป ในราชวงศ์ฮั่นจึงมีการกำหนดมาตรฐานของเหรียญเงินที่ทำจากทองแดงว่า จะต้องมีน้ำหนัก 5 จู(铢) หรือราว 4 กรัมในยุคปัจจุบัน และมาตรฐานดังกล่าวก็ได้ใช้ต่อเนื่องกันมาถึง 739 ปี และเป็นมาตรฐานเงินที่ใช้ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
ความเป็นเอกภาพและมีรูปแบบที่ยั่งยืนของเงินตรา ทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจต่อค่าของเงินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ไม่เพียงเป็นเครื่องแสดงฐานะแล้ว เหรียญเงินยังเสมือนเป็นสิ่งของมงคล ดังที่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ก็มีการนำเงินมาร้อยเป็นเครื่องรางพกติดตัว โดยเชื่อว่าจะช่วยปกป้องจากความโชคร้ายได้
เมื่อมีการใช้เงินตรากันอย่างกว้างขวาง ในสังคมก็เริ่มมีพฤติกรรมการยืมเงิน และก็เกิดเป็นธุรกิจให้กู้ยืมเงินขึ้น ดังที่มีบันทึกว่า ในเมืองฉางอันแห่งราชวงศ์ฮั่น มีแผนกปล่อยกู้เงินโดยเฉพาะ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนเป็นจำนวนไม่น้อย

ธุรกิจปล่อยกู้ที่ทำกันอย่างง่ายๆ เมื่อถึงช่วงกลางของราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644)ก็ได้พัฒนาเป็นร้านแลกเงินที่เรียกว่า เฉียนพู่ (钱铺 ) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับฝากเงิน ปล่อยกู้และโอนเงิน โดยในช่วงแรกเป็นการจัดการโดยเอกชนรายย่อย หรือเป็นเพียงการรวมกลุ่มเล็กๆ และมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่สามารถออกเป็นตั๋วเงินที่แลกได้ในขอบข่ายที่กำหนด
หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 17 เฉียนพู่ก็ขยับขึ้นมาเป็น เฉียนจวง (钱庄) ที่ใหญ่ขึ้น และมีลักษณะคล้ายกับธนาคารในยุคปัจจุบันมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับรูปลักษณะของเหรียญเงินจีนนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในทุกครั้งที่เปลี่ยนการปกครอง แต่ก็ไม่มากนัก ดังเช่น เหรียญเงินทรงกลมมีรูสี่เหลี่ยมตรงกลางที่ใช้กันมาตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน รูปทรงดังกล่าวก็ยังใช้สืบเนื่องกันมาถึงกว่า 2,000 ปี
ทั้งนี้ ความหมายของเหรียญเงินสมัยฉิน มีคำอธิบายอยู่ 2 แบบ ประการแรก เกี่ยวเนื่องกับทัศนคติด้านจักรวาลของคนในสมัยนั้น คนจีนโบราณเชื่อว่าอวกาศเป็นทรงกลม และพื้นดินเป็นทรงเหลี่ยม นอกจากนั้น ยังมีคำอธิบายได้อีกว่า สี่เหลี่ยมนั้นหมายถึงเมือง ส่วนวงกลมหมายถึงบ่อน้ำ เมื่อคนในสมัยนั้นไปรวมตัวกันที่บ่อเพื่อตักน้ำ ก็เกิดเป็นการพบปะและแลกเปลี่ยน หลังจากนั้น พื้นที่บริเวณรอบๆ บ่อน้ำจึงค่อยๆ กลายเป็นเมือง คำอธิบายประการหลังนี้ มีศัพท์ที่เป็นภาษาหนังสือมาสนับสนุนคือคำว่า市井- ซื่อจิ่ง (市 เมือง井บ่อน้ำ) อันแปลว่าตลาด

ในยุคราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ.960-1279) นอกจากการใช้เงินตราที่ทำมาจากทองแดงและเงินแล้ว ในบางพื้นที่ยังมีเงินที่ทำมาจากเหล็ก ทั้งเป็นยุคเริ่มต้นของธนบัตร เนื่องจากในยุคนั้น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมณฑลซื่อชวน(เสฉวน) ผลิตเหรียญเงินที่ทำจากเหล็ก แต่เหล็กมีน้ำหนักมากและไม่สะดวกต่อการพกพา พ่อค้าในแถบนี้จึงคิดว่าน่าจะใช้กระดาษซึ่งเบากว่ามาแลกเปลี่ยนเป็นเงินแทนเหล็ก ว่าแล้วก็เริ่มจัดพิมพ์มูลค่าลงบนกระดาษ และเรียกเงินชนิดนี้ว่า เจียวจื่อ(交子-สิ่งของแลกเปลี่ยน ) ซึ่งนี่เองคือจุดกำเนิดของธนบัตรในยุคแรกของโลก
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกราชวงศ์ก็เดินตามรอยราชวงศ์ซ่ง ด้วยการออกเงินในรูปแบบธนบัตร ซึ่งโดยหลักการแล้ว ในการออกธนบัตรใหม่แต่ละครั้งจะต้องมีทุนสำรองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากปล่อยให้ปริมาณเงินในตลาดมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อ หรือค่าเงินอ่อนตัวลงไม่ใช่เริ่มเกิดขึ้นหลังจากการเกิดธนบัตร แท้ที่จริงแล้วมีบันทึกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยชุนชิวจั้นกั๋ว โดยเฉพาะในยามศึกสงคราม แต่เมื่อถึงยามสงบ ราคาสินค้าก็ดิ่งลงมาต่ำเกินจริงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ราคาสินค้าต่ำเกินจริงนี้ นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า ‘ยามบ้านเมืองสงบรุ่งเรือง’ (太平盛世ไท่ผิงเซิ่งสื้อ) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือภาวะเงินฝืดนั่นเอง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังหวาดผวากับภาวะเงินเฟ้อ จึงไม่มีการออกมาจับจ่ายใช้สอย

ตัวอย่างของ‘ยามบ้านเมืองสงบรุ่งเรือง’ อีกครั้งในสายตาของนักประวัติศาสตร์ ก็คือในช่วงราชวงศ์ถัง ผู้คนต่างพากันเก็บเงินไว้ในบ้าน จนทำให้ราชสำนักขาดแคลนเงินหมุนเวียน และในที่สุด จักรพรรดิถังเสวียนจงก็ได้มีพระราชโองการออกมากระตุ้นการบริโภค โดยระบุว่า “การเก็บเงินไว้ในบ้าน ก็เท่ากับไม่มีเงิน” อย่างไรก็ตาม พระราชเสาวนีย์ขององค์จักรพรรดิก็ไม่เป็นผล เมื่อราษฎรของพระองค์ก็ยังคงเก็บเงินอยู่กับบ้านอีกเป็นเวลานาน และสร้างภาวะเงินฝืดให้เกิดขึ้นอยู่ระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ ในภาษาจีนโบราณ ศัพท์คำว่าเงิน หรือที่เรียกว่า钱- เฉียน ในช่วงแรกสุดใช้ตัวอักษร 泉เฉวียน ที่แปลว่าน้ำพุ ซึ่งมีนัยยะว่าสามารถไหลไปถึงทุกที่เช่นเดียวกับน้ำพุ .
เรียบเรียงจาก หนังสือฉางเจอะเตอจงกั๋ว ของ Baihua Literature and Art Publishing House
เงินยุคโบราณที่สุดของจีน สามารถย้อนอดีตไปได้ถึงยุคเซี่ย( 2,140-1,711 ปีก่อนคริสตกาล )และซัง( 1,711-1,066 ปีก่อนคริสตกาล) โดยยุคนั้นเรียกเงินว่า ฮั่วเป้ย(货贝) คือการนำเอาหอยทะเลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นร่องเหมือนฟันกราม มาเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน และเมื่อนำฮั่วเป้ย อันมาร้อยเป็นพวง แล้วผูกติดกัน 2 พวง ก็จะเรียกว่า ‘เผิง’(朋)ซึ่งในยุคแรก ค่าของฮั่วเป้ยสูงมาก เช่น หากมี 20 เผิงก็จะสามารถซื้อทาสได้ 1 คน และหากมีฮั่วเป้ย 50 เผิง ก็แลกม้าชั้นดีได้ 1 ตัว
เนื่องจากฮั่วเป้ยเป็นสิ่งที่หาได้ยากในที่ราบภาคกลาง จะพบได้เฉพาะพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล ดังนั้น ต่อมาจึงเริ่มมีการนำเอาเครื่องปั้นดินเผา กระดูก หยก และทองเหลืองมาทำเลียนแบบลักษณะของหอยชนิดนี้ ซึ่งทองแดงนี่เองได้กลายเป็นต้นแบบของเงินจีนที่ทำจากโลหะ
ใน
ราชวงศ์ฉินนำการหลอมเงินตรามาเป็นภารกิจของประเทศ และควบคุมอย่างเข้มงวด ซึ่งหลังจากยุคฉินแล้ว ไม่ว่าราชวงศ์ไหนก็ห้ามราษฎรหลอมเงินเอง แต่ทว่าในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา ข้อบังคับดังกล่าวก็ยังมีคนฝ่าฝืน เฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ในราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล -ค.ศ.206 )ก็ได้มีคำสั่งประหารคนที่ฝ่าฝืนกฎข้อนี้ไปหลายแสนคน
ด้วยเหตุที่มีการหลอมเงินกันเอง ทำให้น้ำหนักและสีของทองแดงมีความแตกต่างกันไป ในราชวงศ์ฮั่นจึงมีการกำหนดมาตรฐานของเหรียญเงินที่ทำจากทองแดงว่า จะต้องมีน้ำหนัก 5 จู(铢) หรือราว 4 กรัมในยุคปัจจุบัน และมาตรฐานดังกล่าวก็ได้ใช้ต่อเนื่องกันมาถึง 739 ปี และเป็นมาตรฐานเงินที่ใช้ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
ความเป็นเอกภาพและมีรูปแบบที่ยั่งยืนของเงินตรา ทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจต่อค่าของเงินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ไม่เพียงเป็นเครื่องแสดงฐานะแล้ว เหรียญเงินยังเสมือนเป็นสิ่งของมงคล ดังที่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ก็มีการนำเงินมาร้อยเป็นเครื่องรางพกติดตัว โดยเชื่อว่าจะช่วยปกป้องจากความโชคร้ายได้
เมื่อมีการใช้เงินตรากันอย่างกว้างขวาง ในสังคมก็เริ่มมีพฤติกรรมการยืมเงิน และก็เกิดเป็นธุรกิจให้กู้ยืมเงินขึ้น ดังที่มีบันทึกว่า ในเมืองฉางอันแห่งราชวงศ์ฮั่น มีแผนกปล่อยกู้เงินโดยเฉพาะ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนเป็นจำนวนไม่น้อย
ธุรกิจปล่อยกู้ที่ทำกันอย่างง่ายๆ เมื่อถึงช่วงกลางของราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644)ก็ได้พัฒนาเป็นร้านแลกเงินที่เรียกว่า เฉียนพู่ (钱铺 ) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับฝากเงิน ปล่อยกู้และโอนเงิน โดยในช่วงแรกเป็นการจัดการโดยเอกชนรายย่อย หรือเป็นเพียงการรวมกลุ่มเล็กๆ และมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่สามารถออกเป็นตั๋วเงินที่แลกได้ในขอบข่ายที่กำหนด
หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 17 เฉียนพู่ก็ขยับขึ้นมาเป็น เฉียนจวง (钱庄) ที่ใหญ่ขึ้น และมีลักษณะคล้ายกับธนาคารในยุคปัจจุบันมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับรูปลักษณะของเหรียญเงินจีนนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในทุกครั้งที่เปลี่ยนการปกครอง แต่ก็ไม่มากนัก ดังเช่น เหรียญเงินทรงกลมมีรูสี่เหลี่ยมตรงกลางที่ใช้กันมาตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน รูปทรงดังกล่าวก็ยังใช้สืบเนื่องกันมาถึงกว่า 2,000 ปี
ทั้งนี้ ความหมายของเหรียญเงินสมัยฉิน มีคำอธิบายอยู่ 2 แบบ ประการแรก เกี่ยวเนื่องกับทัศนคติด้านจักรวาลของคนในสมัยนั้น คนจีนโบราณเชื่อว่าอวกาศเป็นทรงกลม และพื้นดินเป็นทรงเหลี่ยม นอกจากนั้น ยังมีคำอธิบายได้อีกว่า สี่เหลี่ยมนั้นหมายถึงเมือง ส่วนวงกลมหมายถึงบ่อน้ำ เมื่อคนในสมัยนั้นไปรวมตัวกันที่บ่อเพื่อตักน้ำ ก็เกิดเป็นการพบปะและแลกเปลี่ยน หลังจากนั้น พื้นที่บริเวณรอบๆ บ่อน้ำจึงค่อยๆ กลายเป็นเมือง คำอธิบายประการหลังนี้ มีศัพท์ที่เป็นภาษาหนังสือมาสนับสนุนคือคำว่า市井- ซื่อจิ่ง (市 เมือง井บ่อน้ำ) อันแปลว่าตลาด
ในยุคราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ.960-1279) นอกจากการใช้เงินตราที่ทำมาจากทองแดงและเงินแล้ว ในบางพื้นที่ยังมีเงินที่ทำมาจากเหล็ก ทั้งเป็นยุคเริ่มต้นของธนบัตร เนื่องจากในยุคนั้น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมณฑลซื่อชวน(เสฉวน) ผลิตเหรียญเงินที่ทำจากเหล็ก แต่เหล็กมีน้ำหนักมากและไม่สะดวกต่อการพกพา พ่อค้าในแถบนี้จึงคิดว่าน่าจะใช้กระดาษซึ่งเบากว่ามาแลกเปลี่ยนเป็นเงินแทนเหล็ก ว่าแล้วก็เริ่มจัดพิมพ์มูลค่าลงบนกระดาษ และเรียกเงินชนิดนี้ว่า เจียวจื่อ(交子-สิ่งของแลกเปลี่ยน ) ซึ่งนี่เองคือจุดกำเนิดของธนบัตรในยุคแรกของโลก
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกราชวงศ์ก็เดินตามรอยราชวงศ์ซ่ง ด้วยการออกเงินในรูปแบบธนบัตร ซึ่งโดยหลักการแล้ว ในการออกธนบัตรใหม่แต่ละครั้งจะต้องมีทุนสำรองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากปล่อยให้ปริมาณเงินในตลาดมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อ หรือค่าเงินอ่อนตัวลงไม่ใช่เริ่มเกิดขึ้นหลังจากการเกิดธนบัตร แท้ที่จริงแล้วมีบันทึกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยชุนชิวจั้นกั๋ว โดยเฉพาะในยามศึกสงคราม แต่เมื่อถึงยามสงบ ราคาสินค้าก็ดิ่งลงมาต่ำเกินจริงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ราคาสินค้าต่ำเกินจริงนี้ นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า ‘ยามบ้านเมืองสงบรุ่งเรือง’ (太平盛世ไท่ผิงเซิ่งสื้อ) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือภาวะเงินฝืดนั่นเอง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังหวาดผวากับภาวะเงินเฟ้อ จึงไม่มีการออกมาจับจ่ายใช้สอย
ตัวอย่างของ‘ยามบ้านเมืองสงบรุ่งเรือง’ อีกครั้งในสายตาของนักประวัติศาสตร์ ก็คือในช่วงราชวงศ์ถัง ผู้คนต่างพากันเก็บเงินไว้ในบ้าน จนทำให้ราชสำนักขาดแคลนเงินหมุนเวียน และในที่สุด จักรพรรดิถังเสวียนจงก็ได้มีพระราชโองการออกมากระตุ้นการบริโภค โดยระบุว่า “การเก็บเงินไว้ในบ้าน ก็เท่ากับไม่มีเงิน” อย่างไรก็ตาม พระราชเสาวนีย์ขององค์จักรพรรดิก็ไม่เป็นผล เมื่อราษฎรของพระองค์ก็ยังคงเก็บเงินอยู่กับบ้านอีกเป็นเวลานาน และสร้างภาวะเงินฝืดให้เกิดขึ้นอยู่ระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ ในภาษาจีนโบราณ ศัพท์คำว่าเงิน หรือที่เรียกว่า钱- เฉียน ในช่วงแรกสุดใช้ตัวอักษร 泉เฉวียน ที่แปลว่าน้ำพุ ซึ่งมีนัยยะว่าสามารถไหลไปถึงทุกที่เช่นเดียวกับน้ำพุ .
เรียบเรียงจาก หนังสือฉางเจอะเตอจงกั๋ว ของ Baihua Literature and Art Publishing House