ตรุษจีนปีไก่ที่เพิ่งผ่านไป บอกเราอีกแล้วถึงสถานภาพที่ “ดีขึ้น”ของความเป็นจีน
ในระดับรัฐ ผู้นำรัฐบาลประเทศต่างๆ พากันแสดงความยินดีกับชาวจีน ทั้งในประเทศจีนและในโพ้นทะเล มีความ “เป็นมิตร”สูง สร้างความอบอุ่นใจให้แก่ชาวจีนทั่วโลก
ในระดับประชาชน ปรากฏมีประชาชนในประเทศต่างๆเข้าร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกันคึกคักยิ่งกว่าครั้งใดๆ
เมื่อมองย้อนสู่อดีต ก็พอจะพูดได้ว่า ณ วันนี้ คนจีนได้ก้าวย่างผ่านเลยวันเวลาแห่งความอาดูร เพราะถูกเหยียดหยามหมิ่นแคลนไกลออกไปเรื่อยๆ
ในใจของพวกเขา ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึก “ขอบคุณ”พรรคและคณะผู้นำจีน ที่ทำหน้าที่ “นำ”การเปลี่ยนแปลงในทางทีดีขึ้นมาสู่ประเทศจีน และคนจีนทั่วโลก
นำรวมหมู่แบบมืออาชีพ
มองการเมืองโลกจาก “ผู้นำ” เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำจีนกับผู้นำประเทศอื่น ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
หะแรกวัดจากความรู้สึก คือรู้สึกว่า คณะผู้นำจีนค่อนข้างเยือกเย็น สุขุม คัมภีรภาพ บุคลิกท่าทางและการพูดการจามีหลักและ “กรอบ”หรือขอบเขตที่เหมาะเจาะแบบ “จับวาง” เป็น “มืออาชีพ”
ผู้นำมืออาชีพ ว่างั้นเถอะ
ถัดมาคือ พิจารณาจากกระบวนท่าหรือ “แพตเทิร์น”การนำ ผู้นำจีนยึดแนวทางการนำแบบ “รวมหมู่” หรือทำงานเป็นทีม ใช้การนำรวมหมู่ขับเคลื่อนแนวทางนโยบายให้ปรากฏเป็นจริง
การนำแบบรวมหมู่แบบจีนที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกปัจจุบันนี้ มีลักษณะการจัดระบบ มีโครงสร้างทางอำนาจ ลดหลั่นตามลำดับกันชัดเจน เห็นได้ทั้งในระบบผังงานการนำและในวิถีปฏิบัติจริง
เป็นระบบอำนาจเหล็ก ว่างั้นเถอะ
ผู้นำทางปัญญาที่เป็นวิทยาศาสตร์
ถัดมาอีกทีคือ ศึกษาในเนื้อหาการนำ อีกนัยหนึ่ง “งาน”ที่ผู้นำต้องทำ
คณะผู้นำจีน ได้หล่อหลอมตนเองขึ้นมาตั้งแต่สมัยปฏิวัติ เป็นคณะผู้นำทางความคิดทฤษฎีของพรรค อีกนัยหนึ่งเป็นผู้นำทางปัญญา มีการสืบทอดมรดกทางปัญญาเป็นทอดๆอย่างต่อเนื่อง ในท่ามกลางกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิบัติ
ในทุกขั้นตอนหรือทุกๆห้วงแห่งการขับเคลื่อนของภารกิจการนำ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศจีนและประชาชนจีนโดยรวม จึงมักจะต้องเริ่มต้นจากการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีของคณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน
แม้เมื่อจีนได้รับการปลดปล่อย สถาปนาขึ้นเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน มีรัฐบาลจีนเป็นผู้บริหารประเทศแล้ว ก็ยังเป็นเช่นนี้ (นั่นคือ พรรคฯจีนเป็นผู้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ที่เห็นว่าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมจีน ชี้นำการกำหนดแนวทางนโยบายใหม่ๆให้แก่รัฐบาลจีน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และในด้านอื่นๆของประเทศจีนและประชาชนจีนต่อไป)
อีกนัยหนึ่ง พรรคฯจีนเป็น “พี่เลี้ยง”อย่างดีของรัฐบาล มีการแบ่ง “หน้าที่”อย่างชัดเจน คือ ด้านหนึ่ง เป็นผู้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี วิสัยทัศน์ ชี้นำการกำหนดแนวทางนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลในทุกขึ้นตอน พร้อมกับกำหนดตัวบุคคลที่จะไปรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลตามหลัก “ให้ผู้ที่เหมาะสมไปทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม” (ใครเหมาะหรือไม่เหมาะตรงไหน ก็มักจะดำเนินไปตามระบบระเบียบและวิธีปฏิบัติที่คิดว่ามีความ “โปร่งใส”และเป็น “วิทยาศาสตร์”ที่สุด ตามมาตรฐานของพรรคฯจีน ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริงของสังคมจีน)
อีกด้านหนึ่ง คณะผู้นำจีน ทั้งในฐานะตำแหน่งทางการเมืองภาครัฐและฐานะตำแหน่งทางการเมืองภายในพรรค (เช่น เลขาธิการพรรคระดับต่างๆ ซึ่งมีอำนาจสั่งการ “ภายใน”เหนือกว่าเจ้าหน้าที่รัฐในระดับเดียวกัน ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ระดับมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล ไปจนถึง หมู่บ้าน) จะคอยลงพื้นที่ติดตามสำรวจวิเคราะห์สภาวะเป็นจริงของการดำเนินแนวทางนโยบายต่างๆ เพื่อค้นพบปัญหาใหม่ๆที่สะท้อนสภาวะความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริงของสังคมจีนและประชาชนจีน สำหรับการผูกโยงเข้าเป็นแนวคิดทฤษฎี วิสัยทัศน์ใหม่ๆในอนาคตต่อไป
วิธีการสำรวจค้นคว้าดังกล่าว ได้รับการปลูกฝังมาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยเหมาเจ๋อตง(สำรวจค้นคว้าชนบทจีน ค้นพบ “สัจธรรม”ในการดำเนินสงครามประชาชน เกิดเป็นทฤษฎีชี้นำการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ซึ่งต่อมาได้สรุปเป็น “ปรัชญา”พื้นฐานในวิธีคิดวิธีการทำงานของชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน ด้วยข้อความสั้นๆว่า “หาสัจจะจากความเป็นจริง”
มาถึงตรงนี้ เราก็ชักจะมองเห็นลักษณะพิเศษของการนำแบบจีน ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน บนผืนแผ่นดินใหญ่จีน
นั่นคือ นำทางปัญญา และนำด้วยอำนาจ “จริง” ในบริบทของระบอบการปกครอง(ที่คนจีนนิยมที่จะเรียกตนเองว่า) “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”
เป็น “ของจริง”ทั้งแท่ง ว่างั้นเถอะ
มีสภาวะผู้นำโดดเด่น
พรรคฯจีน และคณะผู้นำจีนจึงมี “สภาวะผู้นำ”โดดเด่น ได้รับการยอมรับสูงทั้งในหมู่ประชาชนจีนและรัฐบาลประเทศต่างๆ (ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบแค่ไหนอย่างไร)
ตรงกันข้าม ผู้นำของประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่อย่างสหรัฐฯ เป็นอาทิ กลับมีปัญหาอย่างมากในเรื่อง “ผู้นำ”
แม้ในทางปฏิบัติที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่เริ่มสถาปนา “สหรัฐ”ที่เป็นอิสระจากอำนาจปกครองของอังกฤษ คนอเมริกันให้การยอมรับในตัวผู้นำประเทศอย่างไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตัวเองจะไม่ลงคะแนนให้ หรือสังกัดอยู่ในพรรคฝ่ายค้าน แต่เมื่อการเลือกตั้งจบสิ้นลง ทุกคนก็ให้การยอมรับในตัวผู้นำ ยินดีเป็นพลเมืองดี สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของผู้นำคนนั้นๆโดยดุษณี
แต่ในทางความคิดหรือปัญญา กลับมากด้วยปัญหา เนื่องจากลักษณะ “ตัวแทน”ผลประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ในระบอบทุนนิยม ที่ผู้นำประเทศแสดงออก สร้างความกังขาอย่างยิ่งต่อประชาชนผู้ “รู้จริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสังคมความรู้ ข้อมูลข่าวสารและประกายปัญญาแผ่กระจายไปทั่วทั้งโลกชนิดไร้พรมแดน ด้วยความเร็วเท่าแสง และหลากหลายรูปแบบทั้งในรูปของ “มัลติมีเดีย” และ “มัลติแลงกวิจ”(multi-media and multi-languish)
ทำให้ไม่ว่าผู้นำจะโน้มน้าวอย่างไร ก็ไม่อาจ “ชนะใจ”ประชาชนในส่วนนั้นได้เลย
ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม และปัจจุบันในสงครามอิรัก (ซึ่งมีโอกาสอย่างมากที่จะขยายวงกว้างไปเป็นสงครามอิหร่าน)
จึงปรากฏว่า เมื่อจอร์จ ดับเบิ้ลยู.บุช ได้รับเลือกเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง ชาวอเมริกันจำนวนมากพากันประท้วง(ในงานพิธีเข้ารับตำแหน่ง) และมีอีกจำนวนหนึ่งตัดสินใจอพยพไปอยู่แคนาดา
สำหรับผู้นำไทย โดยพรรคไทยรักไทย และ ฯพณฯ นายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเลือกเป็นผู้นำแบบไหน ถึงเวลาต้องตัดสินใจอย่าง “เด็ดเดี่ยว”
ในระดับรัฐ ผู้นำรัฐบาลประเทศต่างๆ พากันแสดงความยินดีกับชาวจีน ทั้งในประเทศจีนและในโพ้นทะเล มีความ “เป็นมิตร”สูง สร้างความอบอุ่นใจให้แก่ชาวจีนทั่วโลก
ในระดับประชาชน ปรากฏมีประชาชนในประเทศต่างๆเข้าร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกันคึกคักยิ่งกว่าครั้งใดๆ
เมื่อมองย้อนสู่อดีต ก็พอจะพูดได้ว่า ณ วันนี้ คนจีนได้ก้าวย่างผ่านเลยวันเวลาแห่งความอาดูร เพราะถูกเหยียดหยามหมิ่นแคลนไกลออกไปเรื่อยๆ
ในใจของพวกเขา ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึก “ขอบคุณ”พรรคและคณะผู้นำจีน ที่ทำหน้าที่ “นำ”การเปลี่ยนแปลงในทางทีดีขึ้นมาสู่ประเทศจีน และคนจีนทั่วโลก
นำรวมหมู่แบบมืออาชีพ
มองการเมืองโลกจาก “ผู้นำ” เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำจีนกับผู้นำประเทศอื่น ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
หะแรกวัดจากความรู้สึก คือรู้สึกว่า คณะผู้นำจีนค่อนข้างเยือกเย็น สุขุม คัมภีรภาพ บุคลิกท่าทางและการพูดการจามีหลักและ “กรอบ”หรือขอบเขตที่เหมาะเจาะแบบ “จับวาง” เป็น “มืออาชีพ”
ผู้นำมืออาชีพ ว่างั้นเถอะ
ถัดมาคือ พิจารณาจากกระบวนท่าหรือ “แพตเทิร์น”การนำ ผู้นำจีนยึดแนวทางการนำแบบ “รวมหมู่” หรือทำงานเป็นทีม ใช้การนำรวมหมู่ขับเคลื่อนแนวทางนโยบายให้ปรากฏเป็นจริง
การนำแบบรวมหมู่แบบจีนที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกปัจจุบันนี้ มีลักษณะการจัดระบบ มีโครงสร้างทางอำนาจ ลดหลั่นตามลำดับกันชัดเจน เห็นได้ทั้งในระบบผังงานการนำและในวิถีปฏิบัติจริง
เป็นระบบอำนาจเหล็ก ว่างั้นเถอะ
ผู้นำทางปัญญาที่เป็นวิทยาศาสตร์
ถัดมาอีกทีคือ ศึกษาในเนื้อหาการนำ อีกนัยหนึ่ง “งาน”ที่ผู้นำต้องทำ
คณะผู้นำจีน ได้หล่อหลอมตนเองขึ้นมาตั้งแต่สมัยปฏิวัติ เป็นคณะผู้นำทางความคิดทฤษฎีของพรรค อีกนัยหนึ่งเป็นผู้นำทางปัญญา มีการสืบทอดมรดกทางปัญญาเป็นทอดๆอย่างต่อเนื่อง ในท่ามกลางกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิบัติ
ในทุกขั้นตอนหรือทุกๆห้วงแห่งการขับเคลื่อนของภารกิจการนำ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศจีนและประชาชนจีนโดยรวม จึงมักจะต้องเริ่มต้นจากการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีของคณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน
แม้เมื่อจีนได้รับการปลดปล่อย สถาปนาขึ้นเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน มีรัฐบาลจีนเป็นผู้บริหารประเทศแล้ว ก็ยังเป็นเช่นนี้ (นั่นคือ พรรคฯจีนเป็นผู้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ที่เห็นว่าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมจีน ชี้นำการกำหนดแนวทางนโยบายใหม่ๆให้แก่รัฐบาลจีน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และในด้านอื่นๆของประเทศจีนและประชาชนจีนต่อไป)
อีกนัยหนึ่ง พรรคฯจีนเป็น “พี่เลี้ยง”อย่างดีของรัฐบาล มีการแบ่ง “หน้าที่”อย่างชัดเจน คือ ด้านหนึ่ง เป็นผู้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี วิสัยทัศน์ ชี้นำการกำหนดแนวทางนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลในทุกขึ้นตอน พร้อมกับกำหนดตัวบุคคลที่จะไปรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลตามหลัก “ให้ผู้ที่เหมาะสมไปทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม” (ใครเหมาะหรือไม่เหมาะตรงไหน ก็มักจะดำเนินไปตามระบบระเบียบและวิธีปฏิบัติที่คิดว่ามีความ “โปร่งใส”และเป็น “วิทยาศาสตร์”ที่สุด ตามมาตรฐานของพรรคฯจีน ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริงของสังคมจีน)
อีกด้านหนึ่ง คณะผู้นำจีน ทั้งในฐานะตำแหน่งทางการเมืองภาครัฐและฐานะตำแหน่งทางการเมืองภายในพรรค (เช่น เลขาธิการพรรคระดับต่างๆ ซึ่งมีอำนาจสั่งการ “ภายใน”เหนือกว่าเจ้าหน้าที่รัฐในระดับเดียวกัน ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ระดับมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล ไปจนถึง หมู่บ้าน) จะคอยลงพื้นที่ติดตามสำรวจวิเคราะห์สภาวะเป็นจริงของการดำเนินแนวทางนโยบายต่างๆ เพื่อค้นพบปัญหาใหม่ๆที่สะท้อนสภาวะความเรียกร้องต้องการที่เป็นจริงของสังคมจีนและประชาชนจีน สำหรับการผูกโยงเข้าเป็นแนวคิดทฤษฎี วิสัยทัศน์ใหม่ๆในอนาคตต่อไป
วิธีการสำรวจค้นคว้าดังกล่าว ได้รับการปลูกฝังมาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยเหมาเจ๋อตง(สำรวจค้นคว้าชนบทจีน ค้นพบ “สัจธรรม”ในการดำเนินสงครามประชาชน เกิดเป็นทฤษฎีชี้นำการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ซึ่งต่อมาได้สรุปเป็น “ปรัชญา”พื้นฐานในวิธีคิดวิธีการทำงานของชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน ด้วยข้อความสั้นๆว่า “หาสัจจะจากความเป็นจริง”
มาถึงตรงนี้ เราก็ชักจะมองเห็นลักษณะพิเศษของการนำแบบจีน ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน บนผืนแผ่นดินใหญ่จีน
นั่นคือ นำทางปัญญา และนำด้วยอำนาจ “จริง” ในบริบทของระบอบการปกครอง(ที่คนจีนนิยมที่จะเรียกตนเองว่า) “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”
เป็น “ของจริง”ทั้งแท่ง ว่างั้นเถอะ
มีสภาวะผู้นำโดดเด่น
พรรคฯจีน และคณะผู้นำจีนจึงมี “สภาวะผู้นำ”โดดเด่น ได้รับการยอมรับสูงทั้งในหมู่ประชาชนจีนและรัฐบาลประเทศต่างๆ (ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบแค่ไหนอย่างไร)
ตรงกันข้าม ผู้นำของประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่อย่างสหรัฐฯ เป็นอาทิ กลับมีปัญหาอย่างมากในเรื่อง “ผู้นำ”
แม้ในทางปฏิบัติที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่เริ่มสถาปนา “สหรัฐ”ที่เป็นอิสระจากอำนาจปกครองของอังกฤษ คนอเมริกันให้การยอมรับในตัวผู้นำประเทศอย่างไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตัวเองจะไม่ลงคะแนนให้ หรือสังกัดอยู่ในพรรคฝ่ายค้าน แต่เมื่อการเลือกตั้งจบสิ้นลง ทุกคนก็ให้การยอมรับในตัวผู้นำ ยินดีเป็นพลเมืองดี สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของผู้นำคนนั้นๆโดยดุษณี
แต่ในทางความคิดหรือปัญญา กลับมากด้วยปัญหา เนื่องจากลักษณะ “ตัวแทน”ผลประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ในระบอบทุนนิยม ที่ผู้นำประเทศแสดงออก สร้างความกังขาอย่างยิ่งต่อประชาชนผู้ “รู้จริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสังคมความรู้ ข้อมูลข่าวสารและประกายปัญญาแผ่กระจายไปทั่วทั้งโลกชนิดไร้พรมแดน ด้วยความเร็วเท่าแสง และหลากหลายรูปแบบทั้งในรูปของ “มัลติมีเดีย” และ “มัลติแลงกวิจ”(multi-media and multi-languish)
ทำให้ไม่ว่าผู้นำจะโน้มน้าวอย่างไร ก็ไม่อาจ “ชนะใจ”ประชาชนในส่วนนั้นได้เลย
ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม และปัจจุบันในสงครามอิรัก (ซึ่งมีโอกาสอย่างมากที่จะขยายวงกว้างไปเป็นสงครามอิหร่าน)
จึงปรากฏว่า เมื่อจอร์จ ดับเบิ้ลยู.บุช ได้รับเลือกเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง ชาวอเมริกันจำนวนมากพากันประท้วง(ในงานพิธีเข้ารับตำแหน่ง) และมีอีกจำนวนหนึ่งตัดสินใจอพยพไปอยู่แคนาดา
สำหรับผู้นำไทย โดยพรรคไทยรักไทย และ ฯพณฯ นายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเลือกเป็นผู้นำแบบไหน ถึงเวลาต้องตัดสินใจอย่าง “เด็ดเดี่ยว”