ในปัจจุบัน ชาวจีนส่วนหนึ่งนิยมซื้อสินค้าแบรนด์ต่างประเทศ เพราะเข้าใจว่าเป็นสินค้าคุณภาพ โดยหารู้ไม่ว่า สินค้าที่มีชื่อยี่ห้อเป็นภาษาต่างชาติสวยหรูทั้งหลาย แท้จริงแล้วผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศ
ขณะที่ชาวต่างชาติกลับมองเห็นจุดแข็งในสินค้าท้องถิ่นที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้วจำนวนมหาศาล ได้หันมาตั้งชื่อยี่ห้อเป็นภาษาจีน เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับเจ้าของประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก
แต่อย่างไรก็ตาม สินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ ตัวจริง ก็กำลังเร่งพัฒนาคุณภาพภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เพื่อเป็นหนทางแจ้งเกิดให้กับสินค้าจีนอย่างแท้จริงในตลาดโลก

กระแสนิยมสินค้ายี่ห้อต่างชาติ
ในช่วงไม่กี่ปีนี้ ด้วยการจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อเดินทางไปจดทะเบียนการค้าในต่างประเทศ หรือซื้อลิขสิทธิ์สินค้าจากโรงงานเล็กๆ ในยุโรปมาใช้ ผู้ประกอบการชาวจีน ก็สามารถได้รับตราการค้าภาษาต่างประเทศมาติดบนสินค้าของตนแล้ว และนี่ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่ผู้ผลิตชาวจีนนำมากันใช้กันอย่างกว้างขวาง
“พวกเราไม่มีทางเลือก” ผู้ผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อเบลวิลส์ (Bellvilles) ที่ทำในจีน กล่าว “พวกเราจำเป็นต้องใช้ยี่ห้อสินค้าเป็นภาษาต่างประเทศ มิฉะนั้นสินค้าของเราก็จะไม่ได้พื้นที่จำหน่ายในห้าง นอกจากนี้ เสื้อผ้าที่ติดยี่ห้อภาษาต่างประเทศ สามารถขายในราคาสูงเป็นสามเท่าของสินค้าที่ใช้ยี่ห้อจีน เพราะฉะนั้นแล้ว ทำไมเราจะไม่ใช้ประโยชน์จากความนิยมนี้เล่า”
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลให้ผู้บริโภคไม่รู้ว่า สินค้ามากมาย ที่ติดตราภาษาอังกฤษ เป็นฝีมือการผลิตของคนจีนในประเทศ ขณะที่ผู้ผลิตคุณภาพหลายรายไม่กล้าใช้ชื่อยี่ห้อเป็นภาษาจีน เพราะราคาขายจะลดลง 80-90% เสื้อสูทที่มีคุณภาพหลายยี่ห้อที่วางขายในแดนมังกร อาทิ ซันซัน โรมอน เมลยาร์ด และสมาร์ตการ์เมนต์ แท้จริงแล้ว ล้วนเป็นฝีมือการผลิตของคนจีนทั้งนั้น
เช่นเดียวกับรถยนต์ หากเป็นรถยนต์จากค่ายต่างแดน ไม่ว่าญี่ปุ่น เยอรมัน หรือฝรั่งเศส ล้วนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้บริโภคมังกร งานแสดงยานยนต์ประจำปี 2003 ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้ดี รถยนต์ทั้งหมด 14 ยี่ห้อที่นำมาแสดงในงาน มีเพียง 3 ยี่ห้อเท่านั้น ได้แก่ รถจงหัว (Zhonghua) เชอรี่ (Chery) และจี๋ลี่ (Geely) ที่ผลิตในจีน
ซี่ว์เย่ เจ้าของโชว์รูมรถแห่งหนึ่งกล่าวว่า ลูกค้าบางรายที่ซื้อรถยี่ห้อฉางเฉิงหรือเหอเฝย ไซ่หม่า ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยหยวน เพื่อเปลี่ยนป้ายยี่ห้อเป็นโตโยต้า หรือมิตซูบิชิ

ต่างชาติมองในมุมต่าง
ขณะที่ผู้ผลิตชาวจีน ยอมเสียเงินเสียทองจดเครื่องหมายการค้าเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อให้ขายได้ แต่บริษัทต่างชาติกลับพยายามพิชิตใจผู้บริโภคชาวจีนด้วยการใช้ชื่อสินค้าเป็นภาษาจีน เช่น โอเลย์ รีจอยซ์ และเซฟการ์ด ซึ่งต่างร่วมทุนกับบริษัทในจีน และพากันเปลี่ยนชื่อยี่ห้อเป็น อี้ว์หลันโหยว (玉兰油 ) เพียวโหรว ( 飘柔) และซูฟูเจีย ( 舒肤佳) ตามลำดับ เช่นเดียวกับโคคาโคล่า ก็เปลี่ยนชื่อเป็นภาษาจีนว่า เขอโขวเขอเล่อ (可口可乐) เพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนเรียกได้สะดวกปากและจดจำได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติหลายรายยังเข้าซื้อกิจการแบรนด์ดังของจีน ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจุดแข็งของสินค้าแบรนด์มังกร เช่น เมื่อปีที่แล้ว ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ซื้อกิจการของเสี่ยวฮู่ซื่อ (小护士) หรือ มินิเนอร์ส เครื่องสำอางที่ขายดีเป็นอันดับสองของจีนและมีเอาท์เล็ตกว่า 280,000 แห่งทั่วประเทศ
ยิ่งกว่านั้น อุตสาหกรรมเบา 22 แขนงของจีน นักลงทุนต่างชาติมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ทั้งสิ้น และหนึ่งในสี่ของบริษัทเครื่องสำอาง ก็เป็นบริษัทร่วมทุนจีน-ต่างชาติ อีกทั้ง 30% ของสินทรัพย์ทุนในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ก็เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ
ในอุตสาหกรรมเบียร์ บริษัทต่างชาติต่างแห่เข้าซื้อหุ้นของบริษัทจีน ปีนี้ไฮเนเก้นชนะการประมูลขายหุ้นของกว่างตง บริวเวอลี่ โฮลดิ้งส์ ขณะที่ สกอตติช แอนด์นิวคาสเซิล อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมลงทุน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ กับฉงชิ่งเบียร์ และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เบลเจียน อินเตอร์บริว เบียร์ กรุ๊ป ซื้อหุ้นของจูเจียง เบียร์ กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของจีน นอกจากนี้ แซบมิลเลอร์ ของอังกฤษ ก็ได้ซื้อหุ้นโรงเบียร์จีนหลายแห่ง รวมทั้งเบียร์ฮาร์บิน

เร่งสร้างแบรนด์จีน
เพราะเหตุใด ประชาชนจีนจึงชื่นชอบสินค้าต่างประเทศ ทั้งที่สินค้าในประเทศก็มีที่ราคาถูกและคุณภาพดี
หากมองย้อนไปช่วงสงครามฝิ่นในปี 1840 จะพบคำตอบว่า ในเวลานั้นตลาดในประเทศตกอยู่ในมือของมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากคุณภาพของสินค้าจากต่างประเทศที่เหนือกว่า ชนิดทิ้งห่างคู่แข่งท้องถิ่น จนมาถึงทศวรรษที่ 80 ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยอีกครั้ง เมื่อจีนเริ่มเปิดประตูการค้ากับต่างประเทศ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากแดนปลาดิบพากันหลั่งไหลเข้าตีตลาดจีน เพราะทุกครอบครัวมั่นใจคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า ‘เมด อิน เจแปน’
อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษที่ 90 ผู้ประกอบธุรกิจจีนก็พิสูจน์ฝีมือว่าสามารถผลิตสินค้าคุณภาพราคาถูกได้เช่นเดียวกัน เครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตในประเทศมียอดขายสูงกว่าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และโทรศัพท์มือถือที่ผลิตในประเทศสามารถพังกำแพงการผูกขาดตลาดมือถือจากต่างประเทศได้
นอกจากนี้ แบรนด์ดังของจีนกำลังเริ่มปรากฏโฉมในตลาดระดับโลก อาทิ ไฮเออร์ มีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายุโรป10% หรือเลโนโว ซึ่งเพิ่งซื้อหุ้นของไอบีเอ็มยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ของโลก จนสั่นสะเทือนวงการไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ หรือแม้แต่ผู้ผลิตรองเท้าดับเบิลสตาร์ ซึ่งเป็นวิสาหกิจของรัฐ ปัจจุบันก็ได้ร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ 10 แห่งใน 46 ประเทศ นอกจากนี้แบรนด์ดัง อาทิ โกลเด้นสตาร์ ฉางหง คอนก้า ก็เริ่มลงเสาเข็มในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเริ่มพบเห็นสินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ ได้ทั่วไป ตรงกันข้ามกับในประเทศ
จากความสำเร็จของ ‘เมด อิน เจแปน’ และ ‘เมด อิน เกาหลี’ ทำให้ในระยะ 2-3 ปีมานี้ ผู้บริโภคชาวจีนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งได้เริ่มหันมาสนับสนุนสินค้าในประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะสินค้ามังกรมีการพัฒนาคุณภาพจากในอดีตมาก แต่อีกเหตุผลหนี่งก็คือ คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ต้องการเห็นสินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ แจ้งเกิดในตลาดโลก
เรียบเรียงจาก ไชน่าทูเดย์
ขณะที่ชาวต่างชาติกลับมองเห็นจุดแข็งในสินค้าท้องถิ่นที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้วจำนวนมหาศาล ได้หันมาตั้งชื่อยี่ห้อเป็นภาษาจีน เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับเจ้าของประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก
แต่อย่างไรก็ตาม สินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ ตัวจริง ก็กำลังเร่งพัฒนาคุณภาพภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เพื่อเป็นหนทางแจ้งเกิดให้กับสินค้าจีนอย่างแท้จริงในตลาดโลก
กระแสนิยมสินค้ายี่ห้อต่างชาติ
ในช่วงไม่กี่ปีนี้ ด้วยการจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อเดินทางไปจดทะเบียนการค้าในต่างประเทศ หรือซื้อลิขสิทธิ์สินค้าจากโรงงานเล็กๆ ในยุโรปมาใช้ ผู้ประกอบการชาวจีน ก็สามารถได้รับตราการค้าภาษาต่างประเทศมาติดบนสินค้าของตนแล้ว และนี่ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่ผู้ผลิตชาวจีนนำมากันใช้กันอย่างกว้างขวาง
“พวกเราไม่มีทางเลือก” ผู้ผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อเบลวิลส์ (Bellvilles) ที่ทำในจีน กล่าว “พวกเราจำเป็นต้องใช้ยี่ห้อสินค้าเป็นภาษาต่างประเทศ มิฉะนั้นสินค้าของเราก็จะไม่ได้พื้นที่จำหน่ายในห้าง นอกจากนี้ เสื้อผ้าที่ติดยี่ห้อภาษาต่างประเทศ สามารถขายในราคาสูงเป็นสามเท่าของสินค้าที่ใช้ยี่ห้อจีน เพราะฉะนั้นแล้ว ทำไมเราจะไม่ใช้ประโยชน์จากความนิยมนี้เล่า”
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลให้ผู้บริโภคไม่รู้ว่า สินค้ามากมาย ที่ติดตราภาษาอังกฤษ เป็นฝีมือการผลิตของคนจีนในประเทศ ขณะที่ผู้ผลิตคุณภาพหลายรายไม่กล้าใช้ชื่อยี่ห้อเป็นภาษาจีน เพราะราคาขายจะลดลง 80-90% เสื้อสูทที่มีคุณภาพหลายยี่ห้อที่วางขายในแดนมังกร อาทิ ซันซัน โรมอน เมลยาร์ด และสมาร์ตการ์เมนต์ แท้จริงแล้ว ล้วนเป็นฝีมือการผลิตของคนจีนทั้งนั้น
เช่นเดียวกับรถยนต์ หากเป็นรถยนต์จากค่ายต่างแดน ไม่ว่าญี่ปุ่น เยอรมัน หรือฝรั่งเศส ล้วนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้บริโภคมังกร งานแสดงยานยนต์ประจำปี 2003 ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้ดี รถยนต์ทั้งหมด 14 ยี่ห้อที่นำมาแสดงในงาน มีเพียง 3 ยี่ห้อเท่านั้น ได้แก่ รถจงหัว (Zhonghua) เชอรี่ (Chery) และจี๋ลี่ (Geely) ที่ผลิตในจีน
ซี่ว์เย่ เจ้าของโชว์รูมรถแห่งหนึ่งกล่าวว่า ลูกค้าบางรายที่ซื้อรถยี่ห้อฉางเฉิงหรือเหอเฝย ไซ่หม่า ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยหยวน เพื่อเปลี่ยนป้ายยี่ห้อเป็นโตโยต้า หรือมิตซูบิชิ
ต่างชาติมองในมุมต่าง
ขณะที่ผู้ผลิตชาวจีน ยอมเสียเงินเสียทองจดเครื่องหมายการค้าเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อให้ขายได้ แต่บริษัทต่างชาติกลับพยายามพิชิตใจผู้บริโภคชาวจีนด้วยการใช้ชื่อสินค้าเป็นภาษาจีน เช่น โอเลย์ รีจอยซ์ และเซฟการ์ด ซึ่งต่างร่วมทุนกับบริษัทในจีน และพากันเปลี่ยนชื่อยี่ห้อเป็น อี้ว์หลันโหยว (玉兰油 ) เพียวโหรว ( 飘柔) และซูฟูเจีย ( 舒肤佳) ตามลำดับ เช่นเดียวกับโคคาโคล่า ก็เปลี่ยนชื่อเป็นภาษาจีนว่า เขอโขวเขอเล่อ (可口可乐) เพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนเรียกได้สะดวกปากและจดจำได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติหลายรายยังเข้าซื้อกิจการแบรนด์ดังของจีน ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว ซึ่งเป็นจุดแข็งของสินค้าแบรนด์มังกร เช่น เมื่อปีที่แล้ว ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ซื้อกิจการของเสี่ยวฮู่ซื่อ (小护士) หรือ มินิเนอร์ส เครื่องสำอางที่ขายดีเป็นอันดับสองของจีนและมีเอาท์เล็ตกว่า 280,000 แห่งทั่วประเทศ
ยิ่งกว่านั้น อุตสาหกรรมเบา 22 แขนงของจีน นักลงทุนต่างชาติมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ทั้งสิ้น และหนึ่งในสี่ของบริษัทเครื่องสำอาง ก็เป็นบริษัทร่วมทุนจีน-ต่างชาติ อีกทั้ง 30% ของสินทรัพย์ทุนในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ก็เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ
ในอุตสาหกรรมเบียร์ บริษัทต่างชาติต่างแห่เข้าซื้อหุ้นของบริษัทจีน ปีนี้ไฮเนเก้นชนะการประมูลขายหุ้นของกว่างตง บริวเวอลี่ โฮลดิ้งส์ ขณะที่ สกอตติช แอนด์นิวคาสเซิล อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมลงทุน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ กับฉงชิ่งเบียร์ และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เบลเจียน อินเตอร์บริว เบียร์ กรุ๊ป ซื้อหุ้นของจูเจียง เบียร์ กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของจีน นอกจากนี้ แซบมิลเลอร์ ของอังกฤษ ก็ได้ซื้อหุ้นโรงเบียร์จีนหลายแห่ง รวมทั้งเบียร์ฮาร์บิน
เร่งสร้างแบรนด์จีน
เพราะเหตุใด ประชาชนจีนจึงชื่นชอบสินค้าต่างประเทศ ทั้งที่สินค้าในประเทศก็มีที่ราคาถูกและคุณภาพดี
หากมองย้อนไปช่วงสงครามฝิ่นในปี 1840 จะพบคำตอบว่า ในเวลานั้นตลาดในประเทศตกอยู่ในมือของมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากคุณภาพของสินค้าจากต่างประเทศที่เหนือกว่า ชนิดทิ้งห่างคู่แข่งท้องถิ่น จนมาถึงทศวรรษที่ 80 ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยอีกครั้ง เมื่อจีนเริ่มเปิดประตูการค้ากับต่างประเทศ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากแดนปลาดิบพากันหลั่งไหลเข้าตีตลาดจีน เพราะทุกครอบครัวมั่นใจคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า ‘เมด อิน เจแปน’
อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษที่ 90 ผู้ประกอบธุรกิจจีนก็พิสูจน์ฝีมือว่าสามารถผลิตสินค้าคุณภาพราคาถูกได้เช่นเดียวกัน เครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตในประเทศมียอดขายสูงกว่าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และโทรศัพท์มือถือที่ผลิตในประเทศสามารถพังกำแพงการผูกขาดตลาดมือถือจากต่างประเทศได้
นอกจากนี้ แบรนด์ดังของจีนกำลังเริ่มปรากฏโฉมในตลาดระดับโลก อาทิ ไฮเออร์ มีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายุโรป10% หรือเลโนโว ซึ่งเพิ่งซื้อหุ้นของไอบีเอ็มยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ของโลก จนสั่นสะเทือนวงการไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ หรือแม้แต่ผู้ผลิตรองเท้าดับเบิลสตาร์ ซึ่งเป็นวิสาหกิจของรัฐ ปัจจุบันก็ได้ร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ 10 แห่งใน 46 ประเทศ นอกจากนี้แบรนด์ดัง อาทิ โกลเด้นสตาร์ ฉางหง คอนก้า ก็เริ่มลงเสาเข็มในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเริ่มพบเห็นสินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ ได้ทั่วไป ตรงกันข้ามกับในประเทศ
จากความสำเร็จของ ‘เมด อิน เจแปน’ และ ‘เมด อิน เกาหลี’ ทำให้ในระยะ 2-3 ปีมานี้ ผู้บริโภคชาวจีนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งได้เริ่มหันมาสนับสนุนสินค้าในประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะสินค้ามังกรมีการพัฒนาคุณภาพจากในอดีตมาก แต่อีกเหตุผลหนี่งก็คือ คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ต้องการเห็นสินค้า ‘เมด อิน ไชน่า’ แจ้งเกิดในตลาดโลก
เรียบเรียงจาก ไชน่าทูเดย์