แท้ที่จริงแล้ว ภาษาจีนก็เหมือนกับภาษาไทย ที่มีทั้งภาษากลางและภาษาท้องถิ่น แน่นอนว่าภาษากลางที่ใช้กันทั่วไปในหมู่ชนชาวจีน(ทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน หรือชาวจีนโพ้นทะเล) ก็คือภาษาจีนกลางหรือแมนดาริน ซึ่งจะมีทั้งส่วนที่เป็นภาษาเขียนและภาษาพูด ส่วนภาษาท้องถิ่น อาทิ กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน แคะ ไหหลำ ฯลฯ จะเป็นภาษาที่มีใช้และเข้าใจกันในกลุ่มเฉพาะถิ่นนั้น ๆ เท่านั้น และเมื่อต้องการใช้ภาษาเขียน ก็จะเขียนเป็นอักษรจีนกลางเช่นกัน
ความแตกต่างของภาษาจีนกับภาษาไทย คือตัวอักษรจีน มีรากฐานจากตัวอักษรรูปภาพ ไม่ได้เกิดจากการนำสระ พยัญชนะมาผสมคำเหมือนอย่างภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาจีนจึงต้องมีคำใช้อ่านในการออกเสียงต่างหาก ปัจจุบัน ระบบเสียงและตัวอักษรจีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลก แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบเสียงจู้อิน (注音)เป็นสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้อยู่เดิมในการกำกับการออกเสียงในภาษาจีน และ
- ระบบเสียงพินอิน (拼音)เป็นการใช้อักษรโรมันในการกำกับการออกเสียงของภาษาจีน โดยดัดแปลงจากระบบ International Phonetic Alphabets เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาจีนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษได้อยู่แล้ว
สำหรับระบบตัวอักษร ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม(繁体字)หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า ‘ตัวเต็ม’ หมายถึงตัวหนังสือจีนที่ใช้กันทั่วไปก่อนหน้าสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศใช้ ‘ตัวย่อ’ ส่วนอักษรจีนตัวย่อ (简体字)หมายถึง ตัวหนังสือจีนที่ถูกทำให้เขียนง่ายขึ้น อาทิ คำว่า龍 อ่านว่า ‘หลง’แปลว่า มังกร เดิมมี 17 ขีด เมื่อย่อแล้วกลายเป็น 龙เหลือเพียง 5 ขีด อักษรจีนที่ผ่านการย่อนี้มีทั้งสิ้น 2,238 ตัว นอกเหนือจากนี้ ยังคงใช้อักษรตัวเดิม
ขอบข่ายการใช้งาน
1. อักษรตัวเต็ม ใช้ร่วมกับระบบเสียงจู้อิน ใช้ในเกาะไต้หวันและบางส่วนของชาวจีนโพ้นทะเล (กลุ่มนักธุรกิจที่มีการติดต่อทำการค้ากับไต้หวัน)
2. อักษรตัวย่อ ใช้ร่วมกับระบบเสียงพินอิน ประกาศใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ปี 1956 ส่วนสิงคโปร์ มาเลเซีย เริ่มใช้หลังจีนเข้าเป็นสมาชิกถาวรในยูเอ็น ปี 1979 ภายหลังการคืนเกาะฮ่องกง ปี 2000 ฮ่องกงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาจีน(ตัวย่อ)เป็นภาษาราชการ และบางส่วนของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล(กลุ่มคนที่มีการติดต่อกับชาวจีนแผ่นดินใหญ่)
ที่มาของการใช้ระบบตัวเต็ม-ตัวย่อในปัจจุบัน
เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศใช้ระบบอักษรจีนตัวย่อ ในปีค.ศ. 1956 เนื่องจากความแตกต่างของค่ายลัทธิทางการเมืองในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกาะไต้หวันและกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศต่าง ๆทั่วโลก ยังคงยืนยันที่จะใช้อักษรจีนตัวเต็มต่อไปตามเดิม ต่อเมื่อปี 1971 สาธารณรัฐประชาชนจีนหรือจีนแผ่นดินใหญ่เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวร*ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งได้รับรองภาษาจีน(ตัวย่อ) เข้าเป็นหนึ่งในภาษาสากล**อย่างเป็นทางการ จากนั้นมาอักษรจีนตัวย่อก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันในประชาคมโลก กระแสความนิยมในการใช้อักษรจีนตัวย่อได้แพร่ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นใหญ่ จนกระทั่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ใช้อักษรจีนตัวย่อและระบบเสียงพินอิน ในการสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมปลายของตน
ปัจจุบัน สถาบันสอนภาษาจีนในประเทศไทยทั้งในและนอกระบบ บ้างเลือกสอนตัวเต็ม บ้างสอนตัวย่อ บ้างเลือกสอนตัวเต็มแต่ใช้ระบบเสียงพินอิน และก็มีที่สอนทั้งตัวเต็มและตัวย่อ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในไทยที่ผ่านมายังคงใช้ตัวเต็ม แต่ก็มีนิตยสารรุ่นใหม่ที่เปิดตัวโดยใช้อักษรตัวย่อด้วย อย่างเช่น นิตยสารต้าเจียห่าว นิตยสารจีน-ไทยหรือฮั่นไท่ เป็นต้น ส่วนสื่อการสอน คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ก็มีใช้กันทั้งสองระบบ
*สมาชิกถาวร 5 ประเทศได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
**ภาษาสากลหรือภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการในสหประชาชาติ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน สเปนและอาหรับ
ความแตกต่างของภาษาจีนกับภาษาไทย คือตัวอักษรจีน มีรากฐานจากตัวอักษรรูปภาพ ไม่ได้เกิดจากการนำสระ พยัญชนะมาผสมคำเหมือนอย่างภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาจีนจึงต้องมีคำใช้อ่านในการออกเสียงต่างหาก ปัจจุบัน ระบบเสียงและตัวอักษรจีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลก แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบเสียงจู้อิน (注音)เป็นสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้อยู่เดิมในการกำกับการออกเสียงในภาษาจีน และ
- ระบบเสียงพินอิน (拼音)เป็นการใช้อักษรโรมันในการกำกับการออกเสียงของภาษาจีน โดยดัดแปลงจากระบบ International Phonetic Alphabets เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาจีนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษได้อยู่แล้ว
สำหรับระบบตัวอักษร ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม(繁体字)หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า ‘ตัวเต็ม’ หมายถึงตัวหนังสือจีนที่ใช้กันทั่วไปก่อนหน้าสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศใช้ ‘ตัวย่อ’ ส่วนอักษรจีนตัวย่อ (简体字)หมายถึง ตัวหนังสือจีนที่ถูกทำให้เขียนง่ายขึ้น อาทิ คำว่า龍 อ่านว่า ‘หลง’แปลว่า มังกร เดิมมี 17 ขีด เมื่อย่อแล้วกลายเป็น 龙เหลือเพียง 5 ขีด อักษรจีนที่ผ่านการย่อนี้มีทั้งสิ้น 2,238 ตัว นอกเหนือจากนี้ ยังคงใช้อักษรตัวเดิม
ขอบข่ายการใช้งาน
1. อักษรตัวเต็ม ใช้ร่วมกับระบบเสียงจู้อิน ใช้ในเกาะไต้หวันและบางส่วนของชาวจีนโพ้นทะเล (กลุ่มนักธุรกิจที่มีการติดต่อทำการค้ากับไต้หวัน)
2. อักษรตัวย่อ ใช้ร่วมกับระบบเสียงพินอิน ประกาศใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ปี 1956 ส่วนสิงคโปร์ มาเลเซีย เริ่มใช้หลังจีนเข้าเป็นสมาชิกถาวรในยูเอ็น ปี 1979 ภายหลังการคืนเกาะฮ่องกง ปี 2000 ฮ่องกงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาจีน(ตัวย่อ)เป็นภาษาราชการ และบางส่วนของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล(กลุ่มคนที่มีการติดต่อกับชาวจีนแผ่นดินใหญ่)
ที่มาของการใช้ระบบตัวเต็ม-ตัวย่อในปัจจุบัน
เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศใช้ระบบอักษรจีนตัวย่อ ในปีค.ศ. 1956 เนื่องจากความแตกต่างของค่ายลัทธิทางการเมืองในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกาะไต้หวันและกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศต่าง ๆทั่วโลก ยังคงยืนยันที่จะใช้อักษรจีนตัวเต็มต่อไปตามเดิม ต่อเมื่อปี 1971 สาธารณรัฐประชาชนจีนหรือจีนแผ่นดินใหญ่เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวร*ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งได้รับรองภาษาจีน(ตัวย่อ) เข้าเป็นหนึ่งในภาษาสากล**อย่างเป็นทางการ จากนั้นมาอักษรจีนตัวย่อก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันในประชาคมโลก กระแสความนิยมในการใช้อักษรจีนตัวย่อได้แพร่ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นใหญ่ จนกระทั่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ใช้อักษรจีนตัวย่อและระบบเสียงพินอิน ในการสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมปลายของตน
ปัจจุบัน สถาบันสอนภาษาจีนในประเทศไทยทั้งในและนอกระบบ บ้างเลือกสอนตัวเต็ม บ้างสอนตัวย่อ บ้างเลือกสอนตัวเต็มแต่ใช้ระบบเสียงพินอิน และก็มีที่สอนทั้งตัวเต็มและตัวย่อ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในไทยที่ผ่านมายังคงใช้ตัวเต็ม แต่ก็มีนิตยสารรุ่นใหม่ที่เปิดตัวโดยใช้อักษรตัวย่อด้วย อย่างเช่น นิตยสารต้าเจียห่าว นิตยสารจีน-ไทยหรือฮั่นไท่ เป็นต้น ส่วนสื่อการสอน คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ก็มีใช้กันทั้งสองระบบ
*สมาชิกถาวร 5 ประเทศได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
**ภาษาสากลหรือภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการในสหประชาชาติ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน สเปนและอาหรับ