หากบอกคนจีนว่ามาถึง 'หนานจิง' แล้ว ไม่ได้ไปเยือน สุสานซุนจงซาน (中山陵) แล้วละก็คงโดนหาว่ามาไม่ถึง หนานจิง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก 'ซุนจงซาน' สถานที่แห่งนี้คงจะไม่น่าดึงดูดใจเท่าไรนัก
..........................
ซุนเหวิน (孙文) ซุนอี้เซียน (孙逸仙) ซุนเต๋อหมิง (孙德明) ซุนตี้เซี่ยง (孙帝象) จงซานเฉียว (中山樵) - - - ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของบุคคลเดียวกันที่คนไทยรู้จักกันในนามของ ดร.ซุนยัดเซ็น

ซุนยัดเซ็น (ชื่อในจีนกลางคือ "ซุนจงซาน" ส่วนชื่อในวัยเด็กคือ "ซุนเหวิน") ผู้ได้ชื่อว่าบิดาว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยจีน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ในครอบครัวชาวนาที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรนักใน หมู่บ้านชุ่ยเฮิง (翠亨) อำเภอเซียงซาน มณฑลกวางตุ้ง ซุนยัดเซ็น เริ่มใช้แรงงานมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนเมื่อ 10 ขวบจึงมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง
การต้องทำไร่นา ช่วยครอบครัวตั้งแต่เล็ก เป็นเหตุให้ ซุนยัดเซ็น นั้นเข้าใจความลำบากยากเข็ญของชาวนาเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ซุนยัดเซ็น ที่เกิดหลังกบฎไท่ผิง** ถูกปราบเพียง 2 ปี มีความสนใจในเรื่องราวของบ้านเมืองมาก โดยเฉพาะในตัวของ หงซิ่วฉวน (洪秀全) ผู้นำของ กบฎไท่ผิง กบฎชาวนาที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยซุนเหวินนั้นยกให้ หงซิ่วฉวน เป็น "วีรบุรุษผู้ต่อต้านชิงคนที่ 1" และ ยกตัวเองให้เป็น "หงซิ่วฉวน คนที่ 2"
ในปี ค.ศ.1879 เมื่ออายุได้ 13 ย่าง 14 ปีซุนยัดเซ็น มีโอกาสตามมารดาไปหา ซุนเหมย (孙眉) พี่ชาย ที่เมืองโฮโนลูลู บนเกาะฮาวาย และมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนฝรั่ง นับได้ว่าซุนยัดเซ็นเป็นคนจีนกลุ่มแรกๆ ที่มีโอกาสไปศึกษาต่อยังตะวันตก และรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลมายังความไม่เชื่อถือนักต่อลัทธิขงจื๊อแบบคนจีนทั่วไป

ความใกล้ชิดต่อคริสตศาสนา และห่างไกลจากลัทธิขงจื๊อซึ่งครอบครัวยึดถือของซุนยัดเซ็น ทำให้พี่ชายกังวลจนถึงขั้นแจ้งข่าวให้ทางบ้านทราบ และส่งตัวน้องชายกลับบ้าน
เมื่อเดินทางจากเมืองศิวิไลซ์กลับมาถึงบ้าน เมื่อ ค.ศ.1883 ซุนยัดเซ็น ก็ประกอบวีรกรรมห่ามขึ้นอย่างหนึ่งคือไปหักแขนเทวรูปไม้ที่ชาวบ้านว่าศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ขณะที่ซุนเหวินเห็นว่าเทวรูปไม้ เป็นเพียงวัตถุไร้สาระที่ชาวบ้านงมงายอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเกิดเป็นเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากชาวบ้านโกรธแค้นอย่างมาก บิดาของซุนยัดเซ็นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งตัวลูกชายไปศึกษาต่อที่ฮ่องกง
ที่ฮ่องกง ซุนยัดเซ็น เข้าศึกษาต่อในควีนสคอลเลจ โดยในเวลาต่อมาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ซุนยัดเซ็นก็ยังยอมแต่งงานกับเจ้าสาวที่ทางบ้านเลือกให้ โดยในปี ค.ศ.1892 ซุนยัดเซ็น ก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกในฮ่องกง ด้วยคะแนนจากการสอบไล่เป็นอันดับหนึ่ง และกลายเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น
หลังเรียนจบ ดร.ซุน ก็เปิดคลีนิกแพทย์แผนตะวันตกขึ้นที่มาเก๊า และ กวางเจา (กว่างโจว) โดยในช่วงเวลานี้เองเขาก็เริ่มต้นชีวิตของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ในปี ค.ศ.1894 ระหว่างการขึ้นไปยังปักกิ่งเมืองหลวง ดร.ซุน ได้ส่งจดหมายถึง หลี่หงจาง (李鸿章) ขุนนางคนสำคัญของราชสำนักชิงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เทียนจินเพื่อหารือเรื่องบ้านเมือง โดย ดร.ซุน ต้องการเสนอแนวทางการพัฒนาจีนให้กับหลี่หงจาง แต่กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
เมื่อถูกปฏิเสธ ดร.ซุน จึงตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงจีนให้หลุดจากการปกครองของราชวงศ์ชิง นั้นมิสามารถทำได้ด้วยวิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำเป็นต้องกระทำการแบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" อันหมายถึง "การใช้กำลังปฏิวัติ" ดังนั้น ในฤดูหนาว ปีเดียวกัน ดร.ซุน จึงเดินทางกลับไปยังฮาวาย รวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลผู้รักชาติขึ้น 112 คน และตั้งขึ้นเป็น "สมาคมซิงจงฮุ่ย (兴中会)" ที่มีความหมายว่า "ฟื้นชีวิตประเทศจีน" ขึ้น ทั้งนี้เงินทุนสนับสนุนสมาคมดังกล่าวก็มาจาก ซุนเหมย นักธุรกิจชาวจีนผู้ร่ำรวย พี่ชายของ ดร.ซุน นั่นเอง

อาจนับได้ว่า ซิงจงฮุ่ย เป็นหลักไมล์แรกๆ ของ นายแพทย์ผู้นี้ ในการปฏิวัติอย่างจริงๆ จังๆ เนื่องจากสมาชิกของสมาคมนี้ปฏิญาณตนว่า "ต้องขับแมนจู กอบกู้การปกครองของชาวจีนด้วยการสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น" และในปีถัดมา (ค.ศ.1895) ดร.ซุน ก็กลับมาสร้างสาขาของสมาคมซิงจงฮุ่ยขึ้นที่ฮ่องกง
ด้วยความรวดเร็ว ซิงจงฮุ่ย วางแผนการปฏิวัติในทันที และกำหนดเอาวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1895 เป็นวันลงมือ โดยแผนการดังกล่าวนั้น ใช้กำลังคน 3,000 คน เพื่อยึดเมืองกวางเจา เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายการปฏิวัติต่อไป โดยในการปฏิวัติดังกล่าว ลู่เฮ่าตง เพื่อนสนิทตั้งแต่ยังเด็กผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์ปฏิวัติของ ดร.ซุน ได้ออกแบบ ธง "ฟ้าสีน้ำเงินกับดวงตะวันสีขาว" ไว้ใช้ด้วย (ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน)
อย่างไรก็ตาม การลงมือปฏิวัติครั้งแรกของ ดร.ซุน กลับล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากมีคนทรยศ นำข่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ของราชสำนักชิงก่อน ซึ่งก็ทำให้ผู้ร่วมปฏิวัติถูกประหารชีวิตไป 47 คน รวมถึง ลู่เฮ่าตง ด้วย ส่วนดร.ซุน ซึ่งไหวตัวทันก่อน จึงหนีประกาศจับของราชสำนักชิงไปหลบไปเกาะฮ่องกง เพื่อผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่น
หลังจากตั้ง สาขาซิงจงฮุ่ย ขึ้นที่ญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ค.ศ.1896 ดร.ซุน ก็เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในสหรัฐฯ และ ยุโรป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.เจมส์ แคนต์ลี (Dr. James CantLie) อาจารย์ชาวอังกฤษที่เคยสอนเขา ณ วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพี่ชายคนเดิม
วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1896 ระหว่างการเดินไปตามท้องถนนในกรุงลอนดอน ดร.ซุนก็ถูกลักพาตัว เข้าไปยังสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน เพื่อส่งตัวลงเรือจากลอนดอนกลับไปยังจีนเพื่อ 'ตัดหัว' เนื่องจากราชสำนักชิงนั้นตั้งค่าหัวของเขาไว้ 7,000 ปอนด์ ในฐานะกบฎ หรือไม่ถ้าการลอบพาตัว ดร.ซุน กลับไปจีนไม่สำเร็จก็จะสังหารเสียที่ สถานทูตจีนที่ลอนดอนนั้นเอง
อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือจาก พนักงาน ชาวอังกฤษในสถานทูต ที่ส่งข่าวไปให้ ดร.แคนต์ลี อาจารย์แพทย์ผู้ชิดเชื้อกับ ดร.ซุน ดร.แคนต์ลีก็ทำการช่วยเหลือศิษย์ทุกวิถีทาง โดยทางหนึ่งติดต่อไปยัง สก๊อตแลนด์ยาร์ด เมื่อไม่ได้ผลจึงประโคมข่าวผ่านทางหนังสือพิมพ์เดอะ โกลบ ที่ลงพาดหัวว่า "นักปฏิวัติจีนถูกลักพาตัวในลอนดอน!"

ข่าวดังกล่าวเป็นกระแสในหมู่คนอังกฤษ และกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษต้องติดต่อไปยังสถานทูตจีนเพื่อเจรจา จนสุดท้ายสถานทูตจีนในลอนดอนต้องปล่อยตัว ดร.ซุน ออกมาหลังจากกักตัวไว้นาน 12 วัน ซึ่งในตอนหลัง ดร.ซุนได้นำเหตุการณ์ตอนนี้มาเขียนโดยละเอียดโดยใช้ชื่อว่า Kidnapped in London
"วันนั้นผมวางแผนว่าจะไปหา ดร.แคนต์ลี หลังจากลงรถประจำทางที่จัตุรัสอ๊อกซ์ฟอร์ด ผมก็เดินต่อไปยังย่านพอร์ตแลนด์ เป็นเส้นทางปกติที่ผมเดินอยู่ ประมาณ 10 โมงครึ่งหรือ 11 โมงได้ ผมก็ถึงย่านพอร์ตแลนด์ แล้วก็พบ 'เติ้ง' - - - ก่อนหน้านั้นผมกับเขา (เติ้ง ในขณะนั้นมีตำแหน่ง คือ ล่ามของสถานทูตจีน) ไม่รู้จักกันมาก่อน ผมเพิ่งเจอเขาโดยบังเอิญบนถนนนั่นแหละ
"เขาเดินเข้ามาข้างผมแล้วก็ถามว่าผมคือ คนญี่ปุ่นหรือคนจีน ผมจึงตอบไปว่าผมเป็นคนจีน เขาก็ถามต่อว่าผมมาจากไหน ผมก็ตอบไปว่า ผมเป็นคนกวางตุ้ง เราก็ถามชื่อแซ่กันและกัน ผมบอกว่าผมแซ่ซุน ส่วนเขาบอกว่าเขาแซ่เติ้ง .... เราเดินไปคุยไปช้าๆ พอใกล้ย่านสถานทูตสักพักก็มีคนจีนอีกคนออกมา ..." ดร.ซุนยัดเซ็น เล่าให้นักข่าวอังกฤษฟังหลังจากถูกปล่อยตัวออกมา
หลังจากรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกือบถึงแก่ชีวิต ดร.ซุน ก็ขลุกตัวอยู่ในห้องสมุดของบริติชมิวเซียมเป็นเวลาถึง 9 เดือนเศษ จากนั้นถึงเดินทางมายังแผ่นดินยุโรป เพื่อศึกษาถึงแนวทางการเมืองของสังคมโลกในขณะนั้น โดยเฉพาะแนวโน้มในการปฏิรูป ปฏิวัติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ จนในที่สุด ปี ค.ศ.1897 เขาจึงพัฒนาแนวคิดที่ว่าด้วยการปฏิวัติสังคม อันต่อเนื่องกันกับการปฏิวัติชาติกับประชาธิปไตยที่คิดไว้ก่อน
แนวคิดดังกล่าวคือพื้นฐานของ ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义) อันประกอบด้วย ชาตินิยม (民族), ประชาธิปไตย (民权) และ สังคมนิยม (民生) แนวคิดที่ต่อมาได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานที่ยึดถือในการปฏิวัติของจีนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี
หมายเหตุ :
*ปัจจุบันอำเภอเซียงซาน กลายเป็น เมืองจงซาน (中山市) โดยชื่อ อำเภอเซียงซาน นั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น อำเภอจงซาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร.ซุนยัดเซ็นที่เสียชีวิตไปในปีนั้น
**กบฎไท่ผิง (太平天国; ค.ศ.1850-1864) หรือ "เมืองแมนแดนมหาสันติ" เป็นกบฎชาวนาที่นำโดย ชาวนาที่ชื่อว่า หงซิ่วฉวน ผู้นับถือศาสนาคริสต์ และมีความต้องการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่กดขี่ชาวนา เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งสันติสุขขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมา กบฎไท่ผิงก็ยึดอำนาจได้จริงๆ ที่ เมืองหนานจิง ในปี ค.ศ.1853 โดยเปลี่ยนชื่อหนานจิงเป็น เมืองหลวงสวรรค์ (เทียนจิง:天京) แต่สุดท้ายในปี ค.ศ.1864 ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพของฮ่องเต้ชิง (อ่านเพิ่มเติม : หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้า 584-606)
ประวัติของ ดร.ซุนยัดเซ็น เรียบเรียงมาจาก :
1.หนังสือ ประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้และยุคปัจจุบัน (中国近现代历史概要) โดย ตู้จื้อจุน ของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง บทที่ 9-11
2.หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้าที่ 739-771
3.หนังสือที่สุดของเมืองจีน โดย สุขสันต์ วิเวกเมธากร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2543 หน้าที่ 83-87
4.หนังสือ 孙中山在说 (2004) โดย ซุนจงซาน สำนักพิมพ์ตงฟัง
ทั้งนี้หนังสือทั้ง 4 เล่มให้ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับ ดร.ซุนยัดเซ็น คลาดเคลื่อนกัน ดังนั้นข้อมูลในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอ้างอิงจาก เล่มที่สี่ เป็นหลัก และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออีกสามเล่ม
..........................
ซุนเหวิน (孙文) ซุนอี้เซียน (孙逸仙) ซุนเต๋อหมิง (孙德明) ซุนตี้เซี่ยง (孙帝象) จงซานเฉียว (中山樵) - - - ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของบุคคลเดียวกันที่คนไทยรู้จักกันในนามของ ดร.ซุนยัดเซ็น
ซุนยัดเซ็น (ชื่อในจีนกลางคือ "ซุนจงซาน" ส่วนชื่อในวัยเด็กคือ "ซุนเหวิน") ผู้ได้ชื่อว่าบิดาว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยจีน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ในครอบครัวชาวนาที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรนักใน หมู่บ้านชุ่ยเฮิง (翠亨) อำเภอเซียงซาน มณฑลกวางตุ้ง ซุนยัดเซ็น เริ่มใช้แรงงานมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนเมื่อ 10 ขวบจึงมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง
การต้องทำไร่นา ช่วยครอบครัวตั้งแต่เล็ก เป็นเหตุให้ ซุนยัดเซ็น นั้นเข้าใจความลำบากยากเข็ญของชาวนาเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ซุนยัดเซ็น ที่เกิดหลังกบฎไท่ผิง** ถูกปราบเพียง 2 ปี มีความสนใจในเรื่องราวของบ้านเมืองมาก โดยเฉพาะในตัวของ หงซิ่วฉวน (洪秀全) ผู้นำของ กบฎไท่ผิง กบฎชาวนาที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยซุนเหวินนั้นยกให้ หงซิ่วฉวน เป็น "วีรบุรุษผู้ต่อต้านชิงคนที่ 1" และ ยกตัวเองให้เป็น "หงซิ่วฉวน คนที่ 2"
ในปี ค.ศ.1879 เมื่ออายุได้ 13 ย่าง 14 ปีซุนยัดเซ็น มีโอกาสตามมารดาไปหา ซุนเหมย (孙眉) พี่ชาย ที่เมืองโฮโนลูลู บนเกาะฮาวาย และมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนฝรั่ง นับได้ว่าซุนยัดเซ็นเป็นคนจีนกลุ่มแรกๆ ที่มีโอกาสไปศึกษาต่อยังตะวันตก และรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลมายังความไม่เชื่อถือนักต่อลัทธิขงจื๊อแบบคนจีนทั่วไป
ความใกล้ชิดต่อคริสตศาสนา และห่างไกลจากลัทธิขงจื๊อซึ่งครอบครัวยึดถือของซุนยัดเซ็น ทำให้พี่ชายกังวลจนถึงขั้นแจ้งข่าวให้ทางบ้านทราบ และส่งตัวน้องชายกลับบ้าน
เมื่อเดินทางจากเมืองศิวิไลซ์กลับมาถึงบ้าน เมื่อ ค.ศ.1883 ซุนยัดเซ็น ก็ประกอบวีรกรรมห่ามขึ้นอย่างหนึ่งคือไปหักแขนเทวรูปไม้ที่ชาวบ้านว่าศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ขณะที่ซุนเหวินเห็นว่าเทวรูปไม้ เป็นเพียงวัตถุไร้สาระที่ชาวบ้านงมงายอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเกิดเป็นเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากชาวบ้านโกรธแค้นอย่างมาก บิดาของซุนยัดเซ็นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งตัวลูกชายไปศึกษาต่อที่ฮ่องกง
ที่ฮ่องกง ซุนยัดเซ็น เข้าศึกษาต่อในควีนสคอลเลจ โดยในเวลาต่อมาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ซุนยัดเซ็นก็ยังยอมแต่งงานกับเจ้าสาวที่ทางบ้านเลือกให้ โดยในปี ค.ศ.1892 ซุนยัดเซ็น ก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกในฮ่องกง ด้วยคะแนนจากการสอบไล่เป็นอันดับหนึ่ง และกลายเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น
หลังเรียนจบ ดร.ซุน ก็เปิดคลีนิกแพทย์แผนตะวันตกขึ้นที่มาเก๊า และ กวางเจา (กว่างโจว) โดยในช่วงเวลานี้เองเขาก็เริ่มต้นชีวิตของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ในปี ค.ศ.1894 ระหว่างการขึ้นไปยังปักกิ่งเมืองหลวง ดร.ซุน ได้ส่งจดหมายถึง หลี่หงจาง (李鸿章) ขุนนางคนสำคัญของราชสำนักชิงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เทียนจินเพื่อหารือเรื่องบ้านเมือง โดย ดร.ซุน ต้องการเสนอแนวทางการพัฒนาจีนให้กับหลี่หงจาง แต่กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
เมื่อถูกปฏิเสธ ดร.ซุน จึงตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงจีนให้หลุดจากการปกครองของราชวงศ์ชิง นั้นมิสามารถทำได้ด้วยวิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำเป็นต้องกระทำการแบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" อันหมายถึง "การใช้กำลังปฏิวัติ" ดังนั้น ในฤดูหนาว ปีเดียวกัน ดร.ซุน จึงเดินทางกลับไปยังฮาวาย รวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลผู้รักชาติขึ้น 112 คน และตั้งขึ้นเป็น "สมาคมซิงจงฮุ่ย (兴中会)" ที่มีความหมายว่า "ฟื้นชีวิตประเทศจีน" ขึ้น ทั้งนี้เงินทุนสนับสนุนสมาคมดังกล่าวก็มาจาก ซุนเหมย นักธุรกิจชาวจีนผู้ร่ำรวย พี่ชายของ ดร.ซุน นั่นเอง
อาจนับได้ว่า ซิงจงฮุ่ย เป็นหลักไมล์แรกๆ ของ นายแพทย์ผู้นี้ ในการปฏิวัติอย่างจริงๆ จังๆ เนื่องจากสมาชิกของสมาคมนี้ปฏิญาณตนว่า "ต้องขับแมนจู กอบกู้การปกครองของชาวจีนด้วยการสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น" และในปีถัดมา (ค.ศ.1895) ดร.ซุน ก็กลับมาสร้างสาขาของสมาคมซิงจงฮุ่ยขึ้นที่ฮ่องกง
ด้วยความรวดเร็ว ซิงจงฮุ่ย วางแผนการปฏิวัติในทันที และกำหนดเอาวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1895 เป็นวันลงมือ โดยแผนการดังกล่าวนั้น ใช้กำลังคน 3,000 คน เพื่อยึดเมืองกวางเจา เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายการปฏิวัติต่อไป โดยในการปฏิวัติดังกล่าว ลู่เฮ่าตง เพื่อนสนิทตั้งแต่ยังเด็กผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์ปฏิวัติของ ดร.ซุน ได้ออกแบบ ธง "ฟ้าสีน้ำเงินกับดวงตะวันสีขาว" ไว้ใช้ด้วย (ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน)
อย่างไรก็ตาม การลงมือปฏิวัติครั้งแรกของ ดร.ซุน กลับล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากมีคนทรยศ นำข่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ของราชสำนักชิงก่อน ซึ่งก็ทำให้ผู้ร่วมปฏิวัติถูกประหารชีวิตไป 47 คน รวมถึง ลู่เฮ่าตง ด้วย ส่วนดร.ซุน ซึ่งไหวตัวทันก่อน จึงหนีประกาศจับของราชสำนักชิงไปหลบไปเกาะฮ่องกง เพื่อผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่น
หลังจากตั้ง สาขาซิงจงฮุ่ย ขึ้นที่ญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ค.ศ.1896 ดร.ซุน ก็เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในสหรัฐฯ และ ยุโรป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.เจมส์ แคนต์ลี (Dr. James CantLie) อาจารย์ชาวอังกฤษที่เคยสอนเขา ณ วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพี่ชายคนเดิม
วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1896 ระหว่างการเดินไปตามท้องถนนในกรุงลอนดอน ดร.ซุนก็ถูกลักพาตัว เข้าไปยังสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน เพื่อส่งตัวลงเรือจากลอนดอนกลับไปยังจีนเพื่อ 'ตัดหัว' เนื่องจากราชสำนักชิงนั้นตั้งค่าหัวของเขาไว้ 7,000 ปอนด์ ในฐานะกบฎ หรือไม่ถ้าการลอบพาตัว ดร.ซุน กลับไปจีนไม่สำเร็จก็จะสังหารเสียที่ สถานทูตจีนที่ลอนดอนนั้นเอง
อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือจาก พนักงาน ชาวอังกฤษในสถานทูต ที่ส่งข่าวไปให้ ดร.แคนต์ลี อาจารย์แพทย์ผู้ชิดเชื้อกับ ดร.ซุน ดร.แคนต์ลีก็ทำการช่วยเหลือศิษย์ทุกวิถีทาง โดยทางหนึ่งติดต่อไปยัง สก๊อตแลนด์ยาร์ด เมื่อไม่ได้ผลจึงประโคมข่าวผ่านทางหนังสือพิมพ์เดอะ โกลบ ที่ลงพาดหัวว่า "นักปฏิวัติจีนถูกลักพาตัวในลอนดอน!"
ข่าวดังกล่าวเป็นกระแสในหมู่คนอังกฤษ และกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษต้องติดต่อไปยังสถานทูตจีนเพื่อเจรจา จนสุดท้ายสถานทูตจีนในลอนดอนต้องปล่อยตัว ดร.ซุน ออกมาหลังจากกักตัวไว้นาน 12 วัน ซึ่งในตอนหลัง ดร.ซุนได้นำเหตุการณ์ตอนนี้มาเขียนโดยละเอียดโดยใช้ชื่อว่า Kidnapped in London
"วันนั้นผมวางแผนว่าจะไปหา ดร.แคนต์ลี หลังจากลงรถประจำทางที่จัตุรัสอ๊อกซ์ฟอร์ด ผมก็เดินต่อไปยังย่านพอร์ตแลนด์ เป็นเส้นทางปกติที่ผมเดินอยู่ ประมาณ 10 โมงครึ่งหรือ 11 โมงได้ ผมก็ถึงย่านพอร์ตแลนด์ แล้วก็พบ 'เติ้ง' - - - ก่อนหน้านั้นผมกับเขา (เติ้ง ในขณะนั้นมีตำแหน่ง คือ ล่ามของสถานทูตจีน) ไม่รู้จักกันมาก่อน ผมเพิ่งเจอเขาโดยบังเอิญบนถนนนั่นแหละ
"เขาเดินเข้ามาข้างผมแล้วก็ถามว่าผมคือ คนญี่ปุ่นหรือคนจีน ผมจึงตอบไปว่าผมเป็นคนจีน เขาก็ถามต่อว่าผมมาจากไหน ผมก็ตอบไปว่า ผมเป็นคนกวางตุ้ง เราก็ถามชื่อแซ่กันและกัน ผมบอกว่าผมแซ่ซุน ส่วนเขาบอกว่าเขาแซ่เติ้ง .... เราเดินไปคุยไปช้าๆ พอใกล้ย่านสถานทูตสักพักก็มีคนจีนอีกคนออกมา ..." ดร.ซุนยัดเซ็น เล่าให้นักข่าวอังกฤษฟังหลังจากถูกปล่อยตัวออกมา
หลังจากรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกือบถึงแก่ชีวิต ดร.ซุน ก็ขลุกตัวอยู่ในห้องสมุดของบริติชมิวเซียมเป็นเวลาถึง 9 เดือนเศษ จากนั้นถึงเดินทางมายังแผ่นดินยุโรป เพื่อศึกษาถึงแนวทางการเมืองของสังคมโลกในขณะนั้น โดยเฉพาะแนวโน้มในการปฏิรูป ปฏิวัติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ จนในที่สุด ปี ค.ศ.1897 เขาจึงพัฒนาแนวคิดที่ว่าด้วยการปฏิวัติสังคม อันต่อเนื่องกันกับการปฏิวัติชาติกับประชาธิปไตยที่คิดไว้ก่อน
แนวคิดดังกล่าวคือพื้นฐานของ ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义) อันประกอบด้วย ชาตินิยม (民族), ประชาธิปไตย (民权) และ สังคมนิยม (民生) แนวคิดที่ต่อมาได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานที่ยึดถือในการปฏิวัติของจีนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี
หมายเหตุ :
*ปัจจุบันอำเภอเซียงซาน กลายเป็น เมืองจงซาน (中山市) โดยชื่อ อำเภอเซียงซาน นั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น อำเภอจงซาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร.ซุนยัดเซ็นที่เสียชีวิตไปในปีนั้น
**กบฎไท่ผิง (太平天国; ค.ศ.1850-1864) หรือ "เมืองแมนแดนมหาสันติ" เป็นกบฎชาวนาที่นำโดย ชาวนาที่ชื่อว่า หงซิ่วฉวน ผู้นับถือศาสนาคริสต์ และมีความต้องการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่กดขี่ชาวนา เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งสันติสุขขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมา กบฎไท่ผิงก็ยึดอำนาจได้จริงๆ ที่ เมืองหนานจิง ในปี ค.ศ.1853 โดยเปลี่ยนชื่อหนานจิงเป็น เมืองหลวงสวรรค์ (เทียนจิง:天京) แต่สุดท้ายในปี ค.ศ.1864 ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพของฮ่องเต้ชิง (อ่านเพิ่มเติม : หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้า 584-606)
ประวัติของ ดร.ซุนยัดเซ็น เรียบเรียงมาจาก :
1.หนังสือ ประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้และยุคปัจจุบัน (中国近现代历史概要) โดย ตู้จื้อจุน ของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง บทที่ 9-11
2.หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้าที่ 739-771
3.หนังสือที่สุดของเมืองจีน โดย สุขสันต์ วิเวกเมธากร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2543 หน้าที่ 83-87
4.หนังสือ 孙中山在说 (2004) โดย ซุนจงซาน สำนักพิมพ์ตงฟัง
ทั้งนี้หนังสือทั้ง 4 เล่มให้ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับ ดร.ซุนยัดเซ็น คลาดเคลื่อนกัน ดังนั้นข้อมูลในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอ้างอิงจาก เล่มที่สี่ เป็นหลัก และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออีกสามเล่ม