ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด
1. รับผิดชอบ และรายงานการทำงานต่อสมัชชาผู้แทนประชาชน และคณะกรรมการประจำของสมัชชาฯ และอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากสององค์กรนี้ด้วย
2. เสนอญัตติต่อสมัชชาผู้แทนประชาชน และคณะกรรมการประจำของสมัชชาฯโดยอาศัยหลักกฎหมาย
3. กำกับดูแลสำนักอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักอัยการประชาชนเฉพาะด้าน โดยกำหนดจุดมุ่งหมาย และรับผิดชอบงานด้านการตรวจสอบ
4. ดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามอำนาจทางกฎหมายในคดีคอร์รัปชั่น คดีหลอกลวง คดีล่วงละเมิด คดีสิทธิผลประโยชน์ประชาธิปไตยของพลเมือง รวมทั้งคดีที่เห็นสมควร อีกทั้งกำกับดูแลงานสืบสวนของสำนักงานอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักงานอัยการประชาชนเฉพาะด้าน
5. พิจารณาตรวจสอบคดีอาญาที่ร้ายแรง ตลอดจนอนุมัติจับกุมและยื่นฟ้องตามกฎหมาย อีกทั้งกำกับดูแลสำนักงานอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักงานอัยการประชาชนเฉพาะด้าน ในการพิจารณาตรวจสอบ อนุมัติจับกุมและยื่นฟ้องคดีความผิดทางอาญา
6. นำสำนักงานอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักงานอัยการประชาชนเฉพาะด้านเปิดขยายการเคลื่อนไหวการพิจารณาคดีความแพ่ง, เศรษฐกิจ และการฟ้องร้องเรื่องการบริหาร อันเป็นงานควบคุมทางกฎหมาย
7. สำหรับคดีที่ได้มีการตัดสินโดยศาลประชาชนระดับต่างๆ และมีผลทางกฎหมายแล้ว เมื่อพบว่ามีความผิดพลาดในการตัดสิน อัยการสูงสุดมีหน้าที่นำขึ้นฟ้องต่อศาลสูงสุดของประชาชนเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
8. ทำการสำรวจตรวจตรามติหรือข้อกำหนด ที่ได้มาจากการใช้อำนาจตรวจสอบของสำนักงานอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆและสำนักงานอัยการประชาชนเฉพาะด้าน แก้ไขมติหรือข้อกำหนดที่ผิดพลาด
9. รับพิจารณาคำฟ้อง ร้องทุกข์ และการเปิดโปงพฤติกรรมที่ชั่วร้ายของพลเมือง
10. รับพิจารณารายงานเปิดโปงความผิดเรื่องคอร์รัปชั่น การติดสินบน เป็นต้น และนำองค์กรอัยการทั่วประเทศทำรายงานการเปิดโปง
11. เสนอความคิดเห็นต่อแผนการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรอัยการทั่วประเทศ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้ว ดำเนินการไปสู่การปฏิบัติจริง ทั้งยังวางแผนและชี้นำงานด้านเทคนิคการตรวจสอบ และตรวจพยานวัตถุ การพิเคราะห์หาข้อสรุป ขององค์กรอัยการทั่วประเทศ
12. ให้คำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายที่เป็นรูปธรรมในงานตรวจสอบ
13. บัญญัติข้อกำหนด รายละเอียด เกี่ยวกับงานตรวจสอบของอัยการ
14. สร้างสรรค์ขบวนการและการทำงานการเมืองในเชิงความคิดขององค์กรอัยการ และกำกับดูแลงานของสำนักงานอัยการประชาชนท้องถิ่นระดับต่างๆและสำนักงานอัยการประชาชนเฉพาะด้าน อีกทั้งกำหนดแนวทางการบริหารงานของเจ้าพนักงาน
15. ประสานงานกับคณะกรรมการพรรคท้องที่ ทำการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของหัวหน้า และรองหัวหน้าอัยการของมณฑล เขตปกครองตนเอง เทศบาลนคร และรายงานเสนอต่อคณะกรรมการประจำของสมัชชาผู้แทนแห่งชาติ เพื่อการแต่งตั้งหรือถอดถอน หัวหน้าอัยการ รองอัยการและกรรมการของสำนักอัยการต่าง ๆทั่วประเทศ
16. จัดสรรงานฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานสายอัยการ
17. กำหนดและชี้นำการวางแผนด้านการเงิน และงบประมาณขององค์กรอัยการทั่วประเทศ
18. จัดกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างองค์กรศาลในประเทศต่างๆ เพื่อขยายความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนร่วมตรวจสอบสืบค้นในคดีเฉพาะกิจระหว่างเขตพื้นที่อื่น เช่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เป็นต้น.