ชีวิตคนเมืองจีน / ใครที่เคยไปเมืองจีนมาแล้ว คงจะเคยเห็นอาตี๋อาหมวย อายุขนาดหัดเดิน ใส่กางเกงที่มีรูโหว่ตรงกลางก้นหรือ ‘ไคตังคู่’ในภาษาจีน ที่แปลตามตัวได้ว่า ‘กางเกงเปิดเป้า’ อย่างไรก็ตาม ภาพที่น่าเอ็นดูเช่นนี้ อีกไม่นานคาดว่าจะพบเห็นได้น้อยลง โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ เพราะไคตังคู่กำลังถูกแทนที่ด้วยผ้าอ้อมเด็ก หรือที่บ้านเราเรียกกันจนติดปากว่า ‘แพมเพอร์’ ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้จีนกลายเป็นตลาดผ้าอ้อม ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆที่ไคตังคู่เคยยึดเป็นเวทีอวดลวดลายและสีสัน บัดนี้ต่างถูกแทนที่ด้วยผ้าอ้อมเด็ก เพื่อให้รับกับกระแสนิยมของปะป๊าม่ะม้าสมัยใหม่

ไคตังคู่ กางเกงที่เด็กจีนใส่กันไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แม้แต่ในช่วงที่อากาศหนาวสุดๆ หนูน้อยแก้มแดงเหล่านี้ยังถูกจับให้ใส่ไคตังคู่ขายาว ที่ส่วนใหญ่จะทำจากผ้าสำลี ซึ่งคงพอจะให้ความอบอุ่นได้พอสมควร ยกเว้นบริเวณก้นกับเป้า ที่ตั้งใจผ่าเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ ถ้าพวกเขาพูดได้คงบอกว่า “หนูหนาวก้นจัง ” แต่ในหน้าร้อนไคตังคู้ คงทำให้ก้นของหนูน้อยเย็นสบายไม่น้อยทีเดียว
สะดวกที่สุด ปกปิดน้อยที่สุด
หนูน้อย จางเสี่ยว์หยาง วัย 21 เดือน กำลังเพลิดเพลินกับการขุดคุ้ยดินใกล้กับบันไดลื่น ภายในสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง จู่ๆหนูน้อยก็หยุดหงึก พร้อมกับปล่อยธารน้ำน้อยๆออกมาอย่างง่ายดายผ่าน‘ช่องทางด่วน’ของกางเกง
ถ้าไม่เป็นเพราะหนูจางใส่ไคตังคู่ คุณแม่คงต้องมีงานทำเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง ลักษณะพิเศษของไคตังคู่ ซึ่งสะดวกที่สุดเพราะปกปิดน้อยที่สุดนี่เอง ที่ทำให้ไคตังคู่เป็นกางเกงในดวงใจของพ่อแม่ชาวมังกรมาหลายทศวรรษ แถมมีตังค์เหลือไว้หยอดกระปุกอีกต่างหาก
แต่ผลจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชนชั้นกลางที่มีกำลังในการจับจ่าย เพิ่มจำนวนขึ้น บวกกับลักษณะการใช้ชีวิตที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ผลักดันให้คุณพ่อคุณแม่ในเมืองที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา แห่กันหันมาใช้ผ้าอ้อมเด็กกันมากขึ้น

สะดวกกว่า อนามัยกว่า
“ ไคตังคู่เหรอ ล้าสมัยแล้ว” แอนนี่ เฉาตอบ ระหว่างเดินชอปปิ้งในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้กับซีลีน เฉา ลูกสาววัย 2 ขวบ
“ มันไม่อนามัย และไม่ดีต่อสภาพแวดล้อม มีแต่คนชนบทที่ยากจนเท่านั้นแหละ ที่ยังใช้กันอยู่ ”
ตอนที่เด็กกว่านี้ หนูซีลีน ก็ใส่ผ้าอ้อมเด็ก แต่ตอนที่คุณแม่เฉาอายุเท่าซีลีน ผ้าอ้อมเด็กยังไม่ได้ยกทัพมาบุกตลาดจีนอย่างทุกวันนี้ ดังนั้นเมื่อถูกถามว่าตอนเด็กๆ คุณเฉาใส่ผ้าอ้อมแบบไหน เธอถึงกับอึ้งไป ก่อนที่จะตอบแบบเขินๆว่า “จำไม่ได้แล้ว คงจะเป็นไคตังคู่มั๊ง”
ไต้อี้ว์หัว วัย 33 ปี เจ้าของร้านขายผลไม้แห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า เมื่อตอนที่ลูกชายเธอยังเดินเตาะแตะอยู่ หรือเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว เธอยังไม่รู้จักผ้าอ้อมเด็กแบบนี้ พอมีลูกชายคนที่สอง ซึ่งเวลานี้อายุ 1 ขวบ ถึงได้เริ่มใช้ แต่จะใช้เฉพาะวันที่อากาศร้อนจริงๆเท่านั้น
ในปลายทศวรรษที่ 70 เสื้อของผู้ใหญ่ที่ประชาชนจีนทุกคนใส่กัน จนเหมือนเป็นยูนิฟอร์ม คือเสื้อแบบท่านประธานเหมา ซึ่งมีให้เลือกเพียงสองสี คือสีเทากับสีกรมท่า โชคดีที่ตอนนั้นมีไคตังคู่ ซึ่งเป็นเหมือนยูนิฟอร์มของเด็ก มาช่วยเติมสีสันให้กับเมืองบ้าง
ผิดกับสมัยนี้ ที่เนื้อนิ่มๆขาวๆของบรรดาอาตี๋อาหมวยถูกปกปิดด้วยผ้าอ้อมเด็ก ก่อนจะถูกซ้อนทับอีกชั้นด้วยกางเกงหรือกระโปรง แม้ในบ่ายวันที่อากาศร้อนอบอ้าว
ซูเส้าเจวียน แคชเชียร์ชาวกว่างโจว (กวางเจา) คุณแม่ลูกชายวัย 2 ขวบ ซึ่งค่อนข้างมีทัศนคติที่ติดลบกับไคตังคู่กล่าวว่า “คนที่ใช้ไคตังคู่เหมือนเป็นคนไม่มีอารายธรรม”
“สมัยนี้ คนมีเงินมากขึ้น ก็เลยชอบใช้ผ้าอ้อมเด็ก เพราะมันทั้งสะดวกกว่าและอนามัยกว่า ทั้งต่อพ่อแม่และเด็ก"

ผลจาการผลักดันของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่พยายามปรับปรุงเมืองให้น่าอยู่ โดยการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาความสะอาดจนเป็นนิสัย ก็มีส่วนทำให้คนหันมานิยมใช้ผ้าอ้อมเด็กกันมากขึ้น
หลายเมืองออกกฎห้ามทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ห้ามขากถุย ตลอดจนห้าม (ผู้ใหญ่) ปลดทุกข์ในที่ที่ไม่ใช่ห้องน้ำ แน่นอนว่าประเทศที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2008 ย่อมไม่ต้องการให้แขกบ้านแขกเมืองมาพบเห็นภาพไม่พึงประสงค์เหล่านี้
เช่นเดียวกับศูนย์ดูแลคุณแม่หลังคลอดแห่งหนึ่งในปักกิ่ง จางเยี่ยว์ หัวหน้าพยาบาลกล่าวว่า “ ที่นี่จะแนะนำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนใช้ผ้าอ้อมเด็ก”
“เพราะสะอาดและถูกสุขลักษณะกว่า เด็กที่ใส่ไคตังคู่จะเป็นหวัดง่าย หรือบางทีก็เป็นโรคท้องร่วง หรือแม้แต่ท่อปัสสาวะอักเสบ”
เจ้าจงซิ่น ศาสตราจารย์ประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยีด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ปักกิ่ง กล่าวว่า
“ ไคตังคู่เป็นตัวชี้ความแตกต่างของจิตใจและสภาพชีวิตของคนในเมืองและคนในชนบทได้อย่างขัดเจน เห็นได้จากการที่เด็กในเมืองเลิกใส่ไคตังคู่กันแล้ว แต่เด็กในชนบทยังใส่อยู่”
“คนสมัยก่อนจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยเท่าไหร่ ไม่เหมือนคนสมัยนี้” เขากล่าว “นอกจากนี้ พ่อแม่สมัยนี้ปกติจะยุ่งมาก บางครั้งไม่มีแม้แต่เวลาจับลูกเข้าห้องน้ำเป็นระยะๆ จึงต้องอาศัยผ้าอ้อมเด็กเหล่านี้ ”

ยอดขายผ้าอ้อมเด็กในจีนพุ่ง
จากการสำรวจพบว่า ทุกวันนี้ ตลาดผ้าอ้อมเด็กในจีนเฟื่องฟูมากโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่าง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่งและกว่างโจว สามารถทำเงินได้มากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 8,000 ล้านบาท ) ทีเดียว
ผ้าอ้อมเด็กที่วางเรียงรายตลอดแนวทางเดินในซุปเปอร์มาร์เกตแห่งหนึ่ง มีตั้งแต่ราคาประมาณ 72 บาทต่อหนึ่งห่อๆละ 20 ชิ้นจนถึงราคาราว 480 บาทต่อหนึ่งห่อๆละ 60 ชิ้น
“ผ้าอ้อมเด็กเหล่านี้เป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ” พนักงานขายแซ่หลี่ คนหนึ่งกล่าว “ มันอาจจะไม่สะดวกอย่างไคตังคู่ แต่ก็ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และยอดขายก็เพิ่มตามไปด้วย”
คิมเบอร์ลี่ คลาร์ก ผู้ผลิตผ้าอ้อมเด็ก ฮักกี้ส์ ประมาณว่ายอดขายผ้าอ้อมเด็กทั่วประเทศจีนขยับสูงขึ้น 20-40 % ทุกปี
ขณะที่ พร็อกเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ผู้ผลิตผ้าอ้อมเด็กรายใหญ่ ซึ่งบุกตลาดมังกรในปี 1998 กล่าวว่า มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ต่อปี และจาการสำรวจของบริษัทชี้ว่าเด็กเซี่ยงไฮ้ 50% ใช้ผ้าอ้อมเด็กในระหว่างวัน และ 90% ใช้ในช่วงกลางคืน
นอกจากนี้ จากรายงานประจำปี 2002 ของยูนิชาร์ม ผู้ผลิต มัมมี่ โปะโกะ จากแดนอาทิตย์อุทัย ระบุว่าบริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตผ้าอ้อมเด็กอีกแห่งในเซี่ยงไฮ้
บริษัทในประเทศที่มีประมาณ 12 แห่ง ก็พยายามเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด โดยงัดกลยุทธ์ทางการตลาดทุกวิถีทางมาใช้ เช่น บริษัทกู้ดเบบี้ ในเซี่ยงไฮ้ ได้เปิดให้บริการตอบคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวกับผ้าอ้อมเด็กผ่านทางโทรศัพท์ฟรี เป็นต้น
“ เราพยายามเปลี่ยนทัศนคติของคนที่มีต่อผ้าอ้อมเด็ก ” ถังเสี่ยวหยุน เจ้าหนาที่ฝ่ายขายและการตลาดของกู้ดเบบี้ กล่าว “ บางคนคิดว่ามันสิ้นเปลือง โดยเฉพาะคนในชนบท”
ราคาผ้าอ้อมเด็กที่ตกราว 6-8 บาท ต่อชิ้น อาจจะดูไม่แพงสำหรับคนที่อาศัยในเมือง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 520 ดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 20,800 บาท ) แต่ถ้านำไปขายแก่ชาวชนบทในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อปีแค่ 139 ดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 5,560 บาท ) คงจะขายไม่ออก

แม้ว่ากระแสความนิยมผ้าอ้อมเด็กจะมาแรงมาก แต่ยังมีคนบางส่วนที่ภักดีต่อไคตังคู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เช่น คุณแม่จากมณฑลเจ้อเจียงคนหนึ่ง กล่าวว่า “ไคตังคู่สะดวกกว่าสำหรับเด็กและไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดบดผื่นคันด้วย”
เช่นเดียวกับ คุณอู๋ คุณแม่ของหนูจางเสี่ยว์หยาง “ แม้ว่าจะมีคนที่คิดว่ามันดูไม่ดี แต่ก็เป็นความคิดเห็นของคนส่วนน้อย เพราะ นี่คือวิถีชีวิตของคนจีน"
เรียบเรียงจาก วูแมน ออฟ ไชน่า / ไชน่าเดลี่ 23/07/04
ไคตังคู่ กางเกงที่เด็กจีนใส่กันไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แม้แต่ในช่วงที่อากาศหนาวสุดๆ หนูน้อยแก้มแดงเหล่านี้ยังถูกจับให้ใส่ไคตังคู่ขายาว ที่ส่วนใหญ่จะทำจากผ้าสำลี ซึ่งคงพอจะให้ความอบอุ่นได้พอสมควร ยกเว้นบริเวณก้นกับเป้า ที่ตั้งใจผ่าเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ ถ้าพวกเขาพูดได้คงบอกว่า “หนูหนาวก้นจัง ” แต่ในหน้าร้อนไคตังคู้ คงทำให้ก้นของหนูน้อยเย็นสบายไม่น้อยทีเดียว
สะดวกที่สุด ปกปิดน้อยที่สุด
หนูน้อย จางเสี่ยว์หยาง วัย 21 เดือน กำลังเพลิดเพลินกับการขุดคุ้ยดินใกล้กับบันไดลื่น ภายในสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง จู่ๆหนูน้อยก็หยุดหงึก พร้อมกับปล่อยธารน้ำน้อยๆออกมาอย่างง่ายดายผ่าน‘ช่องทางด่วน’ของกางเกง
ถ้าไม่เป็นเพราะหนูจางใส่ไคตังคู่ คุณแม่คงต้องมีงานทำเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง ลักษณะพิเศษของไคตังคู่ ซึ่งสะดวกที่สุดเพราะปกปิดน้อยที่สุดนี่เอง ที่ทำให้ไคตังคู่เป็นกางเกงในดวงใจของพ่อแม่ชาวมังกรมาหลายทศวรรษ แถมมีตังค์เหลือไว้หยอดกระปุกอีกต่างหาก
แต่ผลจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชนชั้นกลางที่มีกำลังในการจับจ่าย เพิ่มจำนวนขึ้น บวกกับลักษณะการใช้ชีวิตที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ผลักดันให้คุณพ่อคุณแม่ในเมืองที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา แห่กันหันมาใช้ผ้าอ้อมเด็กกันมากขึ้น
สะดวกกว่า อนามัยกว่า
“ ไคตังคู่เหรอ ล้าสมัยแล้ว” แอนนี่ เฉาตอบ ระหว่างเดินชอปปิ้งในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้กับซีลีน เฉา ลูกสาววัย 2 ขวบ
“ มันไม่อนามัย และไม่ดีต่อสภาพแวดล้อม มีแต่คนชนบทที่ยากจนเท่านั้นแหละ ที่ยังใช้กันอยู่ ”
ตอนที่เด็กกว่านี้ หนูซีลีน ก็ใส่ผ้าอ้อมเด็ก แต่ตอนที่คุณแม่เฉาอายุเท่าซีลีน ผ้าอ้อมเด็กยังไม่ได้ยกทัพมาบุกตลาดจีนอย่างทุกวันนี้ ดังนั้นเมื่อถูกถามว่าตอนเด็กๆ คุณเฉาใส่ผ้าอ้อมแบบไหน เธอถึงกับอึ้งไป ก่อนที่จะตอบแบบเขินๆว่า “จำไม่ได้แล้ว คงจะเป็นไคตังคู่มั๊ง”
ไต้อี้ว์หัว วัย 33 ปี เจ้าของร้านขายผลไม้แห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า เมื่อตอนที่ลูกชายเธอยังเดินเตาะแตะอยู่ หรือเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว เธอยังไม่รู้จักผ้าอ้อมเด็กแบบนี้ พอมีลูกชายคนที่สอง ซึ่งเวลานี้อายุ 1 ขวบ ถึงได้เริ่มใช้ แต่จะใช้เฉพาะวันที่อากาศร้อนจริงๆเท่านั้น
ในปลายทศวรรษที่ 70 เสื้อของผู้ใหญ่ที่ประชาชนจีนทุกคนใส่กัน จนเหมือนเป็นยูนิฟอร์ม คือเสื้อแบบท่านประธานเหมา ซึ่งมีให้เลือกเพียงสองสี คือสีเทากับสีกรมท่า โชคดีที่ตอนนั้นมีไคตังคู่ ซึ่งเป็นเหมือนยูนิฟอร์มของเด็ก มาช่วยเติมสีสันให้กับเมืองบ้าง
ผิดกับสมัยนี้ ที่เนื้อนิ่มๆขาวๆของบรรดาอาตี๋อาหมวยถูกปกปิดด้วยผ้าอ้อมเด็ก ก่อนจะถูกซ้อนทับอีกชั้นด้วยกางเกงหรือกระโปรง แม้ในบ่ายวันที่อากาศร้อนอบอ้าว
ซูเส้าเจวียน แคชเชียร์ชาวกว่างโจว (กวางเจา) คุณแม่ลูกชายวัย 2 ขวบ ซึ่งค่อนข้างมีทัศนคติที่ติดลบกับไคตังคู่กล่าวว่า “คนที่ใช้ไคตังคู่เหมือนเป็นคนไม่มีอารายธรรม”
“สมัยนี้ คนมีเงินมากขึ้น ก็เลยชอบใช้ผ้าอ้อมเด็ก เพราะมันทั้งสะดวกกว่าและอนามัยกว่า ทั้งต่อพ่อแม่และเด็ก"
ผลจาการผลักดันของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่พยายามปรับปรุงเมืองให้น่าอยู่ โดยการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาความสะอาดจนเป็นนิสัย ก็มีส่วนทำให้คนหันมานิยมใช้ผ้าอ้อมเด็กกันมากขึ้น
หลายเมืองออกกฎห้ามทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ห้ามขากถุย ตลอดจนห้าม (ผู้ใหญ่) ปลดทุกข์ในที่ที่ไม่ใช่ห้องน้ำ แน่นอนว่าประเทศที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2008 ย่อมไม่ต้องการให้แขกบ้านแขกเมืองมาพบเห็นภาพไม่พึงประสงค์เหล่านี้
เช่นเดียวกับศูนย์ดูแลคุณแม่หลังคลอดแห่งหนึ่งในปักกิ่ง จางเยี่ยว์ หัวหน้าพยาบาลกล่าวว่า “ ที่นี่จะแนะนำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนใช้ผ้าอ้อมเด็ก”
“เพราะสะอาดและถูกสุขลักษณะกว่า เด็กที่ใส่ไคตังคู่จะเป็นหวัดง่าย หรือบางทีก็เป็นโรคท้องร่วง หรือแม้แต่ท่อปัสสาวะอักเสบ”
เจ้าจงซิ่น ศาสตราจารย์ประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยีด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ปักกิ่ง กล่าวว่า
“ ไคตังคู่เป็นตัวชี้ความแตกต่างของจิตใจและสภาพชีวิตของคนในเมืองและคนในชนบทได้อย่างขัดเจน เห็นได้จากการที่เด็กในเมืองเลิกใส่ไคตังคู่กันแล้ว แต่เด็กในชนบทยังใส่อยู่”
“คนสมัยก่อนจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยเท่าไหร่ ไม่เหมือนคนสมัยนี้” เขากล่าว “นอกจากนี้ พ่อแม่สมัยนี้ปกติจะยุ่งมาก บางครั้งไม่มีแม้แต่เวลาจับลูกเข้าห้องน้ำเป็นระยะๆ จึงต้องอาศัยผ้าอ้อมเด็กเหล่านี้ ”
ยอดขายผ้าอ้อมเด็กในจีนพุ่ง
จากการสำรวจพบว่า ทุกวันนี้ ตลาดผ้าอ้อมเด็กในจีนเฟื่องฟูมากโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่าง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่งและกว่างโจว สามารถทำเงินได้มากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 8,000 ล้านบาท ) ทีเดียว
ผ้าอ้อมเด็กที่วางเรียงรายตลอดแนวทางเดินในซุปเปอร์มาร์เกตแห่งหนึ่ง มีตั้งแต่ราคาประมาณ 72 บาทต่อหนึ่งห่อๆละ 20 ชิ้นจนถึงราคาราว 480 บาทต่อหนึ่งห่อๆละ 60 ชิ้น
“ผ้าอ้อมเด็กเหล่านี้เป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ” พนักงานขายแซ่หลี่ คนหนึ่งกล่าว “ มันอาจจะไม่สะดวกอย่างไคตังคู่ แต่ก็ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และยอดขายก็เพิ่มตามไปด้วย”
คิมเบอร์ลี่ คลาร์ก ผู้ผลิตผ้าอ้อมเด็ก ฮักกี้ส์ ประมาณว่ายอดขายผ้าอ้อมเด็กทั่วประเทศจีนขยับสูงขึ้น 20-40 % ทุกปี
ขณะที่ พร็อกเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ผู้ผลิตผ้าอ้อมเด็กรายใหญ่ ซึ่งบุกตลาดมังกรในปี 1998 กล่าวว่า มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ต่อปี และจาการสำรวจของบริษัทชี้ว่าเด็กเซี่ยงไฮ้ 50% ใช้ผ้าอ้อมเด็กในระหว่างวัน และ 90% ใช้ในช่วงกลางคืน
นอกจากนี้ จากรายงานประจำปี 2002 ของยูนิชาร์ม ผู้ผลิต มัมมี่ โปะโกะ จากแดนอาทิตย์อุทัย ระบุว่าบริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตผ้าอ้อมเด็กอีกแห่งในเซี่ยงไฮ้
บริษัทในประเทศที่มีประมาณ 12 แห่ง ก็พยายามเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด โดยงัดกลยุทธ์ทางการตลาดทุกวิถีทางมาใช้ เช่น บริษัทกู้ดเบบี้ ในเซี่ยงไฮ้ ได้เปิดให้บริการตอบคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวกับผ้าอ้อมเด็กผ่านทางโทรศัพท์ฟรี เป็นต้น
“ เราพยายามเปลี่ยนทัศนคติของคนที่มีต่อผ้าอ้อมเด็ก ” ถังเสี่ยวหยุน เจ้าหนาที่ฝ่ายขายและการตลาดของกู้ดเบบี้ กล่าว “ บางคนคิดว่ามันสิ้นเปลือง โดยเฉพาะคนในชนบท”
ราคาผ้าอ้อมเด็กที่ตกราว 6-8 บาท ต่อชิ้น อาจจะดูไม่แพงสำหรับคนที่อาศัยในเมือง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 520 ดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 20,800 บาท ) แต่ถ้านำไปขายแก่ชาวชนบทในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อปีแค่ 139 ดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 5,560 บาท ) คงจะขายไม่ออก
แม้ว่ากระแสความนิยมผ้าอ้อมเด็กจะมาแรงมาก แต่ยังมีคนบางส่วนที่ภักดีต่อไคตังคู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เช่น คุณแม่จากมณฑลเจ้อเจียงคนหนึ่ง กล่าวว่า “ไคตังคู่สะดวกกว่าสำหรับเด็กและไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดบดผื่นคันด้วย”
เช่นเดียวกับ คุณอู๋ คุณแม่ของหนูจางเสี่ยว์หยาง “ แม้ว่าจะมีคนที่คิดว่ามันดูไม่ดี แต่ก็เป็นความคิดเห็นของคนส่วนน้อย เพราะ นี่คือวิถีชีวิตของคนจีน"
เรียบเรียงจาก วูแมน ออฟ ไชน่า / ไชน่าเดลี่ 23/07/04