ประเทศจีนเป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่ยุคโบราณสืบมาถึงปัจจุบัน เฉกเช่น เดียวกับอีกหลายประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีพอยู่ด้วยการทำเกษตรกรรม
อาชีพทำไร่ไถนาเป็นงานหนัก และต้องใช้แรงงานร่วมกันของคนจำนวนมาก ในการมาร่วมทำงานกันอย่างสมัครสมานสามัคคี
จากปรากฏการณ์ตามความเป็นจริงเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของตัวอักษรจีน “ เหอ ” 和 ซึ่งแปลว่าสามัคคี
อันมีที่มาจากคำ “ เหอ ” อีกคำหนึ่ง 禾 ซึ่งหมายถึงต้นข้าวหรือผลผลิตจากการเก็บเกี่ยว อย่างที่ฝรั่งเรียก harvest แล้วนำมาผสมกับคำ “ โข่ว ” 口 ซึ่งหมายถึงปาก และยังแผลงความหมายถึงคนได้ด้วย
รวมความแล้ว เหอ ซึ่งหมายถึงความสามัคคี เป็นการรวมความหมายของคนหรือปากที่มีข้าวกินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงของสังคมมนุษย์ในทุกสังคม ที่ผู้คนมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ย่อมสร้างความสมัครสมานสามัคคีได้ไม่ยากนัก แตกต่างจากสังคมที่อดอยากปากแห้ง ย่อมหาความสามัคคีไม่ค่อยได้
เหอ เป็นการออกเสียงในประเทศจีน ส่วนที่เมืองไทยซึ่งมีชุมชนชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วมากที่สุดออกเสียงเป็น “ ฮั้ว ”
ผู้คนในประเทศไทยมักคุ้นเคยกับคำจีนที่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว..ฉาวโจว 潮 州อันเป็นเมืองริมฝั่งทะเลที่อยู่เกือบใต้สุดของประเทศจีนซึ่งมีสำเนียงเสียงพูดแตกต่างไปจากสำเนียงของคนภาคกลางหรือภาคเหนือค่อนข้างมาก
หลายคำของจีนที่สื่อความหมายไปในทางที่ดี เมื่อมาอยู่เมืองไทยนานๆ แล้วมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดไปจากเดิมอย่างคาดคิดไม่ถึง
คำว่าเหอหรือฮั้วก็เหมือนกัน จากความหมายเดิมอันหมายถึงรู้รักสามัคคี กลับนำไปใช้ในทางที่เสียหาย ทั้งทางนามธรรมและรูปธรรม ในความหมายที่บ่งบอกถึงการสมรู้ร่วมคิดหรือสุมหัวกันเบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมไปเป็นส่วนตัว
เดิมทียังมีความหมายจำกัดวงอยู่เพียงแต่ในเรื่องของกลุ่มผู้รับเหมาที่มาประมูลงานของทางราชการหรือของเอกชนรายใหญ่ๆ โดยมีการทำความตกลงว่าใครจะได้เป็นผู้รับเหมางานนั้นๆ ถือเป็นการหลีกทางกันเองในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอย่างเดียวกัน
ต่อมาได้มีการพัฒนาตามระบบทุนนิยมเรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผู้รับเหมาซึ่งสะสมความรู้ประสบการณ์และทรัพย์สินเงินทองมากขึ้น ได้ยกระดับฐานะของตนเองจากผู้รับเหมางานท้องถิ่นขึ้นเป็นผู้รับเหมางานระดับชาติหรือข้ามชาติ
สามารถเปลี่ยนวิถีแปลงชีวิตจากผู้รับเหมาธรรมดา ไปเป็นนักการเมืองตลอดจนผู้บริหารประเทศ บางคนเขี้ยวยาวลากดินไม่เพียงแต่รับเหมางานแค่ชาตินี้เท่านั้น ยังข้ามชาติไปถึงชาติหน้าอีกด้วย ทิ้งภาระหนี้สินให้ประชาชนต้องแบกรับจากชาตินี้ไปถึงชาติหน้าหรือจนกว่าไม่มีชาติเหลือไว้ให้โกงกินกันต่อไป
อย่างที่เคยมีผู้บริหารประเทศชาติบางประเทศต้องหลีกลี้หนีภัยไปอยู่ชาติอื่นแล้วยังมีหน้าด้านไร้ยางอายเขียนหนังสือให้คนอ่านสมเพชในเรื่อง “ สิ้นชาติ ” กลายเป็นหนังสือที่เกรียวกราวมากเล่มหนึ่ง
น่าสงสารอักษรจีนที่ดีๆ มีความหมายสร้างสรรค์ ที่ต้องถูกใช้ในทางปู้ยี่ปู้ยำ ทำความเสื่อมเสียแก่สังคม ในการรับเหมาประมูลงานแล้วหักเปอร์เซ็นต์เข้าพกเข้าห่อให้กับผู้เกี่ยวข้อง จนทำให้การพัฒนาประเทศต้องล้าหลังไปหลายปีหรือหลายสิบปี
แค่นั้นนับว่าช้ำมากพอแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ การฮั้วยังระบาดไปแพร่หลายในทุกวงการอย่างรวดเร็ว
กระทั่งในวงการคัดสรรปัญญาชนเพื่อเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ยังมีการฮั้วเกิดขึ้นกับเขาด้วยและยังแผลงวิธีการฮั้วแบบโบราณไปสู่การฮั้วแบบสมัยใหม่ด้วยรูปแบบเทคนิคแนบเนียนแต่น่าเกลียด โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์ของคำนี้จากไม้โทเป็นไม้เอก หรือจาก “ ฮั้ว ” เป็น “ ฮั่ว ” เพี้ยนจากคำ “ รั่ว ”
ล่าสุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคนบางคนที่มีพฤติกรรมน่าเคลือบแคลงสงสัย ว่าจะมีการใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปสู่การฮั้วเอื้ออาทร ก็ยังเกิดข้อกังขาขึ้นมาทับซ้อนว่า อาจมีการฮั้วเกิดขึ้นอีกในการจัดงานอภิปรายหรือน้ำลายแตกฟอง
เพราะมีการวิจารณ์กันเซ็งแซ่ถึงการเล่นปาหี่คราวนี้ เป็นการอภิปรายแบบฮั้วๆ เนื่องจากมีข้อมูล “ ฮั่ว ” ไปถึงหูผู้ถูกอภิปรายล่วงหน้าจนสามารถเตรียมคำถามตอบข้อสอบได้อย่างฉลุย
คำจีนออกเสียง “ ลั่ว ” 裸 คำหนึ่งหมายถึงเปลือยเปล่าล่อนจ้อน น่าจะสอดคล้องกับพฤติกรรมอย่างนี้.
อาชีพทำไร่ไถนาเป็นงานหนัก และต้องใช้แรงงานร่วมกันของคนจำนวนมาก ในการมาร่วมทำงานกันอย่างสมัครสมานสามัคคี
จากปรากฏการณ์ตามความเป็นจริงเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของตัวอักษรจีน “ เหอ ” 和 ซึ่งแปลว่าสามัคคี
อันมีที่มาจากคำ “ เหอ ” อีกคำหนึ่ง 禾 ซึ่งหมายถึงต้นข้าวหรือผลผลิตจากการเก็บเกี่ยว อย่างที่ฝรั่งเรียก harvest แล้วนำมาผสมกับคำ “ โข่ว ” 口 ซึ่งหมายถึงปาก และยังแผลงความหมายถึงคนได้ด้วย
รวมความแล้ว เหอ ซึ่งหมายถึงความสามัคคี เป็นการรวมความหมายของคนหรือปากที่มีข้าวกินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงของสังคมมนุษย์ในทุกสังคม ที่ผู้คนมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ย่อมสร้างความสมัครสมานสามัคคีได้ไม่ยากนัก แตกต่างจากสังคมที่อดอยากปากแห้ง ย่อมหาความสามัคคีไม่ค่อยได้
เหอ เป็นการออกเสียงในประเทศจีน ส่วนที่เมืองไทยซึ่งมีชุมชนชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วมากที่สุดออกเสียงเป็น “ ฮั้ว ”
ผู้คนในประเทศไทยมักคุ้นเคยกับคำจีนที่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว..ฉาวโจว 潮 州อันเป็นเมืองริมฝั่งทะเลที่อยู่เกือบใต้สุดของประเทศจีนซึ่งมีสำเนียงเสียงพูดแตกต่างไปจากสำเนียงของคนภาคกลางหรือภาคเหนือค่อนข้างมาก
หลายคำของจีนที่สื่อความหมายไปในทางที่ดี เมื่อมาอยู่เมืองไทยนานๆ แล้วมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดไปจากเดิมอย่างคาดคิดไม่ถึง
คำว่าเหอหรือฮั้วก็เหมือนกัน จากความหมายเดิมอันหมายถึงรู้รักสามัคคี กลับนำไปใช้ในทางที่เสียหาย ทั้งทางนามธรรมและรูปธรรม ในความหมายที่บ่งบอกถึงการสมรู้ร่วมคิดหรือสุมหัวกันเบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมไปเป็นส่วนตัว
เดิมทียังมีความหมายจำกัดวงอยู่เพียงแต่ในเรื่องของกลุ่มผู้รับเหมาที่มาประมูลงานของทางราชการหรือของเอกชนรายใหญ่ๆ โดยมีการทำความตกลงว่าใครจะได้เป็นผู้รับเหมางานนั้นๆ ถือเป็นการหลีกทางกันเองในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอย่างเดียวกัน
ต่อมาได้มีการพัฒนาตามระบบทุนนิยมเรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผู้รับเหมาซึ่งสะสมความรู้ประสบการณ์และทรัพย์สินเงินทองมากขึ้น ได้ยกระดับฐานะของตนเองจากผู้รับเหมางานท้องถิ่นขึ้นเป็นผู้รับเหมางานระดับชาติหรือข้ามชาติ
สามารถเปลี่ยนวิถีแปลงชีวิตจากผู้รับเหมาธรรมดา ไปเป็นนักการเมืองตลอดจนผู้บริหารประเทศ บางคนเขี้ยวยาวลากดินไม่เพียงแต่รับเหมางานแค่ชาตินี้เท่านั้น ยังข้ามชาติไปถึงชาติหน้าอีกด้วย ทิ้งภาระหนี้สินให้ประชาชนต้องแบกรับจากชาตินี้ไปถึงชาติหน้าหรือจนกว่าไม่มีชาติเหลือไว้ให้โกงกินกันต่อไป
อย่างที่เคยมีผู้บริหารประเทศชาติบางประเทศต้องหลีกลี้หนีภัยไปอยู่ชาติอื่นแล้วยังมีหน้าด้านไร้ยางอายเขียนหนังสือให้คนอ่านสมเพชในเรื่อง “ สิ้นชาติ ” กลายเป็นหนังสือที่เกรียวกราวมากเล่มหนึ่ง
น่าสงสารอักษรจีนที่ดีๆ มีความหมายสร้างสรรค์ ที่ต้องถูกใช้ในทางปู้ยี่ปู้ยำ ทำความเสื่อมเสียแก่สังคม ในการรับเหมาประมูลงานแล้วหักเปอร์เซ็นต์เข้าพกเข้าห่อให้กับผู้เกี่ยวข้อง จนทำให้การพัฒนาประเทศต้องล้าหลังไปหลายปีหรือหลายสิบปี
แค่นั้นนับว่าช้ำมากพอแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ การฮั้วยังระบาดไปแพร่หลายในทุกวงการอย่างรวดเร็ว
กระทั่งในวงการคัดสรรปัญญาชนเพื่อเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ยังมีการฮั้วเกิดขึ้นกับเขาด้วยและยังแผลงวิธีการฮั้วแบบโบราณไปสู่การฮั้วแบบสมัยใหม่ด้วยรูปแบบเทคนิคแนบเนียนแต่น่าเกลียด โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์ของคำนี้จากไม้โทเป็นไม้เอก หรือจาก “ ฮั้ว ” เป็น “ ฮั่ว ” เพี้ยนจากคำ “ รั่ว ”
ล่าสุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคนบางคนที่มีพฤติกรรมน่าเคลือบแคลงสงสัย ว่าจะมีการใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปสู่การฮั้วเอื้ออาทร ก็ยังเกิดข้อกังขาขึ้นมาทับซ้อนว่า อาจมีการฮั้วเกิดขึ้นอีกในการจัดงานอภิปรายหรือน้ำลายแตกฟอง
เพราะมีการวิจารณ์กันเซ็งแซ่ถึงการเล่นปาหี่คราวนี้ เป็นการอภิปรายแบบฮั้วๆ เนื่องจากมีข้อมูล “ ฮั่ว ” ไปถึงหูผู้ถูกอภิปรายล่วงหน้าจนสามารถเตรียมคำถามตอบข้อสอบได้อย่างฉลุย
คำจีนออกเสียง “ ลั่ว ” 裸 คำหนึ่งหมายถึงเปลือยเปล่าล่อนจ้อน น่าจะสอดคล้องกับพฤติกรรมอย่างนี้.