xs
xsm
sm
md
lg

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีพระราชทาน “ผ้าลายชบาปัตตานี” แก่ช่างทอไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชนภาคใต้ ณ แหล่งสมาคมนายทหารสัญญาบัตร กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง พลตรี ขจรศักดิ์ อินทร์ทอง ผบ.มณฑลทหารบกที่ 46 พล.ต.ต. อาชาน จันทร์ศิริ รอง ผบ.ตำรวจภูธรภาค 9 พล.ต. เฉลิมพร ขำเขียว ผบ.กองพลทหารราบที่ 15 พาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าฯ จ.ปัตตานี ธนนนท์ นิรามิษ ภริยารองนายกฯ และรมว.กระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย สมฤดี ขำเขียว ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองพลทหารราบที่ 15 ข้าราชการและประชาชน เฝ้าฯ รับเสด็จ


ภายในงานมีกลุ่มผู้เฝ้ารับเสด็จขอพระราชทานคำแนะนำ 30 กลุ่ม หลังจากทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำเสร็จสิ้นแล้ว ทรงพระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายชบาปัตตานี” แก่ อนุทิน ชาญวีรกูล พระราชทานแม่แบบพิมพ์ผ้าลายชบาปัตตานี แก่ สุทธิพงษ์ จุลเจริญ และพระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายชบาปัตตานี” แก่ พาตีเมาะ สะดียามู


สำหรับ “ผ้าลายชบาปัตตานี” นี้ เป็นลายที่ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายพื้นถิ่นของจังหวัดปัตตานี โดยทรงนํามาออกแบบผสมผสานกับ “ลายดอกชบา (Hibiscus ไฮบิสคัส) และลายเถาไม้เลื้อย” ที่สื่อถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดปัตตานี และสร้างสรรค์ขึ้นเป็น “ผ้าลายชบาปัตตานี” พระราชทานเป็นของขวัญแก่ช่างทอผ้าชาวจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างอัตลักษณ์ สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น ให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินไทยอย่างยั่งยืน เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา พร้อมทั้งพระราชทานแบบชุดกลางวันและแบบชุดกลางคืน สำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี รวม 6 แบบ


ดอกชบาเป็นดอกไม้ประจําจังหวัดปัตตานี มีอีกชื่อว่า บุหงารายา คำว่า “บุหงา” แปลว่า ดอกไม้ “รายา” แปลว่า พระราชา บุหงารายา จึงมีความหมายถึง “ดอกไม้ของพระราชา” ลายเถาไม้เลื้อยมาจากลายฉลุของช่องลมจากวังเจ้าเมืองยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม เจ้าประเทศราชเมืองยะหริ่ง ลำดับ 3 ตัวเรือนไม้กึ่งปูน เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างศิลปะพื้นเมืองชวาและยุโรป และลายช่องลมหรือมัสยิดรายอฟาฏอนีหรือมัสยิดจะบังติกอเป็นสถาปัตยกรรมไม้แบบมลายูยุคเก่า ตกแต่งด้วยลวดลายสลักและเถาวัลย์พรรณพฤกษา และมีการผสมผสานลายช่องลมรูปทรงเรขาคณิต สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2388-2399




















กำลังโหลดความคิดเห็น